ชุมชนเมืองเก่าแก่ขนาดกลาง ตั้งอยู่ในคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นที่ตั้งเมืองเชียงใหม่หลังเวียงกุมกามล่มสลายลง พญามังรายปฐมกษตัริยข์องล้านนาก็ได้ย้ายเมืองมาต้้งที่บริเวณวัดเชียงมั่น
ชื่อของชุมชนมีที่มาจากชื่อของวัดเชียงมั่น ซึ่งเป็นภาษาล้านนา เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ทั้ง 3 พระองค์โปรดให้สร้างเจดีย์ และพญามังรายทรงประทับชั่วคราวในระหว่างควบคุมการสร้างเมือง ตรงหอนอนบ้านเชียงมั่น เรียกว่า "เวียงแก้ว" ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและพระราชทานนามว่า "วัดเชียงมั่น" จากนั้นคาดว่าเจดีย์พังลงมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1985 - 2031) พระองค์จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ ทำด้วยศิลาแลง เมื่อปี พ.ศ. 2014
เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2094 วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขง มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2324–2358)
ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์จึงนิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับในภายหลัง
ชุมชนเมืองเก่าแก่ขนาดกลาง ตั้งอยู่ในคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นที่ตั้งเมืองเชียงใหม่หลังเวียงกุมกามล่มสลายลง พญามังรายปฐมกษตัริยข์องล้านนาก็ได้ย้ายเมืองมาต้้งที่บริเวณวัดเชียงมั่น
ชุมชนเชียงมั่น เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในแขวงนครพิงค์ ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่น ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่ และเป็นวัดแห่งแรกในเขตกำแพงเมือง ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของชื่อชุมชน มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ทั้ง 3 พระองค์โปรดให้สร้างเจดีย์ และพญามังรายทรงประทับชั่วคราวในระหว่างควบคุมการสร้างเมือง ตรงหอนอนบ้านเชียงมั่น เรียกว่า "เวียงแก้ว" ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและพระราชทานนามว่า "วัดเชียงมั่น" จากนั้นคาดว่าเจดีย์พังลงมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1985 - 2031) พระองค์จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ ทำด้วยศิลาแลง เมื่อปี พ.ศ. 2014 เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2094 วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขง มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2324–2358) ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์จึงนิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับในภายหลัง
วัดเชียงมั่น เป็นวัดเก่าแก่และวัดแห่งแรงของตัวเมืองเชียงใหม่ เขตกำแพงเมือง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย หลังจากที่พระองค์ได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นแล้ว ก็ทรงยก ตำหนักเชียงมั่น เพื่อถวายให้สร้างเป็นพระอารามชื่อว่า วัดเชียงมั่น เป็นทั้งศูนย์กลางการศึกษาและเผยแพร่พุทธศาสนา ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญอย่าง พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงใหม่ รวมถึงเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (SummerB, 2565)
วัดเชียงมั่น เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง จารึกที่พบในวัดได้กล่าวถึงพญามังรายโปรดได้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่ประทับและสถาปนาเป็นวัด เรียกว่า วัดเชียงมั่น ต่อมาในสมัยพญาติโลกราชโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2014 ในพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงพญามังรายได้เสด็จจากเวียงเชียงมั่นหรือเวียงเหล็กเข้าไปประทับในพระราชวังที่สร้างขึ้นใหม่ และในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าพญามังรายได้ตั้งเวียงในชัยภูมิที่เรียกว่า เชียงมั่นจากหลักศิลาจารึกที่ 76 ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ. 1839 ได้กล่าวถึงวัดเชียงมั่นว่า พญามังรายได้ทรงสร้างที่ประทับชั่วคราวเพื่อควบคุมการสร้างเมือง เมื่อแล้วเสร็จก็ได้โปรดให้ก่อเจดีย์ตรงที่หอนอนบ้านเชียงมั่น ให้ชื่อว่าวัดเชียงมั่น นับเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2014 ในรัชสมัยพญาโลกติการาช ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ด้วยศิลาแลง 87 ปีต่อมา พม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมสนาสนะ กำแพงประตูโขง (สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่, ม.ป.ป.)
วัดเชียงมั่นเป็นวัดเก่าแก่ในเชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาคู่กับประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ เป็นที่รู้กันว่าพญามังรายพบกับฟานเผือกแม่ลูกกำลังต่อสู้กับฝูงหมาบริเวณลอมคา หรือป่าหญ้าคาแห่งหนึ่ง และหมาไม่อาจเอาชนะฟานสองตัวนั้นได้ พญามังรายเห็นเป็นนิมิตหมายอันดี จึงถือเอาตำแหน่งนี้สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ขณะพญามังราย พระยางำเมือง และพระยาร่วงกำลังควบคุมการสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ ทั้งสามกษัตริย์พำนักอยู่บริเวณป่าที่ปะกับฟานเผือกนั้นเองหรือที่เรียกว่า “เหล่าคาสวนขวัญ” โดยขนานนามที่ประทับแห่งนั้นใหม่ว่า “เวียงเหล็ก” แปลว่าสถานที่มั่นคงแข็งแรง ส่วนลอมคา จุดที่พบกับฟานเผือกนั้น โปรดให้สร้างเป็นหอนอนของพญามังราย เมื่อสร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จแล้วในปี 1839 สามกษัตริย์โปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นตรงหอนอนแห่งนั้น เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม หรือทรงปราสาท ฐานมีซุ้มช้างล้อม คล้ายกับเจดีย์ที่ศรีสัชนาลัย แล้วสร้างวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ให้ชื่อว่า “วัดเชียงมั่น” โดยพญามังรายแปรพระราชฐานไปอยู่ที่คุ้มเวียงแก้ว วัดเชียงมั่นได้รับการบูรณะหลายครั้ง ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อองค์เจดีย์พังลงมา ครั้งที่สองสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่ และเจ้าฟ้ามังทราผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะ กำแพง และประตูโขง ถึงสมัยพระยากาวิละก็ได้ทำการบูรณะวัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง วัดเชียงมั่นจึงมีความเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ แกะจากผลึกหินสีขาวขุ่น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะทวารวดี สร้างเมื่อ พ.ศ.1100-1600 หน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำมาประดิษฐานที่หริภุญชัย เมื่อ พ.ศ.1204 มาก่อน ในพิธีสืบชะตาเมืองจะมีการอัญเชิญพระแก้วขาวเข้าร่วมด้วยพระศิลา ปางปราบช้างนาฬาคีรี แกะจากหินชนวนดำ (บางตำนานว่าเป็นหินแดง) เป็นฝีมือของช่าปาละของอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่าพระยามังรายได้รับมอบจากพระเถระชาวสิงหล 4 รูปตั้งแต่ครั้งเมื่ออยู่เวียงกุมกาม และ องค์เจดีย์ของวัด ในแบบแผนศิลปกรรมอาจนับได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเชียงใหม่ แม้ว่าจะได้รับการบูรณะมาอีกหลายครั้งก็ตาม วัดเชียงมั่น นับเป็นวัดในตำนาน และอยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่เสมอมา (ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562)
หลักฐานโบราณคดี
เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกัน 2 ชั้น บนฐานประดับปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัวโดยรอบ 15 เชือก และประดับช้างประจำมุม ๆ ละ 1 เชือก ระหว่างช้างปูนปั้นแต่ละเชือก ประดับด้วยเสาลายเป็นภาพหน้าตัดของสถาปัตยกรรมอันประกอบด้วยฐานเขียง 2 ชั้น บัวคว่ำ ประดับลูกแก้วอกไก่ 4 เส้น และบัวหงายรับกับพื้นชั้นบน ของฐานเขียงชั้นที่ 2 ด้านทิศตะวันออกมีบันไดนาค ทอดยาวนับแต่ส่วนบนฐานเขียงชั้นที่ 2 ลงมาจนถึงพื้น ถัดไปเป็นฐานปัทม์ย่อเก็จ คั่นส่วนท้องไม้ด้วยลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น รองรับองค์เรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ 12 องค์ องค์เรือนธาตุแต่ละด้านประดับซุ้มจรนำ ด้านละ 3 ซุ้ม ภายในประดิษฐานสิ่งสักการะ ยกเว้นซุ้มกลางด้านทิศตะวันตกซึ่งปิดทับด้วยประตูจำลองประดับลวดลายปูนปั้น ส่วนบนของซุ้มทั้ง 4 ชั้น ประดับลูกแก้วอกไก่ บัวหงาย และหน้ากระดานรองรับจรนำของแต่ละซุ้ม องค์เรือนธาตุประดับลวดลายปูนปั้น ถัดไปเป็นบัวถลา 2 ชั้น มาลัยเถาแปดเหลี่ยม 4 ชั้น องค์ระฆัง บัลลังก์คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น วงฉัตรโลหะฉลุลายประดับด้วยก้านตาล ปล้องไฉน ปลียอด เม็ดน้ำค้าง วิหาร ทรวดทรงแบบล้านนา แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากการซ่อมแซมกันต่อๆมา อุโบสถ เป็นอาคารลักษณะรูปทรงล้านนา หอไตร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นก่ออิฐฉาบปูน ชั้นบนเป็นไม้ (สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่, ม.ป.ป.)
สภาพพื้นที่
ชุมชนเชียงมั่น ตั้งอยู่ที่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนเมือง เก่าแก่ขนาดกลาง อยู่ในบริเวณคูเมือง ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นสถานที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ หลังจาก 36 เวียงกุมกามล่มสลายลง พญามังรายปฐมกษัตริย์ของล้านนา ก็ได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ บริเวณวัดเชียงมั่น ชุมชนนี้ไม่มีรูปแบบการปกครองที่ชัดเจน อาศัยวัดเชียงมั่นเป็นศูนย์กลาง ของกิจกรรมทางสังคม สร้างความสามัคคีและความเข็มแข็ง ให้กับชุมชน ต่อมาปี พ.ศ. 2544 โดยการนำของนายสมพงษ์ ไชยดี ได้จัดตั้งเป็นชุมชนเชียงมั่นขึ้น กับเทศบาลนครเชียงใหม่ (สัตโยภาส, และสนิท, 2556) มีอาณาเขต ดังนี้
- ทิศเหนือ เริ่มตั้งแต่บริเวณร้านอาหารเขยเชียงใหม่ไป ตามถนนศรีภูมิเรื่อยไป จนถึงสี่ แยกช้างเผือก
- ทิศใต้ เริ่มตั้งแต่บริเวณตลาดบุญอยู่ ถนนราชวิถี ไปจนถึงสี่แยกโรงเรียนยุพราชและ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
- ทิศตะวันออก เริ่มตั้งแต่สี่แยกตลาดบุญอยู่ ไปตามถนนมูลเมือง ซอย 9 เรื่อยไป จนถึง S.U.P คอร์ท จนถึงร้านอาหารเขยเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก เริ่มตั้งแต่สี่แยกโรงเรียนยุพราช ด้านถนนพระปกเกล้าเรื่อยไป ตามแนวถนนจนถึงสี่แยกช้างเผือก
เส้นทาง
จากพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ตรงไปตามถนนอินทรวโรรส ประมาณ 50 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระปกเกล้า ตรงไป 100 เมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนราชวิถี ตรงไป 250 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชภาคินัย ตรงไป 350 เมตร เลี้ยวซ้าย ตรงไปอีก 20 เมตร จะถึงวัดเชียงมั่น (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2563)
มีจำนวนครัวเรือน 91 ครัวเรือน จำนวนประชากร 680 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม เนื่องจากเป็นชุมชนเก่าแก่
ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง มีอาชีพ รับราชการ ค้าขาย ลูกจ้างเอกชน และธุรกิจส่วนตัว
ในรอบ 1 ปี วัดเชียงมั่นซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน จะมีการจัดงานสรงน้ำพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น ในวันที่ 1 - 3 เดือนเมษายน ของทุกปี โดยเปรียบเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลปีใหม่เมืองเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ และบูรพกษัตริย์ที่สร้างบ้านแปงเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู และเพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมือง โดยมีประชาชน และนักท่องเที่ยวมาร่วมพิธีจำนวนมาก พร้อมทั้งจัดทำโรงทานเลี้ยงอาหารฟรีให้แก่ผู้มาร่วมงาน รวมทั้งมีการอัญเชิญพระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และพระศิลาทำจากหินทรายจำลอง อายุกว่า 1 พันปี นำมาให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมือง เป็นวัดแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นงานประเพณีปีใหม่เมืองของจังหวัดเชียงใหม่ (MGR Online, 2559)
นอกจากนี้ ในอดีตวัดเชียงมั่น มีการจัดประเพณีตานก๋วยสลาก ถือเป็นธรรมเนียมว่า จะต้องจัดที่วัดสำคัญก่อน ในจังหวัดเชียงใหม่ จะต้องเริ่มจัดหรือตานก๋วยแรกที่วัดเชียงมั่นก่อนแห่งอื่น เพราะถือว่าเป็นวัดของพญามังรายมหาราช ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ จึงจะจัดประพณีนี้ที่วัดอื่น ๆได้ แต่ปัจจุบันจัดให้มีประเพณีนี้ขึ้นตามสะดวก (ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555)
1.นายสมพงษ์ ไชยดีศรีประพันธ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2493 อาชีพปัจจุบัน ค้าขาย, มัคนายก
วิชาความรู้
- ศาสนพิธีแบบล้านนา
ประวัติการศึกษา
- ประถมศึกษา โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
- บวชเรียน ปี พ.ศ. 2508-2533 น.ธ.เอก
ประวัติการทำงาน
- เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ปี พ.ศ. 2526-2533
- ปัจจุบัน มัคนายก ไวยาวัจกร วัดเชียงมั่น
รางวัลที่เคยได้รับ
- ครูภูมิปัญญาเชียงใหม่เนื่องในวาระเฉลิมฉลอง 720 ปี เมืองเชียงใหม่ จากภาคีเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา (เทศบาลนครเชียงใหม่, 2563)
ทุนวัฒนธรรม คือ สถานที่สำคัญภายในวัดเชียงมั่น ซึ่งเป็นรมณียสถานที่มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุจำนวนมาก ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีความงดงามน่าสนใจ ดังนี้
1. วิหารหลวง พระวิหารใหญ่ หรือวิหารหลวงวัดเชียงมั่น
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด ถัดจากหอไตรรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนา พญามังรายได้ทรงยกพระ ตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น และโปรดให้สร้างเจดีย์ช้างล้อม บริเวณพื้นที่หอ ประทับของพระองค์วิหารของวัดเชียงมั่น มี 2 วิหาร คือ วิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยปัจจุบัน มีภาพจิตรกรรม ฝาผนัง เขียนสีทองบนพื้นแดงงามวิจิตร บอกเล่าเรื่องราวการสร้างเมืองและวัดของพญามังราย (ธนพร เรือนคำ, อุเทน ลาพิงค์, และ ประทีป พืชทองหลาง, 2565, น. 125.)
2. วิหารจตุรมุข หรือวิหารเล็ก
เป็นวิหารเดิมของวัดเชียงมั่น อยู่ข้างวิหารหลาวงด้านทิศเหนือ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และพระศิลา ปางทรมานช้างนาฬาคีรี โดยพระเสตังคมณีเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ ของพระนางจามเทวีแห่งอาณาจักร หริภุญไชย ในปัจจุบันเป็นที่เคารพ สักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ (ธนพร เรือนคำ และคณะ, 2565, น. 126.)
3. หอครูบาเจ้าศรีวิชัย
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นสถานที่ ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง (ธนพร เรือนคำ และคณะ, 2565, น. 129.)
4. พระอุโบสถ
ในเอกสารชั้นต้นกล่าวถึงอุโบสถสร้างมาตั้งแต่ สมัยราชวงศ์มังราย ในสมัยพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้ามังทรา(สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมสนาสนะ กำแพงประตูโขง และในสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้บูรณะศาสนสถานของวัดเชียงมั่นขึ้นอีกครั้ง ปัจจุบันอุโบสถวัดเชียงมั่นเป็นอาคารลักษณะ รูปทรงล้านนา โถงด้านหน้ามีศิลาจารึกวัดเชียงมั่น (ธนพร เรือนคำ และคณะ, 2565, น. 129.)
5. เจดีย์ช้างล้อม
เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม พระเจดีย์ทรงปราสาท รูปแบบเดียวกับเจดีย์หลวงที่ฐานมีช้างล้อมรอบ องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 1840 ครั้งพญามังราย สถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนครเชียงใหม่ สืบมา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อปีพ.ศ. 2478 เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกัน 2 ชั้น บนฐานประดับปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัวโดยรอบ 15 เชือก และประดับช้างประจำมุม มุมละ 1 เชือก ระหว่างช้างปูนปั้นแต่ละเชือก ประดับด้วยเสาลายเป็นภาพหน้าตัดของสถาปัตยกรรมอันประกอบด้วย ฐานเขียง 2 ชั้น บัวคว่ำ ประดับลูกแก้วอกไก่ 4 เส้น และบัวหงายรับกับพื้นชั้นบน ของฐานเขียงชั้นที่ 2 ด้านทิศตะวันออกมีบันไดนาค ทอดยาวนับแต่ส่วนบนฐานเขียงชั้นที่ 2 ลงมาจนถึงพื้น ถัดไปเป็นฐานปัทม์ย่อเก็จ คั่นส่วนท้องไม้ด้วยลูกแก้วอกไก่ 1 เส้นรองรับองค์เรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ 12 องค์ องค์เรือนธาตุแต่ละ ด้านประดับซุ้มจรนำ ด้านละ 3 ซุ้ม ภายในประดิษฐานสิ่งสักการะ ยกเว้นซุ้มกลางด้านทิศตะวันตกซึ่งปิดทับ ด้วยประตูจำลองประดับลวดลายปูนปั้น ส่วนบนของซุ้มทั้ง 4 ชั้น ประดับลูกแก้วอกไก่ บัวหงาย และหน้ากระดานรองรับจรนำของแต่ละซุ้ม องค์เรือนธาตุประดับลวดลายปูนปั้น ถัดไปเป็นบัวถลา 2 ชั้น มาลัยเถาแปด เหลี่ยม 4 ชั้น องค์ระฆัง บัลลังค์ คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น วงฉัตรโลหะฉลุลายประดับด้วยก้านตาล ปล้องไฉน ปลียอด เม็ดน้ำค้าง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นใน รัชสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 21 และมีการซ่อมแซมเพิ่มเติมในพุทธศตวรรษที่ 22 แต่มิได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนใหญ่มากนัก (ธนพร เรือนคำ และคณะ, 2565, น. 127.)
6. พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี
เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเชียงใหม่ มีความเชื่อว่าสามารถคุ้มครองป้องกัน อันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์มงคล แก่ผู้ที่เคารพสักการะ และเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ทำขึ้นจากแก้วสีขาว
ตำนานและความเป็นมาของพระแก้วขาว เกี่ยวเนื่องกับหลายคนและหลายสถานที่ด้วยกัน โดยการกำเนิดของพระแก้วขาว มีตำนานเล่าว่า พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถระเจ้า มีความประสงค์จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิษณุกรรมมาเนรมิตสำเร็จเป็นองค์พระพุทธปฏิมากร สุเทวฤๅษี ผู้สร้างนครหริภุญไชย และฤๅษีองค์อื่นๆ ก็ได้ประชุมช่วยในการสร้างองค์พระด้วย โดยได้บรรจุพระบรมธาตุ 4 องค์ ไว้ในพระโมลี (กระหม่อม) 1 พระนลาต (หน้าผาก) 1 พระอุระ (หน้าอก) 1 พระโอษฐ์ (ปาก) 1 รวม 4 แห่ง เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน ภายหลังจากที่พระนางจามเทวีเสด็จสวรรคต นครหริภุญไชยยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมาถึง 47 พระองค์ด้วยกัน และทุกพระองค์ต่างก็นับถือพระแก้วขาวเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านเมือง จนกระทั่งถึงในสมัยของพระยายีบา กษัตริย์เมืองหริภุญไชยองค์ที่ 47 เมืองหริภุญไชยได้ถูกพญามังราย เจ้าครองนครเงินยวง (เชียงแสน) ยกกองทัพมาปราบ เมืองหริภุญไชยทั้งเมืองถูกเพลิงไหม้จนพ่ายแพ้ แต่หอพระแก้วขาวเป็นเพียงจุดเดียวที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ตามไปด้วย ด้วยความศรัทธาในปาฏิหาริย์นั้น พญามังรายจึงได้อัญเชิญพระแก้วขาวมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์ และทรงเคารพสักการะพระแก้วขาวเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ตั้งแต่นั้น ส่วนพระแก้วขาวก็ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์แก่ผู้ที่เคารพสักการะด้วยเช่นกัน (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ม.ป.ป.)
7. ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น
ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น จารึกหลักที่ 76 เป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ จารึกด้วยตัวอักษรฝักขาม เมื่อปีพ.ศ. 2124 ปัจจุบันตั้งอยู่มุขด้านหน้าพระอุโบสถ ในจารึกกล่าวถึง พระนามของกษัตริย์ 3 พระองค์ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพญาร่วง ร่วมกัน สร้างเมืองเชียงใหม่และการสร้างวัดเชียงมั่น ตลอดจนการทำนุบำรุงวัดนี้จากกษัตริย์และพระราชวงศ์ ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า
เนื้อหาของศิลาจารึก กล่าวถึงประวัติการก่อสร้างวัดเชียงมั่น ตั้งแต่ พ.ศ. 1839 จนถึง พ.ศ. 2124 กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 1839 พญามังรายเจ้า พญางำเมือง และพญาร่วงร่วมกันตั้งหอนอน ณ ราชมณเทียร ขุดคู ก่อกำแพงสามชั้น ทั้ง 4 ด้านและก่อพระเจดีย์ที่บ้านเชียงมั่น แล้วสร้างเป็นวัด ให้ชื่อว่าวัดเชียงมั่น ครั้นปี พ.ศ. 2014 พระดิลกราชเจ้า (พระเจ้าติโลกราช) ได้ทรงก่อพระเจดีย์ด้วยหินแลง, พ.ศ. 2101 สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้าทรงพระราชทานอ่างอาบเงิน และ พ.ศ. 2114 ได้ก่อเจดีย์คร่อมเจดีย์เดิมอีกครั้งหนึ่งมีการสร้างแปลงก่อเจดีย์วิหารอุโบสถ สร้างธรรมเสนาสนะ กำแพง ประตูจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2124 ได้มีการรวบรวมเงิน ที่ดิน และข้าพระจำนวนมากอุทิศแก่อารามแห่งนี้ (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2550)
8. พระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคีรี
เป็นศิลปะแบบคุปตะ ปางประทับยืน พระกรซ้ายทอดยาว ข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับบั้นพระองค์ ฝ่าพระหัตถ์คว่ำยื่นออกมาข้างหน้า แสดงมุทราลูบ ตระพองช้าง ในตํานานหนึ่งกล่าวว่า เปิดฉากด้วยการอ้างถึงบุคคลสำคัญที่มีอยู่จริงในยุคพุทธกาลสองคนคือ พระเจ้าอชาตศัตรู กับพระมหากัสสปะ โดยระบุว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้เพียง 7 ปี 7 เดือน กับ 7 วัน แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่ทางโลก และพระมหากัสสปะ ผู้เป็นใหญ่ทางธรรม ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปที่นำวัสดุ “หินพิมพการ” มาจากท้องมหาสมุทร แล้วให้ช่างแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางเสด็จบิณฑบาตในเวียงราชคฤห์ปราบช้างนาฬาคิรีด้วยความเมตตา รวมทั้งมีรูปพระอานนท์ถือบาตรอยู่ด้านซ้าย (ของพระพุทธรูป แต่เราจะเห็นเป็นด้านขวา) พระพุทธรูปสูง 1 คืบกับ 4 นิ้ว กว้างประมาณ 1 คืบ ในความเป็นจริงนั้น หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปได้ 3 เดือน ชื่อของพระเจ้าอชาตศัตรู กับพระมหากัสสปะ ได้ถูกจารึกไว้ในฐานะของประธานการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของโลกมากกว่า โดยไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่า ขณะที่บุคคลทั้งสองกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกแล้ว ได้มีการสร้างพระพุทธรูปด้วยแต่ประการใด ด้วยเหตุที่อีกหนึ่งความเป็นจริงก็คือ การสร้างพระพุทธรูปขึ้นครั้งแรกของโลกยังไม่เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพ หรือแม้แต่หลังพุทธกาลไปอีกนานตราย 5 ศตวรรษก็ยังไม่มีการสร้างรูปเคารพในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด การหยิบยกเอาพระเจ้าอชาตศัตรูมาเป็นประธานในการสร้างพระพุทธรูปปางทรมานช้างนาฬาคิรีในตำนานครั้งนี้ คงเนื่องมาจากผู้เขียนตำนานเห็นว่า ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างตกมันที่เทวทัตตั้งใจส่งมาจะให้พุ่งชนพระเจ้า เหตุการณ์ตอนนั้นเกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์ กรุงที่พระเจ้าอชาตศัตรูปกครอง และช่วงนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูกำลังหลงผิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในแนวทางของพระเทวทัตอย่างแรงกล้าถึงขนาดเรียกว่า “พระอาจารย์” เหตุนี้กระมัง ตำนานจึงพยายามเชื่อมโยงว่า ผู้สร้างพระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคิรีควรเป็นพระเจ้าอชาตศัตรู ทั้ง ๆ ที่ในความจริง เป็นงานพุทธศิลป์อินเดียสกุลช่างปาละราว พ.ศ. 1400-1500 แล้ว (เพ็ญสุภา สุขคตะ, 2566)
ภาษาที่ใช้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษากำเมือง (ภาษาถิ่นของคนภาคเหนือ)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (ม.ป.ป.). พระแก้วขาว. (ออนไลน์). จาก http://www.science.mju.ac.th/
ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2562, 7 - 13 มิถุนายน). วัดเชียงมั่นกับประวัติ-ตำนานยาวนาน คู่เมืองเชียงใหม่. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. มติชนสุดสัปดาห์. (ออนไลน์).จาก https://www.matichonweekly.com/
เทศบาลนครเชียงใหม่. (2563). ครูภูมิปัญญาด้าน ศาสนพิธี. (ออนไลน์). จาก http://www.cmcity.go.th/
ธนพร เรือนคำ, อุเทน ลาพิงค์ และประทีป พืชทองหลาง. (2565). วัดเชียงมั่น: การพัฒนาตามหลักสัปปายะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ในจังหวัดเชียงใหม่. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(3), 125-131.
เพ็ญสุภา สุขคตะ. (2566, 21 กุมภาพันธ์). ปริศนาโบราณคดี : พระพุทธรูปอินเดียปางทรมานช้างนาฬาคีรี กลายมาเป็น ‘พระศีลาวัดเชียงมั่น’ ได้อย่างไร. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. มติชนสุดสัปดาห์. จาก https://www.matichonweekly.com/
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2550). จารึกวัดเชียงมั่น. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. (ออนไลน์).จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2563). วัดเชียงมั่น. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. (ออนไลน์). จาก https://db.sac.or.th/archaeology/
ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2555). ประเพณีทานก๋วยสลาก. (ออนไลน์). จาก https://lannainfo.library.cmu.ac.th/
สนิท สัตโยภาส. (2556). ภาษากับความมั่นคงในชีวิต: กรณีศึกษาแรงงานพม่าในแขวงนครพิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. (ม.ป.ป.). วัดเชียงมั่น. (ออนไลน์). จาก https://www.finearts.go.th/
MGR Online. (2559). เริ่มแล้ว! เปิดประเพณีปี๋ใหม่เมืองประเดิมวัดแรกของเชียงใหม่. (ออนไลน์). จาก https://mgronline.com/
SummerB. (2565). วัดเชียงมั่น วัดสวย เชียงใหม่ ชมศิลปะล้านนาสุดล้ำค่า เก่าแก่ที่สุดในเมือง. (ออนไลน์). จาก https://travel.trueid.net/