Advance search

หมู่บ้านเทอดไทยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจและเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม มีคนหลายกลุ่มอาศัยอยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย

หมู่ที่ 1
บ้านเทอดไทย
เทอดไทย
แม่ฟ้าหลวง
เชียงราย
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 พ.ค. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 มิ.ย. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
29 ส.ค. 2023
บ้านเทอดไทย

เดิมทีบ้านเทอดไทยมีชื่อเรียกว่าบ้านหินแตก อยู่ห่างจากเชียงราย 66 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2511 ขุนส่าเคยเข้ามาใช้เป็นฐานที่มั่นในฐานะผู้นํากองทัพกู้ชาติไต “ขุน” เป็นคําที่ประชาชนรัฐฉานเรียกบุคคลที่ให้ความเคารพนับถือ ที่มาของชื่อหินแตก มาจากมีหินก้อนหนึ่งที่น้ำแม่คำ และน้ำห้วยดอยแสงไหลมาบรรจบกัน จนหินก้อนดังกล่าวแตกออกแต่ไม่แยกจากกัน เลยเอาชื่อของหินก้อนนี้มาเรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน แต่ต่อมาในปี 2525 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อเป็น "บ้านเทอดไทย"


หมู่บ้านเทอดไทยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจและเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม มีคนหลายกลุ่มอาศัยอยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย

บ้านเทอดไทย
หมู่ที่ 1
เทอดไทย
แม่ฟ้าหลวง
เชียงราย
57240
20.248536726945858
99.6525615079474
องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย

บ้านเทอดไทย เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย ในอดีตชาวจีนฮ่อเคยอพยพมาอาศัยอยู่ จากนั้น กลุ่มคนบนพื้นที่สูงหลายกลุ่มในบริเวณดอยใกล้เคียงย้ายเข้ามาอาศัย มาประกอบอาชีพกสิกรรมและค้าขาย โดยมีผู้นำหมู่บ้านชื่อ ขุนส่า ซึ่งเป็นชาวจีน เข้ามาอาศัยเพื่อเป็นฐานที่มั่นให้กับกองกำลังตอนรวมกำลังสู้เอาเอกราชคืนจากพม่าให้รัฐฉาน แต่ต่อมาขุนส่ากลับกลายเป็นราชายาเสพติดระดับโลก ทำให้รัฐบาลไทยเข้ามาปราบปรามและขับไล่ออกไปได้ในที่สุด

เดิมทีบ้านเทอดไทยมีชื่อเรียกว่า บ้านหินแตก มาจากมีหินก้อนหนึ่งที่น้ำแม่คำ และน้ำห้วยดอยแสงไหลมาบรรจบกัน จนหินก้อนดังกล่าวแตกออกแต่ไม่แยกจากกัน เลยเอาชื่อของหินก้อนนี้มาเรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน แต่ต่อมาในปี 2525 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อเป็น "บ้านเทอดไทย"

ปัจจุบันบ้านเทอดไทยเป็นชุมชนที่เงียบสงบ ด้วยพหุวัฒนธรรมทั้งชาวจีน ชาวเขาอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน อาหารขึ้นชื่อ ซึ่งเป็นอาหารสไตล์จีนยูนนาน เช่น ขาหมูพะโล้ทานคู่กับหมั่นโถว แฮมยูนนาน ซาลาเปายูนนาน โดยเฉพาะไส้หมูแดง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ให้เยี่ยมชม คือ บ้านพักขุนส่า ที่เคยใช้เป็นศูนย์บัญชาการ และมีวัดกาคำซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย ตั้งอยู่เลขที่ 658 หมู่ที่ 1 บ้านเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอแม่ฟ้าหลวง อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวงประมาณ 40 กิโลเมตร 

  • ทิศเหนือ ติดประเทศสหภาพพม่าโดยมีแนวเขตจากหัวแม่คำ (บ้านม้งแปดหลัง) บริเวณพิกัด NC 481547 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวแบ่งเขตแดนประเทศ สิ้นสุดที่บ้านป่าซางนาเงิน ตำบลแม่ฟ้าหลวง บริเวณพิกัด NC 755479 รวมระยะทาง 13.5 กิโลเมตร
  • ทิศใต้ ติดตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตเริ่มจากลำห้วยแปลกบรรจบแม่น้ำคำ บริเวณพิกัด NC 770393 ไปทางทิศตะวันตก ตามแม่คำเป็นแนวแบ่งเขตสิ้นสุดที่ลำห้วยหมากบรรจบแม่น้ำคำเป็นแนวแบ่งเขต บริเวณพิกัด NC 681391 รวมระยะทาง 16 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันออก ติดตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตเริ่มจากลำห้วยปุม เขตชายแดนไทย- พม่า บริเวณพิกัด NC 755479ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำห้วยปุม ถึง ลำห้วย ป่าไร่ บรรจบลำห้วยแปลก บริเวณพิกัด NC 764402 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สิ้นสุดที่ลำห้วยแปลกบรรจบแม่น้ำคำบริเวณพิกัด NC 770393 รวมระยะทาง 12.5 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันตก ติดตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีแนวเขตเริ่มจาก ลำห้วยหมากบรรจบแม่น้ำคำ บริเวณพิกัด NC681391 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงหัวแม่คำบริเวณเส้นแบ่งเขต ชายแดนไทย-พม่า บริเวณพิกัดNC 481547 รวมระยะทาง 31 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทั้งหมดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่น้ำแม่จันฝั่งซ้ายและป่าแม่น้ำคำ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ มีเทือกเขาสลับซับซ้อน และมีที่ราบหุบเขาบางส่วนระหว่างภูเขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำแม่คำไหลผ่านมีพื้นที่ประมาณ 167.90 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 102,935 ไร่

ลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 43 องศาเซลเซียส และต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส มี 3 ฤดู

  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน

ลักษณะของดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย

ลักษณะของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำทั้งหมดเป็นแหล่งน้ำผิวดิน

ลักษณะของไม้และป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ 

ชาวบ้านเทอดไทยบางส่วนเป็นชาวไทใหญ่หรือคนไต มักเรียกตนเองว่า “ไต” นักประวัติศาสตร์ให้คำนิยามและความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น เป็นไท, อิสระใหญ่หลวง, ยิ่งใหญ่ เป็นต้น แต่ชนชาติอื่น ๆ มักเรียกชื่อชาวไทยใหญ่ต่างกันออกไป เช่น คนไทยเรียกว่า “ไทยใหญ่” อังกฤษและพม่าเรียกว่า “ซาน” (Shan) ตามถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมในประเทศเมียนมาร์ 

ไทใหญ่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่

1.ประเพณีสงกรานต์: กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยก่อน หรือปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนายังคงสืบทอดกันมา ดังนี้

  • 13 เมษายน เป็นวันสังขารล่อง จะมีการยิงปืนจุดประทัดช่วงเช้าเพื่อเป็นการ ขับไล่เสนียด จัญไร ปัญหาอุปสรรค เคราะห์กรรมต่าง ๆ
  • 14 เมษายน เป็นวันเน่า หรือวันเนาว์ คือเป็นวันตระเตรียมอาหาร ขนมเพื่อนำไปถวายวัด โดยช่วงบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด เพื่อก่อเจดีย์ทราย วันนี้ไม่ควรประกอบการมงคลใด ๆ และไม่ควรพูดหยาบหรือโกหก
  • 15 เมษายน เป็นวันพญาวัน ช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ตานขันข้าว สรงน้ำพระพุทธรูป ดําหัวพระสงฆ์แล้วจึงไปดําหัวญาติผู้ใหญ่
  • 16 เมษายน เป็นวันปากปีคือวันเริ่มต้นปีใหม่จะมีการประกอบพิธี สะเดาะเคราะห์ ส่งเคราะห์ส่งสะตวง สืบชะตา บางแห่งมีการสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล

2.ประเพณีสืบชะตา : ประเพณีสืบชะตา โดยทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่

  • การสืบชะตาบุคคล กระทำได้ทุกโอกาส (วันเกิด หรือ เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ)
  • การสืบชะตาบ้าน ทำได้ปีละครั้ง คือตอนสงกรานต์ หรือเมื่อมีเภทภัยที่เกิดขึ้น
  • การสืบชะตาเมือง จะทำเมื่อถึงโอกาสครบรอบสร้างเมือง

3.ประเพณีตานก๋วยสลาก : การตานก๋วยสลาก (สลากภัตต์) จะเริ่มในราววันเพ็ญเดือน 12 เหนือและสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือนตุลาคม) จะมีการเตรียมอาหาร ข้าวของเครื่องใช้บรรจุใส่พา ชนะ แล้วนำ “ยอด” คือ ธนบัตรผูกติดไม้เรียวเสียบไว้ เช้าวันรุ่งขึ้นจะนำ “ก๋วยสลาก” ไปวัดที่จัดงาน เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร มีการเขียนคําอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติคนที่เสียชีวิตไปแล้วและเทวดาทั้งหลาย

4.ประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทง) : ในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนสอง) ของทุกปี คือ วันลอยกระทง ชาวล้านนามีพิธีสำคัญนอกเหนือจากการลอยกระทง คือ พิธีกรรมตั้งธรรมหลวงหรือฟังเทศน์มหาชาติ

5.ประเพณีมนัสการพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง : พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงนับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือและเป็นปฐมเจดีย์ในดินแดนล้านนา ทุก ๆ ปีจะมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงอันศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งชมทิวทัศน์และทัศนียภาพบนดอยตุง เมื่อถึง กําหนดวันเพ็ญเดือน 6 เหนือ (ราวมีนาคม) จะมีประเพณีนมัสการที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด ศาสนิกชน ผู้เลื่อมใสศรัทธา ทั้งชาวเชียงรายเอง ชาวจังหวัดใกล้เคียง ชาวเชียงตุงจากรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวหลวงพระบางจากประเทศลาว ตลอดถึงชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนก็จะหลั่งไหลขึ้นไปนมัสการในวันสำคัญนี้อย่างเนืองแน่น

6.ประเพณีเป็งพุธ : เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่งของชาวเชียงราย ถือเอาวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธในรอบปี (เป็ง คือ คืนวันเพ็ญ) เป็นวันที่จะทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหารหรือข้าวสารอาหารแห้งไว้รอใส่บาตรเวลากลางคืน พอใกล้จะถึง เที่ยงคืน ก็จะพากันออกมายืนเรียงรายตามท้องถนนในหมู่บ้าน หรือในเมืองพอหลังเที่ยงคืนผ่านไป (ย่างเข้าวันพุธ) พระจากหลายวัดในตัวเมือง และวัดตามท้องถิ่นก็จะออกมาบิณฑบาตกัน ปัจจุบันมักทำเป็นประจําสม่ำเสมอ

7.ประเพณีตานหาแม่ฟ้าหลวง : กําหนดจัดในวันที่ 18 กรกฎาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี องค์แม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ซึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จมาพำนักที่พระตำหนักดอยตุง จังหวัดเชียงรายจึงจัดพิธีถวายพานพุ่มสักการะที่ไร่แม่ฟ้าหลวงในช่วงเช้า และพิธีทำบุญอุทิศถวายแด่องค์สมเด็จย่าในช่วงบ่ายที่พระตำหนักดอยตุง ข้าราชการ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชน เข้าร่วมพิธีอย่างเนืองแน่น เพื่อรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวเชียงราย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวไทใหญ่ที่อาศัยในบ้านเทอดไทย สื่อสารโดยใช้ภาษาไทใหญ่ คำเมือง (ภาษาไทยท้องภิ่นภาคเหนือ) และภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กฤตวิทย์ ภูมิถาวร. (2563). วงกลองยาวไทยใหญ่ บ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย. วารสาร Mahidol Music Journal, 3(1), 60-73.

ญานินท์ เยลึ และอรวรรณ เชื้อเมืองพาน. (2565). การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านเทอดไทย อําเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 86-101.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2559). ส่วนที่ 1 ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดเชียงราย. จาก http://www.oic.go.th

สราวุธ คำฟูบุตร. (2565). สีสันวันปอยปีใหม่ไทใหญ่บ้านเทอดไทย โชว์วิถีชาติพันธุ์งดงาม. จาก https://www.77kaoded.com/

องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย. (2566). ข้อมูลทั่วไป. จาก https://www.therdthai.go.th/