Advance search

บ้านท่าศาลาเป็นชุมชนที่มีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีความผูกพันใกล้ชิดกันกับสมาชิกในหมู่บ้านเดียวกัน  มีการผลิตที่เน้นการบริโภคและแลกเปลี่ยนของครัวเรือนและคนในหมู่บ้าน

หมู่ที่ 4 ถนนกู่ทอง-บ้านเขื่อน
บ้านท่าศาลา
ยางท่าแจ้ง
โกสุมพิสัย
มหาสารคาม
ไกรวิทย์ นรสาร
1 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
4 ก.ค. 2023
ไกรวิทย์ นรสาร
31 ก.ค. 2023
บ้านท่าศาลา

สาเหตุที่ตั้งชื่อชุมชนว่าบ้านท่าศาลา เนื่องจากบริเวณที่ตั้งได้ตั้งศาลาไว้ริมแม่น้ำและมีท่าน้ำที่คนในชุมชนบริเวณดังกล่าวใช้ในการสัญจรขึ้นลง จึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านท่าศาลา


ชุมชนชนบท

บ้านท่าศาลาเป็นชุมชนที่มีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีความผูกพันใกล้ชิดกันกับสมาชิกในหมู่บ้านเดียวกัน  มีการผลิตที่เน้นการบริโภคและแลกเปลี่ยนของครัวเรือนและคนในหมู่บ้าน

บ้านท่าศาลา
หมู่ที่ 4 ถนนกู่ทอง-บ้านเขื่อน
ยางท่าแจ้ง
โกสุมพิสัย
มหาสารคาม
44140
16.30346479
103.0251583
องค์การบริหารส่วนตำบลยางท่าแจ้ง

บ้านท่าศาลา ม.4 ต.ยางท่าแจ้ง อ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ตั้งอยู่ห่างจาก อ.โกสุมพิสัย 11 กิโลเมตร ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 โดยมีพ่อลอดเป็นกลุ่มแรกที่อพยพมาจากหมู่บ้านทะปะทาย มาอยู่ที่บ้านท่าศาลา เพราะเห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะทำมาหากิน จึงมีพ่อสี พ่อหนู พ่อสม พ่อดี พ่อจานสอนได้พกันอพยพครอบครัวตามมาอยู่ด้วย และมีอีกหลายหมู่บ้านจากอุดรธานีมาอยู่ด้วย จึงเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ มีประมาณ 200 หลังคาเรือน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านท่าศาลา เพราะบริเวณที่ตั้งได้ตั้งศาลาไว้ริมแม่น้ำและมีท่าน้ำที่สวยจึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านท่าศาลา

แต่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2520 เกิดน้ำท่วมจึงส่งผลให้คนในหมู่บ้านต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่ เพราะการที่เกิดน้ำท่วมในหมู่บ้านทำความเสียหายให้กับหมู่บ้าน บ้านเรือนและที่ดินทำกินเป็นอย่างมาก จึงมีผู้คนอพยพไปอยู่ที่อื่นบ้างเป็นบางส่วนและปีต่อมาก็ได้เกิดน้ำท่วมมาเรื่อย ๆ ผู้คนในหมู่บ้านก็อบพยพหนีไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันจึงเหลืออยู่ 32 หลังคาเรือน ผู้คนในชุมชนบ้านท่าศาลามีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่และมีผู้ใหญ่บ้านคือ นายคำพอง คงคำ

ชาวบ้านมีรายได้จากการทำนาและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมรายได้ ให้กับหมู่บ้านท่าศาลาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าศาลา ชาวบ้านดำรงชีพโดยการทำนา ซึ่งมีทั้งนาดำ นาหว่าน แต่เป็นการผลิตที่เน้นการบริโภคและแลกเปลี่ยนของครัวเรือน แต่ตอนนี้ชาวบ้านได้ทำนา 2 ครั้ง คือนาปีและนาปัง จึงเพิ่มรายได้ได้มากขึ้นจากการขาย และรายได้จากการปลูกผักเลี้ยงปลา

ชุมชนบ้านท่าศาลาเป็นชุมชนขนาดเล็ก สภาพทางกายภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ป่าทึบ สภาพพื้นที่เป็นบริเวณแม่น้ำชีมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี ปัจจุบันป่าไม้ก็ยังคงเหลืออยู่บ้างแต่ไม่ค่อยมากเพราะต้องทำที่อยู่อาศัยเป็นส่วนมาก และทำเป็นที่ทำการเกษตรเพื่อใช้ทำมาหากิน ทำให้ป่าไม้ลดลงบ้าง ในหมู่บ้านนี้มีไฟฟ้าสะดวก และน้ำใช้น้ำบาดาล น้ำปะปา ปัจจุบันการคมนาคมสะดวกมากขึ้น

ชุมชนบ้านท่าศาลามีจำนวนประชากรทั้งสิ้นจำนวน 113 คน และมีจำนวนครัวเรือน 32 ครัวเรือน ผู้คนในชุมชนบ้านท่าศาลามีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีความผูกพันใกล้ชิดกันกับสมาชิกในหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งได้แก่ญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้าน แต่ก็ได้ร่วมมือประสานงานกันอย่างถาวรเหมือนครอบครัวเดียวกัน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมีความใกล้ชิดสังคมในชุมชน มีสิ่งแวดล้อมเป็นธรรมชาติ การแบ่งชนชั้นวรรณะจึงไม่มี เพราะเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมที่มีการผลิตอย่างเดียวไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างทางฐานะและรายได้มากนัก ประกอบกับความรู้ความสามารถของบุคคลส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามเมื่อการพัฒนาทางสังคมและระบบเศรษฐกิจที่ผูกพันกันดีขึ้น ทำให้สังคมในชุมชนเริ่มเปลี่ยนไป ประกอบกับการเสื่อมโทรมทางธรรมชาติ ส่งผลต่อการทำมาหากินของชาวบ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านท่าศาลาทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาหรือจะนิมนต์พระมาประกอบพิธีทางศาสนา ในปัจจุบันบ้านท่าศาลามี 1 วัด คือวัดสุธิวนาราม มีพระ 1 รูป และนอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในหมู่บ้านท่าศาลาคือ ดอนปู่ตา ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญของชาวบ้าน เมื่อเกิดเรื่องไม่ดีหรือเวลาเดินทางไปทำงานก็มักจะบอกกล่าวต่อปู่ตาให้ทราบ ให้ช่วยคุ้มครองให้พ้นอันตราย และได้รับผลสำเร็จในหน้าที่การงานและการเดินทาง และคนในชุมชนบ้านท่าศาลายังมีประเพณีที่คนในหมู่บ้านได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ ฮีตสิบสอง แปลว่าประเพณีทั้ง 12 เดือนของสังคมอีสาน

จะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของตนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ มีอาชีพหลักของสมาชิกในหมู่บ้าน วิธีการผลิตยังคงยึดถือแบบเก่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ คือ การเกษตรที่อาศัยแรงงานตามธรรมชาติ จากคนและสัตว์เป็นหลัก นอกจากนั้นการผลิตยังต้องขึ้นอยู่กับสภาพของดินฟ้าอากาศ ผลผลิตจึงไม่แน่นอน และมักได้ผลผลิตต่ำ และไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของชาวบ้านยากจนและค่อนข้างลำบาก เมื่อผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้และเอาที่ดินไปจำนองและขายให้กับผู้มีฐานะดี แล้วกลับมาเช่าที่ตัวเองกินจึงทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเข้าทำงานในเมืองหลวงเพื่อขายแรงงาน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทรัพยากรธรรมชาติ

  • แม่น้ำชี

คนในชุมชนบ้านท่าศาลาใช้ภาษาลาว (ภาษาอีสาน) ในการพูดสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อราชการ


เมื่อ พ.ศ. 2520 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดมหาสารคามจึงส่งผลให้คนในหมู่บ้านท่าศาลาต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่เนื่องจากบ้านเรือนเสียหายรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงและที่ดินทำกิน และในปี พ.ศ.2565 ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นอีกครั้งเพราะแม่น้ำชีล้นตลิ่งจึงทำให้ผนังกั้นน้ำแตก 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วรรณา อันสุริ. (2545). การจัดทำแผนแม่บทชุมชนบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 4 ตำบลยางท่าแจ้ง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณา อันสุริ. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 4 ตำบลยางท่าแจ้ง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.