ชุมชนที่คนในชุมชนมีความสามัคคี และขยันหมั่นเพียร สามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่ชุมชนมีทรัพยากรทางธรรมชาติจำกัด
ตั้งชื่อชุมชนตามสภาพแวดล้อมที่ตั้งโดยบริเวณรอบ ๆ ชุมชนในอดีตมีต้นยางขึ้นเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงได้ต้นชื่อชุมชนว่า "ดงยาง" อันหมายความว่า ชุมชนที่มีต้นยาง/ไม้ยางอยู่เป็นจำนวนมากกว่าพรรณไม้อื่น ๆ
ชุมชนที่คนในชุมชนมีความสามัคคี และขยันหมั่นเพียร สามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่ชุมชนมีทรัพยากรทางธรรมชาติจำกัด
ชุมชนบ้านดงยาง เริ่มมีผู้คนเอามาอยู่อาศัยในพื้นที่ ราว พ.ศ. 2390-2395 โดยกลุ่มของ นายพิมพ์ ปักการะโด, นายจวง ปะนัง, นายป้อง (ไม่ทราบนามสกุล),และนายคำ (ไม่ทราบนามสกุล) ได้พาผู้คนกลุ่มหนึ่ง อพยพมาจากบ้านนาดูน อำเภอนาดูน และในภายหลังได้มีอีกส่วนหนึ่งอพยพจากบ้านโพธิ์สองห้อง อำเภอวาปีปทุม เข้ามาเพื่อบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เนื่องจากพื้นที่ชุมชนเดิมมีความแออัด ไม่สามารถที่จะขยายที่ทำกินได้ อีกทั้งมีปัญหาเรื่องความแห้งแล้ง
หมู่บ้านดงยางเป็นหมู่บ้านแรกที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ จึงมีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก และจนได้ตั้งเป็นตำบลดงยางขึ้น และเป็นศูนย์กลางของกลุ่มหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลนั้น ประชากรส่วน ใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นหลักการเลี้ยงโค-กระบือ เป็นอาชีพเสริม หลังจากหมดฤดูทำนาก็เลี้ยงไหม เนื่องจากในบางฤดูสภาพเศรษฐกิจในชุมชนดีนัก หลังจากหมดฤดูทำนาผู้คนต่างก็เดินทางไปขายแรงงานต่างถิ่น ประชากรในหมู่บ้านมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักความ สามัคคี ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะได้ สังเกตได้จากงานบุญต่าง ๆ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงลูกคลื่นเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีน้ำไหลผ่าน ลักษณะดินจากการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดินพบว่าตำบลดงยางมีดินอยู่ 2 ชุดได้แก่ ชุดดินร้อยเอ็ดและดินโคราช บ้านดงยางมีที่ตั้งของหมู่บ้านและอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านยางดินเหลือง บ้านโคกเครือ ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองทุ่ม
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านหนองโปร่ง ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน
- ทิศตะวันออก ติดกับ พื้นที่การเกษตรของชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
ประชากรของชุมชนบ้านดงยางมีประมาณ 500 คน ประชากรในหมู่บ้านมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักความสามัคคี ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะได้ สังเกตได้จากงานบุญต่าง ๆ
- กลุ่มเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ฯลฯ
- กลุ่มเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม
- กลุ่มเย็บผ้า
- กลุ่มทำขนม
คนในชุมชนบ้านดงยาง ปฏิบัติตนตามประเพณี 12 เดือนของสังคมอีสาน ส่วนงานบุญ งานกุศลต่าง ๆ ก็มีกันเกือบตลอดทั้งปี เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช ผ้าป่า ฯลฯ การรวมตัวกันส่วนมากจะเป็นที่วัด หลังจากว่างเว้นจากงานประเพณีและงานบุญต่าง ๆ และวิถีชีวิตของคนในชุนบ้านดงยางมีการทำอาชีพทำนาและเลี้ยงโค-กระบือ และมีอาชีพเสริมคือ ทอผ้าไหมเพื่อจำหน่ายนุ่งห่ม
- พระสัตตนาคจำปาศรี วัดดงยาง
คนในชุมชนบ้านดงยางใช้ภาษาลาวอีสานเป็นภาษาที่ใช้สนทนา พบปะกันในชีวิตประจำวันและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อราชการกับหน่วยงานราชการ
ไพโรจน์ บริบูรณ์. (2545). การจัดทำแผนแม่บทชุมชนบ้านดงยาง หมู่ 1 ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพโรจน์ บริบูรณ์. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านดงยาง หมู่ที่ 1 ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.