Advance search

ชุมชนที่มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้านแห่งแรกของประเทศไทยและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมแห่งแรกของประเทศไทย ในปี 2540 

หมู่ที่ 7
บ้านโขงกุดหวาย
เกิ้ง
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
ไกรวิทย์ นรสาร
10 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
ไกรวิทย์ นรสาร
30 ก.ค. 2023
บ้านโขงกุดหวาย

ตั้งชื่อชุมชนตามลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้าน โดยคำว่า “โขง” หมายถึง ลักษณะคดโค้งไปตามลำน้ำชี ส่วน “กุดหวาย” หมายถึง แหล่งน้ำที่สำคัญของหมู่บ้าน มีต้นหวายขึ้นโดยรอบอย่างหนาแน่นจึงเรียกนามชุมชนว่า “บ้านโขงกุดหวาย”


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้านแห่งแรกของประเทศไทยและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมแห่งแรกของประเทศไทย ในปี 2540 

บ้านโขงกุดหวาย
หมู่ที่ 7
เกิ้ง
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.22528929
103.3172885
องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง

เดิมภูมิประเทศของบ้านโขงกุดหวายเป็นป่ารก มีต้นหวายขึ้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะริมกุดหวายซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2457 พ่อเคน และแม่คำ มาโชติ ได้อพยพครอบครัวมาจากอำเภอกันทรวิชัย มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านโขงกุดหวายซึ่งเป็นครอบครัวแรกเพื่อทำไร่ทำนาหาเลี้ยงครอบครัว ภายหลังต่อมาพ่อเผิ่ง แม่โต๊ะ มะโลโพ ได้ย้ายครอบครัวมาจากบ้านโนนตูม และผู้คนจากที่อื่นอพยพตามาเป็นระยะ เพราะเห็นว่าที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ดี ราวปี 2514 ทางราชการจึงประกาศตั้งชื่อชุมชนเป็นบ้านโขงกุดหวายอย่างเป็นทางการ โดยมีนายทอง แก้วเพชร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก บ้านโขงกุดหวายเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนโยกย้ายเข้ามาต้องถิ่นฐาน ณ ชุมชน

ราว ทศวรรษที่ 2530 ชุมชนบ้านโขงกุดหวาย ได้มีการแบ่งการปกครองของชุมชนออกเป็น 5 คุ้ม เรียกการปกครองแบบ “เบญจภาคี” หรือวัฒนธรรม 5 สาขา ซึ่งแบ่งตามความถนัดของประชากรในแต่ละคุ้ม โดยให้คุ้มที่ถนัดทางด้านใดก็ให้รับผิดชอบในด้านนั้น ดังนี้

  • คุ้มที่ 1 คุ้มวรรณศิลป์ มีองค์ประกอบคือ ภาษา วรรณคดี ผญา และสรภัญญ์
  • คุ้มที่ 2 คุ้มทัศนศิลป์ มีองค์ประกอบคือ การจักสานเครื่องมือจับปลา หัตถกรรม สิ่งทอ เป็นต้น
  • คุ้มที่ 3 คุ้มนันทนาการ มีองค์ประกอบคือ อนุรักษ์และส่งเสริมด้านการกีฬา
  • คุ้มที่ 4 คุ้มศิลปะการแสดง มีองค์ประกอบเดียวกับชีพราหมณ์ หมอสู่ขวัญ จัดทำพานบายศรี ดนตรี พิณ แคน ด้านการบันเทิง
  • คุ้มที่ 5 คุ้มภูมิปัญญาชาวบ้าน มีองค์ประกอบคือ อนุรักษ์และส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

รวมไปถึงการที่ชุมชนมีโครงการ “โครงการรักหมู่บ้าน” ซึ่งเป็นโคงการมุ่งสร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมเพื่อการศึกษา ความรัก ความสามัคคีของคนในหมูบ้าน สร้างความคิด ความเชื่อ ในการพัฒนาหมูบ้านของตนเอง ร่วมกันสร้างวินัยในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการปกครองแบบ เบญจภาคี ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดจิตสำนึก มีความรักความสามัคคี ช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน จากเดิมที่เมื่อถึงฤดูน้ำหลากปลาจะเข้ามาอยู่ในบริเวณหนองกุดหวาย เมื่อน้ำลดชาวบ้านจะจับปลานั้นกิน เมื่อมีโครงการฯ ประกอบกับการปกครองแบบเบญจภาคีส่งผลให้คนในชุมชนพร้อมใจกันไม่จับปลาในหนองกุดหวายกิน ทำให้ปลาในหนองมีจำนวนมากและตัวโตขึ้น คนในชุมชนจึงจัดให้หนองกุดหวายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานมัจฉา จนถึงทุกวันนี้

ผลจากการทำโครงการฯ และการอนุรักษ์พันธ์ุปลาในหนองกุดหวายทำให้ ในปี 2540 ชุมชนบ้านโขงกุดหวายได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “หมู่บ้านวัฒนธรรมแห่งแรกของประเทศไทย” และอุทยานมัจฉาก็กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของคนในจังหวัดมหาสารคามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนในจังหวัดใกล้เคียงจนถึงปัจจุบัน

ชุมชนบ้านโขงกุดหวายมีสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำชี จึงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและได้รับผลกระทบเสมอหากน้ำชีมีปริมาณมากจนเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน

ปัจจุบันประชากรของชุมชนบ้านโขงกุดหวาย มีจำนวนทั้งหมด 346 คน และมีจำนวนครัวเรือน 99 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่คือกลุ่มชาติพันธ์ลาวอีสาน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1. นายเปรียญ เหล่าจุมพล  ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนบ้านโขงกุดหวาย

2. นายสมศักดิ์ ช่ำชอง  ผู้ตั้งชื่อนามหาดบานเย็นสถานที่พักผ่อนในช่วงหน้าแล้งของชุมชนบ้านโขงกุดหวาย

  • หาดบานเย็น 
  • ชุมชนตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำชี
  • อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย, อุทยานมัจฉา

คนในชุมชนบ้านโขงกุดหวายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ลาวอีสาน ใช้ภาษาลาวอีสานในการพูด/สนทนากันในชีวิตประจำวัน


  • ราว ทศวรรษที่ 2530 ชุมชนบ้านโขงกุดหวาย ได้มีการแบ่งการปกครองของชุมชนออกเป็น 5 คุ้ม เรียกการปกครองแบบ “เบญจภาคี” หรือวัฒนธรรม 5 สาขา ซึ่งแบ่งตามความถนัดของประชากรในแต่ละคุ้ม
  • ปี 2540 ชุมชนบ้านโขงกุดหวายได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “หมู่บ้านวัฒนธรรมแห่งแรกของประเทศไทย”และผลจากการดำเนินโครงการฯ ส่งผลให้เกิดอุทยานมัจฉาซึ่งก็กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของคนในจังหวัดมหาสารคามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนในจังหวัดใกล้เคียงจนถึงปัจจุบัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ไตรภพ ผลค้า. (2540). บ้านโขงกุดหวายหมู่บ้านวัฒนธรรมแห่งแรกของประเทศ.สื่ออีสาน. ท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมอีสาน. ฉบับที่ประจำวันที่ 15-30 กันยายน, หน้าที่ 10.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ภาควิชาประวัติศาสตร์. (2545). สารานุกรมประวัติหมู่บ้านและสถานที่ในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ข่าวสารการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3,23 (ก.ค. 2545) 9-38

พิสุทธิ์ จันทรจำนงค์. (2564). ภาพวังมัจฉามุมสูง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/

Google Earth. ภาพถ่ายทางอากาศบ้านโขงกุดหวาย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://earth.google.com/web/