ชุมชนย่านการค้าอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อมระหว่างตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอพรรณานิคม เเละอำเภออากาศอำนวยของจังหวัดสกลนคร
พื้นที่ตั้งบ้านเรือนรายล้อมไปด้วยต้นมะไฟ และต้นหมากแงว (ต้นคอแลน) จำนวนมาก และเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์อาหาร เนื่องจากมีหนองน้ำขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันคือ หนองแวง ชาวบ้านดงมะไฟจึงได้ตั้งหลักปักฐานที่นี่เป็นต้นมาและตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านดงมะไฟ" ตามชื่อต้นไม้ที่มีเป็นจำนวนมาก
ชุมชนย่านการค้าอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อมระหว่างตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอพรรณานิคม เเละอำเภออากาศอำนวยของจังหวัดสกลนคร
ชาวบ้านดงมะไฟ หมู่ที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง อพยพมาจากเมืองภูวานากระแด้ง ประเทศลาวเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเมืองภูวานากระแด้ง เกิดความแห้งแล้ง จนทำให้คนส่วนใหญ่พากันหนีมายังประเทศไทย มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย นายวงค์ กับนายภู พากันรอนแรมมาเรื่อย ๆ จนถึงที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งจึงพากันตั้งหลักปักฐานอยู่ที่บ้านนาชัย หลายปีต่อมาบ้านนาชัยเกิดวิบัติโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน คือโรคท้องร่วงร้ายแรง ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก นายวงค์ กับนายภู จึงพาชาวบ้านส่วนใหญ่หนีอพยพมาทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จนมาพบพื้นที่แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่สูงเหมาะสำหรับการทำเกษตร ทำนา ทำไร่ พื้นที่ปลูกบ้านเป็นเนินสูง มีต้นไม้ต้นหนึ่งเป็นจุดเด่น คือ ต้นมะไฟ จากนั้นจึงพากันตั้งบ้านเรือนตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "ดงมะไฟ" โดยมีนามสกุลใหญ่ 2 นามสกุล คือ วงศ์เตชะ และดงภูยาว
อีกหนึ่งความเป็นมาได้กล่าวว่า เมื่อหลายร้อยปีก่อน ชาวบ้านดงมะไฟได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาวและได้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาไช (แต่เดิมบ้านนาไช คือ หมู่บ้านที่อยู่ระหว่างบ้านนากับแก้และบ้าน ดงมะไฟ ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ต่อมาเกิดโรคระบาด (อหิวาตกโรค) ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงพากันอพยพย้ายลงมายังบ้านดงมะไฟในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่รายล้อมไปด้วยต้นมะไฟ และต้นหมากแงว (ต้นคอแลน) จำนวนมาก และเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์อาหารเนื่องจากมีหนองน้ำขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันคือ หนองแวง ชาวบ้านดงมะไฟจึงได้ตั้งหลักปักฐานที่นี่เป็นต้นมาและตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านดงมะไฟ" ตามชื่อต้นไม้ที่มีเป็นจำนวนมาก
อาณาเขตติดต่อ มีดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาแก หมู่ที่ 4 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านดงมะไฟประชาพัฒนา หมู่ที่ 11 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านพะเนาว์ หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ส่วนมากชาวบ้านจะประกอบอาชีพเกษตร-ทำนา รับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนไทยเชื้อสายเวียดนาม (บางกลุ่ม) เข้ามาประกอบอาชีพค้าขายสินค้าอยู่ที่ตลาดสด
ชาวบ้านดงมะไฟสามัคคี นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อในการถือผี วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ มีวัฒนธรรมแบบภูไท งานประเพณี งานลอยกระทง บุญกองข้าว บุญข้าวสาก บุญกฐินสามัคคี ประเพณีบุญมหาชาติ
ในท้องถิ่นพบการใช้ภาษา ไทญ้อ ไทกะเลิง เเละผู้ไท
คณะกรรมการหมู่บ้าน. (2564). แผนพัฒนาหมู่บ้าน บ้านดงมะไฟ หมู่ที่ 1 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. สืบค้นจาก https://district.cdd.go.th/muang-sakon/