Advance search

ชุมชนเนินพลับหวานเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศ นอกประเทศ และเป็นสถานที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับผู้คนต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

หนองปรือ
บางละมุง
ชลบุรี
ปวินนา เพ็ชรล้วน
13 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 ส.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
8 ส.ค. 2023
เนินพลับหวาน


ชุมชนชนบท

ชุมชนเนินพลับหวานเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศ นอกประเทศ และเป็นสถานที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับผู้คนต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

หนองปรือ
บางละมุง
ชลบุรี
20140
12.9291587
100.9212842
เมืองพัทยา

แต่เดิมนั้นพื้นที่เนินพลับหวานเป็นป่ารกและไม่มีแหล่งน้ำ จึงไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัยในพื้นที่เนินพลับหวาน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2492 เริ่มมีประชากรได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาจาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเนินพลับหวาน โดยเริ่มแรกมีประมาณ 4-5 ครอบครัว โดยมี 3 ตระกูลใหญ่ที่เริ่มก่อตั้ง คือ 1.ตระกูลยุทธนาวา 2.ตระกูลแก้วสุวรรณ 3.ตระกูลโช๊ะเฮง ต่อมาในปี พ.ศ.2494 ก็ได้มีชาวมุสลิมอพยพย้ายมาจากเขตหนองจอก เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร เข้ามาเพิ่มขึ้นทำให้มีการสร้างมัสยิดขึ้น โดยใช้วัสดุเป็นหินทำขึ้นเกวียนบรรทุกมาทุบที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ใต้มัสยิด โดยผู้ที่ทำการขอพรในการลงเสา คือ อัลม่านต่วน สุวรรณศาสตร์ อดีตจุฬาราชมนตรี และเมื่อสร้างเสร็จแล้วผู้นาการขอพรในการเปิดป้าย คือ อัลมัรฮูม อาจารย์สวาส สุมาลยศักดิ์ อดีตจุฬาราชมนตรี

วิถีชีวิตของชาวเนินพลับหวานส่วนใหญ่สำหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกมะม่วง ขนุน มันสำปะหลัง และมีอาชีพเลี้ยงม้าไว้สำหรับบริการแก่นักท่องเที่ยว โดยหลังจากที่ชาวบ้านทำการเกษตรเสร็จแล้ว วันเสาร์และวันอาทิตย์ก็จะประกอบรายได้เสริมด้วยการออกไป ขี่ม้า

จนในปี พ.ศ.2521 พัทยาได้มีการจัดตั้งเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่น รูปแบบพิเศษ ผู้จัดการเมืองให้เมืองพัทยามีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร โดยแบ่งเขตการปกครองผนวกเอาพื้นที่ของตำบลหนองปรือไปส่วนหนึ่ง ตามแนวเขตถนนสุขุมวิทห่างออกไปทางทิศตะวันออก 900 เมตร ตลอดแนวพื้นที่ที่คงอยู่ได้รับการยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองหนองปรือทำให้ความเจริญของ เมืองพัทยาได้เข้ามาสู่ชุมชนเนินพลับหวาน ชาวบ้านได้ทำมาหากินสะดวก มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการประกอบอาชีพเลี้ยงม้าไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวได้ขี่เล่นตั้งแต่ชุมชนเนินพลับหวาน ไปยังจุดศูนย์รวมบริการม้าที่ชายหาดพัทยา แต่การประกอบอาชีพนี้ส่งผลให้ทัศนียภาพของพัทยาดูเสื่อมโทรมและไม่เป็นระเบียบเพราะว่าม้าทิ้งสิ่งปฏิกูลไว้ ทำให้สุขาภิบาลเริ่มมีการจัดการระเบียบเมืองมากขึ้น มีการเรียกเก็บภาษี ชาวบ้านที่เลี้ยงม้าไว้บริการนักท่องเที่ยวลดบทบาทการประกอบอาชีพเลี้ยงม้า และหันมาประกอบอาชีพออกเรือเร็วแทนและออกจักรยานยนต์เช่า

การตั้งชมรมรถเช่า ส่งผลให้ชาวบ้านเนินพลับหวานมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจพัทยาเติบโตขึ้น ในช่วงวาระการดำรงตาแหน่งของนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหวัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชุมชนเนินพลับหวาน มัสยิดเริ่มเกิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ชาวมุสลิมบริจาคตามกำลังศรัทธา พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่อยู่อาศัยในลักษณะหมู่บ้านจัดสรร ผู้คนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในพัทยาต่างรู้ว่าค่าครองชีพ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางในเมืองพัทยานั้นสูงขึ้น จึงได้กลับมาอยู่เนินพลับหวานเป็นจำนวนมาก จากอดีตจนถึงปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนเนินพลับหวานก็ยังคงเป็นชาวมุสลิมอยู่ แต่ก็มีชาวพุทธเข้ามาอยู่อาศัยด้วยและสามารถพึ่งพาอาศัยด้วยกันได้เป็นอย่างดี

มุสลิมชุมชนเนินพลับหวาน ซึ่งมีมากกว่า 500 ครอบครัว นับเป็นชุมชนมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดชลบุรี คนในชุมชนมีการช่วยเหลือกันเสมือนพี่น้อง และยึดมั่นในหลักการของศาสนาอิสลาม เป็นหนึ่งเดียวในการดำเนินชีวิต และมีผู้นำศาสนา มีมัสยิดที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นศูนย์กลางของศาสนกิจของชุมชน นอกจากนี้ชาวมุสลิมบ้านเนินพลับหวาน ยังคงดำรง ประเพณี วิถีชีวิตและเผยแพร่งานศิลปหัตถกรรมอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชน ได้แก่ มีการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของชาวมุสลิม มีการจัดเย็บหมวกสาหรับสุภาพบุรุษ (กะปิเยาะ) สาหรับใส่ในการละหมาดและผ้าคลุมผมสำหรับสตรี (ฮิญาบ) การทำอาหารฮาลาล การชมการเลี้ยงแพะ ผลิตภัณฑ์สบู่นมแพะ รวมถึงยังมีการทำหัตถกรรมจากหนังแพะ เช่น กระเป๋า พวงกุญแจ หมวกคาวบอย เป็นต้น

ชุมชนบ้านเนินพลับหวานเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเทศบาลหนองปรือ อำเภอบางละมุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางละมุง 9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดชลบุรีเป็นระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร มีพื้นที่ 45.54 ตารางกิโลเมตร

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ  ตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ทิศใต้         ติดต่อกับ  เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ  เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จากความหลากหลายของทรัพยากรทางวัฒนธรรมในชุมชนนั้น ทำให้ในปี พ.ศ. 2559 ทางเทศบาลเมืองหนองปรือ และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เล็งเห็นความสำคัญของบ้านเนินพลับหวานว่าเป็นเส้นทางพหุวัฒนธรรมที่หลากหลาย การใช้ชีวิตประจำวันที่ยังเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม พร้อมกับยังเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับพัทยา จึงเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการเรียนรู้การท่องเที่ยว โดยชุมชนหรือชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ชุมชนเป็น แหล่งท่องเที่ยว เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีรายได้ที่ดีขึ้น รวมถึงได้เผยแพร่หลักการ ศาสนาอิสลามในการพาไปเรียนรู้ชีวิตประจำวันของ ชาวมุสลิม การแต่งกายของชาวมุสลิม รวมถึงอาหารฮาลาลที่ดั้งเดิมของชาวเนินพลับหวาน เช่น แกงกุรุหม่าเนื้อแพะหรือเนื้อแกะ ที่ชาวมุสลิมนิยมปรุงแกงในวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งในปัจจุบันหารับประทานได้ยาก

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 เข้ามาพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้นำคณะกรรมการชมรมเข้ารับการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากร   การบริหารจัดการกลุ่ม นักสื่อความหมาย การค้นหาของดีของเด่นของชุมชน บ้านเนินพลับหวาน ทำให้ชุมชนสามารถรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนได้ และปี พ.ศ. 2561 ทางชุมชนได้รับการคัดเลือกจากกรรมการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ของอาเภอบางละมุง ชุมชนได้นาทุนทางวัฒนธรรม เช่น อาหารของชาวมุสลิม และวิถีแพะ มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของชุมชน และความต้องการของชุมชน จึงเกิดเป็นกิจกรรม คือ ถนนสายวัฒนธรรม ถนนสายฮาลาล ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและสร้างให้เป็นที่ยอมรับเป็นที่รู้จัก เป็นศูนย์รวมของมุสลิมที่มาท่องเที่ยว ซึ่งถนนสายวัฒนธรรม ถนนสายฮาลาล จะจัดขึ้นทุกเดือนในวันเสาร์ และอาทิตย์แรก ชุมชนได้เกิดกลไกในการดำเนินงานขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการทรัพยากร การบริหารจัดการกลุ่มนักสื่อความหมาย ประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน คนในชุมชน กลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มอัสลาผลิตภัณฑ์จากนมแพะ และผลิตภัณฑ์จากหนังแพะ กลุ่มอาหารฮาลาล กลุ่มงานหัตถกรรมต่างๆ เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์อัสลา : สินค้าวัฒนธรรมของชุมชนเนินพลับหวาน

ทุนทางวัฒนธรรมที่เด่นชัดในกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนเนินพลับหวาน ก็คือ ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากหนังแพะ หนังแกะและหนังวัว ซึ่งแพะถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่คนไทยอิสลามนิยมเลี้ยงกันทั่วประเทศ เนื่องด้วยแพะเป็นที่นิยมในการใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เนื่องจากแพะเป็นสัตว์ที่มีการเลี้ยง ค่อนข้างง่าย ค่าใช้จ่ายไม่มากนัก สามารถกินใบไม้ใบหญ้าได้ทั่วไป และทนต่อทุกสภาพอากาศ อีกทั้งนมแพะ ยังมีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากนี้ขนและหนังแพะสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ทำกระเป๋า เสื่อ พรม และเชือก ส่วนมูลแพะยังใช้ทำปุ๋ย เขาและกีบ สามารถทำเป็นเครื่องประดับ เลือดและกระดูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย และที่ชุมชนเนินพลับหวานนี้มีการเลี้ยงแพะไว้เป็นอาชีพเพื่อขายให้กับผู้บริโภค ภายในชุมชนมีการบริโภคเนื้อแพะเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แต่แพะนั้นสามารถบริโภคได้เพียงแค่เนื้อเท่านั้น ในส่วนของหนังก็นำไปทิ้งหรือฝังกลบตามการรักษาความสะอาดของศาสนาอิสลามที่ให้ฝังกลบสิ่งที่ตายแล้ว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นักท่องเที่ยวที่เข้ามายังชุมชนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจกับวิถีท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อาจทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวทั้งระบบการจัดการความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงและการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว การรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวใหม่ ๆ คนในชุมชนยังขาดรูปแบบการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ของชุมชน ยังเป็นการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน ทำให้ในทัศนะของนักท่องเที่ยวยังไม่สามารถมองว่าชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้


วัตถุดิบหลักของผลิตภัณฑ์หนังสัตว์อัสลา คือ หนังสัตว์ประเภทต่าง ๆ เช่น แกะ แพะ และวัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นหนังสัตว์ที่ชาวบ้านในชุมชนนำมาให้ภายหลังจากการบริโภคเนื้อ เพราะส่วนของหนังไม่สามารถบริโภคได้ ปัญหาที่พบ คือ การบริโภคเนื้อสัตว์หรือการฆ่าสัตว์มิได้เกิดขึ้นทุกวัน ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนน้อยลงในช่วงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การนำสัตว์เหล่านี้มาเพื่อบริโภคจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ทางผลิตภัณฑ์ หนังสัตว์อัสลาขาดแคลนหนังสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการนำมาผลิตเป็นสินค้า เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชญานี จันสี. (2564). แนวทางการจัดการและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านเนินพลับหวาน ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรีสารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนัสวี บานไม่รู้โรย. (2563). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์อัสลา ชุมชนเนินพลับหวาน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.