Advance search

ชุมชนติดริมน้ำ ริมทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี ลักษณะพื้นที่จึงลาดชันลงสู่แม่น้ำ พื้นดินเป็นเนินสูงแต่บ้านเป็นที่ลาดต่ำคล้ายกับเมืองลับแล

บ้านลับแล
วารินชำราบ
วารินชำราบ
อุบลราชธานี
เทศบาลวารินชำราบ โทร. 0-4526-9680
สุธาสินี บุญเกิด
13 ม.ค. 2023
สุธาสินี บุญเกิด
28 มี.ค. 2023
บ้านลับแล


ชุมชนติดริมน้ำ ริมทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี ลักษณะพื้นที่จึงลาดชันลงสู่แม่น้ำ พื้นดินเป็นเนินสูงแต่บ้านเป็นที่ลาดต่ำคล้ายกับเมืองลับแล

บ้านลับแล
วารินชำราบ
วารินชำราบ
อุบลราชธานี
34190
15.203639
104.860989
เทศบาลเมืองวารินชำราบ

บ้านลับแลเป็นชุมชนที่ติดอยู่กับสถานีรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2474 เดิมเป็นที่รกร้างชาวบ้านจึงเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนั้น ระหว่างรองานก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่มีแผนขยายถึง จ.นครพนม แต่เมื่อไม่มีการก่อสร้างทางรถไฟต่อ ชาวบ้านจึงปักหลักถิ่นฐานที่นี่ ขณะเดียวกันมีการอพยพกลุ่มคนจากที่อื่นเข้ามาทำมาหากิน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ใช้แรงงานเป็นกรรมกรแบกหาม กลุ่มแรกเข้ามา พ.ศ. 2490 คือ พ่อใหญ่เพ็ง ยายหอม ท้าวอานนท์ ช่วงก่อนปี 2540 จำนวนครัวเรือนทั้งหมดไม่เกิน 50 หลังคาเรือน มีไฟฟ้าใช้เป็นบางส่วน ไม่มีน้ำประชา ถนนลูกรัง การคมนาคมอาศัยรถม้า รถสามล้อถีบ ก่อนที่ชุมชนบ้านลับแลจะเริ่มขยับขยายเป็นชุมชนเข้าลักษณะชุมชนแออัด เพราะพื้นที่ไม่ได้ขยายตัวแต่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น

กระทั่งการรถไฟแห่งประเทศไทยประกาศขยายเขตสถานีรถไฟทับชุมชน ช่วงนั้นชาวบ้านบางรายไปขอออกโฉนดก็ถูกจับดำเนินคดี จนมีการเจรจาให้ชาวบ้านจ่ายค่าเช่าที่ดินให้การรถไฟฯ ซึ่งชาวบ้านจำยอมตกเป็นผู้เช่าที่ดินในสัญญาระยะยาว 30 ปี ตารางเมตรละ 7 บาท โดยเป็นอัตราค่าเช่าก้าวหน้าที่ค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ถัดมาปี พ.ศ. 2555-2556 ชาวบ้านขอเจรจาเรียกร้องสิทธิที่ดินให้เป็นโฉนดชุมชน เพื่อให้ชีวิตมีความมั่นคงโดยผ่าน พอช. จึงหยุดการจ่ายค่าเช่าระหว่างกระบวนการเจรจาให้เสร็จสิ้น กระทั่งปี 2564 การรถไฟได้ส่งหนังสือทวงค่าเช่าและทวงค่าปรับรวบยอด (ประชาไท, 2564) ชุมชนจึงรวมตัวออกมาเรียกร้องในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพื่อหาทางออกร่วมกัน  

ชุมชนบ้านลับแล ตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานีประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ติดกับสถานีรถไฟ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ กุดปลาขาว
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแหลมทอง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สถานีรถไฟและเทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านกุดเป่ง

ลักษณะภูมิศาสตร์ของชุมชนส่วนใหญ่มีพื้นที่ลาดชันลงสู่แม่น้ำ เนื่องจากเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมน้ำ จึงทำให้ชาวบ้านปลูกบ้านในลักษณะลาดชันตามพื้นที่และชิดริมถนน ลักษณะของที่ดินเป็นเนินสูงแต่บ้านเป็นที่ลาดต่ำคล้ายกับเมืองลับแล (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น. 77-78)

ชุมชนบ้านลับแลประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 366 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 1,479 คน แบ่งเป็นเพศชาย 606 คน เพศหญิง 873 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี 300 คน อายุระหว่าง 26-59 ปี 600 คน อายุ 60 ปีขึ้นไป 120 คน (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น. 78)

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของชุมชนก่อนปี พ.ศ. 2540 ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น แบกหาม รับจ้างเข็นผักส่งในตลาด ขายผักในตลาด ขายก๋วยเตี๋ยว ถีบสามล้อ ขับรถม้า ขณะเดียวกันมีกลุ่มคนอพยพหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาทำมาหากิน แต่มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้ซื้อที่ดิน อพยพเข้ามาตามเครือญาติ จากการสัมภาษณ์ “อพยพเข้ามาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2490 คือ พ่อใหญ่เพ็ง ยายหอม ท้าวอานนท์” จำนวนครัวเรือนทั้งหมดยังไม่ถึง 50 หลังคาเรือน มีไฟฟ้าใช้เป็นบางส่วน ไม่มีน้ำประชา ถนนลูกรัง การคมนาคมอาศัยรถม้า รถสามล้อถีบ

พื้นที่ของชุมชนอยู่ติดกับสถานีรถไฟมีการขนถ่ายสินค้าอยู่เป็นประจำ มีโกดังเก็บสินค้าของรถไฟสำหรับใช้เก็บสินค้ารอการขนย้ายเข้าไปยังกรุงเทพฯ จึงทำให้มีชาวบ้านเข้าไปทำงานเป็นกรรมกรแบกหามขนย้ายสินค้าเข้าโกดัง และขึ้นตู้โบกี้รถไฟ

การครอบครองที่ดินถูกจัดสรรโดยภาครัฐในฐานะเป็นเจ้าขอกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเจ้าหน้าที่การรถไฟจัดเก็บค่าเช่าที่ดินในอัตราตารางเมตรละ 7 บาท ชาวบ้านทุกคนไม่มีสิทธิ์ถือครองเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เพราะฉะนั้นการถือครองที่ดินทำกินจึงทำได้เฉพาะปลูกบ้าน ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ชาวบ้านปลูกบ้านแบบถาวร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 จึงได้อนุญาตให้ปลูกบ้านถาวรซึ่งการทางรถไฟเห็นว่าเป็นหมู่บ้านและประชาชนอยู่กันหนาแน่นแล้ว ส่วนชาวบ้านที่อพยพมาอยู่ทีหลังก็จะให้จ่ายค่าครอบครองที่ดินให้กับคนที่อยู่ก่อน ภายหลังจึงได้มีการจัดระเบียบอัตราค่าเช่าใหม่

ช่วงระยะต่อมาหลังปี พ.ศ. 2540 การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ยังคงรับจ้างและใช้แรงงานเป็นหลัก เมื่อก้าวเข้ามาสู่ยุคทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ อาชีพรับจ้างก็มีหลากหลายมากขึ้น จำนวนประชากรที่อพยพเข้ามามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการขยายตัว แต่มีข้อจำกัดของพื้นที่ไม่สามรถรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การดำรงชีพ วัฒนธรรมปลี่ยนไปจากเดิม วัฒนธรรมดั้งเดิมเริ่มเปลี่ยนไป การแข่งขันและอัตราค่าครองชีพสูงขึ้น เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้เข้าหลักเกณฑ์ของคำว่า “ชุมชนแออัด” (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น. 78-80)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

บ่อน้ำพุร้อน แหล่งน้ำที่ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี ตั้งอยู่บริเวณกลางบ้านซึ่งชาวบ้านทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ และแม่น้ำกุดปลาขาว แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชุมชน (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น. 79)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การรถไฟแห่งประเทศไทย
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์. (2553). การรับรู้และตีความเศรษฐกิจพอเพียงในมโนทัศน์ของชาวอีสาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประชาไท. (2564). ‘ชุมชนลับแล’ ถูก รฟท.เรียกเก็บค่าเช่าโหด ไม่จ่ายใน 15 วันขู่ดำเนินคดี ชาวเมืองอุบลฯ บุกศาลากลางฯ ทวงหาความเป็นธรรม. จาก https://prachatai.com/journal/

เทศบาลวารินชำราบ โทร. 0-4526-9680