Advance search

ชุมชนบ้านป่า คือชุมชนดั้งเดิมที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี ยึดพื้นที่คลองระบม และคลองสียัด ที่มีฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า วิถีชีวิต ความเชื่อ และสายสัมพันธ์ร่วมกัน จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่า อย่าง ชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม - สียัด

คลองตะเกรา
ท่าตะเกียบ
ฉะเชิงเทรา
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
30 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
30 ก.ค. 2023
บ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด


ชุมชนชนบท

ชุมชนบ้านป่า คือชุมชนดั้งเดิมที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี ยึดพื้นที่คลองระบม และคลองสียัด ที่มีฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า วิถีชีวิต ความเชื่อ และสายสัมพันธ์ร่วมกัน จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่า อย่าง ชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม - สียัด

คลองตะเกรา
ท่าตะเกียบ
ฉะเชิงเทรา
24160
13.527000031436263
101.5912096160146
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา
พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองระบม - สียัด มีชุมชนกระจายอยู่ตลอดลำคลองทั้งสอง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ในอดีตชาวบ้านป่ามีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นอยู่หลายครั้ง ทว่าเคลื่อนย้ายไปอยู่ไม่ไกลจากชุมชนเดิมมากนัก ก่อนจะมาตั้งหลักปักฐานเป็นการถาวระเมื่อไม่นาน ปรากฎหลักฐานที่แสดงถึงความเป็นชุมชนเก่าอยู่ทั่วไป ปัจจุบันมีการขยายตัวของชุมชน เกิดหมู่บ้านใหม่ขึ้นตามเส้นทางถนนที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ โดยชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม - สียัด ต้้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสยามชัย และอำเภอท่าตะเกียบ ดังนี้
  • บ้านนาหนองกะพง ที่ตั้งหมู่ 3 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเชต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านชำป่างาม ที่ตั้งหมู่ 8 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเชต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านทุ่งยายชี ที่ตั้งหมู่ 13 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านชมพู ที่ตั้งหมู่ 16 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านวังวุ้ง ที่ตั้งหมู่ 1 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านท่ากลอย ที่ตั้งหมู่ 4 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านท่าคาน ที่ตั้งหมู่ 2 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • บ้านกรอกสะแก ที่ตั้งหมู่ 1 ตำบลตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต มีพื้นที่ 1,666.02 ตารางกิโลเมตร และอำเภอท่าตะเกียบ มีพื้นที่ 1,054.77 ตารางกิโลเมตร

โดยพื้นที่ต้นน้ำคลองระบม คลอบคลุมพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมบริเวณคลองระบม ได้แก่ หมู่ 3 บ้านนาหนองกะพง และหมู่ 8 บ้านชำป่างาม ในตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

ส่วนพื้นที่ต้นน้ำคลองสียัด คลอบคลุมพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมบริเวณคลองระบม ได้แก่ หมู่ 1 บ้านวังวุ้ง หมู่ 2 บ้านท่าคาน หมู่ 3 บ้านทุ่งยายชี หมู่ 4 บ้านท่ากลอย หมู่ 17 บ้านชมพู ในตำบลท่าตะเกียบ และหมู่ 1 บ้านกรอกสะแก ในตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ใกล้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

อำเภอสนามชัยเขต มีพื้นที่ 1,666.02 ตารางกิโลเมตร มีเขตปกครอง 4 ตำบล 65 หมู่บ้าน จำนวน 16,480 ครัวเรือน มีจำนวนประชากร 76,794 คน ในขณะที่อำเภอท่าตะเกียบ มีพื้นที่ 1,054.77 ตารางกิโลเมตร มีเขตการปกครอง 2 ตำบล 45 หมู่บ้าน จำนวน 9,872 ครัวเรือน มีจำนวนประชากร 38,070 คน 

จากจำนวนประชากรดังกล่าวมานั้นพบถึงความหลากหลายของกลุ่มคนที่มาจากหลายภูมิภาค แบ่งเป็นชาติพันธุ์หลัก ๆ คือ ชอง ลาวพวน จีน เขมร ไท ภูไท ลาวอีสาน ก่วย (ส่วย/กูย) 

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ก็มีบางที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนน้อย 

จีน, ชอง

ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ศึกษา ส่วนมากมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ทำไร่ ทำนา ทำสวนผลไม้ ปลูกผัก ส่วนอาชีพรองลงมา คือรับจ้างทั้งในภาคเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่ นอกจากนี้แล้วยังมี อาชีพค้าขายและอาชีพรับราชการ รวมถึงลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานรัฐ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผืนป่าต้นน้ำคลองระบม - สียัด 

มีความแน่นทึบไปด้วยไม้น้อยใหญ่ที่มีค่า อย่าง ตะเคียน มะค่าโมง ประดู่ ชิงชัน แดง ยางนา ตะแบก กระบก สมพง ไม้หอม สีเสียด สมอพิเภก มะกอกป่า ที่อยู่ตามริมห้วยลิ้นจี่ป่า (คลอเลน) มังคุดป่า มะไฟ ขนุนป่า หว้า และกระท้อน เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้ป่าที่หายากและสวยงามอีกหลายชนิด ไผ่สารพัดชิดก็เช่นกันที่ต่างขึ้นเบียดกันหนาแน่น ทั้ง ไผ่รวก ไผ่ลำมะลอก และไผ่ป่าที่มีหนามแหลมคม มีหน่ออ่อนผุดแทรกขึ้นมาระเกะระกะยามหน้าฝน พื้นดินนุ่มหนาไปด้วยใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกัน ประกอบกับยังรกทึบไปด้วยไม้พื้นล่างจำพวกหวาย เร่ว ระกำ เถาวัลย์ เถาหญ้านาง ปออีเก้ง กระชิด กูด เฟิร์น สนุมไพร และผลไม้นานาชนิด

คลองระบม - สียัด แหล่งน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตคนในพื้นที่

สายน้ำในคลองระบม และคลองสียัด ยามหน้าน้ำจะมีกระแสการไหลที่รวดเร็วและเชี่ยวกราก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของผืนป่าคลองระบม - สียัด บางส่วนเป็นภูเขาลูกเตี้ย ๆ ที่ราบลูกฟูก ที่ดอน และที่ราบสูงชัน

ชาวชุมชนบ้านป่ามีความเข้าใจกันดีในเรื่องลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว จึงใช้ภูมิปัญญาในการกักเก็บน้ำช่วงหน้าน้ำบ่าให้อยู่ในไร่นา เพื่อนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการทำนา ชาวบ้านป่าจึงตั้งบ้านเรือนทำมาหากินในบริเวณที่ราบใกล้ฝั่งคลองระบม คลองสียัดและลำห้วยสาขาที่แผ่กระจายในพื้นที่ อาทิ ห้วยกระพง แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านในการเลือกทำเลที่ตั้งลงหลักปักฐาน เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ทั้งในการบริโภคและอุปโภค

นอกจากที่กล่าว คลองระบมและคลอสียัด นับว่าเป็นต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำบงประกง อันเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของภาคตะวันออก เนื่องจากคลองระบมและคลองสียัดได้ไหลไปรวมกันที่บ้านปากระบม ตำบลเกาะขนุน กลายเป็น "คลองท่าลาด" ต่อจากนั้นได้ไหลลงสู่ที่ราบลุ่มต่ำของแม่น้ำบางปะกง โดยไหลผ่านตลาดเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำบางปะกงที่ตำบลปากน้ำ หรือบริเวณปากน้ำโจ้โล้ อำเภอบางคล้า

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พื้นที่ของป่าคลองระบมสียัดนั้น มีผู้คนอาศัยอยู่มาเป็นเวลานานกว่าร้อยปี ในอดีตชุมชนดั้งเดิมเหล่านี้มีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษาพูด ที่เป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง

ป่าต้นน้ำคลองระบมสียัด เมื่อครั้งอดีตเป็นส่วนหนึ่งของป่าพนมสารคาม ที่มีอาณาเขตกว้างขวางเริ่มตั้งแต่อำเภอพนมสารคามลึกเข้าไปติดคต่อเขตประเทศกัมพูชาด้านจังหวัดสระแก้ว ป่าเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี ป่าเขาชะเมาจังหวัดระยอง และป่าเขาใหญ่จังหวัดชลบุรี

เมื่อปี พ.ศ. 2512 ถูกประกาศให้เป็น เขตป่าสงวนแห่งชาติแควระบม - สียัด ต่อมาในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐบาลประกาศให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนฯ แควระบม - สียัด บางส่วนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งคนภายนอกที่เข้าไปเดินป่า มักจะเรียกว่า ผืนป่าตะวันออก เพราะมีพื้นที่เชื่อมต่อกันถึง 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และสระแก้ว ต่อมาให้ปี พ.ศ. 2525 กองทัพภาคที่ 1 ได้ประกาศกำหนดพื้นที่เป็นเขตหวงห้ามและได้เรียกผืนป่าอีกชื่อหนึ่งว่า "ป่ารอยต่อ5จังหวัด" จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2535 ได้ประกาศผนวกพื้นที่ป่าสงวนฯ แควระบม - สียัด บางส่วนเข้าไปรวมอยู่ในเขตรักษาพันธ์สัวต์ป่าเขาอ่างฤาไน

วิบูลย์ เข็มเฉลิม และคณ. (2548). วิถีคนบนป่าตะวันออกผืนสุดทัาย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.

วิบูลย์ เข็มเฉลิม และคณ. (2548). โครงการวิจัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.

กรุงเทพธุรกิจ. (2560). ‘คลองสียัด’ เส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/758957.