ชุมชนท้องถิ่นที่มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยทวารวดีและยังเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านต้นแบบของอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ที่มาของชื่อชุมชนมีที่มาจากคำว่า "หัวนา" มาจากแรกเริ่มการตั้งชุมชนนั้น ชุมชนตั้งอยู่บริเวณหัวไร่ปลายนาของชุมชนหนองคูใหญ่ และ "ไทย" มาจากชื่อของนายไทแซ่ม หรือ นายแซ่ม บุคคลที่มาตั้งชุมชนคนแรก จึงนำคำว่า "หัวนา" มาบวกกับ "ไท" กลายมาเป็นชื่อชุมชนว่า "ชุมชนบ้านหัวนาไทย" สืบมาจึงถึงปัจจุบัน
ชุมชนท้องถิ่นที่มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยทวารวดีและยังเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านต้นแบบของอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ก่อนการเข้ามาตั้งชุมชนบ้านหัวนาไทย พื้นที่ตั้งของชุมชนปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรอาศัยอยู่มาก่อนแล้ว ดังปรากฏหลักฐาน เช่น กระดิ่งโบราณ กำไลสำริด เศษภาชนะกู่บ้านหัวนาไทย จากการศึกษาสันนิษฐานว่ากู่หรือโบราณสถานแห่งนี้คงจะมีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ในท้องถิ่นเรียกกู่แห่งนี้ว่า กู่พี่ ตามเรื่องเล่าของคนในท้องถิ่นชุมชนบ้านหัวนาไทย
ชุมชนหัวนาไทยเป็นคนในชุมชนบ้านหนองคูใหญ่โดยกลุ่มแรกย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านหนองคูใหญ่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2393 มาอยู่ที่ป่านา เป็นที่นาของนางคำใส เพียงภักดิ์ อยู่ห่างจากบ้านหนองคูใหญ่มาทางทิศตะวันออกประมาณ 300 เมตร การย้ายถิ่นฐาน เนื่องมาจากประชากรในพื้นที่เดิมเริ่มมีความหนาแน่น การย้ายมาสร้างครอบครัวใหม่ หรือมาจากปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้นจากคำบอกเล่าของคนในชุมชนกล่าวว่า พื้นที่โดยรอบบ้านหัวนาไทยเป็นป่าโคกที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารและยารักษาโรคและเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเพื่อนำไปใช้สร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชาวบ้านดั้งเดิมมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่า คนที่มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านหัวนาไทยคนแรก คือ “นายแช่ม” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไทแช่ม” จากนั้นมาจึงมีผู้คนจากหมู่บ้านหนองคูใหญ่และหมู่บ้านใกล้เคียงเดินทางเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก และยังมีการทำไร่มันสำปะหลังเป็นอาชีพเสริมประมาณ 10 ครัวเรือน
แผนผังการวางหมู่บ้านชุมชนบ้านหัวนาไทย เป็นวงกลมตามลักษณะพื้นที่โคกเดิม บริเวณหน้าวัดหัวนาไทเป็นพื้นที่ตั้งหมู่บ้านในช่วงแรกและขยายตัวมาทางทิศตะวันออกเพราะเป็นพื้นที่สูงเหมาะกับการตั้งถิ่นฐานและอยู่ใกล้พื้นที่เกษตรกรรมแห่งใหม่ ซึ่งขยายตัวมาแทนพื้นที่ป่าโคกเดิม รวมถึงยังมีบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านได้มีการใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เส้นทางสัญจรหลักมีสองเส้นทาง คือ เส้นที่เชื่อมต่อกับหมู่บ้านโคกกู่ และเส้นทางเชื่อมกลางหมู่บ้านกับกู่บ้านหัวหน้าไทยโดยมีบ่อน้ำเป็นพื้นที่เชื่อมต่อที่มีความสำคัญทางด้านความเชื่อและการใช้งาน เพื่อดำรงชีวิตและการทำนาของผู้คนในท้องถิ่นโดยรอบพื้นที่อยู่อาศัยเป็นทุ่งนาเพื่อทำการเกษตรปลูกข้าวปลูกมันและเลี้ยงสัตว์มีเพียงบริเวณกู่เท่านั้นที่ยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้
บ้านหัวนาไทยมีประชากรอยู่ประมาณ 146 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมดประมาณ 637 คน แบ่งเป็นชายประมาณ 313 คน และหญิงประมาณ 324 คน กลุ่มคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในชาติพันธุ์ลาวอีสาน
- กลุ่มออมทรัพย์บ้านหัวนาไทย
- กลุ่มทอผ้าบ้านหัวนาไทย
- กลุ่มธนาคารข้าว
- กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์
- กลุ่มกองทุนปุ๋ย
ประเพณีที่คนในหมู่บ้านได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ ฮีตสิบสอง นอกจากนี้ชาวบ้านหัวนาไทยยังนับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อ เรื่องผี แต่สิ่งสำคัญของหมู่บ้านหัวนาไทยคือมีความเชื่อความศรัทธาในกู่บ้านหัวนาไทยเป็นอย่างมาก และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่กับหมู่บ้านมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี โดยชาวบ้านจัดประเพณีสรงกู่เป็นประจำ คือ ทุกวันที่ 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ก่อนวันพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่ เตรียมข้าวปลาอาหารมาร่วมทำบุญในวันสรง และจะมีการแห่บั้งไฟรอบ 3 รอบ เพื่อเสี่ยงทาย คือ บั้งไฟนาและบั้งไฟบ้าน โดยมีคณะสงฆ์เป็นผู้นำขบวน เมื่อแห่เสร็จก็จะทำพิธีสรง สรงศาลปู่ตาเพื่อคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข และสรงน้ำกองดิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือเป็นหนึ่งความเชื่อในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านจึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับกู่และปฏิบัติสืบทอดกันอย่างขาดไม่ได้ เปรียบเสมือนจารีตปฏิบัติที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ชีวิตรวมถึงการประกอบอาชีพ
อาชีพของชาวบ้านหัวหน้าไทย
- การปั้นหม้อ อาชีพของชาวบ้านหัวหน้าไทยในช่วงแรกเกิดจากการใช้ภูมิปัญญาในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่มีอยู่เพื่อการดำรงค์ชีวิต ชาวบ้านได้เล็งเห็นลักษณะกายภาพของดินที่เหมาะสมในการปั้นหม้อเพราะว่าเป็นดินเหนียวมีความละเอียด ด้วยความรู้และภูมิปัญญาเดิมที่ติดตัวมาประสานกับพื้นที่ที่สามารถใช้สอยเพื่อดำรงชีวิตได้ จึงมีการปั้นหม้อใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปขายเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือสิ่งของเพื่อการดำรงชีวิต อาชีพบ้านหม้อในบ้านหัวหน้าไทยไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักเพราะต้องอาศัยความรู้และศาสตร์หลายอย่างอาชีพนี้จึงเลือนหายไป
- การสานกระติบข้าว การศาลกระติบข้าวเป็นภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาของชาวบ้านหัวหน้าไทยเป็นการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เพราะในพื้นที่ป่าโคกในบ้านหัวหน้าไทยนั้นจะมีไม้ไผ่ให้ชาวบ้านนำมาใช้ได้ตลอด ชาวบ้านบางส่วนก็ปลูกไม้ไผ่ไว้ในบริเวณสวนเพื่อความสะดวกต่อการใช้งานการศาลกระติบข้าวนิยมทำหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณปีพุทธศักราช 2513 ชาวบ้านจะรวมตัวกันตั้งกลุ่มจักสานกระติบข้าวมีสมาชิกประมาณ 15-16 คนมีทั้งการสารเครื่องใช้เครื่องมือ สำหรับใช้สอยในครัวเรือน เช่น ตะกร้าหวดนึ่งข้าวและเครื่องมือจับปลา
- การทอผ้าไหม เป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย จะมีการทอผ้าไหมเพื่อใช้นุ่งห่ม และแลกเปลี่ยนสินค้าหรือจำหน่าย ต่อมาปี 2534 จึงได้รวมกลุ่มเป็นกลุ่มทอผ้าไหมขึ้น เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว มีสมาชิกเริ่มแรก จำนวน 36 คน โดยมีนางราตรี แน่นอุดร เป็นผู้นำในการบริหารจัดการกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนจากองค์การนานาชาติ (โครงการแพลน) การพัฒนาฝีมือ กลุ่มผ้าไหมบ้านหัวนาไทยได้รับการฝึกอบรมจากศูนย์หัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมหาสารคาม บวกกับภูมิปัญญาของสมาชิกสามารถทอผ้าไหมได้มากกว่า 20 ลาย จนได้รับพระมหากรุณาจากองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงรับไว้เป็นสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านโคกก่อง ตำบลหนองแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทำให้กลุ่มมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าไหม ดังวิสัยทัศน์ของกลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านหัวนาไทย คือ “ผลิตภัณฑ์หลากหลาย สร้างลายมัดหมี่ สวยเนื้อแน่นชั้นดี มีมาตรฐาน เป็นศูนย์บริการฝึกอาชีพ”
1. ขุนภิบาล : อดีตผู้นำชุมชนคนแรก
2. ขุนวิเศษ หรือ นายวันดี ทวยภา : อดีตผู้ใหญ่บ้าน
3. คุณตาบุญเพ็ง แสงโชติ : ปราชญ์ชาวบ้าน
4. นายหล้า เทียงแสน : หมอสูตร ปราชญ์ด้านพิธีกรรมทางศาสนา พิธีกรรมด้านความเชื่อ
- กู่บ้านหัวนาไทย
- หลักฐานทางโบราณคดี เช่น กำไลสำริด เศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา
- ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า
- ภูมิปัญญาด้านการปั้นหม้อ
ประชากรในชุมชนบ้านหัวนาไทยส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวอีสานในการพูดและสื่อสารกันในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาในการติดต่อราชการ
- ปี พ.ศ. 2534 มีการรวมกลุ่มอาชีพการทอผ้าไหม เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว มีสมาชิกเริ่มแรก จำนวน 36 คน โดยมีนางราตรี แน่นอุดร เป็นผู้นำในการบริหารจัดการกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนจากองค์การนานาชาติ (โครงการแพลน) การพัฒนาฝีมือ กลุ่มผ้าไหมบ้านหัวนาไทยได้รับการฝึกอบรมจากศูนย์หัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมหาสารคาม บวกกับภูมิปัญญาของสมาชิกสามารถทอผ้าไหมได้มากกว่า 20 ลาย จนได้รับพระมหากรุณาจากองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงรับไว้เป็นสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านโคกก่อง ตำบลหนองแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทำให้กลุ่มมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าไหม
- ชุมชนบ้านหัวนาไทเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านต้นแบบของอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ดิฐา แสงวัฒนะชัย, เจนจิรา นาเมืองรักษ์, อำภา บัวระภา และเมทินี โคตรดี. (2560).โครงการแบบองค์ประกอบทางทางกายภาพเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านหัวนาไทย ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 4,36 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2560), 68-76.
อำภา บัวระภา. (2560). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของชุมชนบ้านหัวนาไทย ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1,16 (มกราคม-มิถุนายน 2560), 55-66.
อำภา บัวระภา,เมทินี โคตรดี. (2560). “กู่บ้านหัวนาไทย” ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ศูนย์รวมทางจิตใจและมรดกทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6,36 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560), 42-52.
โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านหัวนาไทย หมู่ที่ 4 ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.slideserve.com