ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่เปิดเป็นหมู่บ้านเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางด้านงานหัตถกรรม อาทิ การทอผ้า ตั้งแต่ขั้นตอนปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสีธรรมชาติ และประดับลูกเดือย มีสินค้าของกลุ่มชาติพันธุ์จำหน่าย
บ้านแม่ขนาดเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีลำห้วยแม่คะนะไหลผ่าน จึงได้กลายมาเป็นชื่อหมู่บ้าน และได้เพี้ยนมาเป็นชื่อว่า “บ้านแม่ขนาด”
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่เปิดเป็นหมู่บ้านเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางด้านงานหัตถกรรม อาทิ การทอผ้า ตั้งแต่ขั้นตอนปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสีธรรมชาติ และประดับลูกเดือย มีสินค้าของกลุ่มชาติพันธุ์จำหน่าย
บ้านแม่ขนาดมีแม่น้ำขะนาด หรือห้วยแม่คะนะไหลผ่าน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลำห้วยว่า “บ้านแม่ขะนาด”หรือ “บ้านแม่ขะนาดหลวง” ต่อมาเขียนเป็น “บ้านแม่ขนาด” เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน นอกจากจะเรียกว่าบ้านแม่ขนาดแล้ว ในพื้นที่ใกล้เคียงยังเรียกว่า “บ้านยางหลวง” หรือ “บ้านหลวง” ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้เป็นชาวกะเหรี่ยงที่เรียกว่า ยางขาว หรือยางโป เรียกตนเองว่า โพล่ง บ้านแม่ขนาดมีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านชาวเขาอีก 5 หมู่บ้าน คือ บ้านดอยคำ บ้านป่าเลา บ้านผาด่าน บ้านปงผาง และบ้านแม่สะแงะ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเช่นเดียวกัน กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยเฉพาะผ้าทอด้วยกี่เอว
บ้านแม่ขนาดมีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์อีก 5 หมู่บ้าน คือ บ้านดอยคำ บ้านป่าเลา บ้านผาด่าน บ้านปงผาง และบ้านแม่สะแงะ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเช่นเดียวกัน
บ้านแม่ขนาดเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ปัจจุบันยังมีการดำเนินชีวิตตามวิถีและวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย ซึ่งสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และเห็นได้ชัดคือการแต่งกายและภาษาพูด
โพล่งชาวบ้านแม่ขนาดมีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย ไม่พิถีพิถันและไม่ฟุ่มเฟือยตามวิถีของโพล่ง คือ อยู่ง่าย กินง่าย การแต่งกายด้วยชุดโพล่งสังเกตได้จาก
ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วจะนุ่งผ้าถุงสีแดงคาดลายสีต่าง ๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและจะแต่งด้วยผ้าสีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหญิงที่แต่งงานแล้ว ส่วนหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานจะใส่ชุดยาวสีขาวแต่งลวดลายด้วยสีต่าง ๆ และจะเรียกตามภาษาโพล่งว่า “มือหน่าง” ส่วนเด็กชายและผู้ชายจะแต่งเสื้อโพล่งสีแดง การเกงสะดอ หรือโสร่งก็ได้ ผู้หญิงก่อนแต่งงานจะมีการสักรอบๆ ที่หน้าแข้งเหนือข้อเท้า เพื่อแสดงว่า มีครอบครัวแล้ว ปัจจุบันการสักหน้าแข้งเริ่มจะหายไป เพราะหาผู้เชี่ยวชาญในการสักไม่ได้ ประกอบกับถูกวัฒนธรรมของชาวพื้นราบกลืน
1.นางพรทิพา ดอกแก้วนาค ชื่อเรียกเฉพาะ (ชื่อเล่น) ป้าพร
เกิดเมื่อปี พ.ศ 2503 สัญชาติ ไทย
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชน : เป็นหัวหน้ากลุ่มทอผ้ากระเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด และเจ้าบ้านชาวแม่ทา
บ้านแม่ขนาดรวมตัวกันเป็นกลุ่มทอผ้า เริ่มตั้งกลุ่ม 20 พฤษภาคม 2539 การทอผ้ากี่เอวมากันมานานโดยทอไว้ใช้ภายในครอบครัว ในวันหนึ่งได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาภายในหมู่บ้านจึงบอกให้คนในชุมชนอาผ้ามารวมกัน ตั้งแต่นั้นมาก็ค่อยเป็นค่อยไป หลังจากนั้นมาพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ทา ได้สนับสนุนโดยการซื้อฝ้ายมาเพื่อสนับสนุนกลุ่มทอผ้า สมาชิกภายในกลุ่มเริ่มก่อตั้งมีเพียง 15 คน แต่ปัจจุบันมีสมาชิก 65 คน วิถีชีวิตชุมชนชาวเขา ปงผาง แม่สะแงะ ผ่าด่าน ป่าเลา แม่ขนาด เรียงลงมาตามแม่น้ำตามแม่น้ำแม่ขนาด กินอยู่ง่ายๆกะเหรี่ยง เรียกตัวเองว่า โพร่ง หรือ กลุ่มชาติพันธุ์ยางขาว กลุ่มชาติพันธุ์ยางแดง ทำอยู่ 2 แบบ คือ การทอสีเคมี การทอสีธรรมชาติ โดยใช้กี่เอวใช้ไม้เพียงแค่ 5-6 ชิ้น ซึ่งตอนนี้กลายเป็นกลุ่มโอท็อป และเปิดเวิร์กช็อปสอนผู้ที่สนใจภูมิปัญญาถักทอในเวลาต่อมา บ้านไม้สองชั้นในศูนย์ฝึกฯ จึงกลายเป็นที่พักสำหรับนักเรียนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ไม่สะดวกเข้าไปพักในตัวเมือง
ห้องรับแขกเป็นที่เก็บผลิตภัณฑ์ที่ถักทอจากคนทั้งหมู่บ้าน ฝ้ายนุ่มหนาแปรสภาพเป็นเสื้อ กระโปรง ผ้าซิ่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ถุงย่าม และสารพัดของน่าใช้ที่ผสมภูมิปัญญาดั้งเดิมกับการออกแบบตามยุคสมัย ผลผลิตสำเร็จคือปลายทางที่เราอาจซื้อได้ แต่เพื่อทำความเข้าใจการถักทอชีวิตจากธรรมชาติเรียบง่ายงดงามของชาวกะเหรี่ยง
ทุนวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ ผ้าทอกะเหรี่ยง
การทอผ้าของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด เป็นการทอผ้ากี่เอวสีเคมี และสีย้อมธรรมชาติ ในส่วนของสีย้อมธรรมชาติจะประกอบไปด้วย สีย้อมมาจากเปลือกขนุน ใบต้นสัก ใบลำไย ใบฮ่อม เปลือกมะม่วง เปลือกไม้ฝาง เป็นการทอผ้าใช้เองมาแต่ดั้งเดิมอยู่แล้วภายในหมู่บ้านเพื่อในมาสวมใส่ และมีเอกลักษณ์เพื่อสะท้อนให้เห็นชัดในด้านงานฝีมือของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง
เกร็ดความเชื่อเกี่ยวกับผ้าทอ ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วจะนุ่งผ้าถุงสีแดง คาดลายสีต่าง ๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและตกแต่งด้วยผ้าสีแดง ส่วนผู้หญิงโสดใส่ชุดยาวสีขาว แต่งลวดลายด้วยสีต่าง ๆ ส่วนผู้ชายใส่เสื้อโพล่งสีแดง กางเกงสะดอหรือโสร่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ทอผ้าใช้เองตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย มีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน
ชาวกะเหรี่ยง มีภาษาพูดเป็นของตนเอง คือ ภาษากะเหรี่ยง โดยใช้สื่อสารกันระหว่างกันภายในกลุ่ม แต่กับคนพื้นราบหรือคนต่างกลุ่มชาติพันธุ์จะใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมือง และใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เกิดจากสภาพวิถีชีวิตของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วยด้านครอบครัว ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านศาสนาและวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยี และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ประกอบด้วยสาเหตุภายใน ได้แก่ สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความต้องการทางด้านวัตถุ การออกไปใช้ชีวิตภายนอกโดยการออกไปหางาน การยอมรับประเพณี และวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามาในชุมชน สาเหตุจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงแปลงไปด้วย และสาเหตุจากความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ส่วนสาเหตุภายนอก ได้แก่ เกิดจากสาเหตุด้านการพัฒนาของภาครัฐ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม เยาวชนได้มีการจัดตั้งกลุ่มเยาวชน โดยมีเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า Karen.com-กะเหรี่ยงดอดคอม ซึ่งเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณี และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก โดยในเด็กเยาวชนได้ซึมซับการเรียนรู้ของบ้านเกิดตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่าเยาวชนภายในชุมชนต่าง ๆ เลือกที่จะสนใจเครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีมากกว่าการที่ต้องมาวิ่งเล่นหือการที่จะต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังวิถีชีวิตดั่งเดิมแบบนี้ แต่ที่บ้านแม่ขนาดได้มีกิจกรรมที่ดีให้เยาวชนภายในชุมชนได้เข้าร่วมอย่างสนุกสนานปนความรู้ในวิถีชีวิตบ้านเกิดของตนเอง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ขนาด. จาก https://thai.tourismthailand.org/
ทิพวรรณ มาตยาบุญ. (2555). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน. จาก http://www.m-culture.in.th/album/view/152587/
Karen.com-กะเหรี่ยง ดอดคอม. (2566). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/
Phasakorn Pk. (2566). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/
พรทิพา ดอกแก้วนาค, สัมภาษณ์, 2 กุมภาพันธ์ 2566.