Advance search

ชุมชนที่ตั้งซ้อนทับบนพื้นที่แหล่งถลุงโลหะในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ปัจจุบันสามารถพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและตระกรันเหล็กได้โดยรอบชุมชน

หมู่ที่ 7
บ้านโนนตาล
ดงยาง
นาดูน
มหาสารคาม
ไกรวิทย์ นรสาร
24 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
26 เม.ย. 2023
ไกรวิทย์ นรสาร
30 ก.ค. 2023
บ้านโนนตาล

ชื่อของชุมชนบ้านโนนตาลนั้น มาจากคำว่า "โนน" ในภาษาถิ่นอีสานหมายถึง พื้นที่สูง คำว่า "ตาล" หมายถึง ต้นตาล อาจจะตีความได้ว่า พื้นที่สูงที่มีต้นตาลขึ้นมาก จึงนำมาตั้งเป็นชื่อบ้านนามเมืองของชุมชนตนเอง


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่ตั้งซ้อนทับบนพื้นที่แหล่งถลุงโลหะในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ปัจจุบันสามารถพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและตระกรันเหล็กได้โดยรอบชุมชน

บ้านโนนตาล
หมู่ที่ 7
ดงยาง
นาดูน
มหาสารคาม
44180
15.74742494
103.2496418
องค์การบริหารส่วนตำบลดงยาง

พื้นที่บริเวณชุมชนบ้านโนนตาลเป็นพื้นที่ที่มีคนเคยอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราว 2500-3000 ปีที่ผ่าน โดยปรากฏหลักฐานคือเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และตระกรันเหล็กที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าชุมชนในสมัยดังกล่าวนี้คงจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในการผลิตเหล็กขนาดใหญ่เนื่องด้วยตระกรันเหล็กที่กองเป็นเนินสูง (บริเวณตั้งชุมชนในปัจจุบัน) ภายหลังการเข้ามาตั้งชุมชนของคนรุ่นหลังรางพุทธศตวรรษที่ 22-23 ได้ทำการปรับพื้นที่บริเวณเนินตระกรันเหล็กลงเพื่อใช้ตั้งบ้านเรือน ทำให้เนินเตี้ยลงเล็กน้อย

ชุมชนบ้านโนนตาลอยู่ในพื้นที่ของ ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเข้ามาตั้งชุมชนเมื่อใด และใครพามาตั้งชุมชน ชุมชนบ้านโนนตาลเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพหลักคือการทำนาซึ่งหลังจากการทำนาเสร็จ จะไม่มีอาชีพเสริมภายในชุมชนบางครอบครัวมีรายได้พอมีพอใช้กับการทำมาหาเลี้ยงครอบครัว บางครอบครัวไม่มีพอกินพอใช้ก็มีบางครอบครัวที่ขยันทำมาหากิน บางครอบครัวก็มีอาชีพเสริมอยู่กับบ้าน เช่น การเลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็ดและไก่ หลังจากหมดฤดูทำนาก็เลี้ยงไหม เนื่องจากในบางฤดูสภาพเศรษฐกิจในชุมชนไม่ดีนัก

อย่างไรก็ตามบ้านโนนตาลยังเป็นชุมชนที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านเช่น มีโรงเรียน วัด สถานีอนามัยและมีศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน มีไฟฟ้าและระบบน้ำประปา ในหมู่บ้านมีการคมนาคมที่สะดวก มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน

สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับกับมอหรือเนินเป็นบางแห่ง ไม่มีภูเขาไม่มีแม่น้ำ ไหลผ่านสภาพดินทั่วไปเป็นดินปนทราย ซึ่งขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ที่ตั้งของหมู่บ้านและอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ พื้นที่การเกษตรของคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ พื้นที่การเกษตรของคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
  • ทิศใต้ ติดกับ อำเภอนาดูน
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านโปร่ง ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน

ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่อาศัยอยู่แบบครอบครัวเดี่ยว ประชากรในหมู่บ้านอยู่กันแบบพึ่งพาอาศัยกันและกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผู้นำหมู่บ้านและประชากรในหมู่บ้านมีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมยุติธรรมและมีความสามัคคีกัน ภายในชุมชนมีจำนวนประชากรประมาณ 200 คน

  • การเลี้ยงสัตว์โค กระบือ สุกร เป็ด และไก่
  • การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมมัดหมี่เพื่อจำหน่าย
  • กลุ่มเย็บผ้า
  • กลุ่มค้าขายต่าง ๆ

ในชุมชนบ้านโนนตาลมีวัดอยู่หนึ่งแห่งชื่อ วัดบ้านดงยางวราราม เป็นพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันทั้งสี่หมู่บ้านคือ บ้านโนนตาล บ้านดงยาง บ้านยางดินเหลือง บ้านหนองโปร่ง ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ผู้คนในชุมชนมีการยึดถือปฏิบัติตามฮีต 12 คลอง 14 หรือประเพณี 12 เดือนของชาวอีสาน และนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่

1. นายไพฑูรย์ ปัดตาลาคะ : ปราชญ์ชุมชน

ทุนชุมชนในหมู่บ้านโนนตาลส่วนใหญ่จะเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติซึ่งมีดังนี้

  • แหล่งน้ำภายในชุมชนสามารถใช้ในการเลี้ยงและทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีและมีดื่มใช้ มีประปาใช้ในชุมชนได้ตลอดทั้งปี
  • ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชนปัจจุบันป่าไม้ในชุมชนแบ่งออกทั้งหมดเป็น 10 ไร่ในดอนปู่ตา

นอกจากนี้ยังพื้นที่ศึกษาการถลุงโลหะของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

ภาษาที่ประชาชนชาวบ้านโนนตาลใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในหมู่บ้าน คือ ภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาประจำท้องถิ่น และมีการใช้ภาษากลางหรือภาษาไทยเป็นภาษาในการติดต่อราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ณัฏฐานันท์ ยางเครือ. (2545). การจัดทำแผนแม่บทชุมชนบ้านโนนตาล หมู่ 7 ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐานันท์ ยางเครือ. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านโนนตาล หมู่ 7 ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

องค์การบริหารส่วนตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. (ม.ป.ป.). ผลิตภัณฑ์ชุมชน : ผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าคลุมไหล่ลายสร้อยดอกหมาก. ค้นจาก http://www.dongyang.go.th/