Advance search

บ้านหัวช้าง

ชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งและขยันในการประกอบอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอีสานไว้อย่างเหนียวแน่น

หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 8
บ้านเปลือย
หนองโก
บรบือ
มหาสารคาม
ไกรวิทย์ นรสาร
24 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
3 มิ.ย. 2023
ไกรวิทย์ นรสาร
31 ก.ค. 2023
บ้านเปลือย
บ้านหัวช้าง

เมื่อมีการตั้งชุมชนใหม่เรียกกันว่า "บ้านหัวช้าง" เพราะว่ามีช้างตายอยู่ที่หนองน้ำ ต่อมาอีกไม่กี่ปีได้เรียกชื่อใหม่ว่า "บ้านเปลือย" สำหรับความหมายของคำนี้ไม่มีใครสามารถอธิบายได้แน่ชัด แต่พอที่จะสันนิษฐานได้ว่าบริเวณที่แห่งนี้ที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านมีต้นตะแบกหรือต้นเปลือยเป็นจำนวนมาก


ชุมชนชนบท

ชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งและขยันในการประกอบอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอีสานไว้อย่างเหนียวแน่น

บ้านเปลือย
หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 8
หนองโก
บรบือ
มหาสารคาม
44130
16.08770977
103.163669
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก

ราวปี พ.ศ. 2430 ชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านบ่อใหญ่ได้เลือกทำเลที่หนองน้ำธรรมชาตินี้เป็นที่ตั้งโดยมีผู้ร่วมสมัครพรรคพวกดังนี้คือ พ่อเฒ่าฝ่าย (ต้นตระกูลพงพรรณา) พ่อใหญ่อี (โก๊ะ) ต้นตระกูลวงษ์ละคร จากนั้นยังมีกลุ่มคนอื่นตามมาทีหลังคือ พ่อบุญ จันทร์ละคร พร้อมกับลูก ๆ พ่ออ่อนและแม่ต้อน ตอนที่มาตั้งใหม่เรียกกันว่า บ้านหัวช้าง เพราะว่ามีช้างตายอยู่ที่หนองน้ำ

ต่อมาอีกไม่กี่ปีได้เรียกชื่อใหม่ว่า บ้านเปลือย สำหรับความหมายของคำนี้ไม่มีใครสามารถอธิบายได้แน่ชัดแต่พอที่จะสันนิษฐานได้ว่าบริเวณที่แห่งนี้ที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านมีต้นตะแบกหรือต้นเปลือยเป็นจำนวนมากต้นเปลือยนี้เมื่อเปลือกนอกแก่ก็จะแตกออกและหล่นทิ้งไป อีกหนึ่งประการคือบริเวณที่ตั้งนี้เป็นเมืองโบราณเพราะมีเศษอิฐ เศษโอ่ง เศษกระเบื้องและเศษของใช้อีกมากมาย รอบ ๆ หมู่บ้านนี้ก็ยังเป็นคูน้ำ ซึ่งปัจจุบันก็ยังเห็นได้ชัด

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง มีการสร้างโรงเรียนตัดถนน มีแหล่งน้ำกินน้ำใช้และแหล่งน้ำประปาชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้ต่อไฟฟ้าเข้ามาภายในหมู่บ้าน ผู้คนในชุมชนมีการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ทำนาทำไร่ปลูกมันสำปะหลัง มันแก้ว ถั่วลิสง ข้าวโพด มีการจับปลาจับกุ้งเป็นการหารายได้พิเศษอีกด้วย และยังมีการบริโภคภายในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนสินค้ากันภายในชุมชน

ชุมชนบ้านเปลือยมีการปกครองกันแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งออกเป็น 9 คุ้มด้วยกันคือ

  1. คุ้มอุดมพัฒนาสอง
  2. คุ้มสวนลุมสาม
  3. คุ้มสามเหลี่ยมพัฒนา
  4. คุ้มสันติสุข
  5. คุ้มร่วมมิตรพัฒนา
  6. คุ้มทุ่งสีทอง
  7. คุ้มร่วมใจพัฒนา
  8. คุ้มประชาร่วมใจ
  9. คุ้มแจ้งสนิท

โดยแต่ละคุ้มมีหัวหน้าคุ้มและคณะกรรมการบริหารคุ้มทุกคุ้มการทำงานของคณะกรรมการคุ้มจะมีการประสานงานกลับมากรรมการกลาง

ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและที่ราบสูง ส่วนที่เป็นพื้นที่ราบมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 150-200 เมตร พื้นที่ราบบางส่วนมีการทำนา ส่วนพื้นที่ราบสูงมีการปลูกพืชไร่ มีลำห้วยไหลผ่านหนึ่งสาย ได้แก่ ลำห้วยวังหลักช้าง มีชลประทานขนาดเล็กหนึ่งแห่ง และมีสระน้ำตามหมู่บ้าน ส่วนดินที่พบในบ้านเปลือยส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว บางส่วนจึงเหมาะที่จะทำการเกษตรของคนในชุมชน

ชุมชนบ้านเปลือยทั้ง 2 หมู่ มีจำนวนประชากรประมาณ 877 โดยหมู่ที่ 5 มีจำนวนประชากรจำนวน 613 คน แบ่งเป็นชาย 311 คน หญิง 302 คน และหมู่ที่ 8 จำนวน 164 คน แบ่งเป็นชาย 132 คน และหญิง 132  คน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ประเพณีส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพดังกล่าว เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีบุญบั้งไฟ แห่นางแมว ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางสังคม มาตั้งแต่แต่ ปู่ ย่า ตา ยาย มีคำนิยมที่เด่นชัด คือ รักพระมหากษัตริย์ นับถือพุทธศาสานา ประพฤติและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เคารพผู้อาวุโส ประกอบพิธีทำบุญตามประเพณี "ฮีตสิบสอง เดือนสิบสี่" บ้านเปลือย ตำบลหนองโก จะเน้นพิเศษ คือ "บุญบั้งไฟ" ทั้งนี้ด้วยเหตุผล คือ จัดตามความเชื่อ ความรู้สึก ผูกพันกับธรรมชาติ ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร หรือว่า พระยาแถน ท้าววัสสกาล เป็นผู้บันดาลฝนมาให้ได้ทำนา จึงทำบุญบั้งไฟขึ้นบูชา ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่อง "พระยาคางคก" (คางคก)

1. นายประภาส ทองภูธร : อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านเปลือยหนองตูม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คนในชุมชนกุดบ้านเปือยใช้ภาษาลา ว(ภาษาอีสาน) ในการพูดสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บุญถิ่น อันอาน. (2529). คติชาวบ้าน บ้านเปลือย ต.บ่อใหญ่ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.