Advance search

ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางธรรมชาติ

หมู่ที่ 23
มะกอก
ขามเรียง
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
1 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
4 ก.ค. 2023
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
1 ส.ค. 2023
บ้านมะกอก

มีป่าไม้มะกอกอยู่เป็นจำนวนมาก จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางธรรมชาติ

มะกอก
หมู่ที่ 23
ขามเรียง
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
44150
16.2225671
103.2272936
เทศบาลตำบลขามเรียง

บ้านมะกอกเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ มีอายุ 137 ปี สันนิษฐานว่าชุมชนเเห่งนี้เริ่มก่อตั้งแต่หมู่บ้านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีประวัติยาวนานสืบเชื้อสายของต้นตระกูล "บุญหล้า"  เมื่อสมัยราว พ.ศ. 2407 ได้มีคุณยายหนึ่ง บุญหล้าและสามี พ่อลี บุญหล้า พร้อม ลูกชาย คุณยายกอง บุญหล้าและลูก ๆ ได้มีผู้อพยพติดตามประมาณ 16 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 54 คน ซึ่งได้อพยพมาเริ่มต้นตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ลงมาตามลุ่มแม่น้ำชี ผ่านจังหวัดยโสธร และร้อยเอ็ด มหาสารคาม ได้มาพบพื้นที่ตั้งหมู่บ้านที่ปัจจุบันเรียกว่า โนนใหญ่ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงมีต้นไม้และเป็นป่าไม้ยืนต้นมากมาย และมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น กว้าง ช้าง เสือ หนองเทา หนองเข้ หนองบัว ฯลฯ และใกล้กับลุ่มแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำชี ระยะห่างประมาณ 2 กิโลเมตร สมัยต่อมาได้อพยพทำเลที่ตั้งหมู่บ้านใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน

ในปัจจุบันนี้ชุมชนเกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้น ดังที่ปรากฏว่ามีชุมชนบ้านมะกอก หมู่ที่ 5, 18, 19 เเละ 23 วิถีชีวิตของผู้คนมีความสัมพันธ์กับการหาอยู่หากินกับธรรมชาติเป็นหลัก บางกลุ่มคนได้เข้ามาประกอบอาชีพรับจ้างภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงเป็นเจ้าของกิจการต่าง ๆ บริเวณที่ใกล้มหาวิทยาลัย

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 18 บ้านมะกอก
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 บ้านมะกอก, หมู่ที่ 19 บ้านมะกอก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 23 บ้านมะกอก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนเชื่อมต่อระหว่างเทศบาลขามเรียง

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านมีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติหลายแห่งอยู่ใกล้บริเวณหมู่บ้าน เช่น กุดกว้าง กุดแห่ กุดน้ำใส กุดเวียน กุดหัวช้าง แม่น้ำชี เป็นต้น มีโนนใหญ่ซึ่งเป็นป่าไม้ในธรรมชาติ และมีพื้นที่ราบสูงรอบ ๆ หมู่บ้านเหมาะสำหรับการอพยพ สัตว์หนีน้ำในฤดูฝนน้ำท่วม ตลอดจนเหมาะแก่การทำเกษตร เพาะปลูกพืชเพื่อเลี้ยงชีพ

จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565  ของเทศบาลตำบลขามเรียง ได้ระบุจำนวนครัวเรือน และจำนวนประชากรเพศชาย/หญิง ปี พ.ศ. 2564 ไว้ดังนี้ จำนวนครัวเรือนมีจำนวนทั้งหมด 70  หลังคาเรือน จำนวนประชากรชาย 104 คน จำนวนประชากรหญิง 109 คน รวมทั้งสิ้น 213 คน คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัฒนธรรมของชุมชนบ้านมะกอก ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เเละยังคงปฏิบัติตามจารีตประเพณีอีสาน ฮีตสิบสองคองสิบสี่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ คือ ลำน้ำชี ลำห้วยสายคอ และกุดคำฮิง ในการใช้ประโยชน์เพื่ออุปโภค บริโภคเเละการจับสัตว์น้ำมากินเเละจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ของครอบครัว

ผู้คนในชุมชนใช้ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างกัน และใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการ


การขยายตัวของชุมชุนเมือง และความเจริญของการขยายตัวพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำให้คนภายในชุมชนตัดสินใจเคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตร ออกมาหารายได้ภายในพื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงไปประกอบอาชีพที่หัวเมืองใหญ่ของประเทศไทย 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประภาส จันทร์เรือง. (2545). การจัดการแม่บทชุมชนบ้านมะกอก หมู่ที่ 23 ตำบลขามเรียง อำเภอเมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการรและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประภาส จันทร์เรือง. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านมะกอก หมู่ที่ 23 ตำบลขามเรียง อำเภอเมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการรและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

องค์การบริหารส่วนตำบลขามเรียง. (2565). ข้อมูลพื้นฐานชุมชน. (อนนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.khamriang.go.th/