Advance search

ระนาม

ชุมชนที่โดดเด่นในการทำจักสาน ซึ่งจักสานที่ผลิตที่บ้านระนามจะมีเอกลักษณ์มาก โดยจะมีลวดลายที่สวยงาม มีความประณีตและมีความทันสมัย นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ผลิตยังมีความหลากหลาย ซึ่งด้วยเอกลักษณ์ต่างๆเหล่านี้จึงทำให้จักสานสานบ้านระนามเป็นสินค้าขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

หมู่ 6
บ้านระนาม
ชีน้ำร้าย
อินทร์บุรี
สิงห์บุรี
วีรวรรณ สาคร
6 ส.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
6 ส.ค. 2023
วีรวรรณ สาคร
9 ส.ค. 2023
บ้านระนาม
ระนาม

ชุมชนบ้านระนามในอดีตมีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อว่า "ระนาม" ที่เคยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่นี้คนในชุมชนจึงเรียกพื้นที่แห่งนี้ว่าบ้านระนาม


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่โดดเด่นในการทำจักสาน ซึ่งจักสานที่ผลิตที่บ้านระนามจะมีเอกลักษณ์มาก โดยจะมีลวดลายที่สวยงาม มีความประณีตและมีความทันสมัย นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ผลิตยังมีความหลากหลาย ซึ่งด้วยเอกลักษณ์ต่างๆเหล่านี้จึงทำให้จักสานสานบ้านระนามเป็นสินค้าขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

บ้านระนาม
หมู่ 6
ชีน้ำร้าย
อินทร์บุรี
สิงห์บุรี
16110
15.0718155592
100.297083647
องค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้าย

ชุมชนบ้านระนาม ตั้งอยู่ในตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ตัวประวัติของชุมชนแห่งนี้ไม่แน่ชัดว่าชาวบ้านอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ได้อย่างไร แต่คาดว่าน่าจะอพยพเข้ามาพร้อมกับชาวบ้านกลุ่มอื่นๆ ในตำบลชีน้ำร้ายที่มีการอพยพมาจากอำเภอบางระจันด้วยสาเหตุจากการถูกรุกรานและทำสงครามกับพม่าคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 โดยชาวบ้านเหล่านี้ได้อพยพลี้ภัยมาทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและได้พบกับสภาพพื้นที่ตั้งเหมาะแก่การเพาะปลูกเพราะมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์อย่างมาก จึงได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตามที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานี้ ทั้งนี้ตัวชุมชนบ้านระนามที่ได้ชื่อว่าบ้านระนามนั้นมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งนามว่าระนามที่เคยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่นี้ ทำให้ผู้คนจึงเรียกที่แห่งนี้ว่าบ้านระนาม

ชุมชนบ้านระนามแห่งนี้ในพื้นที่มักมีต้นไผ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไผ่สีสุกที่ขึ้นชื่อว่าเหมาะแก่การนำมาทำจักสาน ซึ่งชาวบ้านนับตั้งแต่บรรพบุรุษของชุมชนนี้ที่รู้จักการทำจักสานแต่เดิมแล้วเมื่อมีเวลาว่างจากการทำเกษตรกรรมก็มักจะนำไผ่ที่ขึ้นในชุมชนแห่งนี้เป็นจำนวนมากมาสานทำอุปกรณ์สำหรับใช้ในการดำรงชีวิต เช่น กระบุง ตะกร้า พัด กระจาด เป็นต้น โดยความรู้เรื่องการทำจักสานเหล่านี้พบว่าได้ส่งทอดมาถึงลูกหลานในชุมชนแห่งนี้ด้วยทำให้มีลูกหลานในชุมชนมักมีความรู้ในการทำจักสานที่สืบทอดมาจากครอบครัว อย่างคุณบัวลอย จันทร์พ่วง ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มแม่บ้านจักสานก็ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยคุณบัวลอยได้จะใช้เวลาว่างหลังการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของตนมาตัดไม้ไผ่ทำจักสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆและส่งขายซึ่งคุณบัวลอยเองก็ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านที่ไม่ได้มีความรู้ รวมถึงชักชวนคนอื่นๆมาทำจักสานด้วยเพื่อหารายได้เสริม ทำให้เริ่มเกิดกลุ่มการทำจักสานขึ้นมา

ในปีพ.ศ.2524 ภาครัฐที่ทราบข่าวว่ามีกลุ่มทำจักสานในชุมชนแห่งนี้จึงเข้าเยี่ยมชม พบว่าจักสานของที่แห่งนี้คุณภาพดีจึงให้มีการจัดตั้งกลุ่มอย่างจริงจัง ทำให้จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านจักสานระนามขึ้น และคุณบัวลอยก็ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม การมีกลุ่มเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมนี้ทำให้ชาวบ้านในกลุ่มนี้ได้เริ่มผลิตสินค้าส่งขายมากขึ้น โดยจะพบในปีพ.ศ.2530 2532

กลุ่มแม่บ้านจักสานระนามได้เจริญอย่างมาก หลายครอบครัวในหมู่บ้านเข้ามาร่วมในกลุ่มเพื่อทำจักสานกันอย่างจริงจัง มีการพัฒนาลวดลายให้มีความวิจิตรสวนงามมากขึ้นและมีการพัฒนารูปแบบและวัสดุอื่น ๆ มาทดลองใช้แทนไม้ไผ่ เช่น ผักตบชวา ปอกกล้วย ก้านตาล ก้านมะพร้าว ใบลาน เป็นต้น โดยจากการพัฒนาต่างๆเหล่านี้และการที่ผู้คนชาวบ้านหันมาทำจักสานกันเป็นจำนวนมากอย่างจริงจัง ต่อมาส่งผลให้จึงมีการยกระดับหมู่บ้านระนามหมู่ 6 ตำบลชีน้ำร้ายแห่งนี้ ขึ้นเป็น “หมู่บ้านศิลปหัตถกรรมไทย บ้านระนาม “ ซึ่งจุดนี้ทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นที่รู้จักและโดดเด่นมากขึ้น

อาจกล่าวได้ว่าจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการทำจักสานเมื่อมาประกอบกับการจัดการส่งเสริมเผยแผ่ความความรู้ของผู้มีความรู้ความสามารถ รวมถึงการพัฒนาที่ต่อยอดต่างๆอย่างไม่หยุดนิ่ง จึงทำให้ชุมชนแห่งนี้จากที่เคยเป็นชุมชนทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้มีอะไรน่าสนใจ จึงได้เริ่มโดดเด่นและเป็นที่รู้จักขึ้นมาได้ด้วยการเป็นชุมชนแห่งการทำหัตถกรรมหรือทำจักสานนั่นเอง

ชุมชนบ้านระนาม เป็นชุมชนครอบคลุมหมู่ที่ 6 ของตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่ของชุมชนแห่งนี้มีทั้งหมดประมาณ 4828 ไร่ ตัวชุมชนอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้ายไปทางทิศตะวันออก 1.78 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภออินทร์บุรี 7.70 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่โดยทั่วไปของชุมชนแห่งนี้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ชุมชนมีน้ำท่วมบ้างบางครั้ง พื้นที่ดินทั่วไปเป็นดินร่วน เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการเกษตร ที่ชุมชนแห่งนี้ไม่พบมีพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติขนาดใหญ่มีเพียงป่าละเมาะเล็กเท่านั้น

ลักษณะภูมิอากาศ

พบว่าลักษณะภูมิอากาศรวมถึงฤดูของชุมชนนี้คล้ายกับของภาคกลางโดยทั่วไป โดยฤดูจะแบ่งเป็น 3 ฤดู ได้แก่ 

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม

ชุมชนบ้านระนามมีประชากรรวม 643 คน แบ่งเป็น ชาย 304 คน หญิง 339 คน และมีจำนวนครัวเรือน 267 ครัวเรือน ทั้งนี้จะพบว่าชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่มักมีการประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน นอกจากนี้อาจมีการประกอบอาชีพรับจ้างบ้างบางส่วน ส่วนอาชีพเสริมชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้มีการทำจักสานเป็นอาชีพเสริม โดยมักจะทำเมื่อว่างจากการทำอาชีพหลักแล้ว

กลุ่มอาชีพ

กลุ่มแม่บ้านจักสาน มีหัวหน้ากลุ่มคือ คุณบัวลอย จันทร์พ่วง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2524 โดยกลุ่มนี้เป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านเพื่อทำจักสานเป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านในกลุ่มนี้จะมีการนำวัสดุตามธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น ไผ่ ผักตบชวา ใบลาน หวาย มาสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น อาทิ กระบุง ตะกร้า หมวก ฝาชี กระเป๋า เป็นต้น

การจักสานของชาวบ้านระนามจะดำเนินเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ตามความสามารถและความถนัด เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ทั้งนี้ผลงานด้านจักสานของกลุ่มแม่บ้านจักสานนี้ยังพบว่ามีลักษณะเฉพาะตัว คือ ความสวยงามของลวดลายและความประณีต รวมถึงมีรูปแบบที่ทันสมัย ทำให้ในปัจจุบันผลผลิตด้านจักสานบ้านระนาม จึงเป็นที่นิยมมากของชาวจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดใกล้เคียง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม

วัดระนาม ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านพระเกจิอาจารย์ที่ค่อนข้างมีวิชาและศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระครูสิงห์ที่มีชื่อเสียงในด้านคาถาอาคม โดยเฉพาะในเรื่องอาคมรักษาปราบสุนัขบ้า โดยมีการเล่าว่าข้าวสารเสกหรือทรายเสกของท่านถ้าซัดใส่สุนัขบ้าตัวไหนจะหยุดอาละวาดทันที นอกจากนี้ยังมีหลวงปู่ใย ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาที่มีเมตตาใจดี สมถะ หลวงปู่ใยนี้ไม่ปรากฎว่ามีชื่อเสียงในด้านใดแต่ปรากฎถึงมงคลวัตถุที่สร้างในสมัยท่านว่ามีชื่อเสียงอย่างมากเพราะศักดิ์สิทธิ์ป้องกันภัยได้ดี

จักสานบ้านระนาม ภูมิปัญญาการทำจักสานบ้านระนาม ได้ทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นที่รู้จัก โดยจักสานของชาวบ้านแห่งนี้จะมีการทำเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระบุง ตะกร้า หมวก ฝาชี กระเป๋า เป็นต้น ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้จักสานของชุมชนแห่งนี้แตกต่างและโดดเด่นกว่าที่อื่นๆ คือ การที่จักสานของที่นี้เน้นให้มีความสวยงาม มีลวดลาย ความประณีต และมีรูปแบบที่ทันสมัย รวมถึงจักสานของที่แห่งนี้ยังไม่ได้ใช้แค่ไม้ไผ่มาทำจักสานแต่มีการพัฒนาใช้วัสดุอื่นๆด้วย อย่างผักตบชวา ปอกกล้วย ก้านตาล ก้านมะพร้าว ใบลาน เป็นต้น ทำให้จักสานมีความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยความเป็นเอกลักษณ์นี้จึงทำให้ปัจจุบันผลผลิตด้านจักสานบ้านระนาม จึงเป็นที่นิยมของชาวจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดใกล้เคียงอย่างมาก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จักสานบ้านระนาม. (2555). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.m-culture.in.th/album/126752/จักสานบ้านระนาม.

ชุมชนบ้านระนาม. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/4019.

นางบัวลอย จันทร์พ่วง. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก http://nutponkaha.freeservers.com/bouloy.htm.

แหล่งชุมชนเก่า ชุมชนบ้านระนาม สิงห์บุรี. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://maps.thaitravelloc.com/place-info.php?id=3412.

องค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้าย. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570. สิงห์บุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้าย.

องค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้าย. (ม.ป.ป.). ผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ OTOP. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก http://cheenamrai.go.th/public/otop/data/detail/otop_category_id/1/otop_id/2/menu/34.

อนุชา แพ่งเกษรและคณะ. (2561). พิพิธภัณฑ์มีชีวิต: อารยสถาปัตย์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุและคนพิการ กรณีศึกษา: ตำบลชี้น้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.