"ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ไม่ให้อพยพแรงงานไปต่างจังหวัด ทำให้เกิดรายได้ในหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
เมื่อยุคตั้งบ้านเรือนผู้คนส่วนใหญ่ได้อพยพออกจากลำห้วยนกเค้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลำห้วยวังหินซึ่งเป็นที่ราบสูงเหมาะแก่การตั้งหมู่บ้าน ประกอบกับบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านมีต้นมะขามใหญ่อยู่กลางหมู่บ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่ว่า "บ้านกุดนาขาม"
"ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ไม่ให้อพยพแรงงานไปต่างจังหวัด ทำให้เกิดรายได้ในหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านกุดนาขาม แรกเริ่มเดิมนั้นตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้บอกเล่าสืบต่อกันมาจนถึงชั่วลูกชั่วหลานจนทุกวันนี้ หมู่บ้านกุดนาขามแต่ก่อนปู่ย่า ตายาย บอกว่าไม่ได้เป็นหมู่บ้าน เเต่เป็นที่พักแรมของพ่อค้าที่มาค้าขายต่างเมือง ต่อมาเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา มีผู้คนอพยพมาจากอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นำโดยครอบครัวของนายลี ปากดี และชาวบ้านอีกส่วนหนึ่ง เมื่อได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมห้วยนกเค้าซึ่งเป็นที่พ่อค้าตั้งเป็นที่พักแรม เดิมชื่อของหมู่บ้านไม่ได้ชื่อว่าบ้านกุดนาขาม ตั้งชื่อตามลำห้วยว่า บ้านห้วยนกเค้า
ต่อมาชาวบ้านที่อยู่อาศัยในบ้านห้วยนกเค้าได้ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับภูมิประเทศของหมู่บ้าน ทำเลของหมู่บ้านเนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นลำห้วยยากต่อการขยายหมู่บ้านและที่สำคัญการสัญจรไปมา การคมนาคมไม่สะดวก ในฤดูฝนเนื่องจากที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นที่ลุ่มใกล้กับริมแม่น้ำ ต่อมาชาวบ้านส่วนใหญ่ได้อพยพออกจากลำห้วยนกเค้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลำห้วยวังหินซึ่งเป็นที่ราบสูงเหมาะแก่การตั้งหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านมีต้นมะขามใหญ่อยู่กลางหมู่บ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่ว่า บ้านกุดนาขาม มาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีขุนประเวศ เป็นกำนันคนแรก และมี ขุนละมาด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
บ้านกุดนาขามก่อนที่จะขึ้นกับตำบลเจริญศิลป์ แต่ก่อนขึ้นกับตำบลทุ่งแก หมู่ที่ 3 อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บ้านกุดนาขามตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเองตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2527 ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้มีการแยกหมู่บ้านแยกการปกครองออกเป็นสองหมู่คือ บ้านกุดนาขามหมู่ที่ 8 และบ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งบ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 แบ่งการปกครองออกเป็น 7 คุ้ม ดังต่อไปนี้
- คุ้มขี้เหล็กหวาน ตั้งตามชื่อต้นไม้ที่มีอยู่ในคุ้มเป็นจำนวนมากคือต้นขี้เหล็ก มีนายวิจิตร รวมออมเป็นหัวหน้าคุ้ม นายวรวุฒิ หม่อมเหมาะเป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 25 ครัวเรือน
- คุ้มสวนสวรรค์ ตั้งชื่อตามสวนหย่อมที่ข้างศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งอยู่ใกล้คุ้ม มีนายประชาชน นาพงษ์ เป็นหัวหน้าคุ้ม นายพา จันทะสอน เป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 29 ครอบครัว
- คุ้มร่วมใจพัฒนา มีนายคล้าย คอนงัน เป็นหัวหน้าคุ้ม นายปัญจา สายแก้วเป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 21 ครอบครัว
- คุ้มประชาสร้างสรรค์ มีนายบุญแสง ไชยรบเป็นหัวหน้าคุ้ม นายสมัย รัตนะชัยเป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 20 ครอบครัว
- คุ้มสว่างอารมณ์ ตั้งชื่อตามชื่อของวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กับคุ้มนี้มี นายเกษมสี วะรินทร์ เป็นหัวหน้าคุ้ม นายดำรง วงศ์เวียน เป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 18 ครัวเรือน
- คุ้มอนามัย ตั้งชื่อตามสถานที่ตั้งที่อยู่ใกล้สถานีอนามัยบ้านกุดนาขาม มีนายปรีชา แยกชัยสงค์ เป็นหัวหน้าคุ้ม นายประสิทธิ์ จันทร์โสภา เป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 26 ครัวเรือน
- คุ้มใหม่พัฒนา ตั้งชื่อตามคุ้มที่แยกออกมาใหม่โดยแยกออกมาจากคุ้มสวนสวรรค์ มีนายพิศดา วะรินทรา เป็นหัวหน้าคุ้ม นายวันโน จันทะสอน เป็นรองหัวหน้าคุ้ม มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 25 ครอบครัว
จากข้อมูลจาก แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570 ได้รายงานว่า ชุมชนบ้านกุดนาขาม เพศชาย 370 คน หญิง 398 คน เเละจำนวนบ้านเรือน 215 หลังคาเรือน
ญ้อผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มอาชีพ เกษตรกรรม ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์
2. หัตถกรรมพื้นบ้าน รวมถึงช่างฝีมือที่ประกอบอาชีพในศูนย์ศิลป์ชีพกุดนามขาม
ราษฎรในหมู่บ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 นับถือศาสนาพุทธทุกครัวเรือน ถึงแม้ว่าจะมีชาวบ้านได้ย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่นในภายหลังก็ตามความเชื่อของชาวบ้านบ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 เป็นความเชื่อมาแต่สมัยปู่ย่า ตายาย เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการหยุดใช้แรงงานสัตว์ในวันพระ เพราะสมัยก่อนก่อนการทำไร่ทำนา จะอาศัยแรงงานสัตว์เป็นส่วนใหญ่และชาวบ้านกุดนาขามหมู่ 9 ยังเป็นบ้านที่เคร่งครัดในพุทธศาสนาจึงหยุดทำงานในวัดพระ ถือเอาวันพระเป็นวันที่ร่วมกันทำบุญละเว้นการทำงานที่ทำให้เกิดเสียงดังถ้ามีงานที่เร่งด่วนที่จะต้องทำกันต้องไปบอกจ้ำประจำหมู่บ้านเพื่อขอขมาต่อ ปู่ตา ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
นอกจากนี้ยังมีการเคารพนับถือ ศาลปู่ย่า ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือมาตั้งแต่สมัยที่ปู่ ย่า ตา ยาย ทุกปีในช่วงวันพุธแรกของเดือน 6 ชาวบ้านจะมีการสักการะศาลปู่ย่าและอีกช่วงหนึ่งวันพุธแรกของเดือน 11 ของทุกปี จะมีความเชื่อเรื่องการเลี้ยงบ้าน จะนำข้าวเม่าดอกไม้ 1 คู่ เงิน 1 บาท นำไปให้จ้ำเพื่อจะนำไปเลี้ยงศาลปู่ย่า เพื่อเป็นศิริมงคลให้กับชาวบ้านในช่วงหลังจากการทำนาและก่อนฤดูเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตดี
ชาวบ้านกุดนาขามหมู่ 9 ส่วนมากมีอาชีพทำนาเป็นหลักและมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งทำงานในศูนย์ศิลปาชีพหลังจากการทำนาเสร็จ มีชาวบ้านบางส่วนมีอาชีพรองคือ การทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย การเป็นอยู่ของชาวบ้านอยู่แบบพี่แบบน้อง มีความสามัคคีในชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่ลุ่มเพียงบางส่วนจึงเหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรมากที่สุดในเขตตำบลเจริญศิลป์ และยังมีอ่างเก็บน้ำ ห้วยนกเค้าช่วยให้ชาวบ้านทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งได้ดีอีกเป็นครอบครัว
วัฒนธรรมประเพณี บ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีพระเวส (บุญมหาชาติ) จะทำทุกปีในช่วงเดือน 4 ของทุกปี ซึ่งมีชาวบ้านใกล้เคียง อำเภอ จังหวัดใกล้เคียงร่วมงานเป็นจำนวนมาก ประเพณีบุญเบิกบ้าน จะทำช่วงเดือน 7 ของทุกปี จะควบคู่กับบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญกฐินจะทำช่วงหลังออกพรรษา บุญสงกรานต์ชาวบ้านกุดนาขามหมู่ที่ 9 จะร่วมกันจัดงานรดน้ำดำหัวผู้เฒ่า ผู้แก่ในหมู่บ้านทุกปี
1. นายสมหมาย ภักดี : ด้านยาสมุนไพร แก้โรคเจ็บตา
2. นายหนู บัวล้ำล้ำ : ด้านเป่าแก้ปากเป็นแผล/ลิ้นเป็นกลาง
3. นายปรีชา ธรรมพิทักษ์ : ด้านปราชญ์เกษตร/ทำเกษตรแบบพอเพียง
- ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ไม้ให้อพยพแรงงานไปต่างจังหวัด ทำให้เกิดรายได้ในหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมจากอาชีพทำนา ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งผลิต เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเซรามิก เครื่องเฟอร์นิเจอร์ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าแพรวา และผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง วางจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งศึกษาดูงานของนักเรียน นักศึกษาของโรงเรียน
- อ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้า ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2526 ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก บรรจุได้ประมาณ 4,200,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถกักน้ำเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง ให้กับเกษตรกร 4 หมู่บ้าน บ้านกุดนาขามหมู่ที่ 8, 9 ตำบลเจริญศิลป์ บ้านหนองฮางหมู่ที่ 9, 15 ตำบลธาตุ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญหลายชนิด เป็นแหล่งทำการประมงของชาวบ้านเพื่อหากินในครอบครัว และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของตำบลเจริญศิลป์
- โรงเรียนบ้านกุดนาขาม (เชิดชูวิทยาสาร) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 202 คน มีครูอาจารย์ทั้งหมด 16 คน
- วัดป่าสว่างอารมณ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2458 ปู่ ย่า ตา ยาย เล่าให้ฟัง วัดเดิมแต่ก่อนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ซี่งอยู่ใต้ลม เวลาชาวบ้านทำกับข้าวตอนเย็น กลิ่นอาหารจะถูกลมพัดพาสู่วัด เป็นภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายมาทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีพระจำวัดอยู่ 5 รูป มีหลวงพ่อสมปอง กตธัมโม เป็นเจ้าอาวาส
- สำนักสงฆ์ (วัดป่ากุดนาขาม) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2551 มีอาจารย์พสธร ตันมา เป็นคนบริจาคที่ดินสำหรับก่อตั้งสำนักสงฆ์ ปัจจุบันมีพระจำวัดอยู่ 3 รูป ยังไม่ได้รับรองจากทางกรมศาสนาอย่างเป็นทางการ
ชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่ผ้คนพูดภาษาถิ่น เรียกว่า "ภาษาญ้อ"
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านกุดนาขาม บ้านกุดนาขามเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีราษฎรยากจนจำนวนมาก แต่ราษฎรมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี จึงทรงมีพระราชดำริ ให้ราษฎรปลูกต้นไม้รักษาป่า คณะกรรมการหมู่บ้านก็พร้อมใจกันถวายที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านจำนวน 43 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา สำหรับจัดตั้งโครงการป่ารักน้ำและราษฎรบ้านกุดนาขามได้ช่วยกันเสียสละแรงงานด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วและร่วมกันปลูกต้นไม้เสริมจากที่มีอยู่เดิม
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2526 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขามอีกครั้งหนึ่ง ทรงปลูกต้นไม้และทรงมีราชดำริให้ราษฎรปลูกเพิ่มเติม ในช่วงนั้นได้จัดครูมาช่วยฝึกสอนอาชีพต่าง ๆ ตามที่ราษฎรถนัด และทรงมีพระราชดำริที่จะให้บ้านกุดนาขามเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง จึงทรงมีพระเมตตาให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพขึ้น ณ บ้านแห่งนี้โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้พันเอก เรวัต บุญทับ (ยศในขณะนั้น ปัจจุบันคือ พล.อ. ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์) เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2526 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเพื่อรับพระราชนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นที่บ้านกุดนาขาม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพมาตั้งแต่นั้น
องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญศิลป์. (ม.ป.ป). ข้อมูลชุมชน. สืบค้นจาก https://www.charoensin.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนา. สืบค้นจาก https://thai.tourismthailand.org
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (ม.ป.ป.). ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม. สืบค้นจาก https://cbtthailand.dasta.or.th/
นายโอภาส วงศ์อินอยู่, สัมภาษณ์