
จุดเด่นของชุมชนเเห่งนี้ คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานการณ์ในสังคมของอีสานที่มีเเนวโน้มลดลงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระเเสโลกาภิวัตน์
สําหรับชื่อหมู่บ้าน ในสมัยโบราณเชื่อกันว่ามีควายผู้นำตัวหนึ่ง เรียกว่า พญาควาย หรือ "ราชาควาย" เป็นเจ้าของควายฝูงหนึ่งไม่ยอมไปกินหญ้าที่อื่นเลย จะกินหญ้าที่ทุ่งนี้ตลอด จึงได้ตั้งชื่อว่า "บ้านนาราชควาย" ซึ่งคำว่า นาราชควาย มาจากคำว่า “ราชา" ซึ่งเป็นที่อยู่ของควาย ในขณะเดียวกัน เมื่อควายกินหญ้าอิ่มแล้วจะลงไปกินน้ำที่แม่น้ำโขง บริเวณที่ไปกินน้ำปัจจุบันก็คือ "บ้านท่าควาย" ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และฝูงควายได้ไปถ่ายมูลลงแม่น้ำโขง จึงได้ชื่อว่า "ดอนขี้ควาย" และ ที่นอนของควายปัจจุบันก็คือ "บ้านนาคอกควาย" พญาควายตัวนี้ก่อนจะตายได้ไปตายที่หมู่บ้าน "หนองย่างชิ้น" และเขาพญาควายได้ถูกไปประดับที่ "ภูเขาควาย" อยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน
จุดเด่นของชุมชนเเห่งนี้ คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานการณ์ในสังคมของอีสานที่มีเเนวโน้มลดลงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระเเสโลกาภิวัตน์
บ้านนาราชควาย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2043 โดยแต่เดิมชาวบ้านที่อพยพมาจะเป็นคนตระกูลไท-ลาว ซึ่งอพยพมาจากฝั่งของแม่น้ำโขง สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการเล่ามาว่าในสมัยก่อนการจัดตั้งหมู่บ้านได้เกิดศึกสงครามที่เมืองหลวงพระบาง ประชาชนจึงอพยพหนีข้ามฝั่งมาเพื่อหนีสงคราม ในจำนวนนั้นได้มีประชาชนตระกูลไท-ลาว กลุ่มหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่ภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย ตั้งเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม ก็คือบ้านนาราชควาย แต่กระนั้นก็มีต้นตระกูลไท-ลาว มีบรรพบุรุษอยู่ 2 คน คือ นายศรีบุตร และนางแก้ว เป็นสามีภรรยากันได้เป็นผู้นำมาตั้งที่หมู่บ้านนี้ และต่อมาทางรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านได้ลงความเห็นกันว่าจะใช้ชื่อผู้นำซึ่งเป็นสามีภรรยากันเป็นนามสกุล จึงได้นามสกุล "แก้วบุตตา" เป็นสกุลแรกและสกุลที่เด่นที่สุด
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาราชควายกลาง ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหหวัดนครพนม
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านเนินสะอาด ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหหวัดนครพนม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาสมดี ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหหวัดนครพนม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสร้างหิน ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหหวัดนครพนม
สภาพแวดล้อมชุมชน มีลักษณะเหมือนกับโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้านอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส
จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565 ของเทศบาลตำบลนาราชควาย ได้ระบุจำนวนครัวเรือน และจำนวนประชากรเพศชาย/หญิง ไว้ดังนี้ จำนวนครัวเรือนมีจำนวนทั้งหมด 257 หลังคาเรือน จำนวนประชากรชาย 410 คน จำนวนประชากรหญิง 390 คน รวมทั้งสิ้น 800 คน คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว
มีการรวมกันจัดตั้งองค์กรทำกิจกรรมร่วมภายในชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นรายได้เสริมจากฤดูทำนา เช่น การทำโครงการฟาร์มชุมชน กลุ่มผลิตเตาจากดินเผา เป็นต้น
วิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชนมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับธรรมชาติและการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภายในชุมชนได้มีการปฏิบัติยึดถือศาสนาพุทธเป็นหลัก จึงมีการยึดถือประเพณีฮีตสิบสองโดยมีการจัดงานตามความเชื่อในแต่ละเดือนดังต่อไปนี้
- เดือนมกราคม : งานปีใหม่ บุญเข้ากรรม
- เดือนกุมภาพันธ์ : บุญกองข้าว
- เดือนมีนาคม : บุญพระเวส
- เดือนเมษายน : งานสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม : บุญบั้งไฟ
- เดือนมิถุนายน : บุญชำระบ้าน
- เดือนกรกฎาคม : เข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม : บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน : บุญข้าวสาก
- เดือนตุลาคม : บุญออกพรรษา
- เดือนพฤษภาคม : บุญกฐิน
- เดือนธันวาคม : บุญทอดผ้าป่า
1. นายศรีบุตร : ผู้นำ บุคคลที่เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านนาราชควาย
2. นางแก้ว : ผู้นำ บุคคลที่เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านนาราชควาย
- สถาปัตยกรรม ภายในวัดนาราชควายมีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่มานานกว่า 300 ปีมาแล้ว โดยในอดีตเคยมีสิม แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นโบสถ์ วิหาร แล้วมี โบสถ์ 1 หลัง วิหาร 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง มีพระพุทธรูปที่เป็นโบราณวัตถุ ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เริ่มมีมาตั้งแต่ครั้งใดไม่มีใครทราบ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน พระพุทธรูปดังกล่าว คือ หลวงปู่สัมฤทธิ์ จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดในหมู่บ้าน
- โบราณวัตถุ มีการค้นพบหม้อโบราณขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า "หม้อทุ้ม" หม้อนี้มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษแต่ไม่ระบุว่ามีขึ้นเมื่อใด หม้อหุ้มใบนี้เป็นของโบราณที่ชาวบ้านภูมิใจมาก กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนเมื่อบ้านใดมีงานมงคลอะไรเกิดขึ้น ก็จะต้องนำหม้อทุ่ม ซึ่งเป็นของส่วนรวมไปต้มน้ำ หรือต้มข้าวต้มมัด โดยเชื่อว่า ถ้าบ้านใดนำไปใช้จะเป็นศิริมงคลและอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน
ผู้คนในชุมชนใช้ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างกัน และใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการ
ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเรื่องเงินทุนในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ธนาคารออมสิน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ชาวบ้านได้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ เกิดภูมิปัญญา และมีการสร้างอาชีพใหม่ ๆ ขึ้นในชุมชน เป็นการสร้างอนาคตใหม่ให้กับชาวบ้าน
ทิชากร อติวรรณกุล. การจัดทำแผนแม่บทชุมชนบ้านนาราชควาย หมู่ 7 ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. สาขาการจัดการรและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
องค์การบริหารส่วนตำบลนาราชควาย. (2565). ข้อมูลพื้นฐานชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://naratchakwai.go.th/public