ที่ตั้งของศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ดำเนินการโดยอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย
ที่ตั้งของศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ดำเนินการโดยอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย
ชื่อของบ้านทุ่งเกวียน ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน แต่ปรากฏหลักฐานของชื่อ "เวียงตาล" ซึ่งเป็นชื่อของตำบล โดยเวียงตาลและเวียงรมณีย์ ปรากฏในเอกสารชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเถระ (รัชสมัย ร. 5 เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ นางจามเทวี ในฐานะเป็นเวียงที่ประทับของพระนางจามเทวี ในยุคที่พระนางเสด็จมาสร้างเวียงเขลางค์ (อาลัมภางค์เขลางค์นคร) เวียงตาลและเวียงรมณีย์ เป็นเวียงคู่แฝด ที่กำเนิดมาคนละช่วงยุคสมัย เวียงรมณีย์ ถ้าดูตามหลักฐานของรอบภูมิประเทศ ที่เหลืออยู่เชื่อได้เลยว่าเวียงรมณีย์เป็นเวียงที่ กำเนิดก่อน และเป็นเวียงเล็กที่อยู่คนละฝั่ง ลำน้ำแม่ตาล เป็นเวียงที่มีกำแพงเมืองและคูเมืองที่ไม่เป็นรูปเรขาคณิต ปัจจุบันแทบ ไม่เหลือร่องรอยความเป็นเวียง พื้นที่เวียงถูกบุกรุกครอบครองเป็นที่ทำกินของชาวบ้านโดยรอบกันหมด เวียงตาลเป็นเวียงที่เหลือร่องรอย คูเมือง (คือเมือง) และกำแพงเมืองจากการสังเกตดู การขุดคูเมืองและการสร้างกำแพงเมืองพบว่า เวียงตาลคงมีการอยู่อาศัยและก่อสร้างเมือง / เวียง 2 – 3 ยุค จะเห็นได้จากการขุดเมืองและสร้างกำแพงเมืองออกเป็น 3 ส่วน คล้ายรูปตัวแอล ถ้ามองจากทำเลที่ตั้งของเวียงตาลและเวียงรมณีย์ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มลำน้ำตาล ที่มีน้ำหล่อเลี้ยงเกือบตลอดปี (สมัยนั้น)
ถ้าย้อนกลับไปตามลำน้ำก็จะพบชัยภูมิที่เป็นขุมน้ำมีฝาย ห้าร้อยที่แบ่งปันน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีมานาน และบริเวณใกล้กันมีพระธาตุดอยปางม่วง เป็น เหมือนเขาพระสุเมรุวัดหงศ์หอคำ (บริเวณหลังโรงงานผลิตเส้นหมี่) มีผู้รู้เคยให้ข้อสังเกตว่า วัดพระธาตุดอยปางม่วง บ้านปางม่วง และพระธาตุดอยน้อยบ้านสันทราย เป็นเหมือนวัดดอยน้อยและวัดดอยหลวง ซึ่งเป็นคติความเชื่อเหมือนกับที่พระธาตุลำปางหลวงที่มี วัดพระธาตุลำปางหลวง และวัดไหล่หินหลวง เป็นวัดของเจ้าเมืองและวัดสามัญชน
จากภูมิประเทศที่เป็นทำเลที่ตั้งเวียงตาล - เวียงรมณีย์ มีคติความเชื่อที่สอดคล้องกับคติของพราหมณ์ ที่มีเทือกเขาขุนตาล ด้านเหนือเป็นเขาพระสุเมรมีเทพยดา และนาค เป็นผู้ให้น้ำ ทุกปี จะมีการบวงสรวงด้วยการถวายช้างเผือก เพื่อเปิดประตูดอย ให้เทพยดาประทานน้ำเพื่อการเกษตรจะได้ อุดมสมบูรณ์ในการเลือกชัยภูมิ
บ้านทุ่งเกวียน ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงตาล อยู่ในความดูแลของอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีลักษณะพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าสงวนแห่งชาติ ฝั่งขวาของแม่น้ำวังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่เหลือ 2 ใน 3 เป็นที่ราบลุ่มและที่ดินเป็นบริเวณที่ใช้ในการเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลวอแก้ว และตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่ ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
บ้านทุ่งเกวียน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 576 ครัวเรือน รวมจำนวนประชากร 1,631 คน แบ่งเป็นเพศชาย 768 คน และเพศหญิง 863 คน
ประเพณีและงานประจำปี
- โครงการบรรพชาอุปสมบท ภิกษุ สามเณร ภาคฤดูร้อน จัดในช่วงเดือนเมษายนของ ทุกปี โดยมีการจัดพิธีโกนผมหมู่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ฝึกซ้อม คำขานนาค แห่พระนาคไปยังศาลเจ้าพ่อขุนตาลเพื่อทำพิธีขอขมา แล้วมาประกอบพิธีเรียกขวัญพระนาค จากนั้นอีกวันจะเป็นพิธีบรรพชาอุปสมบท ภิกษุ สามเณร ภาคฤดูร้อน
- งานสัปดาห์ผู้สูงอายุแห่งชาติและวันครอบครัวจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีโดยการจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในตำบล ได้แก่ กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ประธานสภาฯ, นายกอบต., ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สูงอายุในเขตตำบลเวียงตาล
- งานประเพณี “สรงน้ำพระประเวณีปี๋ใหม่เมือง” จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี โดยมีการจัดพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป, สรงน้ำพระประธาน, สรงน้ำพระสงฆ์ เปลี่ยนผ้าอังสะ ผ้าห่มพระพุทธรูปและพระสาวก รวมทั้งเปลี่ยนฉัตรที่อยู่เหนือเศียรพระของแต่ละวัด
- งานประเพณีบวงสรวงอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน โดยมีการจัดกิจกรรมการแสดงดนตรี การแสดงฟ้อนรำ “ไหว้สา ปู่จา เจ้าพ่อขุนตาน”,ชมการแสดงรำเมือง, ชมการแสดง ตีก๋องปู่จา,ชมการแสดงตีกลองสะบัดชัย,ชมการแสดงของช้าง และชมการแสดงบรรเลงดนตรีพื้นเมือง โดยมีการจัดกิจกรรมในวันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี
- งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดแม่ตาลน้อย จัดในช่วงเดือนมิถุนายน ของทุกปี โดยการจัดพิธีสรงน้ำพระธาตุ และจัดกิจกรรมการแสดงบนเวที, มหรสพ สมโภชต่าง ๆ
- งานพิธีเลี้ยงผีห้วย ผีฮ่อง “วิถีการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่ตาน” จัดในช่วงเดือนมิถุนายน โดยมีกิจกรรมก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ทำความสะอาดสภาพแวดล้อมแม่น้ำ ลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องมือพื้นบ้าน และเตรียมการทำบุญโดยการปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า และสัตว์น้ำต่าง ๆ ใน (วันดา) เฒ่าแก่นายโฮงพร้อมด้วย แม่หาบ และ ทีมลูกหาบจะเดินไปตามเส้นทางที่ลำน้ำแม่ตาลไหลผ่านโดยจุดเริ่มต้นที่ บ้านห้วยเรียน หมู่ 7 ต.เวียงตาล เดินย้อนขึ้นไปยังต้นกำเนิด ลำน้ำแม่ตาล ซึ่งระหว่างทางที่เดินไป ก็จะนำสะตวง พร้อมด้วยไก่จำนวน 2 ตัว และสุรา วางยังจุดต่าง ๆ จำนวน 12 จุด พร้อมกล่าวคำถวายเครื่องเซ่น และบทขอขมาต่อเทพยดาอารักษ์ ที่ปกปักษ์รักษาแม่น้ำ ในวันกระทำพิธีเฒ่าแก่นายโฮงจะกระทำพิธีบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักษ์รักษาต้นกำเนิดลำน้ำแม่ตาล ณ บ้านปางปงปงทราย หมู่ 9 ต.เวียงตาล โดยมีเครื่องเซ่นบวงสรวงเทพยดา และเครื่องประกอบพิธี ได้แก่ หมู 1 ตัว กระบอกน้ำ กล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว ธูป เทียน เมี่ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอก ดอกไม้ ฯลฯ รวมกันในด้ง จากนั้นเฒ่าแก่นายโฮงจะกล่าวบทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือ “บทสืบชะตาหลวง”
- โครงการพี่สืบน้องสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดในช่วงเดือน กรกฎาคม - กันยายน ของทุกปี โดยมีการจัดทำ โครงการฝึกอบรมเพื่อการเรียนรู้ชุมชน “พี่สืบน้องสานภูมิปัญญาท้องถิ่น” หลักสูตรต่าง ๆ ขึ้น เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคเหนือ
- งานประเพณีตานก๋วยสลาก จัดในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยการตกแต่ง ก๋วยสลาก และแห่ก๋วยสลากไปยังวัดในพื้นที่ตำบลเวียงตาล
- งานประเพณียี่เป็งตำบลเวียงตาล จัดในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยมีกิจกรรมการประกวดประดิษฐ์กระทงเล็กเป็นกิจกรรมหลักของทุกหมู่บ้าน และ การประกวดโคมลอย การประกวดหนูน้อยยี่เป็ง และการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ
ศาสนาและความเชื่อ
ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
- วัดทุ่งเกวียน (ม.6 บ้านทุ่งเกวียน)
- วัดสวนป่า (ม.6 บ้านทุ่งเกวียน)
สถานที่สำคัญ
- กาดทุ่งเกวียน หรือตลาดทุ่งเกวียน ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่-ลำปาง เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารแปลกนานาชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มาจากป่า เช่น เนื้อสัตว์ป่าประเภทแย้ แลน หมูป่า รวมไปถึงอาหารท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น แคบหมู น้ำพริกหนุ่ม อาหารหมักดอง อีกทั้งยังมีงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องเหล็ก เครื่องใช้ไม้แกะสลัก และเครื่องปั้นดินเผา
- ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ การแสดงของช้าง ซึ่งยังคงอนุรักษ์ศิลปะการทำไม้ซึ่งใช้ช้างเป็นพาหนะ และแรงงานที่สำคัญ ในการชักลากไม้ที่ได้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศได้ชม
ภาษาถิ่น คือ ภาษาล้านนา หรือคำเมืองล้านนา
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). กาดทุ่งเกวียน (ตลาดทุ่งเกวียน). จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย. จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/
พัชรินทร์ เวียงแก้ว. (2560). การปรับตัวธุรกิจชุมชนเชิงการแข่งขันแบบเสรี กรณีศึกษา กาดทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายและการบริหารสาธารณะ), มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เทศบาลตำบลเวียงตาล. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน. จาก https://www.viangtan-sao.go.th/
เทศบาลตำบลเวียงตาล. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570 เทศบาลตำบลเวียงตาล. ลำปาง: งานยุทธศาสตร์และงบประมาณ สำนักปลัดเทศบาลตำบลเวียงตาล.
ไปกันบ่. (2559). ชมสุดยอดการฝึกลูกช้าง แห่งเดียวในโลก @ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ลำปาง . จาก https://www.paikanbor.com/
อำนวย คอวานิช. สัมภาษณ์, 2 กุมภาพันธ์ 2566.