
ชุมชนย่านการค้าและชุมชนชาวประมงบริเวณชายฝั่งทะเล ที่เรียกว่า “ตลาดสดบ้านเพ” มีท่าเทียบเรือและแพปลาที่เป็นแหล่งจำหน่ายของฝากประเภทสินค้าทะเลสดและสินค้าทะเลแปรรูป ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมายาวนาน นอกจากนี้ยังมีผ้าทอตาสมุกที่เป็นผ้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชุมชนแห่งนี้
ชุมชนย่านการค้าและชุมชนชาวประมงบริเวณชายฝั่งทะเล ที่เรียกว่า “ตลาดสดบ้านเพ” มีท่าเทียบเรือและแพปลาที่เป็นแหล่งจำหน่ายของฝากประเภทสินค้าทะเลสดและสินค้าทะเลแปรรูป ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมายาวนาน นอกจากนี้ยังมีผ้าทอตาสมุกที่เป็นผ้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชุมชนแห่งนี้
บ้านเพ ถือเป็นพื้นที่เมืองท่าแห่งการสัญจร และการค้าขายทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ด้วยสภาพพื้นที่ที่ติดทะเลอ่าวไทย จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มากมาย โดยอ้างอิงจากประวัติศาสตร์จังหวัดระยอง ซึ่งเริ่มจากเมื่อ ปี พ.ศ. 2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอำนาจเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบคือ ซากศิลาแลงและคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ “ระยอง” มีชนพื้นเมืองคือ ชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจาย โดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ ปี พ.ศ. 2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตากพร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มุ่งสู่ภาคตะวันออกมาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยอง และได้ปราบปรามคณะกรรมการเมืองที่แข็งข้อยึดเมืองระยองได้จากความสามารถครั้งนั้นทหารจึงยกย่อง สถาปนาพระยาตากขึ้นเป็น "เจ้าตากสิน" เมื่อ พ.ศ. 2310 ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล เมืองระยอง ก่อนเดินทัพไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดที่ดินในการกอบกู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้ในปี พ.ศ. 2113
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
- ทิศใต้ ติดกับ ทะเลฝั่งอ่าวไทย รวมหมู่เกาะเสม็ด
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตาสมุก จังหวัดระยอง ได้จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าตาสมุก ผ้าพื้นถิ่นประจำจังหวัด เพื่อส่งเสริมอาชีพและรื้อฟื้นการทอผ้าตาสมุก และยังส่งเสริมให้ประชาชนในจังหวัดระยอง ได้มีอาชีพ มีชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืนจึงเกิดศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตาสมุกขึ้นมา
1. จิรพันธุ์ สัมภาวะผล : ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านเพ ศิลปินผู้ฟื้นฟูการทอผ้าตากะหมุก (ตาสมุก) ผู้ริ่เริ่มการทำผ้าทอตาสมุกที่เป็นผ้าพื้นเมืองของจังหวัดระยอง
ผ้าทอตาสมุก เป็นผ้าที่ทอด้วยด้าย 2 สีสลับกัน โดยแบ่งเป็นช่องเล็ก ๆ ทอขัดกัน ได้ลวดลายผ้าคล้ายกับลายจักสานไม้ไผ่ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันมากในสมัยโบราณ มีทั้งที่ทอด้วยเส้นฝ้ายและเส้นไหม สีพื้นฐานที่นิยมใช้ เป็นด้ายขาวสลับกับด้ายดำย้อมมะเกลือ ได้ผ้าตาสมุกสีเทาตะกั่ว สวยเรียบร้อย
ตลาดบ้านเพ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ตลาดเทศบาลบ้านเพ ตั้งอยู่ที่ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นตลาดในร่ม มีอาคารกว้างใหญ่และมีที่จอดรถกว้างขวาง ที่นี่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากอาหารทะเลทั้งของแห้งและของสด อาทิ หมึกแห้ง หมึกแผ่น ปลากรอบ ปลาหวาน กุ้งแห้ง กะปิ ทุเรียนทอด รวมไปถึงเครื่องประดับตกแต่งบ้านจากเปลือกหอยอย่างมู่ลี่ และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากจะเป็นตลาดที่มีชื่อเสียงแล้ว ที่นี่ยังเป็นที่ตั้งท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาที่สำคัญ รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางเรือโดยสารที่จะข้ามไปเที่ยวยังเกาะต่าง ๆ โดยเฉพาะเกาะเสม็ดอีกด้วย
ตลาดบ้านเพเป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาลบ้านเพและชาวบ้านในพื้นที่ โดยผ่านนโยบายแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่เทศบาลบ้านเพดำเนินการ ทั้งการส่งเสริมให้ตลาดบ้านเพให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจของชุมชนที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่
ผ้าทอตาสมุก
จิรพันธุ์ สัมภาวะผล ผู้ประพันธ์หนังสือหนังสือบ้านเพที่ไม่ทันได้เห็น ซึ่งเป็นผู้คนในชุมชนบ้านเพ ได้ค้นคว้าข้อมูลจากจดหมายเหตุระยะทางเมืองจันทบุรี ที่ในหลวงท่านได้เสด็จภาคตะวันออกเมื่อปี พ.ศ. 2419
"โดยในครั้งนั้น เจ้าเมืองระยอง พระศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) ได้ถวายผ้าที่มีชื่อว่า ‘ผ้าตาสมุก’ แก่ในหลวงท่าน โดยในจดหมายเหตุฉบับเดียวกันอีกบทหนึ่ง พระองค์ท่านยังตรัสด้วยว่าผ้าตาสมุกเป็นผ้าที่ได้รับความนิยมในจังหวัดระยอง ทั้งยังมีคุณภาพดีอีกด้วย"
จึงทำให้พบว่าผ้าทอตาสมุกเป็นผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านเพ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีหลงเหลือแล้ว จิรพันธุ์จึงพยายามที่จะรื้อฟื้นวิธีการทอผ้าตาสมุกขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ โดยได้ประสานไปยังสภาวัฒนธรรมจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อของบประมาณในการรื้อฟื้นและเผยแพร่ผ้าทอลายนี้ในวงกว้าง โดยได้งบประมาณช่วงปลายปี 2564 พร้อม ๆ กับที่ทางสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย (RILA) ที่ขับเคลื่อนโดยสถาบันอาศรมศิลป์ มีแผนจะจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น หลักสูตรการทอผ้าตาสมุกจึงถูกบรรจุอยู่ในโครงการด้วย ซึ่งจิรพันธุ์ได้ออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานการทำเส้นด้ายจากฝ้าย การย้อมด้าย และการถักทอจนเป็นผืนผ้า หลักสูตรนี้จึงไม่เพียงทำให้ผู้เรียนสามารถทอผ้าตาสมุกอย่างเดียว แต่ยังทำให้เขาสามารถประยุกต์ไปทอผ้าลวดลายอื่นๆ ได้อีกด้วย
นับแต่ตั้งนั้นเป็นต้นมา ผ้าทอตาสมุกได้รับการประกาศให้เป็นลายผ้าประจำจังหวัดระยอง ที่นับเป็นอัตลักษณ์ผ้าพื้นถิ่นเมืองระยอง ที่มีคุณค่าและมูลค่าแห่งวิถีไทย
ชุมชนตลาดบ้านเพ. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://culturalenvi.onep.go.th/
ผ้ากรุงเก่า. (2564). ผ้าตาสมุก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/hashtag/ผ้าตาสมุก
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). RPC ร่วม จ.ระยอง เปิด "ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตากะหมุก" ผ้าพื้นถิ่นเมืองระยอง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://mgronline.com/
ภทัรพล พชรวงศ์สกุล. (2565). ตลาดบ้านเพ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://anyflip.com/scfh/yzdl/basic.
วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://a-batc.ac.th/home/
We Citizens. (2565). “เอกสารโบราณระบุว่าระยองเคยมีผ้าพื้นเมืองชื่อว่าผ้าตาสมุก แต่ความที่ตอนนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว ผมจึงอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารโบราณ และทดลองถักทอผ้าชนิดนี้ออกมาด้วยตัวเอง”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://wecitizensthailand.com/
Webmaster. (2565). ตลาดบ้านเพ จังหวัดระยอง ประเทศไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://palanla.com/th/domesticLocation/