ผู้คนยังคงยึดอาชีพทำนา ทำไร่ การแสดงออกทางวัฒนธรรรมจึงอิงอยู่กับวิถีชีวิต อย่างประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว สีข้าว และการเอาแรงงานบุญต่าง ๆ
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติบริเวณริมคลองมีต้นมะกอกขึ้นอยู่หนาแน่น ชาวบ้านจึงพากันเรียกที่แห่งนี้ว่า บ้านคลองมะกอก
ผู้คนยังคงยึดอาชีพทำนา ทำไร่ การแสดงออกทางวัฒนธรรรมจึงอิงอยู่กับวิถีชีวิต อย่างประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว สีข้าว และการเอาแรงงานบุญต่าง ๆ
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยมีผู้อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกประมาณ 10 หลังคาเรือน ขณะนั้นขึ้นอยู่กับอำเภอวิเชียรบุรี ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2490 เริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดตั้งหมู่บ้าน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงตั้งหมู่บ้านคลองมะกอก เมื่อปี พ.ศ. 2527 (องค์การบริหารส่วนตำบล 2563 : ออนไลน์)
ขณะเดียวกันประวัติบ้านคลองมะกอกเล่าโดยคุณตาบูรณ์ โพธิ์จักร อายุ 73 ปี ให้ข้อมูลว่า บ้านคลองมะกอกแยกตัวออกมาจาก บ้านโคกสะแกลาด หมู่ที่ 4 มาตั้งเป็นหมู่บ้านคลองมะกอก
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโคกสะแกลาด
- ทิศใต้ ติดต่อกับ แม่น้ำป่าสัก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโคกรังน้อย ตำบลหนองย่างทอย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านนาตะกรุด บ้านรักไทย
การคมนาคม การคมนาคมสะดวก มีรถโดยสารประจำจากเพชรบูรณ์-ลำนายรายณ์ ระยะทางถึงอำเภอศรีเทพ 23 กิโลเมตร
บ้านคลองมะกอก ประกอบด้วย จำนวนบ้าน 168 หลังคาเรือน รวมประชากรทั้งหมด 588 คน โดยแบ่งเป็นชาย 313 คน และหญิง 275 คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2566)
คนในชุมชนประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย เลี้ยงวัว ส่วนประเพณีท้องถิ่นจัดขึ้นเช่นเดียวกับหมู่ 5 คือ ประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว สีข้าว การช่วยแรงงานบุญต่าง ๆ ประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนาของไทย
1) นายวีระ หมีเงิน ผู้ใหญ่บ้าน
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2565. ค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php