Advance search

บ้านดอยเครือ

ชุมชนมีสถานที่สำคัญ คือ วัดพระบาทตากผ้า ซึ่งอยู่ภายในชุมชนเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป และเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามและอากาศดี

มะกอก
ป่าซาง
ลำพูน
จิราวรรณ ฝั้นต๊ะ
11 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
10 ก.ค. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
21 ส.ค. 2023
บ้านพระบาท
บ้านดอยเครือ

ที่มาของชื่อชุมชนมาจากรอบพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จจาริกพร้อมด้วยสาวกไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนถึงสถานที่แห่งนี้ ได้รับสั่งให้นำจีวรที่ซักระหว่างทางออกมาตากบนหน้าผาหิน จากนั้นจึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทจึงทำให้เกิดรอยขึ้นอย่างในปัจจุบัน ชุมชนบ้านพระบาทจึงได้ชื่อว่า บ้านพระบาท


ชุมชนชนบท

ชุมชนมีสถานที่สำคัญ คือ วัดพระบาทตากผ้า ซึ่งอยู่ภายในชุมชนเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป และเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามและอากาศดี

มะกอก
ป่าซาง
ลำพูน
51120
18.45464
98.92137
เทศบาลตำบลมะกอก

ตามพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มาประทังตรงบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้าหรือชุมชนบ้านพระบาทในปัจจุบัน พระองค์ทรงให้พระอานนท์นำผ้าจีวรไปตาก จากนั้นก็ทรงอธิษฐานและประทับรอยพระบาทลงบนผาลาดที่พระองค์ประทับอยู่ และตรัสว่า สถานที่แห่งนี้จะมีชื่อว่า "พระพุทธบาทตากผ้า" และชุมชนก็ได้ชื่อ "บ้านพระบาท"

บ้านพระบาท ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตําบลมะกอก ตั้งอยู่ในทิศใต้ของอําเภอป่าซาง อยู่ห่างจากตัวอําเภอป่าซางประมาณ 7 กิโลเมตร อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดลําพูน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ระยะห่างจาก กรุงเทพฯ ประมาณ 687 กิโลเมตร

ชุมชนบ้านพระบาทมีจำนวนครัวเรือนจำนวน 451 ครอบครัว จำนวนประชากร ชาย 475 คน หญิง 444 คน ประชากรส่วนมากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง

ยอง

ในชุมชนบ้านพระบาทมีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าห่มนวม บ้านพระบาท หมู่ที่ 6 โดยเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในการเย็บผ้าห่มนวมขายและส่งออกไปภายนอกชุมชน เป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ทั้งนี้ ยังมีบางส่วนออกไปทำงานนอกชุมชน บางครัวเรือนทำงานในเครือข่ายลูกจ้างอุตสาหกรรมและค้าขายภายนอกชุมชน บางส่วนประกอบอาชีพหลักนอกชุมชน เช่น รับจ้างทั่วไป

  • กิจกรรมสรงน้ำพระบาทตากผ้าโดยมีกิจกรรมที่สืบทอดและจัดในทุก ๆ ปี โดยเป็นกิจกรรมส่งเสริมทางสังคมวัฒนธรรม และศาสนา
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนกายภาพ : สภาพภูมิประเทศมีทั้งพื้นที่ราบและเป็นภูเขามีแม่น้ำทาไหลผ่าน 

ทุนมนุษย์ : มีผู้นำชุมชน ที่แข็งแกร่ง

ทุนทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น : มีสถานที่สำคัญ คือ วัดพระบาทตากผ้า มีประวัติความเป็นมา ดังนี้

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ระหว่างดอยม่อนช้างกับดอยเครือ นับถือกันว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่มาประทับไว้ตรงบริเวณที่นำผ้าจีวรมาตาก มีรอยตารางบนผาหินที่เชื่อว่าคือรอยตากผ้าจีวรพระพุทธเจ้า ตำนานเล่าว่า ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ หลังจาริกและประทับพระบาทในที่ต่าง ๆ แล้ว เมื่อเสด็จมาถึงบนลานผาลาด (คือบริเวณที่ตั้งวัดพระพุทธบาทตากผ้าปัจจุบัน) สถานที่ที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะประดิษฐานเจดีย์ จึงทรงหยุดพักผ่อน แล้วให้พระอานนท์นำเอาจีวรไปตากบนผาลาดใกล้กับที่ประทับ หลังจากนั้นทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนผาลาดนี้ และตรัสทำนายว่าสถานที่แห่งนี้จะปรากฏชื่อว่า “พระพุทธบาทตากผ้า”ได้กล่าวไว้ว่าในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ในดินแดนสุวรรณภูมิ (ประเทศไทยในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จไปในที่ต่าง ๆ กระทั่งเสด็จถึงบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้าแห่งนี้ซึ่งเป็นผาลาด จึงได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาทลง ณ ที่แห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมวลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายและพระองค์ได้ตรัสให้พระอานนท์ เอาจีวรไปตากบนผาลาด ใกล้บริเวณที่ประทับ ซึ่งปรากฏเป็นรอยเลือนลางอยู่ ดังนั้น วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระพุทธบาทตากผ้า” มาถึงทุกวันนี้

ประมาณ พ.ศ. 1200 พระนางจามเทวี พระราชธิดาในพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) ได้เสด็จมาครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) พระนางได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทเป็นพุทธบูชา พ.ศ. 2472 ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้รับอาราธนาจากคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ซึ่งมีพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง (ป่าซาง) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้ทำการก่อสร้างวิหารจัตุรมุขจนสำเร็จ

พ.ศ. 2375 ครูบาอาจารย์หลายท่าน โดยมีครูบาป๋า ปารมี วัดสะปุ๋งหลวง เป็นประธาน พร้อมด้วยทายก ทายิกา ได้ก่อสร้างวิหารหลังใหญ่ค่อมมณฑปไว้อีกชั้นหนึ่ง

พ.ศ. 2486 คณะสงฆ์ โดยมีพระญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระยืน เป็นประธาน พร้อมด้วยข้าราชการ ประชาชน ได้อาราธนาท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดป่าหนองเจดีย์ ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง มาเป็นประธานอำนวยการก่อสร้าง และดูแลกิจการของวัด โดยมีพระอธิการศรีนวล อินฺทนนฺโท วัดช้างค้ำ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

พ.ศ. 2502 ท่านครูบาพรหมา ได้เริ่มการพัฒนาวัดอย่างเต็มที่ โดยการลงมือทั้งก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุที่ทรุดโทรม เช่น พระวิหารจตุรมุข ได้ต่อเติมยอดมณฑปขึ้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อสร้างพระอุโบสถทั้งหลังเก่าและหลังใหม่ ศาลาการเปรียญทั้งหลังเล็กและหลังใหญ่ กุฏิแถว โรงเรียนพระปริยัติธรรม กำแพงวัดและอื่น ๆ เป็นที่ปรากฏอย่างที่เห็นใจปัจจุบัน ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 175 ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่ใกล้ดอย (เขา) 2 ลูกคือ ดอยช้างและดอยเครือ อยู่ห่างจากเมืองลำพูนประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน หรือของภาคเหนือ

ภาษาที่ใช้เขียน คือ ภาษาไทยกลาง ภาษาพูด ภาษาท้องถิ่น ไทยอง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)


การมีส่วนร่วมของชุมชน ปรากฏผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น

  • งานประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาท พระบรมสารีริกธาตุ รอยตากผ้า และรูปเหมือนครูบาพรหมา ประจำปี
  • งานครบรอบวันพระราชทานเพลิงศพ พระเดชพระคุณพระสุพรหมยานเถร วิ. (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า พระอารามหลวง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลมะกอก. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570). ลำพูน : กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลตำบลมะกอก.

เทศบาลตำบลมะกอก ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน สภาพสังคม. จาก https://www.makok.go.th/

อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก และอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2566). การสื่อสารเพื่อรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 27(1), 165-176.

Museum Thailand. (ม.ป.ป.). วัดพระพุทธบาทตากผ้า. จาก https://www.museumthailand.com/