Advance search

ในอดีตที่ผ่านมาเคยเป็นชุมชนปั้นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เเละยังเป็นชุมชนที่มีการทำประมงท้องถิ่น ที่สำคัญมีร้าน "ยายเพ็ญ" ซึ่งเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของจังหวัด

หมู่ 1-14
บ้านเชียงเครือ
เชียงเครือ
เมืองสกลนคร
สกลนคร
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
26 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
26 ก.ค. 2023
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
31 ก.ค. 2023
บ้านเชียงเครือ

ที่มาของหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า ขุนพลกำปาลาย อาจจะเคยบวชเรียนมาก่อน เมื่อสึกออกมาแล้ว คนลาวจะเรียกว่า “เชียง” และในบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านในสมัยก่อนนั้น มักจะมีเครือไม้เป็นจำนวนมากจึงนำคำทั้งสองมาเชื่อมต่อกัน เป็นคำว่า “เชียงเครือ” ซึ่งเป็นที่มาของหมู่บ้าน


ในอดีตที่ผ่านมาเคยเป็นชุมชนปั้นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เเละยังเป็นชุมชนที่มีการทำประมงท้องถิ่น ที่สำคัญมีร้าน "ยายเพ็ญ" ซึ่งเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของจังหวัด

บ้านเชียงเครือ
หมู่ 1-14
เชียงเครือ
เมืองสกลนคร
สกลนคร
47000
17.3200790170511
103.28477253863859
เทศบาลตำบลเชียงเครือ

ขุน พลกำปาลาย และนายเคน คำศรี พร้อมชาวบ้านอีกหกครอบครัวได้อพยพมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านทุ่งมั่ง (ปัจจุบัน คือ บ้านธาตุดุม) และผู้อพยพมานั้นมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อน ประกอบกับบริเวณทุ่งมั่งมีดินเหนียวซึ่งใช้ในการปั้นดินเผา เมื่อนำไปเผาปรากฏว่าเครื่องปั้นดินเผาแตก ใช้การไม่ได้ จึงได้อพยพขึ้นมาทางเหนือของหมู่บ้านเรื่อยมา เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งดินเหนียวจนมาถึงลำห้วยลาก และได้พบดินเหนียวบริเวณริมห้วย จึงพากันขุดดินขึ้นมาปั้น และเมื่อนำเอาไปเผา ปรากฏว่าไม่แตก จึงได้ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่บริเวณลำห้วยลาก เป็นที่ทำมาหากินเรื่อยมา ต่อมามีคนอพยพมาอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงตั้งเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้านเชียงเครือ” ที่มาของหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า ขุนพลกำปาลาย อาจจะเคยบวชเรียนมาก่อน เมื่อสึกออกมาแล้ว คนลาวจะเรียกว่า “เชียง” และในบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านในสมัยก่อนนั้น มักจะมีเครือไม้เป็นจำนวนมากจึงนำคำทั้งสองมาเชื่อมต่อกัน เป็นคำว่า “เชียงเครือ” ซึ่งเป็นที่มาของหมู่บ้านและตำบลจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองลาด อำเภอเมืองสกลนคร และตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร และตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลฮางโฮง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ชุมชนบ้านเซียงเครือ มีจำนวนประชากรชาย 956 คน ประชากรหญิง 1,394 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 2,350 คน และมีจำนวนครัวเรือน 923 ครัวเรือน

ญ้อ

ประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นคนในชุมชน ประกอบอาชีพเกษตรกร ประมงท้องถิ่นเป็นหลัก ภายหลังได้ส่งบุตรหลานออกไปเรียนหนังสือ ผู้คนในชุมชนจึงมักเข้ารับราชการแทน ประกอบกับชุมชนเกิดการขยายตัวของด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการเข้าของสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตจังหวัดสกลนคร ทำให้ผู้คนจากที่อื่นเข้ามาประกอบอาชีพต่าง ๆ ภายในบริเวณชุมชน เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจหอพัก ร้านวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

กิจกรรมที่ถือว่าเป็นงานสำคัญในรอบปีของชาวบ้านเชียงเครือ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 14 คือ ร่วมกันแห่ปราสาทผึ้งโบราณ ที่จัดทำขึ้นในช่วงงานออกพรรษา อันเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานของชาวตำบลเชียงเครือ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่ และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในตำบลเชียงเครือ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การรวมกลุ่มของประชาชน ได้แก่

  • กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา
  • กลุ่มเกษตรกรผู้ทำนาตำบลเชียงเครือ
  • กลุ่มสตรีเย็บผ้าบ้านโนนศาลา
  • กลุ่มเล่นดนตรีพื้นบ้านบ้านดอนเชียงคูณ
  • กลุ่มข้าวแช่ขาวสาวภูไทบ้านหนองหอยใหม่
  • กลุ่มอนุรักษ์ไก่พื้นเมือง
  • กลุ่มร้อยดอกมะลิ บ้านโนนเบ็ญ
  • กลุ่มปลูกพริก บ้านนาคำไฮ
  • กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง บ้านเชียงเครือ
  • กลุ่มเลี้ยงโค บ้านป่าหว้าน
  • กลุ่มกองทุนปุ๋ย บ้านโพนสวาง บ้านหนองสนม
  • กลุ่มทอเสื่อ บ้านดอนเชียงบานใหญ่

จุดเด่นของพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล

1. สภาพภูมิศาสตร์ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแอ่งสกลนคร ติดกับแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ “หนองหาร” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพ สำหรับการเกษตรกรรมและการทำประมงน้ำจืด

2. พื้นที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 85.77 ตารางกิโลเมตร อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย การเดินทางสะดวก มีถนนเข้าถึงทุกหมู่บ้าน ทำให้การไปมาหาสู่กันสะดวก และสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรออกมาจำหน่ายสู่ตลาด หรือสู่ชุมชนได้ง่าย

3. ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาเป็นหลัก และการปศุสัตว์ ซึ่งทำรายได้ให้ครอบครัว นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมในครัวเรือนอื่น ๆ เช่น ที่บ้านเชียงเครือวัดใหญ่ หมู่ที่ 14 มีการประกอบอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

4. ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาทั่วถึง เพราะอยู่ใกล้ตัวเมืองอีกทั้งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ฯ ความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบทจึงอยู่ร่วมกันแบบเอื้ออาทรฉันท์พี่น้องและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดเวลาการรวมกลุ่มของประชาช

ภาษาไทญ้อ เป็นภาษากลุ่มไท-ลาว พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อ อพยพมาจากประเทศลาว บางกลุ่มสามารถพูดภาษาไทยอีสานได้ด้วย ภาษาไทญ้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได เป็นภาษากลุ่มคำไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไตแสก มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาว ภาษาไทญ้อ มีพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง เสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง มีพยัญชนะควบกล้ำ 5 เสียง ภาษาญ้อมีสร้อยคำคล้ายประโยคคำถามและคำตอบ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขณะเดียวกันก็ใช้ภาษาไทยกลางเมื่อต้องติดต่อกับราชการ


ชุมชนบ้านเชียงเครือ กำลังขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เกิดจากคนภายในเเละภายนอก ยกตัวอย่างบางกรณี ผู้คนในชุมชนได้ขายที่นาให้นายทุนเพื่อนำไปก่อสร้างธุรกิจต่าง ๆ ส่วนตนนั้นต้องปรับตัวจากการที่ไม่มีที่นาเป็นของตนเองเปลี่ยนไปทำนาในรูปแบบนาเช่า 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลเชียงเครือ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลชุมชน. สืบค้นจาก http://www.chkr.go.th/2018/

ศูนย์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเชียงเครือ. (ม.ป.ป.). ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเชียงเครือ. ค้นจาก http://dinpaochiangkhua.bcsnru.com/