Advance search

กุฎีเซ็น, กุฎีบน, กะดีบน, กุฎีปากคลองมอญ

กุฎีหลวง เป็นศาสนาสถานแห่งแรกของแขกเจ้าเซ็น ที่มีบทบาทในการสร้างชุมชนแขกเจ้าเซ็นให้มีความมีความเป็นปึกแผ่น นับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินสร้างศาสนสถาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการตั้งชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลานั้นสืบต่อมาอีกกว่า 150 ปี

กุฎีหลวง
บ้านช่างหล่อ
บางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร
มัสยิดกุฎีหลวง โทร. 08-1547-4461
วิไลวรรณ เดชดอนบม
28 มี.ค. 2023
วิไลวรรณ เดชดอนบม
28 มี.ค. 2023
มัสยิดกุฎีหลวง
กุฎีเซ็น, กุฎีบน, กะดีบน, กุฎีปากคลองมอญ

กุฎีหลวง : เนื่องจากที่ดินที่ใช้สร้างกุฎีหลวงได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงเรียกว่า กุฎีหลวง

กุฎีปากคลองมอญ : เพราะทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมอญ โดยหันหน้าประชิดแม่น้ำเจ้าพระยา

กุฎีบน : เป็นชื่อเรียกที่ใช้บอกตำแหน่งที่ตั้งของกุฎีที่ตั้งอยู่ด้านบน หรือตั้งอยู่เหนือกุฎีอื่นซึ่งสร้างภายหลังกุฎีแห่งนี้


กุฎีหลวง เป็นศาสนาสถานแห่งแรกของแขกเจ้าเซ็น ที่มีบทบาทในการสร้างชุมชนแขกเจ้าเซ็นให้มีความมีความเป็นปึกแผ่น นับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินสร้างศาสนสถาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการตั้งชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลานั้นสืบต่อมาอีกกว่า 150 ปี

กุฎีหลวง
บ้านช่างหล่อ
บางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร
10700
13.756856
100.474774
กรุงเทพมหานคร

มัสยิดกุฎีหลวง เป็นชุมชนแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่ สามกะดี-สี่สุเหร่า พื้นที่ทางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์เครือญาติของแขกเจ้าเซ็น หรือชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยฝั่งธนบุรี บริเวณกุฎีหลวง กุฎีกลาง กุฎีนอก และสุเหร่าผดุงธรรมอิสลาม

มัสยิดกุฎีหลวง หรือกุฎีเซน บางที่เรียกว่า กะดีบน เป็นศาสนถานแรกของแขกเจ้าเซ็นที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ในอดีตเคยตั้งอยู่บริเวณปากคลองมอญ บนที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 1 แต่ภายหลังมีการเวนคืนที่ดิน มัสยิดกุฎีหลวงจึงถูกย้ายไปอยู่ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ

ในปี พ.ศ. 2328 เกิดการรวมตัวของแขกเจ้าเซ็นปลูกสร้างชุมชนถาวรขึ้นทางย่านฝั่งธนฯ ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงของการปฏิรูปบ้านเมืองภายหลังสิ้นสุดยุคสมัยกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2325 โดยนำแผนการปกครองของราชสำนักอยุธยากลับมาใช้เต็มรูปแบบ พระมหากษัตริย์พระราชทานชั้นยศแก่ขุนนางตามแบบแผนกรุงเก่า มีผลให้ขุนนางเดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนหนึ่งมีโอกาสกลับเข้ามารับราชการในราชสำนักอีกครั้ง รวมถึงพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ขุนนางเชื้อสายแขกเจ้าเซ็น ที่เคยรับราชการตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงเก่า ได้รับราชการต่อเนื่องมาในสมัยธนบุรี และได้รับความไว้วางใจจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้เข้ารับราชการกองพระคลังต่อในตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี คุมการค้าฝ่ายขวา อันหมายถึงจุฬาราชมนตรีคนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ชุมชนแขกเจ้าเซ็นมีความเป็นปึกแผ่น นับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างศาสนสถานที่เรียกว่า กุฎีเจ้าเซ็น หรือ กุฎีหลวง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการตั้งชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลานั้นสืบต่อมาอีกกว่า 150 ปี (ธีรนันท์ ช่วงพิชิต, 2551: 57-59)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากร

มัสยิดกุฎีหลวง เป็นชุมชนแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า สามกะดี-สี่สุเหร่า แขกเจ้าเซ็นในอดีตเรียก แขกใหญ่ หรือ แขกมัวร์ หมายถึง ชาวมุสลิมนิกายชีอะฮ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

ระบบเครือญาติ

เนื่องจากชุมชนแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่ทางวัฒนธรรมสามกะดี-สี่สุเหร่า มีประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมกัน การลำดับญาติในชุมชนจึงมีความเชื่อมโยงกัน เห็นได้จากระบบสายตระกูลสำคัญ 2 สายหลัก ได้แก่ สายบ้านบน หรือสายพี่ โดยพระยาจุฬามนตรี (ก้อนแก้ว) ผู้สร้างกุฎีเซ็น และ สายบ้านล่าง หรือ สายน้อง โดยพระยาจุฬามนตรี (อากาหยี่) ผู้สร้างกุฎีเจริญพาศน์

แขกเจ้าเซ็นดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการเข้ารับราชการมาตั้งแต่อดีต โดยการเป็นข้าราชการในอดีต หมายถึงการมี บรรดาศักดิ์ นำหน้าราชทินนามด้วยยศชั้นขุน หลวง พระ พระยา ฯลฯ รวมถึงข้าราชบริพารฝ่ายใน เช่น เจ้าจอมต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่แขกเจ้าเซ็นกับราชสำนักสยาม พื้นฐานข้าราชการเป็นค่านิยมที่ฝังรากลึกในสังคมแขกเจ้าเซ็นมาตั้งแต่อดีต ทำให้ลูกหลานแขกเจ้าเซ็นมุ่งเข้าสู่อาชีพข้าราชการ หรือองค์กรที่ขึ้นกับหน่วยงานของรัฐมากกว่าวิชาชีพอื่น ๆ มีผลให้ภาพรวมระบบเศรษฐกิจชุมชนแขกเจ้าเซ็นมัสยิดกุฎีหลวงมีฐานรายได้หลักมาจากการเข้ารับราชการตามหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ตำรวจ ทหาร และข้าราชการพลเรือน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกชุมชนส่วนหนึ่งที่ประกอบอาชีพในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เช่น การไฟฟ้า สื่อสาร ประปา ฯลฯ และจำนวนไม่น้อยที่เข้าสู่ระบบหน่วยงานภาคเอกชน รวมถึงประกอบธุรกิจ บริษัท และห้างร้านเป็นของตัวเอง  

แขกเจ้าเซ็นชุมชนมัสยิดกุฎีหลวง เป็นชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่มีแบบแผนการดำเนินชีวิตวางอยู่บนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม แต่จะมีลักษณะบางประการของวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของแขกเจ้าเซ็น ซึ่งปรากฏอยู่ตามงานบุญประเพณีประจำปีที่เป็นประเพณีเฉพาะของแขกเจ้าเซ็นเท่านั้น ดังนี้

  • พิธีเจ้าเซ็น หรือพิธีมะหะหร่ำ : เป็นชื่อเดือนแรกในปฏิทินอิสลาม พิธีเจ้าเซ็นเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญที่สุดในรอบปีของแขกเจ้าเซ็น จัดขึ้นเพื่อย้ำเตือนถึงอุดมการณ์และรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอิหม่ามฮูเซน บางครั้งเรียกว่า พิธีอาชูรอ หมายถึงวันที่ 10 เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม หรือเดือนแรกในปฏิทินอิสลาม

  • อาบน้ำอาคะหรี่ : อาคะรี หรือ อาเคร มาจากภาษาอาหรับและเปอร์เซีย หมายถึง วันสุดท้าย พ้องกับวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร อาบน้ำอาคะหรี่ จึงหมายถึง การชำระล้างร่างกาย ซึ่งแขกเจ้าเซ็นเชื่อว่าการอาบน้ำในเวลาดังกล่าว พระผู้เป็นเจ้าจะช่วยขจัดสิ่งอัปมงคล ตลอดจนความชั่วร้ายต่าง ๆ ออกจากสังคมมวลมนุษย์

  • วัยซุบบะหราต หรือบุญนิสฟูชะอ์บาน : เป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพือ่อุทิศส่วนบุยส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ กำหนดเป็นเวลาห้าสิบวันก่อนเข้าสู่เดือนรอมฏอนตามปฏิทินอิสลาม

  • วันอีดเฆาะดีรข่ม : เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองที่ศาสดามุฮัมหมัดได้แต่งตั้งอะลีให้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม เพื่อทำหน้าที่ผู้นำประชาคมมุสลิมต่อจากท่านศาสดา 

นายสง่า อหะหมัดจุฬา

นายสง่า อหะหมัดจุฬา ลูกบ้านกุฎีหลวง กลุ่มหัวก้าวหน้าของชุมชนเจ้าเซ็นกุฎีหลวงในอดีต ผู้มีบทบาทในการปฏิรูปพิธีเจ้าเซ็นในไทย และได้รับขนานนามจากแขกเจ้าเซ็นว่าเป็น คนกวนดี่น หมายถึง ผู้ทำให้แนวทางของศาสนาอิสลามเสื่อมเสีย  

ภายหลังการถึงแก่กรรมของพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) ในปี พ.ศ. 2467 ได้ออกจาริกเดินทางพร้อมด้วยนายพิน ชาญอุไร และเด็กชายสนั่น บุตรชาย โดยสารเรือเพื่อเยือนสถานฝังศพอิหม่ามอูเซนที่เมืองกัรบะลาอ์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ในเวลานั้น การออกเดินทางของนายสง่าจึงเป็นทั้งการแสวงหาความรู้และเปิดโลกทัศน์แก่สังคมแขกเจ้าเซ็นในเมืองไทย ณ ช่วงเวลานั้น อีกทั้งยังถือเป็นการตัดสินใจก้าวสำคัญสำหรับชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลาประมาณ 85 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเดินทางเยือนสถานฝังศพอิหม่ามอูเซนของนายสง่ายังเป็น แนวการคิดใหม่ เนื่องจากยังไม่มีชาวแขกเจ้าเซ็นคนไหนเคยเดินทางระยะทางยาวไกลเท่านี้มาก่อน ใช้เวลาประมาณปีเศษนายสง่าได้นำเอาความรู้และตำราเข้ามาสู่สังคมแขกเจ้าเซ็นในเมืองไทย ซึ่งมีส่วนจุดประกายความคิด เปลี่ยนทัศนคติของสังคม และจัดระเบียบใหม่ ๆ ต่อพิธีเจ้าเซ็นในไทย เช่น การปฏิเสธรูปแบบการ ควั่นหัว หรือ การกรีดศีรษะ อันเป็นขั้นตอนสำคัญในวันสุดท้ายของพิธี จนก่อให้เกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงจากสังคมแขกเจ้าเซ็นในไทย ทำให้สังคมแขกเจ้าเซ็นเกิดความแตกแยก และทำให้พิธีเจ้าเซ็นที่ดำเนินมาช้านานขาดความเป็นเอกภาพ

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้นายสง่า และกลุ่มลูกศิษย์ได้แยกตัวออกมาเพื่อดำเนินพิธีกรรมเจ้าเซ็นแนวคิดใหม่ เป็นเหตุให้ผู้คนส่วนหนึ่งในชุมชนปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง และกล่าวประณามนายสง่า และคณะ ว่าเป็น คนกวนดี่น แม้ว่านายสง่าจะนำแนวคิดใหม่ ๆ ที่ได้จากการเดินทางมาเผยแพร่ให้กับลูกบ้านกุฎีหลวงจนได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ขณะเดียวกันก็กลับยิ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแนวคิดของกลุ่มหัวก้าวหน้ากับกลุ่มต่อต้าน หรือกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์นิยม กระทั่งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2473 นายสง่า อหะหมัดจุฬา ก็ได้จบชีวิตตนเองลงด้วยวัยเพียง 33 ปี ท่ามกลางเสียงตำหนิติฉินของสังคมแขกเจ้าเซ็นตามแนวคิดเก่าแบบอนุรักษ์นิยมถึงพฤติกรรมการเป็น คนกวนดี่น จะนำมาซึ่งการถูกลงโทษจากพระเจ้าในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ข้อขัดแย้งจากแนวคิดของนายสง่า อหะหมัดจุฬา ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาหาความรู้ มีการจัดตั้งโรงเรียนผดุงธรรมอิสลามขึ้นในปี พ.ศ. 2479 และพัฒนามาเป็น สุเหร่าผดุงธรรมอิสลาม ในปี พ.ศ. 2482 ศาสนสถานของชุมชนแขกเจ้าเซ็นใน สามกะดี-สี่สุเหร่า หนึ่งเดียวที่รักษารูปแบบพิธีเจ้าเซ็นโดยปฏิเสธการควั่นหัวตามกระแสคนกวนดี่นจนปัจจุบัน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ธีรนันท์ ช่วงพิชิต. (2551). พิธีเจ้าเซ็น (อาชูรอ) : อัตลักษณ์และการธำรงชาติพันธุ์ของมุสลิมนิกายชีอะห์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 

มัสยิดกุฎีหลวง โทร. 08-1547-4461