Advance search

บ้านทุ่งแป้งเป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ ชุมชนท้องถิ่นที่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ มีวัดมงคลทุ่งแป้งเป็นวัดเก่าแก่ มีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป ภายในวัดปรากฎซากโบราณสถาน ได้แก่ ซุ้มประตูโขงทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีวิหารเก่าที่มีความสวยงามภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งวิหารดังกล่าวปัจจุบันได้รับการบูรณะเป็นที่เรียบร้อยแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และความสวยงามดั้งเดิม

ท่าวังพร้าว
สันป่าตอง
เชียงใหม่
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 มิ.ย. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 มิ.ย. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
29 ส.ค. 2023
บ้านทุ่งแป้ง

ที่มาของชื่อทุ่งแป้ง พบว่า มีเรื่องเล่า 3 แนวทาง คือ

แนวทางแรก ก่อนนั้นบ้านทุ่งแป้งแห้งแล้งมาก ไม่มีร่องน้ำระบายสู่ทุ่ง ดินขาวราวกับแป้งจึงเรียกชื่อว่า บ้านทุ่งแป้ง บ้านทุ่งแป้งอยู่ฝั่งตะวันออกน้ำแม่ขาน เดิมมีบ้านเรือนราว 60 หลังคา บ้านสบอาวอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่ขานมีราว 30 หลังคา ทั้งสองหมู่บ้านอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีน้ำแม่ขานไหลผ่ากลาง เป็นเรื่องราวเล่าขานนานกว่า 601 ปีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ.2495

แนวทางที่สอง บ้านทุ่งแป้งมีพื้นที่นาตั้งแต่หัวขัว (สะพาน) แม่ขาน เลียบขึ้นเหนือตามลำน้ำแม่ขาน ชื่อว่า ทุ่งแป้ง เพราะมีการปั้นแป้งเหล้าแล้วนำไปตากแดดที่กลางทุ่ง แป้งนี้จะนำมาคลุกข้าวเหนียว หมักไว้ในปี๊บหรือถังนาน 2-3 เดือน แล้วนำไปต้มในหม้อ ทำการกลั่นเป็นเหล้า

แนวทางที่สาม บ้านทุ่งแป้งนั้นเดิมมี 2 พี่น้อง ชื่อปู่โต้งกับย่าโต้ง มีอาชีพปั้นแป้งเหล้าขาย จึงเรียกทุ่งกว้างนี้ว่า “โต้งแป้ง” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ทุ่งแป้ง” ทั้งนี้เพราะ โต้ง” เป็นภาษาไทยพายัพ (คำเมือง) แปลเป็นภาษาไทยกลางว่า “ทุ่ง”


ชุมชนชนบท

บ้านทุ่งแป้งเป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ ชุมชนท้องถิ่นที่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ มีวัดมงคลทุ่งแป้งเป็นวัดเก่าแก่ มีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป ภายในวัดปรากฎซากโบราณสถาน ได้แก่ ซุ้มประตูโขงทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีวิหารเก่าที่มีความสวยงามภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งวิหารดังกล่าวปัจจุบันได้รับการบูรณะเป็นที่เรียบร้อยแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และความสวยงามดั้งเดิม

ท่าวังพร้าว
สันป่าตอง
เชียงใหม่
50120
18.53247074228747
98.85884703811526
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว

ชุมชนทุ่งแป้งมีที่มาของชื่อ 3 แนวทาง คือ

แนวทางแรก ก่อนนั้นบ้านทุ่งแป้งแห้งแล้งมาก ไม่มีร่องน้ำระบายสู่ทุ่ง ดินขาวราวกับแป้งจึงเรียกชื่อว่าบ้านทุ่งแป้ง บ้านทุ่งแป้งอยู่ฝั่งตะวันออกน้ำแม่ขาน เดิมมีบ้านเรือนราว 60 หลังคา บ้านสบอาวอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่ขานมีราว 30 หลังคา ทั้งสองหมู่บ้านอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีน้ำแม่ขานไหลผ่ากลาง เป็นเรื่องราวเล่าขานนานกว่า 601 ปีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ.2495

แนวทางที่สอง บ้านทุ่งแป้งมีพื้นที่นาตั้งแต่หัวขัว(สะพาน)แม่ขาน เลียบขึ้นเหนือตามลำน้ำแม่ขาน ชื่อว่าทุ่งแป้งเพราะมีการปั้นแป้งเหล้าแล้วนำไปตากแดดที่กลางทุ่ง แป้งนี้จะนำมาคลุกข้าวเหนียว หมักไว้ในปี๊บหรือถังนาน 2-3 เดือน แล้วนำไปต้มในหม้อ ทำการกลั่นเป็นเหล้า

แนวทางที่สาม บ้านทุ่งแป้งนั้นเดิมมี 2 พี่น้อง ชื่อปู่โต้งกับย่าโต้ง มีอาชีพปั้นแป้งเหล้าขาย จึงเรียกทุ่งกว้างนี้ว่า "โต้งแป้ง" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ทุ่งแป้ง" ทั้งนี้เพราะ "โต้ง" เป็นภาษาไทยพายัพ (คำเมือง) แปลเป็นภาษาไทยกลางว่า "ทุ่ง"

ชุมชนบ้านทุ่งแป้งเป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ โดยวัดมงคล เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

วัดมงคลเดิมชื่อวัดทุ่งแป้ง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2350 บูรณะครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ วิหารศิลปะล้านนาเป็นอาคารขนาดย่อม ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน เสาไม้แปดเหลี่ยมผนังก่ออิฐถือปูนหลังคา 3 ชั้น หน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักและกระจกสีมีช่อฟ้าและปั้นลม ปัจจุบันยังคงใช้งานอยู่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซุ้มประตู (ซุ้มโขง) ขนาดเล็ก (สำหรับคนเดินผ่าน) ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก มีมุขยื่นทั้งสองด้านก่ออิฐถือปูน นอกจากนั้น ต่อมาได้นำโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบในวัด ได้แก่ ข้าวของเครื่องใช้ของพระภิกษุสงฆ์แต่เดิม และวัตถุที่ชาวบ้านที่มีจิตศรัทธานำมาถวายในอดีต โดยนำมาจัดแสดงภายในตู้กระจกภายในวิหารของวัด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จองพระเจ้า

จองคำ จองพระเจ้า หรือเตียงนอนพระเจ้า เป็นงานศิลปกรรมที่จำลองมาจากเตียงนอนของกษัตริย์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ามีวรรณะเป็นกษัตริย์มาก่อนที่จะทรงออกบวช จองคำหลังนี้ มีขนาด ยาว 86.0 ซม. กว้าง 46.0 ซม. สูง 111.0 ซม. อายุประมาณ 116 ปี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1145 แต่เดิมเป็นของวัดหมื่นสาร ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ที่วัดมงคลทุ่งแป้ง ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงมาอยู่ที่วัดมงคลทุ่งแป้งและช่วงระยะเวลาที่ได้มา ลักษณะทำมาจากไม้สัก ลักษณะหลังเปียงไม่มียอด มีประดับตกแต่งด้วยการลงรักปิดทองเขียนตกแต่งด้วยลายดอกไม้ ด้านบนประดับด้วยกระจกจีน มีคำจารึกเป็นอักษรธรรมล้านนา สรุปใจความได้ว่า “สุวรรณมัญจาจองคำอันนี้ สร้างเมื่อจุลศักราช 1261 เดือนห้าเป็ง เม็งวันสี่ไต โดยอ้ายปันและครอบครัวได้ถวายเพื่อค้ำชูศาสนาแก่วัดหมื่นสาร” คติความเชื่อในการสร้างจองคำหรือจองพระเจ้านั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าการสร้างจองคำ หรือจองพระเจ้า อันเป็นเครื่องสักการบูชาแก่พระพุทธเจ้า หากผู้ใดถวายจะได้อานิสงค์ผลบุญอย่างมาก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่นอกตู้จัดแสดง บริเวณด้านข้างพระประธานในวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

หน้าบัน

หน้าบัน ในอดีตอาจใช้ในการประกอบเป็นส่วนหนึ่งของหน้าบันปราสาทหรือธรรมาสน์หลวง เจ้าอาวาสรุ่นก่อนได้มีการเก็บรักษาเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าประโยชน์ใช้สอยคือเช่นไร และมาจากวัดมงคลทุ่งแป้งหรือไม่ หน้าบันชิ้นนี้ มีขนาด กว้าง 55.5 ซม. สูง 50.5 ซม. หนา 3.2 ซม. ทำจากไม้ ลักษณะรูปทรงแบบสามเหลี่ยมโดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีตัวเหงาหรือหางวันในภาษาเหนือขนาบทั้งสองข้างมีการลงรักทาชาดปิดทอง โดยบริเวณตัวเหงาเป็นรูปดอกลายประจำยามแล้วมีเส้นขอบสองเส้น ส่วนตรงกลางเป็นรูปดอกไม้บานบนต้น ตัวเหงานอกจากมีบทบาทสำคัญสำหรับลายไทยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในด้านสถาปัตยกรรมของไทยอีกด้วย โดยเฉพาะในภาคเหนือที่นิยมนำรูปทรงตัวเหงามาประกอบการออกแบบตกแต่งได้อย่างลงตัว เช่น ราวบันได ซุ้มประตู และขอบคิ้วต่าง ๆ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่นอกตู้จัดแสดง บริเวณด้านข้างพระประธานในวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ. (2566). พิพิธภัณฑ์วัดมงคลทุ่งแป้ง. จาก https://www.navanurak.in.th/watmongkol/

เทพชัย ทรัพย์นิธิ และคณะ. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบพิพิธภัณฑ์และระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นต้นแบบสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). วัดมงคล (ทุ่งแป้ง). จาก https://culturalenvi.onep.go.th/