ชุมชนแม่โจ้เป็นชุมชนชานเมืองในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นย่านสถานศึกษาที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มาของชื่อชุมชนมาจากชื่อของลำน้ำหรือลำห้วยแม่โจ้ ซึ่งในอดีตเป็นแม่น้ำที่ใช้ในการเกษตรของคนในชุมชนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรได้ลดลงการดูแลลำห้วยมีน้อยทำให้วัชพืชปกคลุมทำให้น้ำไหลได้น้อยไปได้ช้าเวลาฤดูน้ำหลากกัดเซาะตลิ่ง
ชุมชนแม่โจ้เป็นชุมชนชานเมืองในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นย่านสถานศึกษาที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เทศบาลเมืองแม่โจ้ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลแม่โจ้เป็นเทศบาลตำบลแม่โจ้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 และมีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมืองแม่โจ้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 มีฐานะเป็นนิติบุคคล ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่ที่ 15 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเทศบาลเมืองแม่โจ้ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 19.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,155 ไร่ครอบคลุมพื้นที่ 3 เมือง คือตำบลหนองหาร ตำบลป่าไผ่ และตำบลหนองจ๊อม และประกอบด้วย 19 ชุมชน ดังนี้
ตำบลหนองหาร มีจำนวน 13 ชุมชน คือ
- หมู่ที่ 1 ชุมชนแม่เตาไห 1
- หมู่ที่ 1 ชุมชนแม่เตาไห 2
- หมู่ที่ 2 ชุมชนป่าบง
- หมู่ที่ 3 ชุมชนป่าขาม
- หมู่ที่ 3 ชุมชนห้วยเกี๋ยง
- หมู่ที่ 4 ชุมชนแม่โจ้
- หมู่ที่ 5 ชุมชนสหกรณ์นิคม 1
- หมู่ที่ 5 ชุมชนสหกรณ์นิคม 2
- หมู่ที่ 6 ชุมชนทุ่งป่าเก็ด
- หมู่ที่ 9 ชุมชนทุ่งหมื่นน้อย
- หมู่ที่ 10 ชุมชนเกษตรใหม่
- หมู่ที่ 11 ชุมชนไร่สหกรณ์
- หมู่ที่ 12 ชุมชนแม่โจ้ใหม่
ที่มาของชื่อชุมชนมาจากชื่อของลำน้ำหรือลำห้วยแม่โจ้ ซึ่งในอดีตเป็นแม่น้ำที่ใช้ในการเกษตรของคนในชุมชนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรได้ลดลงการดูแลลำห้วยมีน้อยทำให้วัชพืชปกคลุมทำให้น้ำไหลได้น้อยไปได้ช้าเวลาฤดูน้ำหลากกัดเซาะตลิ่ง พื้นฐานจากเศรษฐกิจของชุมชนแม่โจ้อยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งมีลักษณะทางสังคมวิทยาแบบกึ่งชนบท คือ อยู่ระหว่างความเป็นเมืองและความเป็นชนบท คนในชุมชนจะมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปตามสภาพของความเป็นเมือง และความทันสมัยได้แพร่เข้ามาในท้องถิ่น ซึ่งเกิดหมู่บ้านจัดสรรหลายโครงการ มีจำนวนสถานประกอบการขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของชุมชนเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำทางการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ อาชีพหลักภายในชุมชน คือ อาชีพทางการเกษตรและรับจ้างทั่วไป
ที่ตั้ง
ชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1001 (ถนนสายเชียงใหม่-พร้าว) มีพื้นที่ทั้งสิ้น 19.46 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ด้านทิศเหนือ : หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่แนวเส้นแบ่งเขตอำเภอสันทรายกับอำเภอแม่ริม ตรงจุดที่แนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอสันทรายกับอำเภอแม่ริมบรรจบกับแนวริมห้วยเตาไห ฝั่งเหนือ บริเวณพิกัด MA 985934
จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นเลียบริมห้วยเตาไห ฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย กับเทศบาลตำบลหนองหาร ไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1001 (เชียงใหม่-พร้าว) ไปทางตะวันออกตรงคอสะพานเตาไหฝั่งเหนือ บริเวณพิกัด MA 991934 รวมระยะประมาณ 650 เมตร
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงตามแนวแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทรายกับเทศบาลตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมคลองส่งน้ำชลประทานแม่แฝก ฝั่งตะวันตก บริเวณพิกัด MA 998937 รวมระยะทางประมาณ 900 เมตร
ด้านทิศตะวันออก
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นทางเลียบริมคลองชลประทานแม่แฝกฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นเส้นทางแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย กับเทศบาลตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งอยู่ตรงบริเวณริมคลองชลประทานแม่แฝกฝั่งตะวันตก เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย กับเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย บริเวณพิกัด MA 038888 รวมระยะประมาณ 9,000 เมตร
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบริมคลองส่งน้ำชลประทานเหมืองแม่แฝก ซอย 13 ฝั่งตะวันตกบรรจบกับริมน้ำเหมืองฮ่อ ถึงหลักเขตที่ 5 บริเวณพิกัด NA 039879 รวมระยะประมาณ 1,000 เมตร
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นทางตรงแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทรายกับเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ริมลำเหมืองแม่ดู่ ฝั่งเหนือตรงจุดที่อยู่จากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1001 ตอนเชียงใหม่-สันทราย ตามแนวริมเหมืองแม่ดู่ฝั่งเหนือ 200 เมตร ถึงหลักเขตที่ 6 บริเวณพิกัด NA 049871 รวมระยะทางประมาณ 1,400 เมตร
ด้านทิศใต้: จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นทางเลียบแบ่งเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย และเทศบาลตำบลสันทรายหลวง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เลียบริมเหมืองแม่ดู่ ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหนองจ๊อมกับตำบลป่าไผ่ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 7 บริเวณพิกัด NA 037862 รวมระยะประมาณ 2,000 เมตร
จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเลียบริมเหมืองแม่ดู่ไปทางทิศตะวันตกบรรจบกับลำเหมืองแม่ฮ่อ ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้ กับเทศบาลตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย เลียบตามแนวเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองจ๊อม (ป่าช้าบ้านท่าเกวียน) ไปทางลำเหมืองฮ่อทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตที่ 8 ตัดกับลำเหมืองฮ่อฝั่งใต้ ซึ่งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001 เชียงใหม่-พร้าวฟากตะวันออก บริเวณพิกัด NA 019862 รวมระยะประมาณ 2,000 เมตร
จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบลำเหมืองฮ่อผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1001เชียงใหม่-พร้าว ทางทิศตะวันตกเลียบเข้าแนวเขตหมู่บ้านแม่โจ้คันทรี 1 ผ่านเข้าโครงการหมู่บ้านแลนด์ แอนด์ เฮาส์เลียบลำเหมืองห้วยตอง บริเวณซอย 12 หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถึงหลักเขตที่ 9 บริเวณพิกัด NA 006854 บรรจบลำน้ำคาว (ลำเหมืองแก้ว) ซึ่งตั้งอยู่ตรงแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้กับเทศบาลตำบลหนองจ๊อม อำเภอ สันทราย รวมระยะประมาณ 2,200 เมตร
ด้านทิศตะวันตก: จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นเลียบลำน้ำคาว (ลำเหมืองแก้ว) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทรายกับองค์การบริหารส่วนตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เลียบลำน้ำคาวไปบรรจบแนวเขตแบ่งเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม บรรจบกับหลักเขตที่ 1 รวมระยะประมาณ 10,000 เมตร
สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปภายในชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้ เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับการเกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญภายในชุมชนคือคลองชลประทาน ลำเหมืองแม่โจ้ ลำเหมืองร้องขี้ทูต
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของเทศบาลเมืองแม่โจ้ มี 3 ฤดู ตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย
- ฤดูฝน โดยได้รับอิทธิพล จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลางเดือนพฤษภาคม จะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ถึงกลางเดือนตุลาคมมีปริมาณฝนไม่มากนักโดยมีฝนเป็นระยะๆ
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพล จากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็น ตอนบนของภาครวมถึงบริเวณเทือกเขาและยอดดอย
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนเริ่มปกคลุมประเทศไทยตอนบนส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส
สถิติประชาการทางการทะเบรยนราษฎร เมื่อเดือนมกราคม 2566 ระบุว่าหมู่ที่ 4 แม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรเพศชายจำนวน 1,166 คน เพศหญิง จำนวน 1,897คน รวมเป็นทั้งสิ้น จำนวน 3,063 คน
ลำน้ำที่สำคัญของชุมชน คือ ลำน้ำห้วยโจ้ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะมีประเพณีที่สำคัญ คือ พิธีสืบจ๊ะต๋า (สืบชะตา) ลำน้ำห้วยแม่โจ้
1.นางนฤมล ชัยภูมิ ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตกระเป๋า
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร คือ ภาษาไทยกลาง และภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ หรือคำเมือง
งานการศึกษา สำนักปลัด เทศบาลเมืองแม่โจ้. (ม.ป.ป.). ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลเมืองแม่โจ้. เชียงใหม่ : ผู้แต่ง.
งานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัด เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (2559). แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ผู้แต่ง.
จุติชัย ด้วงลำพันธ์, เยาวนิตย์ ธาราฉาย, เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง, ศิริชัย หงษ์วิทยากร และปรัชมาศ ลัญชานนท์. (2556). การพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายใต้แนวคิดชุมชนนิเวศ กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 2, น. 1-12, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เทศบาลเมืองแม่โจ้. (2566). ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน. เข้าถึงจาก http://www.maejocity.go.th/
วัชรพงษ์ หนูชัย, วรพงศ์ ตระการศิรินนท์ และรวีวรรณ แพทย์สมาน. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เทศบาลเมืองต้นเปา กับประธานชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้. วารสารสหวิทยาการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(3), 85-95.