Advance search

กู่บ้านแดง

กู่บ้านแดง โบราณสถานที่มีความสำคัญต่อชุมชน 

หมู่ที่ 12
แดง
หนองแสง
วาปีปทุม
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
16 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
20 ก.ค. 2023
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
1 ส.ค. 2023
บ้านแดง
กู่บ้านแดง

บ้านแดง ตั้งตามชื่อ ต้นไม้แดง ที่มีจำนวนมากเมื่อครั้งก่อนก่อตั้งเป็นชุมชน


ชุมชนชนบท

กู่บ้านแดง โบราณสถานที่มีความสำคัญต่อชุมชน 

แดง
หมู่ที่ 12
หนองแสง
วาปีปทุม
มหาสารคาม
44120
15.80369597
103.3522725
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเเสง

บ้านแดง หมู่ที่ 12 ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ถนนนิวซีแลนด์ สาย 285 จากมหาสารคาม อำเภอวาปีปทุม อำเภอนาดูน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันเมื่อประมาณ 150 กว่าปีเศษ สถานที่อยู่ของบ้านแดงแห่งนี้เป็นป่าดงดิบรกทึบ ประกอบไปด้วยไม้ยืนต้นนานาชนิด โดยมากมีป่าไม้แดงมากกว่าชนิดอื่น ๆ นอกนั้นยังมีไม้เต็ง ไม้รัง ประดู่ ไม้ก้าว ไม้มะค่า ไม้สมอ

ต่อมาได้มีบุคคลจากหลายทิศทางได้อพยพมาจากหลายอำเภอและหลายจังหวัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น เช่น พ่อใหญ่จารย์ครูพา แม่ใหญ่มี ปติกำลัง มาจากบ้านดอกไม้ อำเภอสุวรรณภูมิหรือเมืองสีภูมิเดิม ประวัติพ่อใหญ่จารย์ครูพา เป็นหมอดูฤกษ์ยาม ดูชะตาชีวิต ผูกดวง หมอถอดคอน สมัยก่อนได้มาตั้งเป็นบ้านโคก เป็นตระกูลพ่อใหญ่ครูพา พร้อมด้วยน้องสาว น้องชาย ได้ 7-8 ครอบครัวที่ทราบมาตั้งขึ้น อาศัยน้ำหนองแวงเป็นที่อาศัย และได้ตั้งวัดขึ้นเป็นวัดร้างอยู่เหนือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 17 ในปัจจุบัน

สมัยนั้นความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาได้มีโจรผู้ร้ายมาลักขโมยของ เช่น สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ และสัตว์เลี้ยงเกิดเป็นโรคห่าและเกิดโรคอหิวาตกโรค โรคฝีดาษและโรคท้องร่วง ก็เลยทำให้หมู่บ้านแตกแยกไปอยู่ตามที่อื่น ๆ อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ด้านตะวันออกหนองแวงเรียก บ้านแดงหรือบ้านดอนแดง กลุ่มนี้มีบุคคลหลายจำพวกมาจากคนละทิศละทางมาตั้งบ้านแดงหรือบ้านดอนแดง เช่น พ่อใหญ่ลอย แม่ใหญ่พูด วรรคไทยสงค์ เป็นไทยปั้นหม้อมาจากบ้านหนองหญ้ากระโหมง อำเภอแก้งสนามนาง ต่อมาบ้านโคกคู่และบ้านแดงอีกกลุ่มหนึ่งที่ตั้งบ้านมาก่อน และตั้งวัดทางทิศตะวันออก เหนือถนนที่ไปฝายยางและไปบ้านโพธิ์ ได้รวมระหว่างบ้านโคกและบ้านแดงเข้าเป็นหมู่บ้านเดียวกันเป็น บ้านแดง ในปัจจุบันนี้

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านจอกขวาง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโพธิ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านซองแมว
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบนทุ่ม

การคมนาคม

บ้านแดง หมู่ที่ 12 ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ระยะทางออกจาก บ้านแดงถึงตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร

  • เส้นเอก เป็นเส้นทางเข้า-ออกทางทิศเหนือของหมู่บ้าน เป็นถนนรางใช้สัญจรไปมาจากหมู่บ้านจอกขวาง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
  • เส้นที่สอง เป็นเส้นทางเข้า-ออกทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นถนนลูกรัง ทางนี้ใช้สัญจรไปมาของหมู่บ้านโพธิ์ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
  • เส้นที่สาม เป็นเส้นทางเข้า-ออกทางทิศใต้ของหมู่บ้าน เป็นดินปนทราย ทางนี้ใช้สัญจรไปมา ของหมู่บ้านของแมว ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร

ชุมชนบ้านแดงมีประชากรราว 569 คน และจำนวนครัวเรือน 123 ครัวเรือน

ส่วนมากชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำนา ค้าขาย ทอเสื่อ ปั้นหม้อ เลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา ส่วนอาชีพทอเสื่อ ก็จะทำหลังจากที่ว่างจากการทำนาแล้ว ไม่ได้นำไปขายแต่จะผลิตไว้ใช้เอง ถ้าเอาไปขายก็เป็นจำนวนน้อย อาชีพปั้นหม้อปัจจุบันนี้ก็ทำกันอยู่เพียง 1-2 ครอบครัวเท่านั้น เพราะขาดวัตถุดิบในการทำ ส่วนการทำนา ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งก็นำไปขายอีกส่วนหนึ่งก็เก็บไว้รับประทาน

ศาสนาที่ชาวบ้านนับถือ คือศาสนาพุทธ ในชุมชนมีวัด 1 แห่ง ชื่อวัด อินทราราม มีพระ 2 รูป คือ หลวงปู่อินทร์, พระปณฺฑิโธ

  • เดือนมกราคม : บุญมหาชาติ
  • เดือนกุมภาพันธ์ : บุญดอกผ้า
  • เดือนมีนาคม : บุญผะเหวด
  • เดือนเมษายน : เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม : ต่อชะตาแม่น้ำ
  • เดือนมิถุนายน : ประเพณีบุญบั้งไฟ
  • เดือนกรกฎาคม : วันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม : บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน : บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม : ออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน : บุญทอดกฐิน
  • เดือนธันวาคม : ขึ้นบ้านใหม่

1. นายจรูญ บุพโต

2. นายลำใย วิเศษศีร

3. นายจันทร์ โสดาปัดชา

4. นายหนู แก้วธานี

5. นายประนม อำพินธ์

6. นายแผ่ว ชิณพิมพ์

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม การแก้ไขพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งด้าน เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง

โดยรัฐบาลขณะนั้นได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยรัฐบาลจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงิน ทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็ง ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบาย “คิดเอง บริหารจัดการเอง โดยประชาชน เพื่อ ประชาชน ในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง”

ชื่อกองทุนหมู่บ้านแดง หมู่ที่ 12 ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กิจกรรมหลักของกลุ่ม คือ ออมทรัพย์ จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2543 มีจำนวนสมาชิก 153 คน และประธานกลุ่ม คือ นายแผ่ว ชิณพิมพ์ อายุ 56 ปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

  • ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ราคาข้าวต่ำ ปุ๋ยเคมีราคาแพง สินค้าราคาแพง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
  • ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม คือ ไม่มีการส่งเสริมกลุ่มอาชีพและชาวบ้านไม่มีการรวมกลุ่มหลังจากฤดูกาลทำนาเสร็จแล้วชาวบ้านก็จะไม่มีงานทำ ทำให้เกิดการว่างงาน

  • ถนนเมื่อเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนมีสภาพเป็นถนนแบบดินปนทราย ถัดมาเป็นถนนลูกรัง เมื่อ พ.ศ. 2520 ยาวประมาณ 500 เมตร และเป็นถนนลาดยาง เมื่อ พ.ศ. 2541 ยาว 1,000 เมตร ถนนในหมู่บ้านทั้งหมดยาวประมาณ 1,075 เมตร


สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย แล้วไม่มีการปลูกป่าทดแทน เนื่องจากวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านนับวันที่จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ทำกินเริ่มลดน้อยลง พื้นที่อาศัยเพิ่มขึ้น ตามจำนวนครัวเรือน อาศัยแหล่งน้ำเสี่ยวในการทำการเกษตร น้ำในฝายยางไม่มีใช้ในหน้าแล้ง ไม่มีดินที่จะนำมาปั้นหม้อ น้ำจะมีมากเฉพาะฤดูฝน ถนนส่วนใหญ่เป็นถนนดินปนทราย เวลาฝนตกจะทำให้น้ำท่วมได้ง่ายและถนนขาด

ปรางคู่บ้านแดงธาตุ ตั้งอยู่ติดถนนด้านตะวันตกของหมู่บ้านกู่บ้านแดง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 7 จากตัวอำเภอวาปีปทุม สมัยก่อนเป็นป่าดงดิบมีอาณาเขตกว้างขวางจากอำเภอวาปีปทุมถึงอำเภอนาดูนและอำเภอบรบือ มีป่าไม้นานาชนิดและมีสัตว์ป่าหลายจำพวกอาศัยในป่านี้ เช่น จำพวกกวาง เก้ง หมู่ ป่า ไก่ป่า จำพวกสัตว์มีปีก สัตว์สี่เท้า สัตว์เลื้อยคลานมากมาย

กู่บ้านแดงก่อสร้างด้วยศิลาแรงก้อนขนาด หนา 1 เมตรยาว 2 เมตรและด้านกว้าง 70 เซ็นติ เมตร ยาว 1 เมตรบ้าง แต่ก่อนที่ยังไม่ถูกพวกขโมยไปขุดค้นเพื่อเอาของวัตถุบารณ์ไปขาย ปราง เป็นที่อยู่ของพวกขอม

มุมด้านทิศตะวันออกแต่ก่อนได้มีแผ่นหินสลักเป็นภาพพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อโลติเกศวร และนางปัญญาปารมิตา เรียกว่ารัตนตรัยมหายานโบราณสถานแห่งนี้ คงสร้างขึ้นโดย

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งนับถือพุทธมหายาน ในเขตอำเภอวาปีปทุมมีที่บ้านสนาม ตำบลเสือโก๊ก อำเภอนาดูนอยู่ที่บ้านโนนเมืองเขาเรือก กู่สันตรัตน์ ที่อำเภอสุวรรณภูมิ มีอยู่ที่บ้านกู่กาสิงห์ และพระกูนา สถานที่เหล่านี้เป็นที่ประทับ ที่ เป็นวังใหญ่ในเขตภาคอีสาน อยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาเดี๋ยวนี้ได้บูรณะให้สวยงามเป็น สถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของประเทศในเขตภาคอีสาน

สำหรับประชาชนในอำเภอวาปีปทุม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตำบลหัวเรือ ตำบลหวาย ตำบลประชาพัฒนา ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลทองหลาง ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ประชาชนในเขตตำบลดังกล่าวมานี้จะได้พากันมาพร้อมกันที่ปรางอู่แห่งนี้อย่างมากมาย พอถึงเวลา 10 นาฬิกาก็นิมนต์พระสงฆ์มาแต่ละอาวาสต่างที่ได้กราบนิมนต์ โดยมีเจ้าคณะ อำเภอวาปีปทุมเป็นประธานและรองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส ต่างร่วมพระพุทธมนต์ สมโภช พอเสร็จแล้วก็มีการฟังเทศน์อานิสงฆ์หนึ่งกัณฑ์โดยเจ้าคณะอำเภอหรือรองเจ้าคณะอำเภอ แล้วถวายภัตตาหารเพล เสร็จจากนั้นก็มีการแห่บั้งไฟรอบปรางคู่สามรอบแล้วก็มีการสรง โดยพระ สงฆ์เป็นประธาน สรงก่อนแล้วญาติโยมอุบาสกอุบาสิกา ตลอดจนหนุ่มๆสาวๆ ที่มาในงานประเพณี เริ่มสาดน้ำกัน ประแป้งกัน จากนั้นมีการสรงคนแก่ที่เป็นวัยวุฒิ คุณวุฒิโน ผู้สูงด้วยอายุ สูงด้วยคุณ เพื่อขอกราบขมาลาโทษที่ได้ล่วงเกินด้วยกาย ล่วงเกินด้วยวาจาหรือด้วยใจหรือกายเพราะโลโกโท โมโหจงเป็นอโหสิกรรมอย่ามีเวรภัยแก่กันและกันเลย เสร็จพิธีสรง สรงน้ำพระสงฆ์ สรงน้ำคนแก่แล้วเหลืออีกพิธีจุดทิ้งไพบูชาพระภูมิเจ้าที่บวง สรวงเทวดาประจำที่เป็นอาฮักรักษาแล้วก็มีบั้งไฟเสียงทาย คือเสี่ยงฝน เสี่ยงคน เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในหมู่ บ้านในเขตท้องที่ตำบลอำเภอจะอยู่ดีกินดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดสัตว์เลี้ยงทั้งหลายโคกระบือ เป็ดไก่จะเป็นราคาให้บั้งไฟขึ้นอย่าได้แตก

จิรวรรณ์ น้อยศรี. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านแดง ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม