Advance search

บ้านรุ่งอรุณ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของจีนยูนาน  มีบ้านเรือนเป็นรูปแบบจีนโบราณ นิยมใช้วัสดุเป็นคอนกรีต โดยมีพื้นที่สำหรับเก็บและตากผลผลิตจากพืชไร่ และมีเรือนเก่าบางส่วนที่มีการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวไทยใหญ่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ห้วยปูลิง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
13 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
27 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 ก.ค. 2023
บ้านรุ่งอรุณ

ตั้งชื่อหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2546 หลังจากรัฐบาลกวาดล้างขบวนการค้ายาเสพติด และมีการจัดระเบียบหมู่บ้านใหม่ รวมทั้งมีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น หมู่บ้านรุ่งอรุณ


บ้านรุ่งอรุณ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของจีนยูนาน  มีบ้านเรือนเป็นรูปแบบจีนโบราณ นิยมใช้วัสดุเป็นคอนกรีต โดยมีพื้นที่สำหรับเก็บและตากผลผลิตจากพืชไร่ และมีเรือนเก่าบางส่วนที่มีการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวไทยใหญ่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ห้วยปูลิง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.5177385
98.0991194
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยปูลิง

หมู่บ้านเกิดจากกองกำลังโกกั้งที่เหลือจากการกวาดล้างของทหารพม่า (โกกั้ง คือ คนจีนยูนานที่แตกแยกออกมาในช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีนแผ่นดินใหญ่ และอพยพหนีหลบหนีมาอยู่ในเมืองโกกั้งของสหภาพเมียนมาร์) ได้ปรึกษาหารือกันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบ และไม่มีการสู้รบ ทุกคนจึงตัดสินใจว่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านแม่สุยะจีนในอดีต และได้มีการคัดเลือกผู้นำหมู่บ้านขึ้นในตอนนั้น ผู้นำหมู่บ้านคนแรกชื่อ เสี่ยวเจี่ยวแซ่ จากนั้นมาทุกครอบครัวก็ได้ไปทำไร่ทำสวนที่บริเวณดอยหลุกตอง เพื่อเอาผลผลิตมาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งทุกคนต่างก็พอกินพอใช้อยู่กันอย่างมีความสุข

ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 นายขุนแสงได้เข้ามาในหมู่บ้านและมีกองกำลังติดอาวุธมาด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นมาในนามของพ่อค้าหินแสง (หยก/อัญมณี) หลังจากนั้นได้มีกองคาราวานของกลุ่มพ่อค้าหินแสงกลุ่มต่างๆ เข้ามาทำการค้ากับชาวบ้านในหมู่บ้าน ชาวบ้านก็เอาข้าวและถั่วเหลืองขายให้กับกลุ่มพ่อค้า เมื่อชาวบ้านมีม้าเป็นของตนเองจึงได้รับจ้างบรรทุกข้าว งา ถั่ว และอื่นๆ ให้กับหมู่บ้านใกล้เคียง จากนั้นมาชาวบ้านส่วนใหญ่ก็หันมาทำงานรับจ้างขนส่งสินค้าและค้าขาย บางส่วนก็ได้เปลี่ยนอาชีพจากการทำไร่ทำสวนมาเป็นรับจ้าง โดยอาศัยม้าในการทำมาหากิน ขุนแสงเองก็มองเห็นว่าเด็กในหมู่บ้านควรจะมีการเรียนรู้หนังสือ จึงได้มีการประสานกับรัฐบาลไทย ทำให้โรงเรียนไทยในหมู่บ้านเกิดขึ้น

ต่อมารัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามกองกำลังติดอาวุธเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ขุนแสงเองจึงได้เดินทางออกจากหมู่บ้านข้ามไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองใหม่ประเทศพม่า ส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านก็ได้ยึดการเลี้ยงม้า ปลูกผักผลไม้และทำไร่ทำสวนเป็นอาชีพ และอยู่อย่างนี้มาประมาณ 10 ปีกว่า จนกระทั่งความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทุกครอบครัวก็มีชีวิตที่ดีและอยู่อย่างเป็นสุข

ต่อมาได้มียาเสพติดเข้ามาในเขตพื้นที่ โดยมีฐานอยู่ที่บ้านไม้ซางหนามแพร่ขยายเข้ามาในชุมชน ทำให้คนในหมู่บ้านบางส่วนหลงผิด สาเหตุที่ทำให้คนในชุมชนหลงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ก็เพราะต้องการเงิน และเป็นวิธีที่สบาย หน่วยงานราชการต่างๆ ก็ยังเข้ามาไม่ถึง ส่วนชาวบ้านเองไม่ได้มีบัตรประจำตัวประชาชน ไม่มีความรู้ ไม่มีที่ทำกิน ในหมู่บ้านเองก็ไม่มีใครพอจะมีความรู้ทางด้านกฎหมาย การติดต่อกับทางการเป็นไปด้วยความลำบาก ด้วยความไม่เข้าใจในการสื่อถาษาจึงเป็นช่องให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ของ และเป็นเงื่อนไขทำให้ชุมชนหมดหนทางเลือกตกเป็นทาสของยาเสพติด พวกค้ายาก็อาศัยโอกาสนี้มาหลอกให้คนในหมู่บ้านช่วยเฝ้าและเก็บรักษายาเสพติด โดยแลกกับค่าตอบแทนที่สูง

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 เมื่อรัฐบาลประกาศสงครามกับยาเสพติด กลุ่มขบวนการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้หลบหนีออกจากหมู่บ้านไป หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายปกครองก็ได้เข้ามาจัดระเบียบหมู่บ้านใหม่ มีการสำรวจสำมะโนประชากร จัดระเบียบการเข้าอยู่อาศัยและการเข้าออกพื้นที่ พร้อมทั้งได้แต่งตั้งผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้านขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีทหารคอยให้คำแนะนำในด้านต่างๆ  ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและชาวบ้านตามลำดับอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อทางการเจ้าหน้าที่ทหารได้เข้ามาจัดระเบียบในหมู่บ้านใหม่และตกลงร่วมกันที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านรุ่งอรุณในปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  บ้านห้วยศาลในตำบลห้วยผาอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอนห่างประมาณ 7 กิโลเมตร

ทิศใต้         ติดต่อกับ  บ้านน้ำกัดตำบลห้วยผาอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอนห่างประมาณ 2 กิโลเมตร

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  บ้านแม่สุยะไทยตำบลห้วยผาอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอนห่างประมาณ 1 กิโลเมตร

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  บ้านห้วยผึ้งตำบลห้วยผาอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอนห่างประมาณ 14 กิโลเมตร

ข้อมูลประชากรมีชาวบ้านเชื้อสายจีนจำนวน 88 ครอบครัวแบ่งเป็นชาย 201 คนหญิง 210 คนรวมเป็น 411 คน และทั้งหมดเป็นชนชาวชาติพันธุ์จีนยูนานทั้งหมด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผู้นำหมู่บ้านชื่อ นายเหลาไก่ แซ่หย่าง อายุ 65 ปี เป็นคนคอยชี้แนะในการจัดระเบียบหมู่บ้านใหม่ มีการฝึกรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านให้คำคณะกรรมการและชาวบ้านมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นทั้งให้ความร่วมมือในด้านทางการโดยเฉพาะการแจ้งเบาะแสแหล่งซุกซ่อนยาเสพติดทำให้เกิดผลงานที่เป็นความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและราษฎร

ทุนวัฒนธรรม

1.) การสร้างบ้านเรือน

สถาปัตยกรรมการก่อสร้างที่พักอาศัยมีต้นแบบมาจากที่พักอาศัยเดิมที่เคยอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน เป็นที่พักแบบชั้นเดียว มีหน้าต่างระบายอากาศ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุจากธรรมชาติใกล้ตัวที่หาได้ง่าย แต่เนื่องจากสภาพที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีรวมทั้งตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนการตัดไม้ทำลายป่าเป็นเรื่องยาก ด้วยภูมิปัญญาของชาวจีนยูนนานจึงได้นำดินที่มีอยู่ในทุกบ้านมาเป็นวัสดุหลักในการสร้างบ้าน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ได้บ้านที่อบอุ่นในฤดูหนาว และความเย็นสบายในฤดูร้อนด้วยคุณสมบัตินี้เองจึงทำให้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับบ้านดินถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นหัวใจของบ้านอยู่ที่ รู้ความเหนียวของดินให้พอดี ไม่เหนียวมากหรือร่วนมาก เพราะถ้าเหนียวมากอัตราการหดตัวจะสูง ดินจะแตกเยอะ หากดินร่วนซุยมาก เมื่อโดนน้ำฝนหรือความชื้นสูงจะละลายได้ง่าย อุปกรณ์ในการสร้างบ้านดิน ได้แก่ ดินเหนียว ฟางแห้ง หญ้าคา เสาไม้ต้นยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ โดยเฉลี่ยระยะเวลาการสร้างบ้านดินจะใช้เวลาตั้งแต่ 7 วันจนถึง 2 เดือนขึ้นอยู่กับขนาดของบ้านที่ต้องการ วิธีการสร้างบ้านดิน จะต้องตีโครงสร้างไม้ไผ่ ตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ เสาไม้ยูคาลิปตัสที่เตรียมไว้ใช้ยึดกับโครงสร้างไม้ไผ่ จำนวนเสาจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้านที่ต้องการ ส่วนฟางข้าวจะใช้ยึดกับกีบไม้ไผ่ ดินที่เตรียมไว้ก็จะมายึดกับฟางข้าวเป็นทอด ๆดินที่ใช้ก็จะใช้ฉาบผนังตามโครงสร้างไม้ไผ่ที่เตรียมไว้เหมือนกับการฉาบปูนคอนกรีต หญ้าคาที่เตรียมไว้ใช้มุงในส่วนของหลังคา ในส่วนของการเตรียมดินนั้น การสร้างบ้านดินจะใช้ดินเหนียวหมักไว้กับน้ำในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ทิ้งไว้ 24ชั่วโมง ส่วนวิธีตรวจสอบความเหนียวของดินนอกจากการใช้มือสัมผัสแล้วต้องอาศัยความสามารถส่วนบุคคลและความชำนาญด้วย ซึ่งในปัจจุบันบ้านดินในชุมชนจีนยูนนานบ้านสันติชลจะมีพบเห็นเพียงบางส่วน ซึ่งคนที่มีฐานะไม่ค่อยดีเท่านั้นที่จะยังอยู่อาศัยกับบ้านดิน สำหรับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี การก่อสร้างบ้านยังคงรักษารูปแบบของบ้านชั้นเดียวไว้ แต่จะใช้วัสดุใหม่ในการก่อสร้างสมัยใหม่เกือบทั้งหมด ไม่ใช้ดินและหญ้าคาหรือวัสดุธรรมชาติในการก่อสร้างมากนัก ใช้ก้อนคอนกรีต หลังคากระเบื้อง เทพื้นด้วยปูนคอนกรีตและปูพื้นด้วยพระเบื้องแผ่น ถึงแม้ว่าที่อยู่อาศัยจะมีการปรับเปลี่ยนไปแต่ทุกหลังคาเรือนยังคงเอกลักษณ์ความเป็นคนจีนไว้ด้วยโคมไฟจีนแขวนไว้หน้าบ้าน บ้านดินนี้จะพบได้ภายในศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ราษฎรส่วนมากฐานะยากจนขาดแคนรายได้ที่แน่นอนและไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองการสอบถามข้อมูลทำได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีปัญหาด้านวัฒนธรรมและการสื่อสารกับราษฎรส่วนใหญ่พูดไทยไม่ได้และราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรประชาชนทำการติดต่อกับส่วนราชการและการเดินทางออกไปทำได้ยากมากและยังมีปัญหาเรื่องยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทศพิธ แป้นดวงเนตร. (2554). โครงการวิจัย ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาอาชีพ โดยชุมชนจีนยูนนานบ้านสันติชล ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน: รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ปิยวุฒิ โลสุยะ และคณะ. (2547). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมชุมชนโดยชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติด บ้านรุ่งอรุณ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.