Advance search

บ้านแม่เจี้ยวเป็นหมู่บ้านที่ปรากฏการผสมผสานทางความเชื่อระหว่างอำนาจของผีกับบารมีของพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนผ่านประเพณีพิธีกรรมสำคัญในวาระโอกาสต่าง ๆ ของชุมชน

บ้านแม่หลอด
สบเปิง
แม่แตง
เชียงใหม่
อบต.สบเปิง โทร. 0-5399-5043
วิไลวรรณ เดชดอนบม
23 มี.ค. 2023
วิไลวรรณ เดชดอนบม
23 มี.ค. 2023
บ้านแม่เจี้ยว


บ้านแม่เจี้ยวเป็นหมู่บ้านที่ปรากฏการผสมผสานทางความเชื่อระหว่างอำนาจของผีกับบารมีของพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนผ่านประเพณีพิธีกรรมสำคัญในวาระโอกาสต่าง ๆ ของชุมชน

บ้านแม่หลอด
สบเปิง
แม่แตง
เชียงใหม่
50150
19.084518
98.755904
องค์การบริหารส่วนตำบลสบเปิง

กะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย มีข้อสันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของชาวกะเหรี่ยงอยู่ทางตะวันออกของทิเบต ก่อนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศจีน ในเวลาต่อมาชาวกะเหรี่ยงถูกชาวจีนรุกราน จึงได้อพยพกระจัดกระจายเข้ามาอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง แล้วถูกขับไล่ออกมาอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวินของพม่า สำหรับชาวกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบพรมแดนไทย-พม่า และกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ดอยสูงในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก และแม่ฮ่องสอน

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทยที่มีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น โดยอาศัยอยู่ตามพื้นที่เป็นป่าเขา และกระจัดกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ ซึ่งหมู่บ้านแม่เจี้ยว ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง ก็เป็นหนึ่งหมู่บ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ที่ปรากฏการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงเช่นเดียวกัน 

สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

บ้านแม่เจี้ยวเป็นกลุ่มบ้านย่อยในปกครองของหมู่บ้านแม่หลอด ในพื้นที่รับผิดชอบของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ลักษณะภูมิประเทศบ้านแม่เจี้ยวเป็นพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา มีความลาดชันสูง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติบริเวณหมู่บ้านยังถือได้ว่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เนื่องจากบ้านแม่เจี้ยวตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง จึงไม่สามารถถางป่าเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกินเพิ่มได้อีก

ปัจจุบันบ้านแม่เจี้ยวกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำที่ใช้สำหรับการเกษตร เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านบ้านแม่เจี้ยวอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นที่ทำกินของชาวบ้านและพื้นที่ตั้งชุมชน ทำให้ไม่สามารถส่งน้ำขึ้นมาถึงที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทางการเกษตรได้เพียงพอ ทางกรมชลประทาน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบและแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้เข้ามาดำเนินการสร้างฝายเพื่อกระจายน้ำเข้าสู่หมู่บ้านและพื้นที่ทางการเกษตร พร้อมติดตั้งแท้งค์เก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แท้งค์ จากกรมชลประทาน

เส้นทางคมนาคม บ้านแม่เจี้ยวมีถนนลาดยางตัดผ่านเข้ามาถึงพื้นที่หมู่บ้าน มีเพียงบางจุดเท่านั้นที่ยังเป็นถนนลูกรัง มีถนนสายหลักที่ใช้ในการคมนาคมติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ๆ ในหมู่บ้านแม่หลอด คือ ถนนอุทยานน้ำตกหมอกฟ้า-สายปาย

บ้านแม่เจี้ยวเป็นกลุ่มบ้านย่อยในหมู่บ้านแม่หลอด หมู่ที่ 10 ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรทั้งสิ้น 32 ครัวเรือน 141 คน ประชาชนในหมู่บ้าน คือ ชาวกะเหรี่ยงสะกอ   

ปกาเกอะญอ

อาชีพ

อาชีพหลัก: อาชีพหลักของชาวบ้านแม่เจี้ยวคือการทำเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว รวมถึงพืชไร่ และไม้ผลอื่น ๆ ที่มาจากการโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เช่น ข้าวโพด ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ

อาชีพเสริม: รับจ้าง ค้าขาย และหาของป่า

องค์กรชุมชน

บ้านแม่เจี้ยว เป็นหมู่บ้านในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก ซึ่งทางโครงการได้มีการสับสนุนจัดกิจกรรมการตรวจสารพิษตกค้างจากผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านจากหมู่บ้านในพื้นที่ดำเนินการ รวมถึงส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มผลไม้ กลุ่มปลูกผัก กลุ่มพืชไร่ อีกทั้งยังมีการจัดตั้งกลุ่มและกองทุน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ ให้ชาวบ้านสามารถดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้ 

ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่เจี้ยว เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณมาตั้งแต่อดีต แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับเอาอิทธิพลจากพุทธศาสนาเข้ามา บ้านแม่เจี้ยวจึงปรากฏการผสมผสานทางความเชื่อระหว่างอำนาจของผีกับบารมีของพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนผ่านประเพณีพิธีกรรมสำคัญในวาระโอกาสต่าง ๆ ของชุมชน เช่น การทำบุญวันพระ การเลี้ยงผีบ้าน การเลี้ยงผีเรือน การเลี้ยงผีไร่ และปีใหม่กะเหรี่ยง เป็นต้น

ชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่เจี้ยว มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาสำคัญของชีวิต คือ ประเพณีการแต่งงาน เรียกว่า การกินแขก จะมีการสร้างศาลาทำกับข้าวที่บ้านฝ่ายหญิงเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขกและกล่าวบูชาเจ้าที่ กับข้าวจะถูกจัดเป็นสำรับ มีหมอผีเป็นผู้ทำพิธี เช้าวันถัดมาจะมีพิธี ป้อนข้าว โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมาบ้านเจ้าสาวตั้งแต่เช้ามืดเพื่อมารับการป้อนข้าว อาหารที่ใช้คือไก่ต้มทั้งตัว 1 คู่ ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้าว คือ เด็กที่คู่บ่าวสาวเลือกมา ซึ่งมีข้อกำหนดว่าเด็กที่จะมาทำการป้อนข้าวต้องมีพ่อแม่อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ไม่หย่าร้าง หรือไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางเศรษฐกิจ: แหล่งเงินทุนของชาวบ้านแม่เจี้ยว คือ กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และแหล่งเงินกู้เอกชน 

ภาษาพูด : ภาษากะเหรี่ยงสะกอ (ใช้ในชีวิตประจำวัน) ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง (ติดต่อสื่อสารกับคนพื้นราบ)

ภาษาเขียน : ภาษาไทยกลาง


ป่าแม่แตง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วิไลพร ชะมะผลิน. (2522). บทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของสตรีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (สะกอ). ศูนย์วิจัยชาวเขา กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์.

องค์การบริหารส่วนตำบลสบเปิง. (2564). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลสบเปิง พ.ศ.2564. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://sobperng.go.th [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566]

อบต.สบเปิง โทร. 0-5399-5043