Advance search

ผ้าทอบ้านหล่ายทุ่งเป็นผ้าฝ้ายทอด้วยมือที่มีความสวยงามและโดดเด่นในความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาวไทลื้อซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การทอผ้าไทลื้อ ช่างทอผ้าได้นำลวดลายทั้งเก่าและใหม่มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัวตรงกับความต้องการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีลวดลายที่หลากหลายซึ่งเกิดจากจินตนาการของคนทอและเป็นภูมิปัญญาแต่ดั้งเดิม จุดเด่นของผ้าทอบ้านหล่ายทุ่ง คือ ลวดลายโบราณและการประยุกต์ลายให้ดอกเล็กลง

หล่ายทุ่ง
ปอน
ทุ่งช้าง
น่าน
ณัฐชนน ทิพย์จำนงค์
28 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
13 มิ.ย. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
21 ส.ค. 2023
หล่ายทุ่ง

บ้านหล่ายทุ่ง มาจากคำเมืองของภาษาไทยถิ่นเหนือแปลว่าตรงข้ามหรือบริเวณนั้น ๆ ที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากพื้นที่โดยรอบมีทุ่งนาเป็นจำนวนมากจึงตั้งตามแหล่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ปรากฏ


ผ้าทอบ้านหล่ายทุ่งเป็นผ้าฝ้ายทอด้วยมือที่มีความสวยงามและโดดเด่นในความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาวไทลื้อซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การทอผ้าไทลื้อ ช่างทอผ้าได้นำลวดลายทั้งเก่าและใหม่มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัวตรงกับความต้องการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีลวดลายที่หลากหลายซึ่งเกิดจากจินตนาการของคนทอและเป็นภูมิปัญญาแต่ดั้งเดิม จุดเด่นของผ้าทอบ้านหล่ายทุ่ง คือ ลวดลายโบราณและการประยุกต์ลายให้ดอกเล็กลง

หล่ายทุ่ง
ปอน
ทุ่งช้าง
น่าน
50160
19.530535509901853
100.92588620200138
เทศบาลตำบลปอน

อำเภอทุ่งช้าง เดิมมีฐานะเป็นแขวง เรียกว่า "แพขุนน่าน" มีผู้ปกครองแขวงชื่อว่า เจ้าพรหม ณ น่าน ปกครองแขวงขุนน่าน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2442 - 2446 ต่อมา ปี พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอและโดยตั้งที่ว่าการอำเภออยู่บนเนินเขาริมลำน้ำและ บ้านเฟือยลุง ตำบลและในปัจจุบัน ต่อมา ปี พ.ศ. 2498 ในบันทึกเกี่ยวกับทุ่งช้าง ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมลงมาทางใต้ ประมาณ 2 กม. และ ในปี พ.ศ. 2504 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอไม่เป็น อำเภอทุ่งช้าง ตามชื่อหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ในปัจจุบัน แต่เดิมมีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเชียงกลาง อำเภอสองแควทั้งหมด และตำบลห้วยโก๋นของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แต่เดิมท้องที่อำเภอทุ่งช้างเป็นบริเวณที่เรียกว่าแขวงเมืองและ ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอตามตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โดยมีอาคารที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านเฟือยลุง หมู่ 9 ตำบลและ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้ย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ซึ่งห่างจากเดิม 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตบ้านทุ่งช้าง หมู่ 2 ตำบลทุ่งช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็นอำเภอทุ่งช้างในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลทุ่งช้างจนถึงปัจจุบัน

อำเภอทุ่งช้าง มีประวัติศาสตร์การสู้รบที่ยาวนาน คือสงครามอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความทางคิด อุดมการณ์ ลัทธิการปกครอง ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ที่แทรกซึมเพื่อหวังทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ทวีความรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2518 ชาวไทยที่รักชาติต้องพลีชีพปกป้องผืนแผ่นดินไทยมากมายถึง 600 กว่าคน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ปัจจุบันชาวอำเภอทุ่งช้างมีวิถีชีวิตที่สุขสงบท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม อากาศบริสุทธิ์ ผู้คนมีอัธยาศัยไมตรี ราษฎรมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ถึงแม้จะประกอบด้วยราษฎรหลากหลายเกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทยพื้นถิ่นภาคเหนือ ไทลื้อ ม้ง ขมุ ลัวะ เย้า ถิ่น แต่ชนทุกกลุ่มก็อยู่อาศัยร่วมกันในผืนดินนี้อย่างสุขสงบ ไม่เคยมีปัญหาด้านการปกครอง

บ้านหล่ายทุ่ง มาจากคำเมืองของภาษาไทยถิ่นเหนือแปลว่าตรงข้ามหรือบริเวณนั้น ๆ ที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากพื้นที่โดยรอบมีทุ่งนาเป็นจำนวนมากจึงตั้งตามแหล่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ปรากฏ

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านหล่ายทุ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง เป็นระยะทาง ประมาณ 18 กิโลเมตร และห่างจากเทศบาลตำบลทุ่งช้างประมาณ 18.2 กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีที่ราบลุ่มเพียงเล็กน้อยมีแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน คือ แม่น้ำน่าน ลำน้ำปอน ลำน้ำแงน

บ้านหล่ายทุ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อ เขตเซียงฮ่อน แขวงไชยบุรี ประเทศลาว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  • ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อ เมืองเซียงฮ่อน แขวงไชยบุรี ประเทศลาว

ลักษณะภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือน พฤษภาคม - กันยายน
  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณต้นเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์

สถิติประชากรทางทะเบียนราษฎร​์ ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2566 หมู่ที่ 3 บ้านหล่ายทุ่ง มีประชากรทั้งสิ้น 204 คน เป็นเพศชาย 92 คน และเพศหญิง 112 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

ไทลื้อ

องค์กรและกลุ่มอาชีพ ภายในบ้านหล่ายทุ่งมีกลุ่มทอผ้าหรือปักผ้าเพื่อมีไว้กระจายรายได้ให้คนในชุมชนและสืบทอดอนุรักษ์ ผ้าทอลายน้ำไหล ไทลื้อ บ้านหล่ายทุ่ง เป็นผ้าทอลายดั้งเดิมจากบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายชาวไทลื้อสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ลวดลายผ้าแบบไทลื้อดั้งเดิมมาผสมผสานกับ ลายซิ่นหงส์สา ซิ่นตีนจก ซิ่นลายป้องเต็มตัว ซิ่นม่านฝ้าย มาทอเป็นผ้านุ่งไปทำบุญและแจกให้กับญาติพี่น้อง เป็นที่ถูกใจแก่ผู้พบเห็นเนื่องจากมีลวดลายสวยงามแปลกตากว่าผ้าซิ่นทั่วไป จึงมีการริเริ่มรวบรวมสมาชิกเพื่อมาทอผ้าขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้สร้างสรรค์ลวดลายจากจินตนาการ จากวิถีชีวิตที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ที่ห้อมล้อมไปด้วยภูเขามีสายน้ำที่ไหลจากทางเหนือลงไปทางใต้ผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ เวลาน้ำไหลกระทบกับแสงแดดจะเกิดประกายระยิบระยับสวยงาม มีต้นกูดขึ้นตลอดสองฝั่งลำน้ำ ก่อให้เกิดลายผ้าทอที่สวยงาม เช่น ลายน้ำไหล ลายดอกกูด ลายภูเขา ลายน้ำไหลผสมไทลื้อ และลายน้ำไหลเต็มตัว สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และสามารถพัฒนาเป็นลายอื่นได้ตามจินตนาการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผ้าทอลายน้ำไหล ไทลื้อ บ้านหล่ายทุ่ง เป็นผ้าทอลายดั้งเดิมจากบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายชาวไทลื้อสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ลวดลายผ้าแบบชาวไทลื้อดั้งเดิมมาผสมผสานกับ ลายซิ่นหงส์สา ซิ่นตีนจก ซิ่นลายป้องเต็มตัว ซิ่นม่านฝ้าย มาทอเป็นผ้านุ่งไปทำบุญและแจกให้กับญาติพี่น้อง เป็นที่ถูกใจแก่ผู้พบเห็นเนื่องจากมีลวดลายสวยงามแปลกตากว่าผ้าซิ่นทั่วไป จึงมีการริเริ่มรวบรวมสมาชิกเพื่อมาทอผ้าขึ้น 

ปี พ.ศ. 2526 ได้สร้างสรรค์ลวดลายจากจินตนาการ จากวิถีชีวิตที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ที่ห้อมล้อมไปด้วยภูเขามีสายน้ำที่ไหลจากทางเหนือลงไปทางใต้ผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ เวลาน้ำไหลกระทบกับแสงแดดจะเกิดประกายระยิบระยับสวยงาม มีต้นกูดขึ้นตลอดสองฝั่งลำน้ำ ก่อให้เกิดลายผ้าทอที่สวยงาม เช่น ลายน้ำไหล ลายดอกกูด ลายภูเขา ลายน้ำไหลผสมไทลื้อ และลายน้ำไหลเต็มตัว สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และสามารถพัฒนาเป็นลายอื่นได้ตามจินตนาการ

ผ้าทอเมืองน่าน ผ้าทอลายน้ำไหลสันนิฐานว่าการออกแบบลายผ้าทอชาวไทลื้อ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อในดินแดนสิบสองปันนา ประเทศจีน อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2379 โดยตั้งถิ่นฐานที่บ้านล้าหลวง อ.เชียงคำ จ.พะเยา และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่าง ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน และบ้านดอนมูล อ.ท่าวังผา จ.น่าน โดยการนำของเจ้าหลวงเมืองล้า ชาวไทลื้อ มีภาษาพูด และประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และรักษาสืบทอดจนถึงปัจจุบันนี้ ประวัติดังกล่าวได้ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างสกุลลื้อ ที่ได้วาดลวดลายของผ้าซิ่นของผู้หญิงในรูปเป็นลายผ้าซิ่นทั้งหมดด้วยผ้าทอลายน้ำไหลที่ดัดแปลงมาจากผ้าลายชาวลื้อ สมัยแรก ๆ นิยมใช้ไหมเงิน และไหมคำด้านลายผ้าตรงส่วนที่เป็นหยัก ของกระแสน้ำ จากนั้นใช้ลายมุกรูปสัตว์แทรกเพื่อแสดงว่าผู้คิดลายน้ำไหล ไม่ได้ลอกแบบของชาวลื้อ มาทั้งหมด ผ้าทอลายน้ำไหล เริ่มทอกันครั้งแรกที่บ้านหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน เป็นศิลปะการทอผ้าด้วยมือ สาเหตุที่เรียกผ้าทอลายน้ำไหล เพราะลวดลายที่ทอออกมามีลักษณะเหมือนลายน้ำไหล จึงเรียกว่าผ้าลายน้ำไหล แต่ปัจจุบันได้คิดพลิกแพลงลวดลายต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย และได้ขยายพื้นที่การทอผ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงเรียกชื่อเดิมว่าผ้าลายน้ำไหล ผ้าทอลายน้ำไหลจังหวัดน่าน ปัจจุบันมีการทอลวดลายต่าง ๆ มากมาย เช่น ลายน้ำไหล มีลักษณะเป็นคลื่นเหมือนขั้นบันไดมองดูเหมือน สายน้ำกำลังไหลเป็นทางยาว นับว่าเป็นลายต้นแบบ และดั้งเดิม จึงเรียกลายน้ำไหล 

ภาษาที่ใช้ในชุมชนมีอยู่ 3 ภาษาหลัก ดังนี้ ภาษาลื้อ ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมือง และภาษาไทย


ปัจจุบันกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหล่ายทุ่งยังคงสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าลายน้ำไหลแบบดั้งเดิมอยู่และยังคิดค้นลายผ้าใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสืบสานภูมิปัญญาของการทอผ้าให้คงอยู่สืบทอดต่อไปในอนาคต

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป.). กลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านหล่ายทุ่ง. (ออนไลน์). จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/5227

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป.). ผ้าทอน้ำไหลไทลื้อบ้านหล่ายทุ่งจ.น่าน. (ออนไลน์). จาก https://www.ตลาดเกษตรออนไลน์.com/

ทุ่งช้าง. (ม.ป.ป.). ประวัติโดยย่อ เกี่ยวกับทุ่งช้าง. (ออนไลน์). จาก https://thungchang.com/

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2562). ร้านค้าผ้าทอไทลื้อบ้านหล่ายทุ่ง “เซ็นทรัลทำ” โมเดลยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างงาน-สร้างรายได้ที่ยั่งยืน. (ออนไลน์). จาก https://thaitextile.org/th/

องค์การบริหารส่วนตำบลปอน. (2564). รายงานแสดงผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. (ออนไลน์). จาก https://www.ponlocal.com/

Thaisensee. (2564). กลุ่มทอผ้าบ้านหล่ายทุ่ง อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน. (ออนไลน์). จาก https://thaisensee.org/