ชุมชนเกษตรกรรม เเละเป็นชุมชนที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย
ภายในชุมชนมีต้นมะค่าจำนวนมากชาวบ้านจึงนำมาตั้งเป็นชื่อชุมชนและตั้งชื่อคุ้มว่า คุ้มโนนข่า
ชุมชนเกษตรกรรม เเละเป็นชุมชนที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย
ประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านโนนข่าพัฒนา มีเรื่องราวโดยสังเขปดังต่อไปนี้ เมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว ผู้ที่เคลื่อนย้ายพาผู้คนเดินทางมาก่อตั้งชุมชน คือ นายอ้น ภูแม่นเขียน (ช่างแคน) นางคำพอง ภูแม่นเขียน ได้อพยพมาจากบ้านสมศรีมาปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในที่นา ซึ่งมีต้นมะค่าเป็นสัญลักษณ์ประจำคุ้ม ถือเป็นหลักบ้านและตั้งชื่อคุ้มว่า คุ้มโนนข่า ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าดงดิบเป็นที่กล่าวขานกันมาในพื้นที่ดงห้วยต่า
เเต่เดิมนั้นคุ้มโนนข่าได้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านหนองมะแปบตลอดมาและนายเคน ภูด่านงัว เคยได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านหนองมะแปบให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหนองมะแปบเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และได้มีการพัฒนาคุ้มโนนข่าให้เจริญตลอดมา โดยประชากรชาวคุ้มได้ขยายครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 นายเคลื่อน ภูด่านงัว ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่โดยขอแยกจากหมู่บ้านหนองมะแปบ ซึ่งมี นายสุรพล ศรีหามาตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านหนองมะแปบ ได้ดำเนินการขอแยกหมู่บ้านโดยให้คุ้มโนนข่าเป็นหมู่บ้านใหม่ชื่อว่า บ้านโนนข่าพัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
บ้านโนนข่าพัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม บ้านโนนข่าพัฒนาอยู่ห่างจากตำบลขามเฒ่าพัฒนาเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอกันทรวิชัยเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดมหาสารคาม เป็น ระยะทาง 21 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทุ่งนาและบ้านหนองโก
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองมะแปบ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านคำมะยาง เขตติดต่ออำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสมศรี
ปัจจุบันหมู่บ้านโนนข่าพัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยชาวบ้านจำนวน 25 ครอบครัว ประชากร 130 คน เป็นชาย 62 คน หญิง 68 คน ประชากรประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงวัวและปลูกยาสูบ
ผู้คนในชุมชนส่วนมากประกอบอาชีพ ทำไร่-ทำนา ปลูกยาจี๊ดเป็นอาชีพเสริม ได้เมล็ดพันธุ์มาจากบริษัทต่าง ๆ และมีกลุ่มเย็บผ้า แต่ไม่ได้จดทะเบียน โดยโครงสร้างของชุมชนมีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน คือ มีวัว/ควายหลวง ให้เลี้ยง ซึ่งกรรมการหมู่บ้านเป็นคนจัดการ แบ่งการเลี้ยงออกเป็น 2 อย่าง คือ เลี้ยงคืนลูก และเลี้ยงเพื่อปันผลให้กับชาวบ้านที่เป็นสมาชิก (ผู้ที่เป็นสมาชิกเมื่อรับไปเลี้ยงจะต้องส่งเป็นเงินปีละ 4,000 บาท ซึ่งการส่งคืนเป็นเงินนั้นจะมีระยะเวลาในการส่งคืน โดยปัจจุบันมีวัวและโคกระบือ ประมาณ 10 กว่าตัว)
1. นายณรงค์ ตองเงิน : ปราชญ์ด้านอาชีพ สานตะกร้าในครัวเรือนและส่งขายที่ขอนแก่น เป็นตะกร้าและกระเป๋าที่ทำจากพลาสติก ซึ่งทำเป็นอาชีพภายในครัวเรือน
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของผู้คนในชุมชน คือ ภาษาอีสาน
นายยุทธนา กาศรีเเพง. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13, สัมภาษณ์. ณ ที่ทำการบ้านผู้ใหญ่บ้านโนนข่าพัฒนา ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม