
ชุมชนแม่แฝก ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะการปลูกมันฝรั่งที่มีคุณภาพในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
บ้านแม่แฝก ไม่ปรากฏที่มาของชื่อเรียกที่เด่นชัด แต่กำหนดใช้เป็นชื่อตำบลก่อนที่จะตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ แม่แฝกใหม่ ในภายหลัง
ชุมชนแม่แฝก ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะการปลูกมันฝรั่งที่มีคุณภาพในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ตำบลแม่แฝกใหม่ แต่เดิมเป็นพื้นที่ขึ้นอยู่กับตำบลแม่แฝก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใหญ่มีและกว้างขวาง ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวกต่อการปกครอง การบริหารกิจกรรมของชุมชน หมู่บ้าน ภายในตำบลในเรื่องต่าง ๆ เกิดความไม่ทั่วถึงและล่าช้า จึงได้แยกเป็นตำบลแม่แฝกและได้กลายมาเป็นตำบลแม่แฝกใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2514
ราษฎรส่วนใหญ่ในตำบลแม่แฝกใหม่เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิม มีการอพยพมาจากต่างอำเภอต่างจังหวัดหลากหลายภูมิภาคอาทิเช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน และมีการอพยพจากกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่สูงเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพื่อเข้ามาประกอบอาชีพร่วมกับคนไทยพื้นเมือง แต่คนเหล่านั้นต่อมาก็กลายมาเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านในตำบลนั้นเอง แต่ในปัจจุบันเหลือเพียงคนไทยพื้นเมืองที่ยังคงอยู่ในพื้นที่และมีอาชีพหลักคือทำการเกษตรตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น
ตำบลแม่แฝกใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่างเส้นทางถนนเชียงใหม่-พร้าว
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทุ่งนาเป็นแนวเขตติดต่อ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ มีลำห้วยบงเป็นเขตติดต่อ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเทือกเขาเต้ย เป็นแนวเขตติดต่อ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำปิง ซึ่งกั้นระหว่างตำบลแม่แฝกใหม่ กับตำบลขี้เหล็ก ตำบลสันโปง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแม่น้ำปิงเป็นแนวเขตติดต่อ
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลแม่แฝกใหม่ เป็นที่ราบลุ่มและมีพื้นที่เป็นเนินภูเขา ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ราบลุ่มเช่น บ้านกลางพัฒนา บ้านห้วยบง บ้านสบแฝก บ้านแม่แฝก บ้านขัวมุง บ้านเจดีย์แม่ครัว อาณาเขตทางทิศตะวันตกของแม่แฝก บ้านสบแฝก และบ้านแพะแม่แฝก บ้านแพะเจดีย์ บ้านเจดีย์พัฒนา และบ้านขัวมุง ติดกับแม่น้ำปิงตลอดสาย ส่วนอาณาเขตด้านทิศตะวันออกของบ้านวังขุมเงิน เป็นภูเขาตลอดแนวมีความสูงไม่มากนัก
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์อยู่ในช่วงฤดูหนาว มีอากาศที่หนาวเย็น และแห้งแล้งมากที่สุด เดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นช่วงเดือนดังกล่าวเป็นฤดูฝน จากมรสุมดังกล่าว จึงทำให้ฝนตกระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ทำให้มีน้ำจากธรรมชาติเพื่อใช้ในการเกษตรและบริโภค
ข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร์ท้องถิ่นเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ หมู่ที่ 1 แม่แฝก ระบุข้อมูลว่าเดือนมกราคม 2566 มีจำนวนประชากรเพศชาย จำนวน 335 คน เพศหญิง จำนวน 405 คน รวมทั้งสิ้น 740 คน
ยาสูบกับการทำเกษตรดั้งเดิมในเขตพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่
แต่เดิมเกษตรกรในพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ได้มีการปลูกยาสูบเป็นหลัก การเข้ามาของยาสูบในพื้นที่โดยหม่อมเจ้าทิพวัน กฤดากรเป็นธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขต (ผู้รักษาเมืองชายแดนแถบแม่น้ำสาละวิน ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่) กับเจ้าแม่พิมพา กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน กระทั่ง พ.ศ. 2445 เจ้าทิพวันได้สมรสกับหม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร (ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพลโท พระองค์เจ้าบวรเดช และพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ตามลำดับ) มีธิดา 1 คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย ในฐานะที่เป็นพระญาติใกล้ชิด เจ้าทิพวันจึงได้ตามเสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมีไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย ได้รับการศึกษาอบรมในสำนักพระราชชายาฯ และเติบโตใน พระบรมมหาราชวังจนอายุ 19 ปี เมื่อพลโท พระองค์เจ้าบวรเดช เสด็จไปทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี เจ้าทิพวันได้ตามเสด็จด้วย ซึ่งท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่าน ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในฐานะภริยาเอกอัครราชทูตได้เป็นอย่างดี อันเป็นการช่วยเหลือ และส่งเสริมให้พระสวามีประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานด้วยดี ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ท่านได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณในการถวายพระอภิบาลแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอและเจ้านายเล็ก ๆ หลายพระองค์ ที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ยุโรปในช่วงเวลานั้น ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ก็ทรงพระเมตตาเป็นพิเศษและพระราชทานเครื่องเพชรประดับกายอย่างสมเกียรติภริยาเอกอัครราชทูตในสมัยนั้น
ช่วง พ.ศ. 2458-2462 เมื่อพลโท พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เจ้าทิพวันก็ได้ตามเสด็จด้วย แต่หลังจากนั้นก็มีเหตุให้ทั้งสองท่านต้องแยกทางกัน เจ้าทิพวันจึงได้หันไปทำการเกษตร โดยทำไร่ปลูกใบยาสูบและตั้งโรงบ่มใบยา ที่บ้านหนองหาร ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และกิจการของท่านก็ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะท่านนับเป็นเกษตรกรรายแรกที่ปลูกและบ่มใบยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนียในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดชีวิตของเจ้าทิพวัน ท่านได้บำเพ็ญสาธารณกุศลมากมาย เช่น สร้างวัดและโรงเรียนที่บ้านหนองหาร อำเภอสันทราย เคยเป็นนายกสมาคมสตรีศรีลานนาไทย เป็นกรรมการสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย เป็นกรรมการสมาคมผู้บ่มและเพาะปลูกยาสูบแห่งประเทศไทย
เจ้าทิพวัน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราตติยจุลจอมเกล้า จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2455 และได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2469 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสนครเชียงใหม่ และทางเชียงใหม่ได้จัดพระราชพิธีเชิญพระขวัญตามประเพณีโบราณ ซึ่งเจ้าทิพวัน ได้ฟ้อนรำด้วยลีลาท่าทางที่งดงาม ถวายเป็นคู่หน้าในขบวนฟ้อนของเจ้านายฝ่ายเหนือด้วย
หม่อมเจ้าทิพวัน กฤดากร เกษตรรายแรกที่ปลูกยาสูบและบ่มใบยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนียในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2486 และได้นำมาทดลองปลูกในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในตำบลแม่แฝกใหม่จึงมีการปลูกยาสูบไปทั่วพื้นที่และเกษตรกรจึงมีรายได้หลักจากการปลูกยาสูบ อาชีพส่วนใหญ่ของประชากร ได้แก่ การทำนา ทำสวน ปลูกยาสูบ และพืชต่าง ๆ
เมื่อหม่อมเจ้าทิพวัน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุได้ 71 ปี เกษตรกรในตำบลแม่แฝกใหม่ยังคงปลูกยาสูบมาตลอดและหารายได้จากการทำเกษตร นอกจากปลูกยาสูบเป็นอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ยังคงปลูกพืชหมุนเวียนในแต่ละปี มีการปลูกข้าวตามฤดูกาล และยังมีการปลูกมันฝรั่งมาตั้งแต่อดีตได้แก่พันธุ์พื้นเมือง ที่ได้รับพันธุ์จากบนดอยมาปลูกในพื้นที่ กลุ่มคนในอดีตจะเป็นกลุ่มชาวพื้นเมืองดั้งเดิม และมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขาได้มีการอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ เมื่อมีการทำเกษตรการปลูกมายาสูบมาโดยตลอดและเกษตรกรได้หันมาทำอาชีพปลูกยาสูบเป็นจำนวนมาก โดยตั้งถิ่นฐานโดยพื้นที่ดังกล่าวเมื่อมีคนมาอาศัยอยู่มากขึ้นจึงได้อยู่รวมกัน และตั้งเป็นหมู่บ้านโดยตั้งถิ่นฐานกระจายตามพื้นที่ตำบล ทุกหมู่บ้านจะทำอาชีพไร่หมุนเวียนมาตลอดโดยผ่านรุ่นสู่รุ่น
เนื่องจากเป็นอาชีพที่มั่นคงและมีการรับรองซื้อขายให้กับโรงบ่มยาในพื้นที่ มันฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองก็ไม่ได้รับความนิยมสักเท่าใดนัก กลุ่มชาวเขาก็ได้เริ่มอพยพย้ายออกไป ในปี พ.ศ. 2500 ยาสูบจึงเกิดปัญหาผลผลิตมีปริมาณเกินความต้องการของตลาด ยาสูบมีราคาที่ตกต่ำ มีการปลูกยาสูบจำนวนมากส่งให้กับโรงบ่ม ยาสูบเริ่มไม่เป็นที่ยอมรับ โรงงานใบยาก็ได้กำหนดราคาที่ถูกกว่าเดิม ต่อมายาสูบเริ่มไม่เป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่มีการรณรงค์ในเรื่องการงดสูบบุหรี่ ทำให้กลุ่มเกษตรต้องยกเลิกปลูกยาสูบเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มียาสูบเพื่อที่จะส่งโรงบ่มและโรงงานบ่มใบยาก็ได้ร้างไป
มันฝรั่งในเขตตำบลแม่แฝกใหม่
มันฝรั่ง จัดเป็นไม้ผลพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกระจายกันมากที่สุดในโลก โดยมีถิ่นกำเนิดทางที่ราบสูงของเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้บริเวณเปรู โดยทั่วไป สันนิษฐานว่าพันธุ์มันฝรั่งที่ชาวเขา หรือชาวจีนฮ่อ นำมาปลูกในประเทศอินเดีย สามารถพบได้แทบทุกประเทศ มันฝรั่งเป็นไม้ผลเขตหนาวสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมสภาพอากาศของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี จึงมีการนำมันฝรั่งมาปลูกภายในประเทศไทยสามารถพบได้ส่วนใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย จึงมีการนำมันฝรั่งเข้ามาปลูกภายในประเทศไทยมานานหลายปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2500
ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่มีทำเกษตร เป็นเขตพื้นที่ที่มีการปลูกมันฝรั่งมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่โดยมันฝรั่งถูกนำเข้ามาปลูกใน ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มาเป็นเวลานานกว่า 60-70 ปี โดยเริ่มต้นจากมันฝรั่งพันธุ์ พื้นเมือง, พันธุ์สปุนต้า และพันธุ์แอตแลนติก มีการนำสายพันธุ์ของมันฝรั่งมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์เพื่อนำมาทดลองปลูกในพื้นที่คือพันธุ์สปุนต้าโดยผ่านทางกรมส่งเสริมการเกษตร มาเป็นเวลานานในปัจจุบันยังคงมีการปลูกมันฝรั่งพันธุ์สปุนต้าและพันธ์ุแอตแลนติก ที่ยังคงมีการปลูกในเขตพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นจึงมีการกระจายตัวของมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติก ไปทุก ๆ พื้นที่ของแต่ละหมู่บ้านในตำบลแม่แฝกใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง
พันธุ์สปุนต้า (Spunta) เป็นพันธุ์สำหรับการบริโภคสด นิยมนำมาประกอบอาหาร จัดเป็นพันธุ์เบาปานกลาง เจริญเติบโตเร็ว ทรงต้นสูง ทรงพุ่มแน่น ใบเล็ก เนื้อสีเหลือง ทนแล้งได้ดีโคนต้นสีม่วงดอกขาว หัวรูปร่างยาวและมีขนาดใหญ่ผิวเรียบสีเหลือง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 -120 วัน ให้ผลผลิตสูง
พันธุ์แอตแลนติก (Atlantic) เป็นพันธุ์สำหรับแปรรูปเป็นมันทอดแผ่นบาง (Potato Chip) ทรงต้นตั้งตรง พุ่มหนำ ใบใหญ่สีเขียวเข้ม หัวกลมขนาดปานกลางถึงเล็กผิวสีเหลืองเนื้อสีขาวครีม ให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 -120วัน
นายบุญศรี ใจเป็ง หนึ่งในผู้ริเริ่มการปลูกมันฝรั่งในเขตตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูลถึงการเข้ามาของมันฝรั่งในเขตพื้นที่ดังกล่าวว่า มันฝรั่งถูกนำเข้ามาภายในพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายปั๋น ใจเป็ง ซึ่งเป็นบิดาของตน ได้นำพันธุ์มันฝรั่งมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ดีนายปั๋น ใจเป็ง จึงทดลองนำพันธ์ุมันฝรั่ง สปุนต้า มาปลูกในปี พ.ศ. 2507 โดยเป็นมันชนิดขายบริโภคสด เริ่มปลูกในพื้นที่ของตน เพียงไม่กี่ไร่ นายบุญศรี ได้เล่าให้ฟังว่า ตนมีอายุยังน้อย จึงมีหน้าที่เพียงดูแลมันฝรั่งที่เพิ่งเริ่มปลูก ช่วงแรก ๆ ที่พ่อนำมันฝรั่งมาปลูกในคนไทยยังไม่นิยมบริโภคมันฝรั่งเท่าใดนัก จึงเป็นกลุ่มทหารของอเมริกาที่เข้ามาในประเทศไทย ตลาดใหญ่ในการซื้อขายมันฝรั่ง และโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยว แต่ปริมาณการผลิตขนมขบเคี้ยวนั้นผลิตน้อยเกินไป จึงมีการซื้อขายมันฝรั่งน้อยไปด้วย ต่อมาเริ่มมีอุตสาหกรรมโรงงานที่ใช้มันฝรั่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอย่าง “เลย์” ก็เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ดังกล่าวคือเข้ามาช่วยส่งเสริมในการหาพันธุ์มันฝรั่ง แอตแลนติก มีการให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เกษตรกร ส่งเสริมในการให้ปุ๋ย และประกันราคา ทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ จึงตัดสินใจปลูกมันฝรั่งส่งขายให้เป็นเวลา 20 กว่าปีมาแล้ว
ผลกระทบในการปลูกมันฝรั่ง
นายบุญศรี ใจเป็ง (สัมภาษณ์, 1 ตุลาคม 2562) หนึ่งในผู้ริเริ่มการปลูกมันฝรั่งในเขตตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูลถึงการเข้ามาของมันฝรั่งในเขตพื้นที่ดังกล่าวว่า เดิมทีคุณบุญศรีได้ทำการเพาะปลูกยาสูบและกระเทียม แต่เนื่องจากรายได้จากการขายผลผลิตของพืช 2 ชนิดนี้ไม่แน่นอน โดยเฉพาะยาสูบที่ทำการขายผลผลิตแต่ได้ราคาที่น้อย ต่อมาบิดาของตน ได้นำเอามันฝรั่งเข้ามาทดลองปลูก เมื่อผลผลิตออกมาแล้วขายได้มีตลาดเข้ามารับซื้อ ด้วยเหตุนี้คุณบุญศรีจึงได้ทำการทดลองปลูกบ้างโดยมีเนื้อที่ไม่กี่ไร่ เมื่อเห็นว่ามีรายได้ที่แน่นอนจากการขายมันฝรั่งจึงได้ทำการขยายพื้นที่เพิ่มเรื่อย ๆ โดยเพิ่มขึ้นไปเป็นละ 10 ไร่กว่า ๆ และได้เลิกปลูกยาสูบและกระเทียมมาปลูกมันฝรั่งจากการปลูกมันฝรั่งที่ผ่านมาคุณบุญศรีเล็งเห็นว่ามันฝรั่งเป็นพืชที่มีศักยภาพทางการตลาดที่ดี มีรายได้ที่แน่นอนจากการปลูกพืชชนิดอื่น คุณบุญศรีได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
มันฝรั่งในเขตพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ ช่วงแรกมีการปลูกมันฝรั่งพันธุ์สปุนต้า และพันธุ์แอตแลนติก พันธุ์สปุนต้า เป็นพันธุ์สำหรับการบริโภคสด นิยมนำมาประกอบอาหาร เนื้อสีเหลือง หัวรูปร่างยาวและมีขนาดใหญ่ผิวเรียบสีเหลือง มันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติกเป็นพันธุ์สำหรับแปรรูปเป็นมันเพื่อปลูกส่งโรงงานและนำมันไปทอดแผ่นบาง หัวกลมมีขนาดเบาปานกลางถึงเล็กผิวสีเนื้อขาวครีมหรือสีเหลือง ในปัจจุบันเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่จะปลูกมันฝรั่งพันธุ์
สปุนต้าจำนวนน้อยและปลูกมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่ต้องการของโรงงาน สามารถนำไปแปรรูปได้ และมีการรับประกันราคา จากโรงงานเป๊ปซี่-โคล่า(เลย์) โดย
การทำเกษตรแบบมีพันธะสัญญา (Contract Farming) โดยบริษัทภายนอก จึงทำให้เกิด
การปรับเปลี่ยนการผลิตในลักษณะกลุ่มสังคมอุตสาหกรรมเกษตร จากที่กล่าวมาข้างต้นถึงพัฒนาการการปลูกมันฝรั่งในเขตพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ คือตำบลแม่แฝกใหม่มีอาชีพหลักคือ
การปลูกมันฝรั่ง เพราะฉะนั้นในแต่ละปีจะมีผลผลิตเป็นจำนวนมากที่ถูกนำส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง ดังนั้นในทุก ๆ ปีเกษตรกรจะได้รับผลกระทบคือมันฝรั่งไม่ได้รับคุณภาพตามที่บริษัทต้องการ พ่อค้าคนกลางก็ได้กำหนดราคาที่ถูกลง เกษตรกรขาดทุน และไม่ได้รับกำไรเท่าที่ควร เนื่องจากสภาพอากาศ เพราะมันฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกในหน้าหนาว บางปีก็มีฝนตกหน้าหนาว ผลผลิตก็ไม่ได้คุณภาพ ราคามันฝรั่งตก ผลผลิตที่ไม่ได้รับคุณภาพก็จะนำไปขายเป็นอาหารให้วัวนม จึงก่อให้เกิดกลุ่มแปรรูปขึ้นภายในชุมชนโดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเจดีย์แม่ครัว อำเภอสันทราย จึงมีการรวมตัวกันเพื่อที่จะนำมันฝรั่งที่ตกเกรดมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ำโดยทำเป็นมันฝรั่งแผ่นทอดรสต่าง ๆ เช่น รสบาบีคิว รสหมูหยอง และยังทำเป็นมันฝรั่งแท่งทอด ส่งผลให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายในชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่เคหกิจจากสำนักงานเกษตรจังหวัดให้คำแนะนำการผลิต การทอด และการบรรจุถุง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่งนี้ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากอำเภอสันทรายโดยถูกนำเป็นสินค้า OTOP หรือสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยรายได้ทั้งหมดก็หมุนเวียนอยู่ภายในตำบลแม่แฝกใหม่ และอำเภอสันทราย
งานวิเคราะห์นโยบบายและแผน เทศบาลตำบลแม่แฝก. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัมนา (พ.ศ. 2560-2563). เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
เทศบาลตำบลแม่แฝก. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไป. จาก http://www.maefeak.go.th/
หทัยทิพย์ ละอองบัว. (2562). มันฝรั่ง : การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการเข้ามาของพืชเศรษฐกิจพื้นที่ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.