เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของปลานานาชนิด โดยเฉพาะ “ปลาช่อน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่ลา
คำว่ “แม่ลา” มีผู้เล่าขานแต่โบราณว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2310 พม่าได้ยกทัพมาที่บ้าน วิเศษชัยชาญ ไม่ห่างจากบ้านบางระจัน ชาวบ้านจึงรวบรวมกำลังพล ชาย-หญิง ไปสู้กับกองทัพพม่า มีการร่ำลาเพื่อไปรบ พ่อลาแม่ แม่ลาลูก ลูกลาพ่อ ลูกลาแม่ จึงใช้คำว่า “แม่ลา”
เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของปลานานาชนิด โดยเฉพาะ “ปลาช่อน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่ลา
เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมลำน้ำแม่ลา ซึ่งเป็นลำน้ำสายเก่าของอำเภออินทร์บุรี มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมลำน้ำที่มีสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศที่ดี มีความร่มเย็น คงสภาพความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของปลานานาชนิด โดยเฉพาะ “ปลาช่อน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่ลา เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีรสชาติอร่อย ปัจจุบันชาวบ้านมีอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำสวนและรับจ้าง และมีผลิตภัณฑ์ปลาเชียงและไส้กรอกปลาสมุนไพร แชมพูสมุนไพร เป็นสินค้าสำคัญของพื้นที่
นอกจากนี้คำว่ “แม่ลา” เป็นชื่อของลำน้ำสายหนึ่งในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี อยู่ห่งจกอำเภอเมือง ไปประมาณ 9 กม. ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 309 (สิงห์บุรี– ชัยนาท) โดยแยกซ้ายบริเวณวัดประโชติกรมออกไปทางวัดสะเดาหรือท่านที่เดินทางมาจากอำเภออินทร์บุรี จะมาแยกขวาบริเวณหลังวัดยาง ตำบลทับยา ออกไปทางวัดแหลมคงตำบลแม่ลา ระยะทาง ประมาณ 3 กม. เป็นลำน้ำแบ่งเขต 3 อำเภอ คือ อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอเมืองสิงห์บุรี ลำน้ำ แม่ลเริ่มต้นที่ หมู่ที่ 12 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี ต่อจกลำกร้อง ที่เรียกว่าบ้านดอนแฝกไหลคดเคี้ยวผ่านหมู่ที่ 10 บ้นแหลมทอง บ้นท่าเชิงอ้าย ผ่นหมู่ที่ 9 บ้านโรงปลา บ้านคลองใหม่ และมาสิ้นสุดที่หมู่ที่ 7 บ้านป่ก ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างอุทยานแม่ลมหาราชานุสรณ์ อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์กรบริหรส่วนตำบลทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนริมฝั่งตะวันตก (ลำแม่ลาตอนกลาง) เป็นที่ตั้งชุมชน เขตอำเภอบางระจัน ที่เรียกว่า ตำบลแม่ลา หมู่ที่ 1-3 ส่วนลำแม่ลาตอนล่าง ที่เรียกว่บ้านท้ายน้ำอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสิงห์บุรี บริเวณตำบลบางกระบือหมู่ที่ 6 และ 7
ต่อมาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์กรบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ มาตรา 41 ทวิตามประกาศกระทรวงหมดไทย ให้ยุบรวมองค์กรบริหารส่วนตำบลกับองค์กรบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 9 กรกฎคม พ.ศ. 2547 โดย อบต.แม่ลา อบต.สิงห์ และอบต.โพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และเรียกชื่อว่า “องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา”
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอบางระจัน อยู่ห่างจากอำเภอบางระจัน ประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จรดตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ทิศใต้ จรดตำบลท่าข้าม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
ทิศตะวันออก จรดตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
ทิศตะวันตก จรดเทศบาลตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
ประชากรทั้งสิ้น 3,529 คน แยกเป็นชาย 1,729 คน หญิง 1,800 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 50 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2556 สำนักบริหารการทะเบียน ที่ว่าการอำเภอบางระจัน)
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสมกับการประกอบ อาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว อ้อย และพืชสวน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านแม่ลา
จากเดิมในหมู่บ้านมีการนำผ้าโหลสำเร็จรูปมาเย็บกันหลายครัวเรือน จุดเริ่มต้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านแม่ลา เกิดจากการที่ประธานกลุ่ม นางสาวอุบล ทองน่วม มีอาชีพเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และต่อมาได้รวบรวมสมาชิกที่มีความรู้ ความชำนาญ ด้านการเย็บผ้าสำเร็จรูปมารวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มขึ้น โดยการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นที่มีการจัดสรรงบประมาณในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบและเครื่องจักรในการตัดเย็บเสื้อผ้า นอกจากนี้สำนักงานจัดหางานจังหวัดสิงห์บุรีมีส่วนร่วมในการสนับสนุนผลักดัน ทั้งในด้านวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มทักษะในการ ตัดเย็บ ตลอดจนหาแหล่งเงินทุน และหาตลาดให้กับกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การจัดตั้งกลุ่มครั้งแรก มีสมาชิกทั้งหมด 8 คน โดยตัดเย็บเสื้อผ้าธรรมดา และเย็บผ้าโหล ต่อมาเมื่อกลุ่มฯ มีการศึกษาข้อมูลทางตลาด พบว่าเสื้อเชิ้ตอัดกาวในขณะนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมาก จึงเปลี่ยนรูปแบบของการตัดเย็บเสื้อผ้า มาเป็นเสื้อเชิ้ตอัดกาวเป็นหลัก จนถึงปัจจุบันนี้ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นโดยล าดับ แยกเป็นผู้ที่ตัดเย็บผ้า จำนวน 15 คน และผู้ที่นำผ้ากาวไปรีดอัดกาว เป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มได้รับงานไปทำ ที่บ้านอีกจำนวนหนึ่ง โดยทางกลุ่มฯ ยังรับตัดเสื้อผ้าอื่นๆ ตามที่ลูกค้าต้องการอีกด้วย เอกลักษณ์ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ คือ การเลือกลายผ้า และการออกแบบลายผ้าตามความต้องการของลูกค้า ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เช่น ลูกค้าที่สั่งตัดเสื้อเป็นทีม ต้องการลายผ้ารูปไกรสรราชสีห์ หรือ รูปปลาช่อนแม่ลา ทางกลุ่มก็สามารถทำลายผ้าให้เป็นที่ต้องการของลูกค้าได้ ภายใต้กระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน ด้ายต้องเหนียว สีไม่ซีด กระดุมคงทน ผ้าซับในเหนียว และไม่หดเสียทรง ผลิตภัณฑ์อีกอย่างหนึ่งของกลุ่มฯ คือ การทำผ้าหมักโคลนสมุนไพรลำแม่ลา ภูมิปัญญาเรียบง่าย ที่กลายมาเป็นความมหัศจรรย์ของการผสมผสานระหว่างดินและผ้า ซึ่งกลุ่มมีวิธีการทำให้ผ้าเกิดความนิ่มและมีความโดดเด่นเฉพาะ เป็นสูตรผ้าหมักโคลนในไหสี่หู และใช้โคลนจากลำน้ำแม่ลา เป็นการเพิ่มคุณค่าและสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาช่อนแม่ลา
ส่วนใหญ่ประชาชนที่อาศัยอยู่แนวลำน้ำแม่ลาประกอบอาชีพการเกษตร และเกิดการขาดทุนจากการลงทุนเพื่อทำเกษตร ปลูกข้าว ทำให้ต้องหารายได้เสริมที่จะสามารถสร้างรายได้เข้ามาจุนเจือกับครอบครัว ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมลำแม่ลาคิดริเริ่มที่จะนำปลาช่อนแม่ลาที่เป็นของดีขึ้นชื่อ ของจังหวัดสิงห์บุรีมาประกอบทำธุรกิจ โดยได้นำเทคโนโลยีสื่อโฆษณาต่างๆ ที่เป็นความนิยมในขณะปัจจุบันมาเป็นเครื่องมือเพื่อสามารถทำให้เป็นที่รู้จัก เข้าถึงได้ง่าย และมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้เพิ่มยิ่งขึ้น สาเหตุที่ปลาช่อนแม่ลาในลำแม่ลาขณะปัจจุบันมีจำนวนลดลงเนื่องจากชาวบ้านที่ประกอบอาชีพการเกษตรกร ปลูก ข้าว ได้ปล่อยสารเคมี (ปุ๋ยเคมี,ยาฆ่าแมลง) และมีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้มีการปล่อยน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานลงสู่ลำน้ำส่งผลทำให้ปลาช่อนแม่ลามีปริมาณลดลงอย่างมาก ในขณะที่จำนวนของปลาช่อนแม่ลาลดลง แต่อุปสงค์ความต้องการของผู้บริโภคกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่เป็นเพียงการประกอบอาหารในพื้นที่เท่านั้นก็เริ่มมีผู้คนรู้จักและชื่นชอบในรสชาติของปลาช่อนแม่ลาจนเป็นที่รู้จักและต้องการเพื่อประกอบเป็นอาหารหรือนำไปเป็น ของฝาก จึงเกิดการสร้างเครือข่ายของคน ในชุมชนที่มีผู้ก่อตั้งริเริ่มทดลอง เลี้ยงปลาช่อนแม่ลาในบ่อดินเพื่อให้มีปริมาณของจำนวนปลาเพิ่มขึ้น เริ่มมีการเพราะเลี้ยง พันธุ์ปลาช่อนแม่ลาเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาและจำหน่าย มีการนำมาแปรรูปเพื่อลดความเน่าเสียและถนอมอาหารให้มีระยะเวลา ในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาช่อนแม่ลา ได้แก่ ลูกพันธุ์ปลาช่อนแม่ลา ปลาช่อนแม่ลาแดดเดียว แคปปลาช่อน ปลาช่อนแม่ลาสด สินค้าและผลิตภัณฑ์เหล่านี้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสิงห์บุรี จนเป็นสินค้าขึ้นชื่อที่สมควรได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาปลาช่อนแม่ลาให้มีคุณภาพเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสิงห์บุรีอย่างยั่งยืนต่อไป