Advance search

ชุมชนท่องเที่ยวบบ้านมาบเหลาชะโอน เป็นหมู่บ้าน OTOP ที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม มีอาหารทะเลพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ และมีผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปี

ชากพง
แกลง
ระยอง
ปวินนา เพ็ชรล้วน
6 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 ส.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
7 ส.ค. 2023
มาบเหลาชะโอน

มาบ เป็นคำที่มักพบในแถบ บริเวณจังหวัดระยอง โดยคำว่า มาบ หมายถึง บริเวณที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งอาจมีน้ำขังหรือไม่มีก็ได้  (ที่มา พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542)  ส่วน เหลาชะโอน เป็นชื่อปาล์มชนิด ดังนั้น มาบเหลาชะโอน คือ หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม มีมาบเป็นแหล่งน้ำและมีต้นเหลาชะโอน

ชุมชนชนบท

ชุมชนท่องเที่ยวบบ้านมาบเหลาชะโอน เป็นหมู่บ้าน OTOP ที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสวยงาม มีอาหารทะเลพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ และมีผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปี

ชากพง
แกลง
ระยอง
21190
12.6444986
101.5304041
องค์การบริหารส่วนตำบลชากพง

บ้านมาบเหลาชะโอน หมู่ที่ 5 ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน OTOP ที่ถูกพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง โดดเด่นในด้านเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมรวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานอีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าทิวทัศน์โดยรอบบริเวณหมู่บ้านที่งดงาม ยิ่งเมื่อขึ้นไปยังโบสถ์หินอ่อนบนยอดเขาที่อลังการ จะสามารถมองเห็นชายทะเลและหมู่เกาะบริเวณหาดวังแก้ว แหลมแม่พิมพ์ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองระยอง รวมถึง บึงน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ที่ชื่อ “บึงสำนักใหญ่” หรือหนองจำรุง มีพื้นที่ 3,871 ไร่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิดและมีต้นกระจูดขึ้นเป็นจำนวนมาก

โดยบ้านมาบเหลาชะโอนเป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนแบบเรียบง่าย ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร และอาหารพื้นบ้านที่เน้นอาหารทะเลที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งจากที่รอบบึงสำนักใหญ่มีต้นกระจูดขึ้น เป็นจำนวนมาก จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแต่เดิมชาวบ้านใช้ประโยชน์จากต้นกระจูด ในการผูกมัดสิ่งของต่างๆ สานเป็นเสื่อและกระสอบใส่น้ำตาล เพื่อเป็นของบรรณาการ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นับเป็นเวลากว่า 200 ปี มาแล้วดังนั้น การสานเสื่อกระจูด จึงเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านมาบเหลาชะโอน ที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยได้จัดตั้งกลุ่มจักสานกระจูดขึ้น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2544 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสามัคคี และนำวัตถุดิบ ที่มีมากมายมาแปรรูป เพิ่มมูลค่า

ทำให้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดประเภทหลากหลาย ประเภทกระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสะพาย ประเภทกล่อง ประเภทตะกร้า และประเภทอื่น ๆ เพราะทางชุมชนสามารถออกแบบสินค้าตามที่นักท่องเที่ยวต้องการได้อีกด้วย และกลายเป็นสินค้า OTOP ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง และตำบลกระเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ทิศตะวนัออก  ติดต่อกับ เทศบาลสุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ทิศใต้         ติดต่อกับ เทศบาลสุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ ตำบลกระเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน

กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน เป็นกิจกรรมการสานเสื่อกระจูด เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านมาบเหลาชะโอนมากว่า 200 ปี เดิมเริ่มจากการสานเสื่อไว้ใช้เองในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างหมู่บ้าน บางครั้งพ่อค้าต่างถิ่นก็มารับไปขาย จึงมีการจักสานกันจนถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน จากกระจูด ได้รับโอท็อป 4 ดาว ปี 2546 และ ปี 2547 ในระดับจังหวัด วันนี้ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านดังกล่าวมีการพัฒนารูปแบบจนสามารถคัดเกรดส่งต่างประเทศ เป็นที่ต้องการของตลาด ความเป็นมืออาชีพของกลุ่มได้แสดงให้เห็นถึงการทำงานและการจัดการเนื่องจากได้เปิดเว็บไซต์ มีการสั่งจองสินค้า มีใบรับสั่งซื้อ มีใบส่งของชัดเจน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนธรรมชาติ

จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ คือ บึงสำนักใหญ่ ที่มีพื้นที่ประมาณ 3,871 ไร่ นับว่าเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นต้นทุนในการประกอบอาชีพของชุมชนโดยรอบ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้เป็นแหล่งวัตถุดิบ คือ กก หรือกระจูด (Lepironia articulate (Retz.) Domin) ซึ่งชาวบ้านมาบเหลาชะโอนไดนำพืชชนิดนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน การสานกระจูดในพื้นที่ชุมชน จึงเป็นภูมิปัญญาด้ังเดิมของชาวบ้านมาบเหลาชะโอนที่มีประวัติยาวนานนับ 200 ปี มาแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเริ่มแรกนั้นเป็นการทำเครื่องจักสานขึ้นใช้กันเองภายในครัวเรือน โดยในสมัยนั้นจะมีการสานต้นกระจูดเป็นเสื่อกระสอบสำหรับใส่ผลผลิตทางการเกษตร หรือเป็นภาชนะใส่เกลือ น้ำตาล เป็นต้น

ต่อมามีการส่งเครื่องจักสานกระจูดนี้เข้ามาเป็นเครื่องบรรณาการแก่เหล่าเจ้านายในเมืองหลวง จึงทำให้เครื่องจักสานของเมืองแกลงนั้นมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันมากในภาคตะวันออกของประเทศไทย รวมถึงยังมีตำนานเล่าขานจากอดีตถึงวิถีชีวิตการทำมาหากิน และสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอำเภอแกลง ซึ่งพบจาก “นิราศเมืองแกลง” บทร้อยกรองอันเลื่องชื่อของสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการกล่าวถึงการสานเสื่อไว้ว่า

“ถึงศาลเจ้าอ่าวสมุทรที่สุดหาด เลียบลีลาศขึ้นตามช่องที่คลองขวาง

ถึงบ้านแกลงลัดบ้านไปย่านกลาง เห็นฝูงนางสานเสื่อนั้นเหลือใจ

แต่ปากพลอดมือสอดขยุกขยิก จนมือหงิกงอแงไม่แบได้

เป็นส่วยบ้านสานส่งเข้ากรุงไกร เด็กผู้ใหญ่ทำเป็นไว้เว้นคน ”

เมื่อชาวบ้านมาบเหลาชะโอนเริ่มว่างจากการทำสวนก็จะมีเวลามาทำเครื่องจักสานมากขึ้น ทำให้เริ่มมีพ่อค้าเข้ามารับสินค้าจากชาวบ้านไปขายยังที่ต่างๆ ชาวบ้านจึงมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ก่อให้เกิดการจัดต้ัง “กลุ่มจักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน” ขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยมีแกนนำ คือ นางสุนทรียิ้มเยือนเป็นผู้นำในการจัดตั้ง โดยเริ่มจากสมาชิกจำนวน 17 คน ทำให้จากที่เคยผลิตเครื่องจักสานแบบต่างคนต่างทำ กลายมาเป็นแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการผลิตในแต่ละส่วน ทำให้เครื่องจักสานที่ออกมานั้นมีคุณภาพสม่ำเสมอและยังเกิดการระดมความคิดจากเหล่าสมาชิก ทำให้มีการพัฒนาของเครื่องจักสานกระจูดมากขึ้น ทั้งในเรื่องรูปแบบ และสีสันต่างๆ จนในปัจจุบันสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 หมวด ได้ไก่ หมวดกระเป๋า หมวดตะกร้า กล่อง และหมวดเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น แจกัน รองเท้า หมวก ซึ่งรวมสินค้าทั้งหมดทั้งสิ้นก็ 100 กว่ารายการดยภายหลังมีหน่วยงานราชการเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด ทำให้ผลิตภัณฑข์องกลุ่มจักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอนนั้นสามารถส่งสินค้าไปขายยังประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียและในทวีปยุโรป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กานต์พิชชา กำแพงแก้ว. (2563). การยกระดับผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 

กลุ่มจักสานบ้านมาบเหลาชะโอน. (2556). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: http://www.sunthornphu.go.th/news/doc_download/a_080622_095805.pdf

จณิตสตา ทองภู. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาการจักสานในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา บ้านมาบเหลาชะโอน ตําบลซากพง อําเภอแกลง จังหวัดระยอง. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.