ต้นเปลือย ขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน
ได้ชื่อว่า “เปลือยน้ำ” เพราะว่ากลางหมู่บ้านมีต้นเปลือยขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมบ่อย จึงเรียกชื่อว่า “บ้านเปลือยน้ำ”
ต้นเปลือย ขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน
บ้านเปลือยน้ำ เดิมทีก่อนจะมีการก่อตั้งหมู่บ้าน บริเวณนี้เป็นโนนดินที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยปกติแล้วหมู่บ้านบริเวณใกล้ ๆ ถ้าหากว่าฝนตกชุก น้ำจะท่วมเกือบทุกหมู่บ้าน ยกเว้นบ้านเปลือยน้ำ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "เปลือยน้ำ" เพราะว่ากลางหมู่บ้านมีต้นเปลือยขนาดใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมบ่อย จึงเรียกชื่อว่า "บ้านเปลือยน้ำ"
กลุ่มคนกลุ่มแรกที่เริ่มอพยพมาและก่อตั้งหมู่บ้านในตอนแรก คือ กลุ่มของ นายจำปา-นางลุน คำนับภา พากันอพยพมาจากบ้านไผ่ ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย ต่อมาได้ชักชวนเพื่อนมาจากบ้านมะค่าคือ กลุ่มของคุณยายเหล้า และอีกหลายกลุ่มอพยพมาอยู่ด้วย หลายปีต่อมาก็มีบางกลุ่มอพยพย้ายจากบ้านเปลือยน้ำไปอยู่หมู่บ้านอื่นเพราะน้ำท่วมบ่อย จากกลุ่มคนที่เหลืออยู่ได้มีการก่อตั้งวัด คือ วัดศรีมงคล และโรงเรียนบ้านเปลือยน้ำสามัคคีใน ปี พ.ศ. 2511 ในระยะแรกมีการเรียนร่วมกับหมู่บ้านปะยางห่าง และบ้านโนนทัน ในปัจจุบันโรงเรียนบ้านเปลือยน้ำสามัคคี เป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในบ้านเปลือยน้ำเท่านั้น
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านน้ำเที่ยง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ แม่น้ำชี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโนนตาล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขามเฒ่า
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสมกับการปลูกข้าว อีกทั้งเป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน บางพื้นที่เป็นพื้นที่ดอน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ช่วงฤดูฝนน้ำหลาก เกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง
บ้านเปลือยน้ำ มีจำนวน 116 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 503 คน จำแนกเป็นเพศชาย 265 คน เพศหญิง 238 คน ประชากรส่วนใหญ่สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ ภายในชุมชนอยู่แบบเครือญาติช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชน
- กลุ่มทอผ้าฝ้าย สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ มีความภูมิใจที่มีรายได้เป็นของตัวเอง
บ้านเปลือยน้ำมีการทำบุญหรืองานประเพณีต่าง ๆ ตลอดทั้ง 12 เดือน เหมือนประเพณีทั่วไปของภาคอีสาน สำหรับบ้านเปลือยน้ำมีประเพณีที่ทำมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน คือ ประเพณีเลี้ยงปู่ตา ประกอบพิธีปีละ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างเดือน พฤษภาคม-เดือนมิถุนายน (เลี้ยงลง) และในช่วงเดือนธันวาคม
กลุ่มทอผ้าไหม ปัจจุบันมีผลผลิตสูงขึ้น ทางราชการให้ความสนใจ ให้ความช่วยเหลือในเรื่องพันธุ์ใบหม่อน ใบขนาดใหญ่ไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บนานและแม่พันธุ์ไหมมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ฝึกไหมขนาดใหญ่และหนา ทำให้ได้เส้นไหมปริมาณมากกว่าเดิม ผ้าที่ทอเสร็จแล้วจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงหมู่บ้านไม่ต้องนำไปจำหน่ายเอง
สุชานันท์ เนืองโคตะ. การจัดการแม่บทชุมชนบ้านเปลือยน้ำ หมู่ 13 ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการรและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2545
สุชานันท์ เนืองโคตะ. การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านเปลือยน้ำ หมู่ 13 ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการรและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2545