-
ชุมชนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ทำให้มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมรูปแบบชาวมอญภายในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงและโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า "เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด" นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาสนถานที่สำคัญของชาวมอญอย่าง "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งภายในวัดแห่งนี้จะมีเจดีย์เอียงอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพื้นที่เกาะเกร็ด
-
ชุมชนเมืองเก่าสงขลาเป็นพื้นที่เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 200 ปี ภายในชุมชนมีสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่มีหลากหลายรูปแบบของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งรูปแบบอาคารตึกแถวแบบจีน แบบไทยและแบบตะวันตกปะปนสองข้างถนนภายในชุมชน จุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของหลากหลายวัฒนธรรมภายในเมืองเก่าสงขลา ทั้งนี้ปัจจุบันจึงสามารถสัมผัสกลิ่นอายประวัติศาสตร์ความเป็นพหุวัฒนธรรมในอดีตของเมืองสงขลาได้ในพื้นที่นี้
-
สูดหมอก ฟอกปอด ยลเสน่ห์มนต์กลหุบเขา ขานเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาบรรพวิถี สร้างเศรษฐกิจชุมชนเลี้ยงชีวี ธารธาราอีกวารี ที่แห่งนี้ "คีรีวง"
-
ชุมชนเกาะล้านโดดเด่นในเรื่องการท่องเที่ยวโดยเฉพาะหาดทรายที่มีความสวยงาม มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และคงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไว้ได้มากหลายแห่ง จึงมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกไว้คอยบริการ
-
ย่านการค้าเก่าแก่ในกรุงเทพมหานคร อย่าง "พาหุรัด" เป็นย่านที่มีภาพจำเป็นร้านขายผ้าที่มีสีสันโดดเด่นและหลากหลาย ทั้งไทย จีน และความเป็นภารตะของอินเดีย ผู้ค้าที่เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ได้จับจองพื้นที่ส่วนใหญ่ในพาหุรัด เพื่อขายสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรืออาหารอินเดียที่มีกลิ่นเครื่องเทศเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาจึงมีความเป็นชุมชนอินเดียเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในไทย
-
ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เมืองที่หล่อหลอมความหลากหลายของทั้งคน ประเพณี วิถีชีวิต อาหารการกิน ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่เป็นกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสและรูปแบบวัฒนธรรมเฉพาะที่เรียกวา "เปอรานากัน"
-
บ้านนางเลิ้ง หรือ บ้านอีเลิ้ง คำว่า อีเลิ้ง เป็นภาษามอญ หมายถึง ตุ่มหรือโอ่ง สันนิษฐานว่าเป็นการนำเอาตุ่มและภาชนะดินเผาอื่น ๆ จากบ้านสามโคก ปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญเข้ามาค้าขายในพระนครตามเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม ภายหลังพัฒนาเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิดมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ชุมบ้านเรือนริมน้ำเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันมีการส่งเสริมและพัฒนาริมน้ำจันทบูรให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี