Advance search

ย่านชุมชนบ้านโป่ง

ย่านชุมชนบ้านโป่ง มีการใช้พื้นที่เมืองในการสร้างพื้นที่ศิลปะสาธารณะในย่านชุมชน ก่อให้เกิดสุนทรียทางศิลปะ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนย่านบ้านโป่ง

ชุมชนบ้านโป่ง
บ้านโป่ง
บ้านโป่ง
ราชบุรี
ธำรงค์ บริเวธานันท์
21 เม.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
22 เม.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
22 เม.ย. 2024
ย่านชุมชนบ้านโป่ง

สภาพพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง อดีตเป็นป่าโปร่งที่สัตว์เข้ามาอาศัย เพื่อกินดินโป่งเป็นอาหารโดยเฉพาะเลียงผา ซึ่งเดิมนั้น "บ้านโป่ง" เรียกว่า "บ้านทับโป่ง" มีกระท่อมหรือบ้าน (ทับ) อยู่ข้างดินโป่ง แต่ชาวบ้านนิยมเรียก "บ้านโป่ง" เพราะสะดวกและสั้นดีและต่อมาทางราชการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่งตามไปด้วย


ย่านชุมชนบ้านโป่ง มีการใช้พื้นที่เมืองในการสร้างพื้นที่ศิลปะสาธารณะในย่านชุมชน ก่อให้เกิดสุนทรียทางศิลปะ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนย่านบ้านโป่ง

ชุมชนบ้านโป่ง
บ้านโป่ง
บ้านโป่ง
ราชบุรี
70110
เทศบาลเมืองบ้านโป่ง โทร. 0-3222-1001, 0-3221-1114
13.814704830737085
99.87281023774814
เทศบาลเมืองบ้านโป่ง

สภาพพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง อดีตเป็นป่าโปร่งที่สัตว์เข้ามาอาศัย เพื่อกินดินโป่งเป็นอาหารโดยเฉพาะเลียงผา ซึ่งเดิมนั้น " บ้านโป่ง" เรียกว่า "บ้านทับโป่ง" มีกระท่อมหรือบ้าน (ทับ) อยู่ข้างดินโป่ง แต่ชาวบ้านนิยมเรียก "บ้านโป่ง" เพราะสะดวกและสั้นดีและต่อมาทางราชการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่ง

การศึกษาความเป็นมาของเมืองบ้านโป่ง วีระยุทธ ผลประกอบศิลป์ (2564) พบว่า พัฒนาการของเมืองบ้านโป่งแบ่งได้ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 พบว่าเมืองบ้านโป่ง เป็นอาณาเขตส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 - 12) มีฐานะเป็นชุชมชนหัวเมืองติดต่อการค้ากับชุมชนอื่นและชาวต่างชาติ เป็นชุมชนที่มีชาวอินเดียและชาวเขมรมาตั้งหลักแหล่งทำการค้า โดยใช้แม่น้ำแม่กลองเป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อทำการค้าทั้งกับเมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เมืองสุพรรณบุรี
  • ระยะที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 พบร่องรอยชุมชนโบราณสมัยลพบุรีหรือวัฒนธรรมเขมรบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีอายุไม่เก่าแก่กว่าพุทธศตวรรษที่ 18 หลักฐานสำคัญคือ เมืองโบราณโกสินารายณ์ เก่าแก่ราว พุทธศตวรรษที่ 16 - 18 ช่วงนี้เป็นช่วงที่ราชอาณาจักรเขมรเรืองอำนาจ ชาวเมืองโกสินารายณ์ หรือ ศัมพูกปัฏฏนะ รับวัฒนธรรมของมาเป็นส่วนหนึ่ง
  • ระยะที่ 3 ราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 23 หลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมืองต่าง ๆ มีการรวมตัวเป็นปึกแผ่นตั้งเมืองของตนเอง เริ่มมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองโดยการใช้รูปแบบวัฒนธรรมทวาราวดีผสมกับวัฒนธรรมเขมรผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น กระทั่งเป็นชุดทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง นำมาสู่การตั้งแว่นแคว้นอาณาเขตช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 แบบแผนทางวัฒนธรรมที่เรียกว่าวัฒนธรรมไทย มีความเจริญรุ่งเรืองพร้อม ๆ กับเมืองราชบุรี และชื่อเมืองโกสินารายณ์ หรือ ศัมพูกปัฏฏนะ ค่อย ๆ หายไป สันนิษฐานว่ารวมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองราชบุรีหรือสุพรรณบุรี
  • ระยะที่ 4 ราวพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ช่วงปรับปรุงการปกครองแบบหัวเมืองไปสู่การปกครองแบบหัวเมืองเทศาภิบาล บ้านโป่งอยู่ในมณฑลราชบุรี อย่างไรก็ดี เดิมอำเภอบ้านโป่ง อยู่ในตำบลท่าผา เรียกชื่อว่า อำเภอท่าผา ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายใต้ โดยตั้งสถานีรถไฟที่ตำบลบ้านโป่ง (รศ.124) ต่อมาจึงดำริว่าหากตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลท่าผา จะมีปัญหาเรื่องการคมนาคมที่ไม่สะดวก จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ ตำบลบ้านโป่ง และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่ง พ.ศ. 2448 (รศ.124) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 อำเภอบ้านโป่ง ขึ้นกับจังหวัดกาญจนบุรี หลังสงครามสงบ พ.ศ. 2489 อำเภอบ้านโป่ง โอนกลับมาจังหวัดราชบุรีตามเดิม

ย่านชุมชนบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 และทางรถไฟ กรุงเทพฯ - สายใต้ กาญจนบุรี - หนองปลาดุก ย่านชุมชนบ้านโป่งห่างจากกรุงเทพ ราว 70 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลปากแรต และ ตำบลท่าผา
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลสวนกล้วย
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลปากแรต
  • ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำแม่กลอง

จากการศึกษาโดย วีระยุทธ ผลประกอบศิลป์ (2564) พบว่า ชุมชนย่านบ้านโป่ง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและย่านธุรกิจด้านการบริการในระดับชุมชน บริเวณหรือย่านนี้มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมรวมถึงการเป็นแหล่งจ้างงาน ธุรกิจด้านพาณิชยกรรมที่หลากหลาย ชุมชนจึงมีความหนาแน่นจากการตั้งถิ่นฐาน แหล่งอุตสาหกรรมที่กระจายรอบ ๆ ย่านชุมชนบ้านโป่ง อาทิ อุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล เยื่อกระดาษ อู่ประกอบรถบัส ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ล้วนแต่ต้องใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร

ย่านชุมชนบ้านโป่ง เป็นชุมชนที่มีความเจริญมาตั้งแต่อดีตบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณวัฒนธรรมทวารวดี เรื่อยมาวัฒนธรรมลพบุรี วัฒนธรรมสมัยอยุธยา กระทั่งรัตนโกสินทร์ ชุมชนบริเวณนี้จึงประกอบไปด้วยวัฒนธรรมของคนหลากกลุ่มชาติพันธ์ุ อาทิ กลุ่มชาติพันธุ์จีน กลุ่มชาติพันธุ์มอญ กลุ่มชาติพันธุ์ลาว

กลุ่มชาติพันธุ์มอญ เริ่มอพยพเข้าสู่ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันครั้งแรก ราว พ.ศ. 2135 สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่สอง ราว พ.ศ. 2202 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตั้งถิ่นฐานกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ ของราชบุรีรวมถึงพื้นที่อำเภอบ้านโป่งในปัจจุบัน ดังเอกสารวัดบ้านโป่งบันทึกว่า ท่านพ่อเฒ่าด่าง พระเมืองรามัญมาจากเมืองหงสาวดี อพยพหนีภัยสงครามข้ามมาประเทศไทย และตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำแม่กลองตอนกลาง บริเวณบ้านโป่ง - ราชบุรี ฉะนั้นบริเวณนี้จึงมีวัดรามัญหลากหลายวัด

กลุ่มชาติพันธุ์จีน อพยพมาตั้งถิ่นฐานยังประเทศไทยในปัจจุบันสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช มาตั้งถิ่นฐานด้านฝั่งตะวันตกลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีการอพยพเข้ามามากขึ้น เนื่องจากการยกเลิกระบบทาส ทำให้มีการเคลื่อนย้ายหาแหล่งทำกิน โดยเฉพาะบริเวณย่านตลาดบ้านโป่ง และมีการแต่งงานกับคนพื้นถิ่นเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม จึงพบศาลเจ้าและวัฒนธรรมจีนไทยบริเวณชุมชนบ้านโป่ง

กลุ่มชาติพันธุ์ลาว อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยปัจจุบันมายาวนานในฐานะเชลยศึก บางส่วนตั้งถิ่นฐานบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองช่วงอำเภอบ้านโป่ง ถึง อำเภอโพธาราม อย่างไรก็ดีการขยายตัวของกลุ่มมอญทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ลาวต้องย้ายถิ่นไปยังพื้นที่ดอนริมฝั่งใกล้วัดสร้อยฟ้ายังพบกลุ่มชาติพันธุ์ลาว

จีน, ไทยพวน, มอญ, ลาวเวียง

ชุมชนย่านบ้านโป่ง เป็นชุมชนที่ประกอบด้วยประชากรหลากหลายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธ์ุมาอาศัยอยู่ร่วมกันบริเวณย่านชุมชนบ้านโป่งจึงประกอบด้วยวัฒนธรรมทางศาสนาที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักการของศาสนา ฉะนั้นศาสนสถานบริเวณย่านชุมชนบ้านโป่งประกอบด้วย วัดบ้านโป่ง วัดดอนตูม วัดคาทอลิกนักบุญยอแซฟบ้านโป่งและมัสยิดบ้านโป่ง

งานประจำปีหรือปฏิทินเทศกาลจึงมีความหลากหลายสอดคล้องกับวัฒนธรรมของศาสนิกชนแต่ละศาสนา อย่างไรก็ดี ประเพณีหรืองานประจำปีในย่านชุมชนบ้านโป่ง ประกอบด้วย ประเพณีลอยกระทง การแข่งขันเรือยาว ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษา รวมถึงงานส่งเสริมวัฒนธรรมประจำจังหวัดตามโอกาสต่าง ๆ 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรมย่านชุมชนบ้านโป่ง

ภาพสตรีทอาร์ต ย่านชุมชนบ้านโป่ง เป็นทุนวัฒนธรรมของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวให้แก่เมืองรอง ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ภาพสตรีทอาร์ตกระจายบริเวณตรอก ซอยในย่านชุมชน รวมถึงพื้นที่รกร้างและพื้นที่ว่าง อาคารรกร้าง ภาพเหล่านี้ทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาจากการที่นักท่องเที่ยวใช้เป็นจุดเช็คอิน (check in) เผยแพร่ในสื่อดิจิทัล ซึ่งสตรีทอาร์ทย่านชุมชนบ้านโป่งมีส่วนในการสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นบ้านโป่งผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ อาทิ กลุ่มชาติพันธ์ุจีนในชุมชนสะท้อนผ่านสัญลักษณ์มังกร งิ้ว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วีระยุทธ ผลประกอบศิลป์ (2564). การวิเคราะห์ศักยภาพการมองเห็นเชิงพื้นที่ของงานศิลปะสาธารณะในย่านชุมชนบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะธดา ขันสิงหา (2564). การใช้สตรีทอาร์ทเพื่อเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว. นิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จาก https://digital.car.chula.ac.th/

ปริมประภา แก้วละเอียด (2551). การศึกษาวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ของชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง กรณีอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. ประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทศบาลเมืองบ้านโป่ง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลและรายละเอียดชุมชน. จาก https://banpong.go.th/public/