Advance search

ตะเคียนเตี้ย

เป็นชุมชนผืนสุดท้ายในภาคตะวันออกที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำสวนมะพร้าว ทำให้ภายในชุมชนแห่งนี้มักดำรงไปด้วยสวนมะพร้าวของชาวบ้านจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยชาวบ้านและภาครัฐได้พัฒนาชุมชนแห่งนี้มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น ทำให้ชุมชนแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวิถีชีวิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของพัทยา

ตะเคียนเตี้ย
บางละมุง
ชลบุรี
วีรวรรณ สาคร
6 ส.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
6 ส.ค. 2023
วีรวรรณ สาคร
8 ส.ค. 2023
ตะเคียนเตี้ย

ในอดีตบริเวณพื้นที่ชุมชนมีต้นตะเคี้ยนใหญ่และเตี้ยตั้งอยู่ จึงทำให้เรียกบริเวณนี้ว่าชุมชนตะเคี้ยนเตี้ย


ชุมชนชนบท

เป็นชุมชนผืนสุดท้ายในภาคตะวันออกที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำสวนมะพร้าว ทำให้ภายในชุมชนแห่งนี้มักดำรงไปด้วยสวนมะพร้าวของชาวบ้านจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยชาวบ้านและภาครัฐได้พัฒนาชุมชนแห่งนี้มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น ทำให้ชุมชนแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวิถีชีวิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของพัทยา

ตะเคียนเตี้ย
บางละมุง
ชลบุรี
20150
เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย โทร. 0-3817-0520
13.017093287439303
100.97637275863637
เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย

ชุมชนตะเคียนเตี้ย เป็นชุมชนที่ครอบคลุมตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การที่ชุมชนนี้ได้ชื่อว่าตะเคียนเตี้ยเพราะในอดีตบริเวณพื้นที่นี้มีต้นตะเคียนขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะอ้วนเตี้ยตั้งอยู่ โดยต้นตะเคี้ยนนี้ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาต่อความศักดิ์สิทธิ์ของต้นตะเคียนกันเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อเกิดการตั้งตำบลขึ้นด้วยต้นตะเคียนนี้เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นี้ในอดีต จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อตำบล ทำให้ตำบลที่แห่งนี้มีชื่อว่า ตำบลตะเคียนเตี้ย ทั้งนี้เมื่อมีชุมชนเกิดในตำบลตะเคียนเตี้ยชุมชนเหล่านี้ก็ใช้ชื่อตะเคียนเตี้ยตามชื่อตำบลอีกที 

ตำบลตะเคียนเตี้ยพบว่า แต่เดิมเริ่มมาจากการเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก จนต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม 2538 ได้รับการยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และในวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ตำบลตะเคียนเตี้ยแห่งนี้ได้ยกฐานะขึ้นอีกเป็นเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ตำบลตะเคียนเตี้ยหรือชุมชนตะเคียนเตี้ยพบว่าแต่เดิมเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณื มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ชาวบ้านจึงทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่ต่อมาได้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำให้ต้องหันมาปลูกมะพร้าวที่เคยเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคตะวันออกแทน โดยเมื่อได้ผลผลิตดีรวมถึงมีกำไรจากการปลูกมะพร้าวมากชาวบ้านในชุมชนก็หันมาปลูกกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้พื้นที่บริเวณชุมชนกลายมาเป็นสวนมะพร้าวผืนใหญ่ของพัทยา ที่มีพื้นที่มากกว่าพันไร่ ซึ่งจากการปลูกมะพร้าวนี้ต่อมาก็กลายมาเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชนอีกด้วย 

ทั้งนี้เมื่อพื้นที่โดยรอบของชุมชนแห่งนี้ได้พัฒนาและความเจริญก็ได้เข้าส่งผลทำให้การปลูกมะพร้าวของพื้นที่โดยรอบชุมชนนี้เริ่มหายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดชุมชนแห่งนี้จึงกลายเป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวที่ยังคงมีการปลูกมะพร้าวกันรุ่นสู่รุ่น และถือเป็นพื้นที่แหล่งปลูกมะพร้าวแห่งสุดท้ายของภาคตะวันออกด้วย 

จากการที่ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่ปลูกมะพร้าวมาอย่างยาวนาน รวมถึงเป็นเป็นพื้นที่ผืนสุดท้ายที่ปลูกมะพร้าวของพัทยา ทำให้ต่อมาองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. จึงยกให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ พร้อมกับมีการดึงมะพร้าวซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มาเชื่อมโยงกับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยการทำงานขององค์กรณ์นี้ได้ทำงานร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ผู้ที่ต้องการให้ชุมชนของตนเองพัฒนามีจุดเด่นและมีการอนุรักษ์มะพร้าวด้วย ซึ่งจากการพัฒนาส่งเสริมร่วมกันนี้ต่อมาชุมชนแห่งนี้จึงได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิถีชีวิตแห่งหนึ่งของพัทยา โดยชุมชนตะเคี้ยนเตี้ยมีการจัดรูปแบบกิจกรรมต่างๆและแหล่งท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาได้ชื่นชม รวมถึงได้ลองลงมือทำเพื่อให้เกิดการซึมซับภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชุมชนแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีชุมชนยังมีการผลิตสินค้าชุมชนเพื่อเป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาภายในชุมชนด้วย ถือได้ว่าครบวงจรและเหมาะในการเข้ามาท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ปัจจุบันชุมชนตะเคี้ยนเตี้ยแห่งนี้ยังคงเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาได้ตลอดแต่หากจะให้มีกิจกรรมรองรับและมีผู้รู้คอยให้คำแนะนำควรติดต่อล่วงหน้าผ่านวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลตะเคียนเตี้ยนั่นเอง

ชุมชนตะเคี้ยนเตี้ยเป็นชุมชนที่ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยตำบลตะเคียนเตี้ยนี้มีเนื้อที่รวมประมาณ 57.85 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 36,156 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร 

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลหนองปลาไหล และ ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 

ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

สภาพภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศในตำบลตะเคี้ยนเตี้ยพบว่าส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย รองลงมาเป็นพื้นที่ลาดชันลูกคลื่นลอนลาดและลูกคลื่นลอนชัน ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย รองลงมาเป็นดินร่วนละเอียดดินร่วนหยาบ และดินตื้นตามลำดับ

ภูมิอากาศ

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี เท่ากับ 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 33.70 องศาเซลเซียสอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 25.40 องศาเซลเซียส

ชุมชนตะเคียนเตี้ยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลตะเคี้ยนเตี้ย ทำให้ชุมชนแห่งนี้มีประชากรรวมทั้งสิ้น 26,300 คน เป็นชาย 12,644 คน เป็นหญิง 13,656 คน และมีจำนวนครัวเรือน 13,846 หลัง ชาวบ้านภายในชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่พบว่ามีการประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทำสวนมะพร้าว แต่ทั้งนี้ก็มีบางส่วนที่ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างตามนิคมอุตสาหกรรมด้วย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์บ้านร้อยเสา ตั้งอยู่ม. 3 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตัวอาคารมีลักษณะเป็นบ้านไทยที่ปลูกเป็นแฝดและมีเสาจำนวนร้อยเสา ภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยที่สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ ส่วนภายในบ้านนี้แม้ภายนอกจะดูเป็นบ้านแฝดสองหลังแต่ด้านในของบ้านนี้เปิดฝาทะลุถึงกันได้หมด ทั้งนี้ภายในบ้านนี้นอกจากเป็นที่พักแล้ว ยังจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นของเก่าในอดีต มีสมุดช่อยอายุ กว่า 200 ปี ซึ่งในสมุดช่อยจดบันทึกเรื่องราวในอดีตเกี่ยวกับการตัดสินคดีความ ตำราทำนายโหราศาสตร์ การเขียนยันต์ป้องกันภัย ตำราแพทย์แผนโบราณ และตำรายาสมุนไพรรักษาโรค เป็นต้น ทั้งนี้ที่นี่ยังถือเป็นศูนย์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนตะเคียนเตี้ย ที่จะเปิดให้ผู้คนเข้ามาเรียนรู้ มาสัมผัสเรื่องราวของชุมชนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย 

วัดนาลิกานาราม หรือวัดตะเคียนเตี้ย เป็นวัดแรกของชุมชนตะเคียนเตี้ย วัดแห่งนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2383 ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอบางละมุง และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ทั้งนี้วัดแห่งนี้มีพระเกจิชื่อดังคือ “หลวงพ่อนิยม กนฺตจาโร” หรือ “พระครูเมตตาธิการี” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่างปี 2530-2552 ท่านโดดเด่นในด้านวิชาอาคมอย่างมาก ทำให้มีลูกศิษย์ที่ศรัทธาในตัวท่านเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดีท่านมรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2552 ในขณะนั่งสมาธิ ซึ่งร่างของท่านไม่เน่าเปื่อยทางวัดนาลิกวนาราม (วัดตะเคียนเตี้ย) จึงได้เก็บสังขารท่านไว้ให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้จนถึงทุกวันนี้

วัดเวฬุวนารามหรือวัดกอไผ่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนตะเคียนเตี้ย มีพื้นที่และความร่มรื่นจากสวนมะพร้าว สวนมะม่วง และต้นไม้ใหญ่น้อย ที่ปลูกอยู่ภายในวัด นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนอยู่ในเขตรั้วเดียวกัน ที่นี่ มีสถานที่ประกอบศาสนกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีพระอุโบสถที่เพิ่งสร้างใหม่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ และบานประตูลงรักปิดทองเป็นลวดลายไทยสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถแวะเข้ามาพักผ่อนในบรรยากาศสงบ พร้อมทำบุญถวายปัจจัย สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรได้ภายในวัดแห่งนี้

สวนฟ้าใสไอโกะ สวนฟ้าใสไอโกะเป็นสวนมะพร้าวแห่งหนึ่งของชุมชนตะเคียนเตี้ย เดิมสวนนี้ชื่อสวนฟ้าใส แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสวนฟ้าใสไอโกะ เพราะอยากตั้งชื่อให้โด่ดเด่น จึงนำชื่อเล่น “ โกะ” มาใส่ และเติมคำว่า “ ไอ “ เข้าไปด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ สวนฟ้าใสไอโกะ “ เจ้าของสวนฟ้าใสไอโกะคือ คุณถาวร เปลี่ยนศรี และ นายประชา เปลี่ยนศรี ทั้งนี้สวนฟ้าใสไอโกะแห่งนี้ที่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมสวน เมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยการชักชวนของคุณสาโรช โรจน์สกุลพานิช ประธานวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าว และ คุณณัฐกานต์ ประกอบธรรม เนื่องจากสวนฟ้าใสไอโกะ มีความสวยงามเป็นธรรมชาติ และมีการดูแลสวนมะพร้าวเป็นอย่างดี รวมถึงมะพร้าวที่สวนที่ปลูกแห่งนี้เป็นมะพร้าวที่ไม่ใช้สารเคมีในการปราบศัตรู ทำให้สวนแห่งนี้จึงน่าสนใจเหมาะแก่การเข้าเยี่ยมชมเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้ในสวนแห่งนี้พบว่านอกจากจะเปิดให้เยี่ยมชมแล้วยังมีขนมตาล น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าวรสชาติอร่อยให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมด้วยทำให้เป็นที่ติดใจแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเสมอ 

สวนป่าสาโรชกะแหวว เป็นที่สวนมะพร้าว มีพื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ โดยภายในสวนแห่งนี้มีการปลูกมะพร้าวเป็นหลัก และมีพืชผสมผสาน ที่เป็นพืชกินได้ปลูกแซมอยู่ นอกจากนี้ยังมีไม้ผลต่างๆปลูกรวมอยู่ด้วย โดยทำการเกษตรของสวนแห่งนี้เป็นแบบไม่ใช้สารเคมีทำให้เกิดเป็นป่าธรรมชาติขนาดเล็กขึ้นมา สร้างความร่มรื่นและความอุดมสมบรูณ์ของธรรมชาติ จึงได้เรียกสวนนี้ว่า "สวนป่า” โดยด้วยความสวยงามของสวนป่าปัจุจบันถือเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปั่นจักรยานเข้ามาเที่ยวชม

แกงไก่กะลา ถือเป็นอาหารที่เรียกว่าอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านตะเคี้ยนเตี้ย เนื่องจากชาวบ้านนิยมทำสวนมะพร้าวและมักจะนำมะพร้าวมาแปรรูปเป็นอาหาร ซึ่งแกงไก่กะลานี้ก็ใช้วัตถุดิบจากสวนมะพร้าวเช่นกัน โดยมีวัตถุดิบหลักคือเนื้อกะลามะพร้าวอ่อนที่ได้จากสวน ทั้งนี้วิธีการทำแกงกะลานี้คือเริ่มจากตั้งไฟใส่น้ำมันพืช พอน้ำมันร้อนให้ใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม จากนั้นใส่ไก่ที่หั่นเป็นชิ้นๆผัดจนสุกจากนั้นใส่กะลาอ่อนลงไปผัด เมื่อผัดได้ดีแล้วก็ปรุงรสรอให้น้ำแกงขลุกขลิกกจากนั้นก็ใส่ใบกระเพราผักชีฝรั่งลงไปจนผักสลดก็สามารถตักขึ้นรับประทานได้ ทั้งนี้เมนูนี้ถือเป็นเมนูขึ้นชื่ออย่างมากกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาด้วย โดยเมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาที่ชุมชนตะเคียนเตี้ยแล้วไปที่ร้านอาหารในชุมชนก็มักจะสั่งเมนูนี้เสมอนั่นเอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). ‘บ้านร้อยเสา’ ตำนานแห่ง... ชุมชนตะเคียนเตี้ย ชลบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.thansettakij.com/lifestyle/503356.

ณิชกานต์ สำราญวานิช. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่กลับมาเยือน ชุมชนตะเคียนเตี้ย ในเขตเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย. ชลบุรี: เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย.

เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://fliphtml5.com/rqqys/quyu/basic.

วัดเวฬุวนาราม. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://smartdastaapp.dasta.or.th/place/399.

วิกิพีเดีย. (2566). พระครูเมตตาธิการี (นิยม กนฺตจาโร). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระครูเมตตาธิการี_(นิยม_กนฺตจาโร).

วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลตะเคียนเตี้ย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/community/content/14/.

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2554). ฐานข้อมูลตำบลเขตอำเภอบางละมุง(ตำบลตะเคียนเตี้ย). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.m-culture.in.th/album/91336.

สวนป่าสาโรชกะแหวว ตะเคียนเตี้ย. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://smartdastaapp.dasta.or.th/place/535?lang=th.

สวนฟ้าใสไอโกะ. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://smartdastaapp.dasta.or.th/place/536.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2564). วิถีมะพร้าว สิ่งชุบชีวิตและสร้างสีสันให้ชุมชนตะเคียนเตี้ย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.thansettakij.com/lifestyle/503356.

Manida Phuphaitun. (2563). ชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี ดงมะพร้าวแห่งสุดท้าย ของภาคตะวันออก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.bltbangkok.com/lifestyle/travelers-list/18810/.