Advance search

ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งเเต่พุทธศตวรรษที่ 14 มีความทับซ้อนทางวัฒนธรรม เเละในยุคปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ได้กลายเป็นตลาดการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวจังหวัดมหาสารคาม

หมู่ที่ 2
หนองแสง
หนองแสง
วาปีปทุม
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
16 ส.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
21 ส.ค. 2023
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
1 ส.ค. 2023
บ้านหนองแสง

"หนองแสง" เป็นชื่อของหนองที่ขุดในสมัยขอม เป็นชัยภูมิกว้างขวาง มีคันคูดินรอบหนองโดยรอบ สัณฐานยาวเหนือชายธง กว้างและลึกพอสมควร พวกขอมตั้งบ้านเมืองชอบทำ ตระพังทอง คือหนองนั่นเอง


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งเเต่พุทธศตวรรษที่ 14 มีความทับซ้อนทางวัฒนธรรม เเละในยุคปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ได้กลายเป็นตลาดการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวจังหวัดมหาสารคาม

หนองแสง
หมู่ที่ 2
หนองแสง
วาปีปทุม
มหาสารคาม
44120
15.84354
103.3705384
เทศบาลตำบลหนองแสง

ภายหลังเมื่อการเสื่อมสลายทางวัฒนธรรมของขอม เมื่อพุทธศตวรรษที่ 14 อีสานเหนือ เป็นชุมชนเล็ก กระจัดกระจายอยู่อย่างไม่หนาแน่น เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 19-20 เริ่มมีกลุ่มที่ใช้ วัฒนธรรม ไทย-ลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวล้านช้าง อพยพเข้ามาตั้งชุมชนผสมผสานกับชนพื้นเมืองเดิมที่มีอยู่แล้ว ขยายชุมชนสู่แอ่งโคราช ชุมชนอีสานจึงเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน เมืองมีขนาดเล็กเกิดขึ้นภายหลัง ต่อมาเกิดการรวบรวมที่กระจัดกระจายของชุมชน ให้มาขึ้นกับศูนย์กลางเดียวกัน

นอกจากนี้รูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่สำคัญคือ การอพยพของชาวบ้านจากถิ่นที่อยู่เดิมไปยังพื้นที่ใหม่ เพื่อหลีกหนีภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม ภัยจากโรคระบาด ภัยจากการลักขโมย หรือโจรผู้ร้าย และโดยเฉพาะเพื่อที่จะแสวงหาถิ่นที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม  

บ้านหนองแสง เป็นบ้านย้ายที่มาจากบ้านจอกขวาง ซึ่งชุมชนบ้านจอกขวาง อพยพมาจากเมืองศรีภูมิ หรือเมืองทุ่ง (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) การอพยพมาจากเมืองศรีภูมิหรือเมืองทุ่งของชุมชนบ้านจอกขวาง มีผู้นำในการอพยพ คือ พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ญาสังฆราช" (ชื่อจริงไม่ปรากฏ) คนกลุ่มนี้มีประมาณ 50 ครอบครัว ครั้งแรกได้มาตั้งหมู่บ้านบริเวณ "โนนเก่าน้อย" ตั้งบ้านอยู่แห่งนี้ได้ไม่กี่ปีก็เกิดอุทกภัยน้ำท่วมหมู่บ้าน ไร่นาเสียหายจึงอพยพข้ามลำห้วยมาตั้งอยู่ที่บริเวณที่เรียกว่า "ตีนคง" ส่วนบริเวณที่เป็นป่าดงก็คือ บริเวณบ้านหนองแสง ในปัจจุบัน

สภาพแวดล้อมชุมชนมีลักษณะเหมือนกับโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้านอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านดอนบม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองคู
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านวาปี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านทุ่งสีลาวัน

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ เป็นที่ราบลูกฟูกหรือที่ราบที่มีความสูงต่ำ และบริเวณตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม มักมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน

จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565 ของเทศบาลตำบลหนองแสง ได้ระบุจำนวนครัวเรือน และจำนวนประชากรเพศชาย/หญิง ปี พ.ศ. 2562 ไว้ดังนี้ จำนวนครัวเรือนมีจำนวนทั้งหมด 338 หลังคาเรือน จำนวนประชากรชาย 289 คน จำนวนประชากรหญิง 318 คน รวมทั้งสิ้น 607 คน คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว อยู่กันแบบญาติพี่น้อง ช่วยเหลือกันและกัน มีความสนิทสนมกันภายในชุมชน

ชุมชนบ้านหนองแสงมีกลุ่มอาชีพเสริม เช่น การทอผ้า การทอเสื่อกก และการจักสานต่างๆ ซึ่งเป็นการรวมกันเป็นกลุ่มอาชีพและระบบครัวเรือน ส่วนมากผลผลิตที่ได้มีการจัดจำหน่ายในพื้นที่เป็นหลัก เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ยังไม่มีความรู้ทางการตลาดมากนัก

วิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชนมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับธรรมชาติและการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภายในชุมชนมีการปฏิบัติยึดถือศาสนาพุทธเป็นหลัก จึงมีการยึดถือประเพณีฮิตสิบสองโดยมีการจัดงานตามความเชื่อในแต่ละเดือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านหนองแสง อยู่ในพื้นที่ที่มีโบราณสถานที่มีความสำคัญของวาปีปทุม โดยอยู่ใกล้ปรางค์กู่บ้านแดงและพระธาตุบ้านแดง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เมื่อสมัยที่เมืองได้ตั้งขึ้นที่ บ้านหนองแสง คนดั้งเดิมรู้จักทำมาค้าขายกับคนจีนที่มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ครั้นต่อมาเมืองก็ได้ย้ายที่ทำการใหม่ไปตอนบ้านส้ม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น คือ มีชุมชนแห่งใหม่เกิดขึ้น แต่บ้านหนองแสงก็ยังมีอยู่ พ.ศ. 2507-2542 ในช่วงเวลา 35 ปี การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมืองเกิดจากได้มีการตัดถนนสาย บุรีรัมย์-บรบือ โดยตัดผ่านทางทิศตะวันตกของวาปีปทุม ในปี 2507 แล้วเสร็จในปี 2512 ทำให้ประชากรที่อยู่ในเมืองได้ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมถนนสองข้างทางเพื่อทำการค้าขาย ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า ตลาดนอก อยู่ในเขตบ้านหนองแสง แต่อยู่ในการรับผิดชอบของ อบต.หนองแสง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลหนองแสง. แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565.