Advance search

วัวลาย

ชุมชนวัวลายเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ด้วยวิธีการต้องลายโลหะหรือเรียกว่า "การดุนโลหะ" นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวและศาสนสถานที่สำคัญ คือ วัดศรีสุพรรณ ซึ่งประดิษฐานพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หอธรรม และพระวิหาร แต่สิ่งที่โดดเด่นของวัดแห่งนี้เห็นจะอยู่ที่ “พระอุโบสถเงิน” หลังแรกของโลก

พระสิงห์
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
วิลาวัลย์ สมสิทธิ์
11 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
1 มิ.ย. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
29 ส.ค. 2023
วัดศรีสุพรรณ
วัวลาย

ชื่องัวลายเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แขวงเมืองปั่น ทางฝั่งตะวันตก ลุ่มแม่น้ำสาละวิน และมีชื่อว่าหมู่บ้านงัวลาย ในการกวาดต้อนของพระเจ้ากาวิละโปรดให้ชาวบ้านที่มาจากงัวลาย มาตั้งรกรากในบริเวณวันหมื่นสารและทำการตั้งชื่อบ้านงัวลาย ตามเดิม จากนั้นมีการเปลี่ยนเป็นวัวลาย


ชุมชนวัวลายเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ด้วยวิธีการต้องลายโลหะหรือเรียกว่า "การดุนโลหะ" นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวและศาสนสถานที่สำคัญ คือ วัดศรีสุพรรณ ซึ่งประดิษฐานพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หอธรรม และพระวิหาร แต่สิ่งที่โดดเด่นของวัดแห่งนี้เห็นจะอยู่ที่ “พระอุโบสถเงิน” หลังแรกของโลก

พระสิงห์
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
50100
18.778735148334135
98.98365138706295
เทศบาลตำบลพระสิงห์

ชุมชนวัดศรีสุพรรณเป็นชุมชนเก่าแก่ ซึ่งปรากฏข้อความจากศิลาจารึกหินทรายแดงที่บันทึกประวัติวัดศรีสุพรรณด้วยอักษรฝักขามว่า วัดศรีสุพรรณสร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วหรือพญาแก้วกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 2038 - 2068) เนื่องจากเป็นยุคทองของล้านนาที่สืบต่อมาจากสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984 - 2030) และพญายอดเชียงราย (พ.ศ.2030 - 2038) โดยได้มีการยกที่นาแปลงใหญ่และผู้คนจำนวน 20 ครัวเรือนให้กับวัดศรีสุพรรณ จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนวัดศรีสุพรรณตั้งแต่นั้นมาบรรพบุรุษของชาวชุมชนวัดศรีสุพรรณเดิมตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงินอยู่ใน แขวงเมืองปั่น แถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน มีชื่อเรียกว่าบ้านงัวลาย (งัว เป็นภาษาถิ่น แปลว่า วัว) หลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และตำนานราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ ได้กล่าวว่า สมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้น ได้รวบรวมผู้คนจากหัวเมืองต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองหลังการปลดออกจากการยึดครองของพม่า เรียกว่า ยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” โดยพระเจ้ากาวิละได้ให้เจ้าสุวัณณะคำมูล ผู้ เป็นหลานชายคุมกำลังพลจำนวน 300 นายไปตีเมืองปุ ซึ่งมีเจ้าฟ้าคำเครื่องเป็นเจ้าเมืองอยู่ แล้วจึงกวาดต้อนผู้คนกลับมาเชียงใหม่ จากนั้นยังตีเอาบ้านสะต๋อย สอยไร่ ท่าช้าง บ้านนา บ้านทุ่งอ้อ และบ้านงัวลาย และกวาดต้อนผู้คนกลับมาเช่นกัน จากการกวาดต้อนทั้งสองครั้งดังกล่าวพระเจ้ากาวิละได้ให้ครอบครัวที่มาจากบ้านงัวลายให้มาตั้งบ้านเรือนในบริเวณวัดหมื่นสารและวัดศรีสุพรรณแล้วเรียกชื่อว่า “บ้านงัวลาย” ตามชื่อเรียกหมู่บ้านเดิม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อตามภาษาไทยกลางว่า “วัวลาย” ชาวบ้านชุมชนวัดศรีสุพรรณเป็นส่วนหนึ่งของบ้านวัวลาย มีผลงานการทำเครื่องเงินเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในวงกว้าง ดังนี้

พ.ศ. 2534 การทำสลุงหลวง ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ เฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยมีน้ำหนักเงินสุทธิ 536 บาท

พ.ศ. 2535 การทำสลุงหลวง “แม่” ในวโรกาสงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ โดยมีพิธีทูลเกล้า ฯ ถวายบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์อย่างยิ่งใหญ่ตระการตา มีน้ำหนักเงินสุทธิ 2,535 บาท

พ.ศ. 2539 การทำสลุงหลวง “พ่อ” ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปีและจัดพิธีกาญจนาภิเษกที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี มีน้ำหนักเงินสุทธิ 2,999 บาท

ผลงานที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ช่างเงินและผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายมีความภาคภูมิใจ ชุมชนเครื่องเงิน วัวลายและชุมชนเครื่องเงินศรีสุพรรณจึงกลับมามีความคึกคักและมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่ต่อมาวิถีชีวิตการใช้เครื่องเงินได้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากโลหะเงินมีราคาที่สูงแพงขึ้น จึงทำให้เปลี่ยนจากการทำเครื่องเงิน หรือภาษาถิ่นเรียกว่า คัวเงิน (คัว เป็นภาษาถิ่นแปลว่า สิ่งของเครื่องใช้) กลายมาเป็น คัวเนียม หรือเป็นการใช้อะลูมิเนียมในการสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมแทน แต่ยังคงเดินเส้นและ คงรูปแบบลวดลายตามภูมิปัญญาเดิมอยู่

ช่วงปี พ.ศ. 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในประเทศไทยทำให้ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ได้รับผลกระทบจนถึงขั้นวิกฤติ กำลังซื้อที่หดหายทำให้เสียงตอกขันเงินที่เคยได้ยินนับแต่โบราณเริ่ม แผ่วเบาลงที่หลงเหลืออยู่ไม่ถึงสิบคนเพื่อที่จะอนุรักษ์และพัฒนาสืบสานหัตถกรรมเครื่องเงินของชุมชนจนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีครบรอบการจัดตั้งวัดศรีสุพรรณได้ 500 ปี ท่านเจ้าอาวาสและทางกลุ่มจึงถือโอกาสนี้จัดตั้ง “กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ” โดยมีเป้าหมายในการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพทำเครื่องเงิน ซึ่งได้ใช้พื้นที่ภายในวัดเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการทำกิจกรรม มีการสร้างความเข้าใจให้แก่คนในชุมชนเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกิจกรรมดังกล่าวทำให้หลาย ๆ ครอบครัวที่เคยวางมือจากการทำเครื่องเงินเริ่มกลับทำเครื่องเงิน อีกครั้ง หลายครอบครัวทำเป็นอาชีพหลัก ขณะที่อีกหลายครอบครัวที่แม้จะประกอบอาชีพอย่างอื่น แต่ก็ทำเป็นอาชีพเสริมนอกเวลางานประจำซึ่งช่วยสร้างรายได้เป็นอย่างดีในเวลาต่อมาทางชุมชนได้จัดตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชนเพื่อเปิดพื้นที่ทางการตลาดให้กับชาวบ้านที่ประกอบอาชีพช่างเงิน พร้อมกันนี้ยังรวบรวมสล่าในชุมชนทั้งหมดร่วมกันสร้างอุโบสถเงินหลังแรกและหลังเดียวของโลกให้เกิดขึ้นภายในวัดศรีสุพรรณ อุโบสถเงินหลังนี้นอกจากจะมีความหมายในเชิงการเป็นสัญลักษณ์ของการร่วมแรงร่วมใจภายในชุมชน ยังกระตุ้นจิตสำนึกรักภูมิปัญญาของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

ชุมชนศรีวัดศรีสุพรรณเป็นชุมชนหัตถกรรมที่ตั้งอยู่บริเวณถนนวัวลาย ซึ่งในบริเวณดังกล่าวประกอบไปด้วยชุมชนช่างฝีมือ 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดศรีสุพรรณหรือ "บ้านศรีสุพรรณ" ชุมชนบ้านหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม พื้นที่ของชุมชนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ อยู่ระหว่างกำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก จากประตูเชียงใหม่ตามถนนวัวลาย ด้านขวามือจะเป็นชุมชนวัดศรีสุพรรณ ซึ่งมีวัดศรีสุพรรณเป็นศูนย์กลางชุมชน และที่ทำการชุมชนของชุมชนศรีสุพรรณใช้พื้นที่ภายในบริเวณวัดศรีสุพรรณเป็นที่ตั้งของกลุ่ม และด้านซ้ายจะเป็นชุมชนหมื่นสาร บ้านวัวลายมีวัดหมื่นสารเป็นศูนย์กลางของชุมชน และชุมชนวัดนันทารามจะอยู่ลึกลงตามถนนวัวลาย ลักษณะทางกายภาพของชุมชนมีดังนี้

  • ทิศเหนือ ติด ตำบลช้างเผือก มีถนนช่างหล่อผ่าน และคลองคมืองกำแพงด้านเหนือ เป็นแนวแบ่งกับชุมชนบ้านช่างหล่อ
  • ทิศตะวันตก ติด ตำบลสุเทพ จดถนนทิพย์ มีถนนติดอ้อมเมืองทางสนามบินเป็นแนวแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติด ตำบลช้างคลาน และติดถนนวัวลาย มีลำเหมืองแม่ข่าตะวันออก
  • ทิศใต้ ติด ตำบลช้างคลาน มีลำเหมืองแม่ข่า เป็นแนวแบ่งเขตพื้นที่ตั้งแต่ถนนวัวลายมาจดถนนทิพย์เนตรเพื่อออกสู่ประตูหายยา

ปัจจุบันชุมชนวัดศรีสุพรรณ เป็นชุมชนเมืองอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่จึงมีสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และสภาพบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวมีลักษณะเป็นบ้านไม้หรือบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ขณะที่บางส่วนเป็นบ้านตึกและอาคารพาณิชย์ที่ปลูกบนพื้นที่เดิมของบรรพบุรุษ บางส่วนเป็นหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ตลอดจนทางร้านที่ประกอบกิจการค้าเครื่องเงิน โดยการคมนาคมในชุมชนวัดศรีสุพรรณมีถนนสายหลักเป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนวัวลายถึงถนนทิพพระเนตร สำหรับใช้ในการคมนาคมของประชาชนทั้งในบริเวณนั้นและใช้เป็นเส้นทางลัดของชาวเชียงใหม่ในการเดินทาง 

ประชากรในชุมชนวัดศรีสุพรรณมีประมาณ 150 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 700 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายจำนวน 420 คน ประชากรหญิงจำนวน 280 คน โดยแต่ละครัวเรือนมีประชากรเฉลี่ย 5 คน ในปัจจุบัน ชุมชนวัดศรีสุพรรณเป็นชุมชนเมืองที่มีความเจริญจึงมีจำนวนประชากรแฝงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชุมชนตามที่ทางเทศบาลได้จัดตั้งทั้งที่อาศัยในบ้านเช่าอพาร์ตเมนต์ในบริเวณชุมชน รวมแล้วประมาณ 1,000 คนเศษ โดยชาวชุมชนส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเองและขณะที่บางส่วนเป็นผู้มาเช่าอยู่ในบริเวณชุมชน ประชาชนส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้างเป็นช่างเครื่องเงินทั้งในแง่ช่างประจำ ตามร้านค้าเครื่องเงินบริเวณถนนวัวลายและถนนเชียงใหม่สันกำแพง ขณะที่บางส่วนประกอบอาชีพเป็นช่างเครื่องเงินอิสระคือทำแล้วไปส่งตามร้านค้า นอกจากนี้จำนวนหนึ่งประกอบอาชีพค้าขายธุรกิจส่วนตัวและอาชีพรับจ้างทั่วไป เป็นอาชีพที่เป็นกลุ่มคนในหมู่บ้านที่มีงานทำไม่แน่นอนมีรายได้จากการรับจ้างทั่วไป เช่น รับเย็บผ้า ส่งของส่งเอกสารต่าง ๆ โดยปัจจุบันลูกหลานของชาวชุมชนที่ได้รับการศึกษาบางส่วนยังประกอบอาชีพสมัยใหม่ โดยการเป็นข้าราชการ พนักงานบริษัท ทั้งในเมืองเชียงใหม่และที่กรุงเทพฯ

ไทขึน

ชาวบ้านส่วนมากเปิดร้านขายเครื่องเงิน และทำเครื่องเงินเป็นหลัก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.นายสุรศักดิ์ กันทวง เป็นสล่า (ช่างฝีมือ) คนที่สำคัญมากของชุมชนวัวลาย เป็นครูผู้สอนเกี่ยวกันเครื่องเงินทองล้านนา ได้รับการยกย่องว่าเป็นสล่าอาจารย์อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ได้รับการสืบทอดการทำเครื่องเงินมาจากบรรพบุรุษ เริ่มทำเครื่องเงินมาตั้งแต่อายุ 10 ปี และมีการฝึกฝีมือจนได้อาเป็นอาจารย์ ทำอาชีพมีมารวมทั้งหมด 53 ปี

การทำเครื่องเงิน

การทำเครื่องเงินของชุมชนวัวลาย พบว่านับตั้งแต่ครั้งสมัยพญามังราย สร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี พระปรีชาสามารถและเป็นนักพัฒนาจึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพที่หลากหลายนอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม ได้สร้างสัมพันธ์อันดีกับหัวเมืองอื่น เพื่อจะนําไปสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความรู้ ด้วยเหตุนี้การเจรจาขอช่างฝีมือจากอาณาจักรพุกามหรือเมียนมาจึงเกิดขึ้น เพื่อที่จะนําช่างฝีมือเหล่านั้นมายังเชียงใหม่ และทำการฝึกอาชีพให้กับชาวบ้าน โดยช่างฝีมือที่ได้มานั้น ประกอบด้วย ช่างเงิน ช่างทอง ช่างฆ้อง ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างเขิน 

พญามังรายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะ และวัฒนธรรม จนเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง มีช่างหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ได้รับการฝึกฝนและมีการทำที่สืบเนื่องนับตั้งแต่นั้นมา ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2317 ช่วงสมัยของพระเจ้ากาวิละกอบกู้เมืองเชียงใหม่จากเมียนมาได้สำเร็จ ซึ่งตรงกับช่วงผลัดแผ่นดิน เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นความชอบที่พระเจ้ากาวิละนําข้าวของและไพร่พลถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละ เป็นพระยามังรายวชิรปราการกําแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ ในยุคของพระเจ้ากาวิละถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูเมืองที่เรียกว่ายุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” พระเจ้ากาวิละได้ทำการส่งทหารไปประกาศบอกให้ชาวบ้านกลับเข้ามา โดยให้ราชสกุลต่าง ๆ เข้ามาตั้งรกรากในเมือง และทำการกวาดต้อนชาวบ้าน สล่า (ช่างฝีมือ) ที่อยู่แถบลุ่มแม่น้ำสาละวินให้เข้ามาอยู่ในบริเวณรอบกําแพงเมืองเชียงใหม่ สำหรับช่างเงินบ้านวัวลาย เดิมมาจากชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แขวงเมืองปั่น ทางฝั่ง ตะวันตกของลุ่มแม่น้ำสาละวิน และมีชื่อว่าหมู่บ้านงัวลาย ในการกวาดต้อนของพระเจ้ากาวิละได้โปรดให้ชาวบ้านที่มาจากบ้านงัวลาย ตั้งรกรากในบริเวณวัดหมื่นสารและทำการเรียกชื่อ “บ้านงัวลาย” ตามชื่อเดิม โดยชาวบ้านที่ถูกกวาดต้อนมานี้ส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมือที่มีความรู้และทักษะในการทำเครื่องเงิน มีองค์ความรู้ที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และยึดถือเป็นอาชีพจนมาถึงปัจจุบัน

วัดศรีสุพรรณ

วัดศรีสุพรรณ สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯให้นำเอาพระเจ้าเจ็ดตื้อ หรือพระพุทธปาฏิหาริย์ฯ มาประดิษฐาน ในปี พ.ศ. 2043 แล้วจัดสร้างพระวิหารบรมธาตุเจดีย์ และอุโบสถ ต่อมาในปี พ.ศ. 2052 ทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ แล้วนำพระเจ้าเจ็ดตื้อมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถดังกล่าวจวบถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2537 พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสลำดับที่ 9 องค์ปัจจุบันพร้อมด้วยคณะกรรมการ และชาวบ้านศรีสุพรรณได้ทำการบูรณะวิหารวัดศรีสุพรรณ ได้วาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพระธาตุ 12 ราศี ภาพพระธาตุเจดีย์ ศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่ในอดีตและภาพปริศนาธรรมโลกทั้ง 3 และได้นำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินการดุนลาย ภาพพระพุทธประวัติ ภาพพระเจ้าสิบชาติ ภาพพระเวสสันดรชาดก ประดับตกแต่งฝาผนังวิหารโบราณดังกล่าว นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการอนุรักษ์สืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงินชุมชนย่านวัวลายบูรณาการ การสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น

ต่อมาได้ก่อตั้งกลุ่มช่างภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินเรียกชื่อว่า “กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ” และปี พ.ศ. 2550 ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณสล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณ โดยความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) และหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อสืบสานมรดก อัตลักษณ์เครื่องเงินชุมชนย่านวัวลายอย่างเป็นระบบสู่คนรุ่นใหม่สืบไป

อุโบสถเงินของวัดศรีสุพรรณ เป็นอุโบสถที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ อุโบสถเป็นศาสนาสถานประกอบศาสนกิจในการทำสังฆกรรม ลงอุโบสถสวดพระปาฎิโมกข์ พิธีอุปสมบทและพิธีกรรมอื่น ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ ในบวรพระพุทธศาสนา นับว่าอุโบสถเป็นศาสนาสถานที่สำคัญอย่างหนึ่ง หากไม่มีอุโบสถ ศาสนกิจสำคัญหลายประการย่อมดำเนินไปให้บริบูรณ์ได้ยาก เพราะฉะนั้นในแต่ละวัดจึงจัดให้มีการสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถให้สมบูรณ์มั่นคง เอื้อประโยชน์ในการใช้อย่างยิ่ง อุโบสถวัดศรีสุพรรณหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรมลงจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากเจ้าอาวาสและคณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณในแต่ละสมัยเป็นลำดับมา บัดนี้พุทธศักราช 2547 นับเป็นเวลา 495 ปี อุโบสถหลังดังกล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมลงไม่สะดวกในการประกอบศาสนกิจ และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะสงฆ์ คณะกรรมการวัด และคณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณ ได้มีความเห็นเป็นฉันทสามัคคี ที่จะก่อสร้างเป็นอุโบสถเงินโดยดำเนินการในเขตพัทธสีมาและฐานเดิม แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของรูปทรงให้เป็นแบบสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน และประดับตกแต่งลวดลายทุกส่วนด้วยหัตถกรรมเครื่องเงิน วัสดุเงินบริสุทธิ์ใช้ประดับ ส่วนที่สำคัญและปลอดภัย เช่น ฉัตรบนยอดหลังคาและ ซุ้มสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ วัสดุเงินผสม อะลูมิเนียม และดีบุก สลัก ลวดลายเป็นภาพสามมิติ ลวดลายนูนสูง-นูนต่ำ เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศิลป์ปริศนาธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา สัญลักษณ์แทนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชน ประดับตกแต่งส่วนอื่น ๆ ทั้งหลัง โดยกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ นอกจากจะเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรมเครื่องเงิน ถนนวัวลาย ไว้เป็นมรดกสืบทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังให้ยั่งยืนต่อไป

ภาษาที่ใช้ในชุมชนมีทั้งภาษาไทยกลางและภาษาท้องถิ่นล้านนา หรือคำเมือง


จังหวัดเชียงใหม่ มีชุมชนหนึ่งที่ได้รับการขนานนามจากทั่วโลกว่าเป็น ‘Silver Village’ หรือหมู่บ้านเครื่องเงิน ชุมชนแห่งนั้นคือชุมชนวัวลาย ที่ตั้งอยู่ในตำบลหายยา จังหวัดเชียงใหม่ ถ้าทุกวันนี้ใครมีโอกาสได้เข้าไปในชุมชนแห่งนั้นก็จะได้พบกับร้านเครื่องเงินมากมายที่เปิดขายกันมาอย่างยาวนาน นอกจากชื่อเสียงด้านเครื่องเงินแล้ว พื้นที่ตำบลหายยาหรือชุมชนวัวลายนี้เอง ยังเป็นต้นกำเนิดงานหัตถกรรมเครื่องเขินที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งสืบสานมาจากบรรพบุรุษชาวไทเขินยาวนานกว่า 200 ปี ส่งผลให้ชุมชนสามารถผลิต ‘สล่า’ (ช่างฝีมือ) เครื่องเงินและเครื่องเขินที่มีความเชี่ยวชาญสูง ผ่านการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น สล่าเหล่านี้สามารถออกแบบเครื่องเงินและเครื่องเขินได้อย่างมีอัตลักษณ์ โดดเด่น และดึงดูดใจได้เป็นอย่างมาก จนเกิดการรวมตัวกันของ “กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ” ของชาวบ้านในชุมชนที่ต้องการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพทำเครื่องเงินและเครื่องเขินแต่จะทำอย่างไรให้หัตถศิลป์ มรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาวล้านนาเชียงใหม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ท่ามกลางกระแสการค้ายุคใหม่ที่เขยิบย้ายมาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่ส่งผลให้กระแสนักท่องเที่ยวและลูกค้าลดลงตามมา

นอกจากนี้ชุมชนสามารถสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาจากช่างฝีมือ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมทักษะอาชีพในชุมชนให้สามารถสืบทอดต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มช่องทางหารายได้ในชุมชนผ่านการตลาดออนไลน์ สู่การขยายตลาดให้กว้างขึ้น เกิดกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ และตามด้วยผลที่งอกเงยตามรายทาง เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น พัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในชุมชนเอง ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสและสร้างการกระจายรายได้ในชุมชนได้ทั้งภาคบริการและท่องเที่ยว แล้วกลายเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องเงินและเครื่องเขินที่พร้อมต่อโลกสมัยใหม่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). เชื่อมยุคสมัยเข้ากับภูมิปัญญาเก่าแก่ โครงการสานต่อภูมิปัญญาเครื่องเงิน เครื่องเขิน โดยวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล ที่ช่วยขับเคลื่อน ‘เครื่องเงินวัวลาย’ สู่ตลาดซื้อขายยุคใหม่. จาก https://www.eef.or.th/communities/

จุมพิต ศรีวัฒนพงศ์, สิระ สมนาม และเกียรติสุดา บุญส่ง. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตเครื่องเงินของชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 29-43.

พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, ไพรสันต์ สุวรรณศรี, ศศิณิส์ภา พัชรธนโรจน์ และปฏิภาณพัฒน์ เพชรอินทร์. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์นำเสนอภูมิปัญญาล้านนาเชิงหัตถกรรมในพื้นที่ชุมชนวัดศรีสุพรรณ (วัวลาย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 87-95.

มนต์มนัส ผลาหาญ. (2556). เครื่องเงินบ้านวัวลาย ชุมชนวัดหมื่นสารบ้านวัวลาย และชุมชนวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าเฉพาะบุคคลปรญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ), มหาวิทยาลัยศิลปากร

วัดศรีสุพรรณ. (ม.ป.ป.). อุโบสถเงิน นวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน. จาก http://วัดศรีสุพรรณ.com/อุโบสถเงิน/

BucketListly Blog. (2023). 20 Best Things To Do In Chiang Mai According To The Locals. Retrieve from https://www.bucketlistly.blog/

MGR Online. (2565). “วัวลาย” ชุมชนหัตถกรรมสุดประณีต ผู้ผลิตของขวัญชิ้นสำคัญในการประชุมเอเปค. จาก https://mgronline.com/travel/

Museum Thailand. (ม.ป.ป.). หัตถศิลป์ ถิ่นวัวลาย เครื่องเงินล้านนา สิ่งล้ำค่าบนถนนสายวัฒนธรรม. จาก https://www.museumthailand.com/

ThaiPBS. (2565). "ชุมชนวัวลาย" แหล่งผลิตเครื่องเงิน สู่ของที่ระลึกเอเปค. จาก https://www.thaipbs.or.th/