Advance search

วัดณรงค์

อุโบสถวัดตาลล้อมที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 170 ปี ซึ่งถือเป็นมรดกโลกเก่าแก่อันล้ำค่าสมควรแก่การเก็บรักษา

หมู่ที่ 1
เหมือง
เมืองชลบุรี
ชลบุรี
ศิริลักษณ์ นาโม
30 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 ก.ค. 2023
ณัฐวุฒิ บัวคลี่
30 ก.ค. 2023
วัดตาลล้อม
วัดณรงค์

ศูนย์กลางของชุมชนแห่งนี้คือ "วัดตาลล้อม" ซึ่งสถานที่ตั้งของวัดล้อมรอบด้วยต้นตาล จึงกลายเป็นวัดที่อยู่กลางดงตาล และเป็นที่มาของชื่อชุมชนวัดตาลล้อม


อุโบสถวัดตาลล้อมที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 170 ปี ซึ่งถือเป็นมรดกโลกเก่าแก่อันล้ำค่าสมควรแก่การเก็บรักษา

หมู่ที่ 1
เหมือง
เมืองชลบุรี
ชลบุรี
20130
13.27216722800275
100.94062363001048
เทศบาลตำบลเหมือง

"ชุมชนวัดตาลล้อม" มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจากคำบอกเล่าของพระมหาสมพงษ์ กิตติคุโณ เจ้าอาวาสวัดตาลล้อม กล่าวว่า "วัดตาลล้อม เดิมชื่อวัดณรงค์" เรียกตามนามของอุบาสกผู้ถวายที่ดินสร้างวัด คือ ขุนณรงค์ จอมสุวรรณ กำนันตำบลบางทรายต่อมาเมื่อมีผู้คนมากขึ้นทำให้วัดคับแคบไปไม่ สามารถขยายต่อไปได้อีกเพราะวัดตั้งอยู่ติดกับชายป่า และมีทุ่งนาล้อมรอบ ประกอบกับการสัญจรไปมาระหว่างวัดกับหมู่บ้านไม่สะดวกต้องใช้สะพาน ทางวัดและชาวบ้านจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นที่ของขุนณรงค์ เช่นเดียวกัน เมื่อวัดย้ายมาอยู่ที่ใหม่แล้วชื่อวัดก็ได้เปลี่ยนจากเดิมด้วย เพราะสถานที่ตั้งของวัดแห่งใหม่นี้ล้อมรอบด้วยต้นตาลกลายเป็นวัดอยู่กลางดงตาล วัดจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดตาลล้อม"

สภาพทั่วไปชุมชนวัดตาลล้อม มีจุดศูนย์กลางของชุมชนคือวัดตาลล้อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง และมีภูเขาบางส่วน ประชากรส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม และค้าขาย โดยชุมชนวัดตาลล้อมจะอยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลห้วยกะปิและตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี

ตามข้อมูลเดือนมกราคม 2566 จากกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลเหมือง หมู่ที่ 1 ดอนล่าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนวัดตาลล้อมมีจำนวนประชากรทั้งหมด 4,395 คน แบ่งเป็นเพศชาย 2,042 คน เพศหญิง 2,353 คน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1. พระครูพิพัฒน์สีลคูณ (พูน โสวัณโณ)

อดีตเจ้าอาวาสวัดตาลล้อม และอดีตเจ้าคณะตำบลแสนสุข เกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพระพระเกจิดังของเมืองชลรูปหนึ่งที่ได้รับการนิมนต์ ในจำนวน 108 องค์ทั่วประเทศ ให้ไปร่วมพิธีรพุทธาภิเษกครั้งประวัติศาสตร์ ณ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2481 ท่านเป็นพระที่มีความรู้ความสามารถ เป็นพระหมอดู หมอยา และน้ำมนต์ที่ขึ้นชื่อลือชาว่าขลังองค์หนึ่ง ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างแวะเวียนมาให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าประพรมน้ำพระพุทธมนต์โดยตลอด ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบพัฒนาวัดตาลล้อม จนมีความเจริญรุ่งเรือง หลวงพ่อพูนท่านเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงได้สร้างโรงเรียนวัดตาลล้อม (พูนราษฎร์อำรุง) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อให้ลูกเหลนมีที่ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ

ท่านเป็นบุตรของท่านขุนคลังอินทร์ มารดาชื่อ มงคล อินทรมังคละ เกิดที่บ้านท้ายตอนตำบลเหมือง (บางพระ) อำเภอเมืองชลบุรี ปีกุล พ.ศ. 2433 เมื่ออายุ 12 ปี ได้ไปเรียนหนังสือไทยเป็นศิษย์ของระสุน 2 ปี และพระขวัญ 2 ปี โดยเป็นลูกศิษย์ที่วัดเจริญดอน หลังจากนั้นได้ไปอยู่กับหลวงบุรัตถคามบดีที่บ้านบางพระและได้ย้ายตามคุณหลวงไปที่อำเภอศรีราชา เมื่ออายุได้ 20 ปี ลาออกจากงานเข้าอุปสมบทที่วัดตาลล้อม เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ได้จำพรรษาที่วัดตาลล้อม 2 พรรษา และได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดท้ายดอน จนกระทั่งวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2459 ทางคณะอุบาสกอุบาสิกาวัดตาลล้อม ได้นิมนต์ท่านกลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตาลล้อมเพื่อพัฒนาวัดต่อไป หลวงพ่อพูน มรณภาพ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2495 รวมอายุได้ 62 ปี 42 พรรษา

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อพูน วัดตาลล้อม ชลบุรีวัตถุมงคลของวัดตาลล้อมที่เป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพูน โสวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดตาลล้อมที่มีความรู้ความสามารถ เป็นพระหมอดู หมอยา และน้ำมนต์ที่ขึ้นชื่อลือชาว่าขลังองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2480 เพื่อฉลองศาลาโรงเรียนวัดตาลล้อม นับว่าเป็นเหรียญหายากและได้รับความนิยมสูงสุดของชาวหนองมนบางแสน และผู้นิยมวัตถุมงคลสายภาคตะวันออกโดยทั่วไป

อุโบสถวัดตาลล้อมเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ปรากฏอยู่เดิมภายในวัดตาลล้อมมีส่วนฐานระดับต่ำเกือบเสมอกันกับระดับพื้นที่โดยรอบตัวพระอุโบสถ หน้าบันพระอุโบสถตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นผูกลายเป็นพันธ์พฤกษาแบบลายฝรั่ง ฝีมือค่อนข้างหยาบมีร่องรอยการเน้นด้วยวิธีระบายสีพระพุทธรูปประ-ธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนขึ้นปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงามได้สัดส่วนองค์หนึ่งเบื้องหน้าเป็นฐานชุกชี ที่ประดิษฐานองค์พระประธาน มีพระพุทธรูปหล่อสำริดปิดทอง ประทับนั่งบนฐานผ้าทิพย์ ประกอบฉัตรโลหะ 5 ชั้น ทรงจีวรเป็นลายดอกพิกุลตามแบบอย่างพระพุทธรูปที่นิยมสร้างกันในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 อีกทั้งยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีน้ำ เกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติอีกด้วย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

โรงเรียนวัดตาลล้อม เป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของตำบลเหมือง เปิดทำการสอนเมื่อ ปี พ.ศ. 2466 โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน เปิดสอนครั้งแรก มีนักเรียน 80 คน มีพระภิกษุสวย พุทธภักขิโต เป็นครูใหญ่ ในปี พ.ศ. 2475 พระครูพิพัฒน์ศีลคุณ (หลวงพ่อพูน) เจ้าอาวาสวัดตาลล้อมต้องการให้มีอาคารเรียน ได้บอกบุญเชิญชวนชาวบ้านร่วมบริจาคทรัพย์สร้างอาคารเรียนในบริเวณวัดตามแบบ ป.1 พิเศษ  ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น ได้ลงมือสร้างเมื่อ พ.ศ. 2476 ได้แรงงานจากพระภิกษุวัดตาลล้อมและชาวบ้านช่วยกันด้วยความอุตสาหะ จึงสำเร็จเป็นโรงเรียนหลังแรกของตำบลนี้ โดยตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดตาลล้อม มอบให้กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เปิดสอนชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นประถมปีที่ 4 ครูใหญ่คือ นายพรม ติสฺโส ต่อมาวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2482 ทางรัฐบาลได้ยกฐานะให้เป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผลให้ครูทุกคนเป็นข้าราชการพลเรือนโดยสมบูรณ์


โบราณสถานวัดตาลล้อม เป็นความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและกรมศิลปากรในการดำเนินการเรื่องอุโบสถวัดตาลล้อมหลังเก่าที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 170 ปี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 116 ตอนที่ พิเศษ 17 ง. ลงวันที่ 17 มีนาคม 2542 พื้นที่โบราณสถานโดยประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 20.4 ตาราวา 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กราบหลวงพ่อพูน วัดตาลล้อม พระเกจิเมืองชลบุรี. (2558). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.faiththaistory.com/wat-tarnlom/

ชยาภรณ์ บำรุงเขต. (2560). การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาภูมิศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทัวร์วัดไทย. (ม.ป.ป.). “เคารพบูชาหลวงพ่อพูน พระเกจิเมืองชลบุรี ชมโบราณสถานที่เก่าแก่กว่า 170 ปี”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://tourwatthai.com/watthai/wattanlom/

ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน. (2542, 17 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 2.

โรงเรียนวัดตาลล้อม. (2564). ประวัติ โรงเรียนวัดตาลล้อม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://data.bopp-obec.info/.

วัดตาลล้อม (พระอุโบสถเก่า). (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://culturalenvi.onep.go.th/.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). พระครูพิพัฒน์ศีลคุณ (พูน โสวณฺโณ). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). วัดตาลล้อม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/.

สำนักงานเทศบาลตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (ม.ป.ป.). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.mheung.go.th/