Advance search

อารายธรรมร่องรอยโบราณสถานสมัยขอม และผ้าย้อมครามซึ่งเป็นสินค้า OTOP

หมู่ที่ 1
พันนา
พันนา
สว่างแดนดิน
สกลนคร
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
5 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
10 ก.ค. 2023
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
1 ส.ค. 2023
บ้านพันนา

เเต่เดิมนั้นผู้คนเรียกว่า "เมืองพานนา" ตามชื่อผู้นำในที่สุดจึงเพี้ยนเป็น "พันนา"


ชุมชนชนบท

อารายธรรมร่องรอยโบราณสถานสมัยขอม และผ้าย้อมครามซึ่งเป็นสินค้า OTOP

พันนา
หมู่ที่ 1
พันนา
สว่างแดนดิน
สกลนคร
47240
17.43720003
103.5626127
องค์การบริหารส่วนตำบลพันนา

ชุมชนบ้านพันนาเป็น 1 ใน 16 ตำบล ของอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ผู้เฒ่าผู้แกเล่าว่า ปู่ ย่า ตา ทวด อพยพจากเมืองชัยฟองกองบาก ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองสกลนคร แต่เกิดภาวะแห้งแล้งจึงอพยพต่อมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบากน้อย (บริเวณบ้านม้าในปัจจุบัน) จากนั้นลูกชายของเจ้าเมืองหนองบากน้อย ได้แยกตัวมาสร้างเมืองใหม่ให้ชื่อว่าเมืองจำปา แต่คนทั่วไปนิยมเรียกเมืองพานนา ตามชื่อผู้นำ ในที่สุดจึงเพี้ยนเป็นพันนา

นอกจากนี้ยังมีชุดข้อมูลอีกชุดได้เขียนว่า ประวัติบ้านพันนา มีประวัติยาวนานกว่า 800 ปี คนกลุ่มแรกที่เข้ามาบุกเบิกก่อตั้งบ้านเรือนมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยพระวอ พระตา และเหล่าทหารที่เดินทางรอนแรมมาเพื่อหาแหล่งทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์ พอมาถึงบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พระวอ พระตา จึงตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น ส่วนทหารที่ตามขบวนมานำโดยนายพรานนา ได้แยกตัวมาทางทิศตะวันออกและพบแหล่งพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์จึงตั้งหลักแหล่งอยู่บ้านผ้าขาวพันนา ซึ่งความอุดมสมบูรณ์นั้นเปรียบได้ดัง "บ้านผ้าขาวพันนา หัวปลาเฮ็ดก้อนเส้า ข้าวเก่าเอาใส่หม่อน" หมายถึง ในน้ำมีปลาชุกชุม ปลามีตัวขนาดใหญ่ จนสามารถนำหัวปลาที่เหลือกินแล้วมาทำเป็นเตาที่ตั้งหม้อ (ก้อนเส้า) ข้าวในนาก็อุดมสมบูรณ์ ในยุ้งฉางมีข้าวเก็บไว้รับประทานอย่างล้นเหลือ จนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ข้าวเก่า ในปีที่ผ่านมายังรับประทานไม่หมด จึงนำไปเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวหม่อนเพื่อนำเส้นใย ไปถักทอเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนบ้านพันนา พบว่ามีจำนวนประชากรชาย 329  คน จำนวนประชากรหญิง 352 คน และจำนวนครัวเรือน 223 ครัวเรือน

การประกอบอาชีพของประชากรในเขตเทศบาลตำบลพันนา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน

งานประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์ อนุรักษ์ปราสาทขอม ออนซอนผ้าย้อมคราม เป็นงานที่ชาวตำบลพันนาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และได้อนุรักษ์สืบสานพัฒนายกระดับให้เป็นงานประเพณีที่สำคัญของอำเภอสว่างแดนดิน งานนี้จะจัดขึ้นทุกวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 โดยประชาชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร พร้อมถวายข้าวจี่แด่พระภิกษุสงฆ์ที่วัด ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีทั่วไปของคนอีสาน ประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลพันนา มีความแตกต่างจากบุญข้าวจี่ของอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ กล่าวคือ ชาวตำบลพันนาได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำข้าวจี่ ซึ่งเป็นข้าวจี่ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า ข้าวจี่ยักษ์ ใช้ไข่ไก่จำนวนสองพันฟอง ประกอบกับมีโบราณสถานที่สำคัญคือ ปราสาทขอม ชาวตำบลพันนาจึงจัดประเพณีนี้ขึ้น ณ ปราสาทขอมแห่งนี้และยังมีสิ่งที่สำคัญคือ ชาวตำบลพันนาเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตผ้าย้อมคราม ที่สวยงามและสวยที่สุดในจังหวัดสกลนคร จะเห็นได้จากชาวตำบลพันนาทุกคนใส่ผ้าย้อมครามมาร่วมงานการอนุรักษ์ปราสาทขอม ออนซอนผ้าย้อมคราม งานวันลอยกระทง และกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตำบลพันนามีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญได้แก่ ปราสาทขอม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปราสาทขอม เป็นโบราณสถานซึ่งไม่สามารถกำหนดอายุได้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2525 ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในระดับตำบล อำเภอและจังหวัด ซึ่งในแต่ละปีเทศบาลตำบลพันนาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครในการจัดงานประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์ อนุรักษ์ปราสาทขอม ออนซอนผ้าย้อมคราม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวปราสาทขอมและผ้าย้อมครามซึ่งเป็นสินค้า OTOP

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรภายในตำบลมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของไทย โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น งานประเพณีบุญข้าวยักษ์ อนุรักษ์ปราสาทขอม ออนซอนผ้าย้อมคราม งานวันลอยกระทง และกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา


คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการรวมกลุ่มกันอนุรักษ์และการจัดตั้งป่าชุมชนประจำตำบลพันนา รวมทั้งมีการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ในพื้นที่ป่าช้าเหล่าเฒ่าเมี่ยง เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลพันนา. (ม.ป.ป). สถานที่ท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.panna.go.th/

ผู้จัดการออนไลน์. (2554, 7 กุมภาพันธ์). งานบุญข้าวจี่ยักษ์ตำบลพันนาหนุนท่องเที่ยวท้องถิ่น. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ผู้จัดการออนไลน์. ค้นจาก https://mgronline.com/