Advance search

ชาวบ้านที่นี่มีการทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการทำเกษตรกรรมที่ตกทอดกันมาอย่างยาวนาน  และยังมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจหลายอย่างเช่น การจักรสานและการทอผ้าเป็นต้น 

ห้วยปูลิง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
12 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
27 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 ก.ค. 2023
บ้านห้วยฮี้

ที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้นเรียกตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดนี้เหมือนไม้ไผ่ ภาษาไทยเรียกว่า “ไม้ฮี้” ภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า “หว่ากล๊อ” ชื่อหมู่บ้านนั้นภาษาปกาเกอะญอจึงเรียกว่า “กล๊อคี” หรือ บ้าน “ห้วยฮี้”


ชาวบ้านที่นี่มีการทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการทำเกษตรกรรมที่ตกทอดกันมาอย่างยาวนาน  และยังมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจหลายอย่างเช่น การจักรสานและการทอผ้าเป็นต้น 

ห้วยปูลิง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.2132370
98.0767855
เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน

หมู่บ้านห้วยฮี้เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่เรียกตัวเองว่า “ปกาเกอะญอ” หมู่บ้านมีอายุ 200 ปี กว่า ซึ่งประชากรอพยพมาจากหมู่บ้านใกล้เคียงโดยแยกตัวออกมา ที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้นเรียกตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดนี้เหมือนไม้ไผ่ ภาษาไทยเรียกว่า “ไม้ฮี้” ภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า “หว่ากล๊อ” ชื่อหมู่บ้านนั้นภาษาปกาเกอะญอจึงเรียกว่า “กล๊อคี” หรือ บ้าน “ห้วยฮี้” หมู่บ้านห้วยฮี้เป็นชุมชนกะเหรี่ยง ที่อพยพมาจากบ้านห้วยงูมาอยู่บริเวณบ้านห้วยฮิประมาณ 170 ปีที่แล้วมีการเคลื่อนย้ายไปมาอยู่บริเวณนี้ตลอดเวลา โดยการเคลื่อนย้ายอาจเกิดจากโรคระบาด หรือฮีโข่ตายเป็นต้น เพราะสมัยก่อนกะเหรี่ยงบ้านห้วยฮี้นับถือศาสนาผีหรือผีบรรพบุรุษ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงศาสนาไปนับถือศาสนาคริสต์ในปี พ.ศ. 2524 ก็ไม่มีการย้ายไปมาอีกแล้ว

อาณาเขต

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  บ้านหนองขาวกลาง

ทิศใต้         ติดต่อกับ  บ้านห้วยกุ้งใหม่

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  บ้านห้วยกุ้งเก่า

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  บ้านหัวน้ำแม่สะกึ๊ด และบ้านหัวน้ำแม่ฮ่องสอน

ปกาเกอะญอ
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านห้วยฮี้เป็นชุมชนปกาเกอะญอ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอาศัยและพึ่งพิงอยู่กับธรรมชาติ ถึงแม้จะมีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มากกว่า 200 ปีแล้วก็ตาม แต่สภาพของผืนป่าก็ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ถึงแม้จะมีการทำไร่หมุนเวียนสืบต่อกันมา การก่อสร้างบ้านเรือนที่เป็นแบบเฉพาะ การตีมีดการประดิษฐ์เครื่องจักรสานไว้ใช้ในครัวเรือน การทอผ้า การปักผ้า เพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม การย้อมสีผ้าโดยใช้สีจากธรรมชาติ อาหารการกินที่ใช้พืชผักภายในไร่และสิ่งที่ได้มาจากป่าผ่านการปรุงที่เรียบง่าย ได้เป็นอาหารที่เป็นแบบเฉพาะของชาวปกาเกอะญอ นอกจากนั้นยังมีการละเล่นและประเพณีที่สืบทอดกันต่อมา เช่น การรำดาบ และการร้องเพลงประสานเสียงเป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

1.) การแต่งกาย

เครื่องแต่งกายของชาวบ้านห้วยฮี้ ยังคงใช้ภูมิปัญญาในการทอเสื้อผ้าไว้ใช้เอง ซึ่งผู้หญิงจะเป็นผู้รับผิดชอบและดูแลเรื่องเครื่องแต่งกายของทุกคนในครั้วเรือน ผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะแต่งกายด้วยสีขาวเรียนว่า “เซวา” มีสองแบบคือ “เซวาเซเค” จะเป็นเสื้อสีขาวตัวยาวมีลายและแถบตรงกลางระหว่างเอว ผู้หญิงที่เริ่มโตเป็นสาวและวัยรุ่นจะนิยมแต่งกายในลักษณะนี้ เนื่องจากมีความสวยงามกว่า อีกแบบหนึ่งเรียนว่า “เซวาเส่อเล๊” ไม่มีลายและไม่มีพู่ห้อยจะเป็นชุดของเด็กผู้หญิง การที่หญิงสาวใสเสื้อเซวาสีขาวมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ เมื่อแต่งงานจะเปลี่ยนมาสวมเสื้อสีดำหรือสีน้ำเงินมีการปักเป็นลายต่างๆ เรียกว่า “เซซู” ซึ่งเป็นเสื้อตัวสั้นใส่กับผ้านุ่งมีลายสีแดงสลับ

ผู้ชายแต่งกายด้วยเสื้อตัวสั้นเรียกว่า “เซกอ” ในอดีตมีความเพียงสีแดงเท่านั้นเนื่องจากเป็นสีที่ได้มาจากการย้อมโดยใช้ลูกไม้ สำหรับสีดำและสีน้ำเงินที่เป็นสีเสื้อของผู้หญิง เป็นสีที่ได้จากการนำใบไม้ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ใบฮ่อม” มาย้อมสีและยังมีการนำเปลือกไม้มาต้มรวมกันเพื่อให้ได้สีที่เข้ม แต่ในปัจจุบันเสื้อของผู้ชายจะมีหลายสีมากขึ้น เพราะมีการซื้อด้ายสำเร็จรูปมาทอ สีของเสื้อผ้าทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะสดใสขึ้นเนื่องจากมีการซื้อเคมี (สีย้อมผ้า) มาต้มผสมกับวัสดุทางธรรมชาติ เพื่อให้ได้สีที่เข้มและติดทนกว่า เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน ภูมิปัญญาในการทอผ้าจึงไม่ได้จำกัดแค่เพียงทอเสื้อไว้ใส่กันในครัวเรือนเท่านั้น แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนทอเป็นผ้าพันคอ ผ้าปูเตียงเพื่อเป็นสินค้าให้นักท่องเที่ยวได้หาซื้อกลับไปเป็นที่ระลึก และการย้อมสีผ้าโดยใช้วัสดุธรรมชาติ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาศึกษาภูมิปัญญาและ การใช้ประโยชน์จากป่า

2.) ลักษณะการสร้างบ้านเรือน

ผลจากการสัมภาษณ์ นายพะส่าจู ไพรประเสริฐยิ่ง นางสาวลี กะหมื่นแฮ นางลีลา กวางทู และผู้สูงอายุคนอื่นๆ ในหมู่บ้านในช่วงที่ลงไปเก็บข้อมูลในหมู่บ้านช่วงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2548 ประกอบกับศึกษาจากเอกสารที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยปูลิงจัดทำไว้ ทำให้ได้ข้อมูลและวิวัฒนาการ การตั้งถิ่นฐานและก่อสร้างบ้านเรือนดังนี้ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาวปกาเกอะญอ ในอดีตนั้นจะย้ายบ้านตามลักษณะการทำไร่คือหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่เพาะปลูกและจะวนกลับมาที่เดิมอีกครั้งปัจจัยต่อมาของการย้ายถิ่นที่ตั้งบ้านเรือคือ ความเชื่อเรื่องคนเจ็บป่วย ล้มตายต้องรื้อบ้าน ย้ายบ้านหนีโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งในอดีตจะก่อสร้างบ้านแบบไม่ถาวร ลักษณะบ้านเป็นกระท่อม สร้างด้วยไม้ไผ่ สะดวกและง่ายต่อการโยกย้าย อีกปัจจัยในการย้ายถิ่นฐานคือเมื่อชุมชนตั้งอยู่นานมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนคน จำนวนสัตว์เลี้ยงเช่น วัว ควาย ทำให้หมู่บ้านเกิดความสกปรก ความเป็นอยู่แย่ลง ดังเช่นปัญหาชุมชนแออัดและปัญหาขยะของคนในเมือง โรคภัยไข้เจ็บคุกคามจึงต้องย้ายหนีสิ่งเหล่านี้ และความเชื่อในเรื่องผี สถานที่บางแห่งเมื่อมีการตั้งหมู่บ้านทำให้เกิดโรคระบาด หรือมีสัตว์ไม่พึงปรารถนาเช่น งูเหลือม เสือ เก้ง กวางเข้าหมู่บ้าน ชุมชนก็ต้องย้ายเพราะเชื่อว่าเจ้าที่เจ้าทางไม่อนุญาต และมีความเชื่อเรื่องการผิดจารีต ประเพณี ก็จะมีการโยกย้ายเพื่อไม่ต้องการเผชิญกับความขัดแย้ง

พื้นที่ที่ตั้งเป็นหมู่บ้านห้วยฮี้ในปัจจุบันนั้น ในอดีตเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้ทำสวนปลูกไม้ผล ปลูกผัก เพราะมีพื้นที่กว้างและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านเคยคิดจะย้ายถิ่นฐานมาตั้งยังบริเวณนี้ก่อนหน้าแล้ว แต่ติดตรงความเชื่อในเรื่องการนับถือผีและหวาดกลัวผีเจ้าที่และผีเจ้าป่าเจ้าเขาจึงไม่ย้ายมา ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ความกลัวในเรื่องผีสางลดน้อยลงไป มีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้นการตั้งบ้านเรือนบริเวณที่มีพื้นที่กว้าง และน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นทาง เลือกในการตั้งหมู่บ้านใหม่ การย้ายถิ่นฐานมาสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ปัจจุบัน จะถูกรุกรานจากปัจจัยภายนอกหลายประเภท ชุมชนเองก็มีการปรับตัวในการดำรงชีพมีเวทีและเปลี่ยน พบประกันระหว่างผู้คนภายในและภายนอกชุมชน เพื่อหาทางออกในการควบคุม ดูแลจัดการพื้นที่ ที่ถูกรุกราน บางครั้งมีการรวมตัวขับไล่ผู้บุกรุก บางครั้งต้องใช้ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีเป็นกฎเกณฑ์ในการจัดการดิน น้ำ ป่า ซึ่งได้ผลเป็นที่พอใจ จากการที่มีการตั้งถิ่นฐานถาวรเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตาม หากดูและเปรียบเทียบกับระยะเวลาในการตั้งถิ่นฐาน ก็นับว่าป่ายังคงสภาพความสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การสร้างบ้านเรือของชาวบ้านห้วยฮี้ จะใช้วัสดุจากธรรมชาติเกือบทั้งหมดจากการสังเกตและสัมภาษณ์โดยตัวผู้วิจัยพบว่า ชาวบ้านจะใช้ ไม้สนเป็นไม้สำคัญในการทำเสาโครงอาคารและใช้ไม้ไผ่เป็นฟากทำเป็นฝาบ้าน และนำมาผูกยึดกับโครงบ้านในอดีตจะใช้ตอกในการยึด แต่ในปัจจุบันจะมีการใช้ตูปูเพื่อความมั่นคงแข็งแรงขึ้น หลังคาบ้านจะใช้ไม้แป้นเกร็ดซึ่งทำจากไม้สน หรือใบปาล์มชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ใบตองก๊อ” ทำหลังคา ลักษณะของบ้านเป็นบ้านยกพื้นใต้ถุนเปิดโล่งไม่มีการแบ่งห้อง ภายในบ้านเป็นโถงมีเตาสำหรับประกอบอาหารอยู่กลางห้อง เหนือเตามีชั้นวางของ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่ใช้ในการประกอบอาหาร และเมล็ดพันธุ์พืชที่เตรียมไว้เพราะปลูกในฤดูกาลหน้า ข้างๆ เตาจะเป็นที่นอนและที่เก็บของใช้ส่วนตัว

ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองซึ่งสืบทอดต่อกันมา มีการสอนภาษาโดยผ่านบทสวดและบทความในพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ที่นำเข้ามาเผยแผ่ทุกวันอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในหมู่บ้าน และกับบุคคลในชุมชนอื่นที่เป็นชาวปกาเกอะญอ ทำให้เป็นภาษาที่ยังคงใช้สืบทอดต่อกันมา ภาษาที่สองคือภาษาไทยซึ่งใช้เป็นภาษาราชการที่ใช้ติดต่อกับบุคคลภายนอก แต่เนื่องจากไม่ได้ใช้กันในชีวิต ประจำวันททำให้ชาวบ้านบางคน โดยเฉพาะผู้เฒ่าและผู้สูงอายุในหมู่บ้านฟังเข้าใจแต่ไม่สามารถพูด คุยตอบโต้ได้อีกทั้งยังไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทย ซึ่งต่างจากคนหนุ่มสาวและวัยกลางคนในหมู่บ้านที่ สามารถพูดคุยตอบโต้เป็นภาษาไทยได้ อ่านและเขียนภาษาไทยได้เพราะได้รับการศึกษาจากโรงเรียนบ้านห้วยฮี้ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านและลงไปศึกษาต่อชั้นมันธยมศึกษาภายในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปกรณ์ จีนาคำ. (2547). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาบ้านห้วยฮี้ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินิจ ผาเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมดำ, 4(2). 138-150.

สุธิรัตน์ คชสวัสดิ์. (2549). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยฮี้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้.