Advance search

ชุมชนเกษตรกรรมที่เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

หมู่ที่ 5
บ้านน้ำจำ
ร้องวัวแดง
สันกำแพง
เชียงใหม่
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 พ.ค. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 พ.ค. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
29 ส.ค. 2023
บ้านน้ำจำ

ตามโบราณประวัติเดิมที่คนผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนว่า เดิมมีบ่อน้ำตื้นบ่อหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านนี้ มีน้ำขังอยู่ตลอดปี ทุกฤดูกาลใช้เป็นน้ำดื่มกินของชาวบ้าน และสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ดังนั้นชาวบ้านที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้จึงพากันเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านน้ำจำ" มาจนถึงทุกวันนี้


ชุมชนชนบท

ชุมชนเกษตรกรรมที่เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

บ้านน้ำจำ
หมู่ที่ 5
ร้องวัวแดง
สันกำแพง
เชียงใหม่
50130
18.757520316724296
99.15744412474983
องค์การบริหารส่วนตำบลร้องวัวแดง

ตามโบราณประวัติเดิมที่คนผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนว่า เดิมมีบ่อน้ำตื้นบ่อหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านนี้ มีน้ำขังอยู่ตลอดปี ทุกฤดูกาลใช้เป็นน้ำดื่มกินของชาวบ้าน และสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ดังนั้นชาวบ้านที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้จึงพากันเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านน้ำจำ" มาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้ ศาสนสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ วัด ยังตั้งชื่อเรียกตามหมู่บ้านอีกด้วย วัดน้ำจำ เริ่มสร้างมาเป็นเวลานานประมาณ 350 ปี ในสมัยโบราณไม่มีการขออนุญาตให้สร้างวัด แล้วแต่ผู้คนที่มีจิตศรัทธาในหมู่บ้านไหนจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจของคนในหมู่บ้าน

วัดน้ำจำ เริ่มแรกได้มีหลวงพ่อเตจ๊ะ ได้มาดำรงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 1 ได้สร้างพระวิหารขึ้นหลังหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นวันเดือนปีอะไร เพราะไม่มีใครบันทึกหลักฐานไว้ และต่อมาได้มีหลวงพ่อคุณะ มาดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ในตำนานไม่ปรากฏว่าท่านได้สร้างอะไรไว้ จนกระทั่งหลวงพ่อคุณะได้จาริกไปต่างแดน ทางวัดน้ำจำจึงไม่มีพระเณรดูแลรักษา ทางคณะศรัทธาจึงไปขออาราธนากราบนิมนต์หลวงปู่พระครูแก้ว ชยเสโน ซึ่งไปศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดชัย สถานสันต้นดู่ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด ให้กลับมาดูแลรักษาวัด และอบรมสั่งสอนญาติโยมแทนหลวงพ่อคุณะ เมื่อเดือน 10 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2542 อยู่ดูแลรักษาวัดรอหลวง พ่อคุณะ นาน 4 พรรษา หลวงพ่อยังไม่กลับ ต่อมาเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2446 ท่านเจ้าคุณอภัยสารทะ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดฝายหิน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้เรียกไปหาและแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำจำ

บ้านน้ำจำอยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลร้องวัวแดง ระยะทางห่างจากศูนย์ราชการอำเภอสันกำแพงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร 

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลออนใต้และตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลทรายมูลและตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 340 เมตร ลาดเอียงมาทางทิสตะวันตก และมีคลองชลประทาน เช่น ลำน้ำกวง ลำน้ำแม่ออน เหมืองเปา และเหมืองฮ้อ ไหลผ่านเป็นสายหลักของเกษตรกร ส่วนสภาพดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืช

ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ 

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร์ เดือนมกราคม 2566 ระบุว่า หมู่ที่ 5 บ้านน้ำจำ มีประชากรเพศชายจำนวน 116 คน เพศหญิงจำนวน 127 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 243 คน

ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน นาปี และนาปรัง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

งานประเพณีและงานประจำปี ได้แก่

  • ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม
  • งานของดีอำเภอสันกำแพง เดือนธันวาคม-มกราคม
  • งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเชียงใหม่ เดือนกุมภาพันธ์
  • ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ เดือนพฤษภาคม
  • ประเพณีวันสงกรานต์ เดือนเมษายน
  • ประเพณีวันลอยกระทง เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
  • ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา เดือนกรกฎาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน

1.นายบุญส่ง แสนถา ปราชญ์วัฒนธรรมด้านการแสดงวัฒนธรรม

2.พ่อทวี โปธาวงศ์ ปราชญ์ภูมิปัญญาด้านเกษตรพืชพันธ์ุไม้พื้นบ้าน

3.นายสุทัศน์ วงศ์แสง ปราชญ์ภูมิปัญญาด้าน ฃไม้แกะสลัก

4.นางศิริรัตน์ อนันคำ ปราชญ์ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน เย็บผ้า กระเป๋า

5.แม่บุญเป็ง ศรีสวัสดิ์ ปราชญ์ภูมิปัญญาด้านการทำบายศรี หมากสุ่ม หมากเบง

อาหารในชุมชนที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ หลามปลากระบอกไม้ไผ่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย ข้าวเงี้ยว อาหารพื้นบ้านแบบขันโตก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล แคบหมู ไส้อั่ว จอผักกาด 

ประชากรส่วนมากร้อยละ 90 พูดภาษาพื้นเมืองภาคเหนือหรือกำเมือง และใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารทางการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ดิเรก อินจันทร์, อภิรักษ์ ตาเสน และดลยา แก้วคำแสน. (2558). การจัดทำฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลานและศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนจากคัมภีร์ใบลาน วัดน้ำจำ ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

พิสุทธิลักษณ์ บุญโต. (2558). การสำรวจสถานภาพและประเมินสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัดน้ำจำ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่.

องค์การบริหารส่วนตำบลร้องวัวแดง. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไป. จาก https://www.rongwuadang.go.th/

ThailandVillageAcademy. (2564). ชุมชนบ้านน้ำจำ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่. จาก https://www.thailandvillageacademy.com/