หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโนนสวรรค์ วัฒนธรรม หลวงปู่ภูพาน รวมใจ งามผ้าคราม โคนม ออมทรัพย์ ลือไก สมัคคีร่วมใจ สู่วิถีพอเพียง
ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ กล่าวคือ ในช่วงปี 2517 ที่มีการตั้งชุมชนโดยย้ายออกจากบ้านดงขุมข้าว ได้มีการลงมติเพื่อที่จะแยกมาตั้งหมู่บ้าน ณ วัดภูน้อย ครั้งนั้นคนส่วนใหญ่มักลงมาในพื้นที่ลุ่ม เห็นเป็นคลื่น ๆ คล้ายดงมหาสมุทร จึงอนุมานว่า คล้ายดังมหานทีสีทันดรที่ล้อมเขาพระสุเมรุไว้ จึงตั้งชื่อชุมชนว่า ชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์และคติความเชื่อของชุมชน
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโนนสวรรค์ วัฒนธรรม หลวงปู่ภูพาน รวมใจ งามผ้าคราม โคนม ออมทรัพย์ ลือไก สมัคคีร่วมใจ สู่วิถีพอเพียง
ชุมชนบ้านโนนสวรรค์แต่เดิมมีสภาพเป็นป่ารกทึบ พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยป่าไม้และสัตว์นานาชนิด ครอบครัวแรกที่ย้ายมาอยู่บริเวณที่ตั้งชุมชนบ้านโนนสวรรค์ปัจจุบัน คือ ครอบครัวของนายเพ็ง (คนในชุมชนรู้จักกันในนาม เฒ่าเติบ) และนางวันดี สุขสร้อย สองสามีภรรยาที่ย้ายตามลูกชายมาเป็นตำรวจในตัวเมืองสกลนคร โดยได้ย้ายมาจากบ้านผักตบ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร นอกจากการย้ายตามลูกชายมาแล้ว ทั้งสองยังต้องการหาที่ทำกินใหม่ด้วย โดยครอบครัวของนายเพ็งและนางวันดี สุขสร้อย ตั้งครอบครัวอยู่บริเวณศาลหลักบ้านในปัจจุบัน หลังจากที่นายเพ็งย้ายเข้ามาสร้างครอบครัวได้ไม่นานนักนายคำพัน การุญ ได้พาครอบครัวจากบ้านหนองไผ่ อำเภอพรรณนานิคม ย้ายเข้ามาอยู่ด้วยโดยอยู่ริมห้วยทางทิศตะวันตกของชุมชนในปัจจุบัน
ปี 2501 นายจ๋า นรสาร ได้พาครอบครัวเดินทางจากบ้านพอกน้อย อำเภอพรรณนานิคม เข้ามาหาที่ทำกินใหม่ ณ ชุมชนบ้านโนนสวรรค์ปัจจุบัน เนื่องจากชุมชนเดิมคับแคบโดยได้ตั้งครอบครัวอยู่บริเวณศาลาประชาคมหมู่บ้านในปัจจุบัน ปี 2505 นายอุดม คำทะเนตร ได้พาครอบครัวย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนด้วยเช่นกัน และในอีก 4 ปีต่อมากลุ่มคนจากร้อยเอ็ด มหาสารคาม ก็ได้เดินทางเข้ามาหาที่ทำกินใหม่ในชุมชนบ้านโนนสวรรค์ โดยได้เลือกพื้นที่ทางทิศใต้เป็นที่ตั้งชุมชน ในช่วงนี้บ้านโนนสวรรค์เป็นเพียงคุ้มที่ขึ้นกับบ้านดงขุมข้าว ชื่อ คุ้มสวนดง มีจำนวนครัวเรือนราว 10-15 หลังคาเรือน
ราวปี 2517 คุ้มสวนดงได้ยกฐานะขึ้นเป็นชุมชนบ้านโนนสวรรค์ โดยมีนายอุดม คำทะเนตร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของชุมชน วิถีชีวิตของคนในสมัยดังกล่าวนี้ อาชีพหลักคือปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์และพึ่งพาทรัพยากรต่าง ๆ จากระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติเป็นหลัก
การปกครองในชุมชนบ้านโนนสวรรค์ มีการปกครองแบ่งเป็นคุ้มต่าง ๆ 9 คุ้มดังนี้
- คุ้มเกษตรสามัคคี
- คุ้มอนุรักษ์ธรรม
- คุ้มกลางพัฒนา 1
- คุ้มกลางพัฒนา 2
- คุ้มทุ่งรวงทอง
- คุ้มเศรษฐกิจพอเพียง
- คุ้มอนุรักษ์ปุ๋ยหมัก 1
- คุ้มอนุรักษ์ปุ๋ยหมัก 2
- คุ้มสะอาดส่องแสง
ชุมชนบ้านโนนสวรรค์เป็นชุมชนที่มีเทือกเขาอยู่ทางด้านทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชน เป็นแหล่งทรัพยากรหลักของคนในชุมชน เช่น สัตว์ป่า เห็ด หน่อไม้ ฯลฯ และมีห้วยทรายไหลผ่านจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก นอกจากนั้นแล้วยังมีอาณาบริเวณติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านดงยอ,บ้านหนองยาง ตำบลพังขว้าง
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองแฝก ตำบลห้วยยาง
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านดงสมบูรณ์ ตำบลพังขว้าง
- ทิศตะวันตก ติดกับ เทือกเขาภูพาน, บ้านหนองปลาดุก ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ชุมชนบ้านโนนสวรรค์มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 294 ครัวเรือน มีประชากรอาศัยอยู่จริงประมาณ 878 คน เป็นผู้ชาย 428 คน และเป็นผู้หญิง 450 คน ประชากรส่วนใหญ่คือกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท รองลงมาคือ โย้ย ญ้อ(ย้อ) และชาติพันธุ์ลาว กล่าวคือ
- กลุ่มชาวผู้ไท อพยพจากบ้านพอกน้อย (ตระกูลนรสาร),บ้านหนองไผ่ (ตระกูลการุญ),บ้านหนองเม็ก (คำทะเนตร)
- กลุ่มชาวโย้ย อพยพจากบ้านผักตบ (ตระกูลสุขสร้อย,นาคะอินทร์)
- กลุ่มชาวลาว อพยพจากร้อยเอ็ด มหาสารคาม (ตระกูลพวงมาลัย, ข่าขันมะลี,สืบสำราญ,จันทร์โท)
- กลุ่มชาวญ้อ (ย้อ) อพยพจากบ้านดงขุมข้าว (ตระกูลไชโยธา)
นอกจากนั้นยังมีชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ที่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่เข้ามาโดยผ่านการแต่งงาน เช่น กลุ่มกะเลิง,โซ่ เป็นต้น
กะเลิง, ญ้อ, ไทโย้ย, ผู้ไท- กลุ่มสหกรณ์โคนม
- กลุ่มสมุนไพรหทัยภูพาน
- กลุ่มผ้าทอสวนครามนางไอ่
- กลุ่มออมทรัพย์ภูดินแดง
ชุมชนบ้านโนนสวรรค์เป็นชุมชนขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานประเพณีกันตามฮีตสิบสอง ยกเว้นเพียงเดือนสี่หรือบุญผะเหวดเท่านั้นที่จะไม่จัดเนื่องจากเป็นบุญใหญ่ต้องใช้คนเตรียมงานเป็นจำนวนมากจึงทำให้คนในชุมชนบ้านโนนสวรรค์ไม่ได้จัดงานประเพณีดังกล่าว พิธีกรรมที่สำคัญที่สุด คือ การไหว้ปู่ตา เพราะเป็นพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในชุมชน เนื่องจากเป็นการเสี่ยงทายฟ้าฝน บ้านเมือง และผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เช่น ทำนา เลี้ยงโคนม ปลูกผัก เป็นต้น ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่นับถือพระพุทธศาสนามีวัดที่สำคัญคือวัดโนนสวรรค์ (วัดภูดินแดง) และวัดภูน้อย ทั้งนี้ในชุมชนยังมีวัดอีก 4 วัดรองที่คนในชุมชนนิยมเดินทางไปทำบุญ
1. พระครูปลัดศรีธรรมวัฒน์ (หลวงปู่ภูพาน)
2. นายเถิง นรสาร : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจักสาน
3. นายอุดม คำทะเนตร : อดีตผู้นำชุมชนและปราชญ์ชุมชนดนตรี
4. คุณตาโท นาคะอินทร์ : หมอยาสมุนไพร
- เทือกเขาภูพาน
- วัดภูดินแดง(วัดหลวงปู่ภูพาน)
- ศูนย์รวมนมสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร
ประชากรของชุมชนบ้านโนนสวรรค์ โดยมากเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ เพราะในแต่ละโซน/คุ้มก็จะมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน ภาษาพูดหลัก เช่น ผู้ไท ญ้อ โย้ย ลาว เป็นต้น สำหรับการติดต่อราชการใช้ภาษาไทยเป็นหลัก