เป็นชุมชนที่มีชาวมุสลิมและชาวพุทธอาศัยอยู่ร่วมกัน มีข้าวหมกไก่เป็นอาหารขึ้นชื่อของชุมชน
ในอดีตช่วงหน้าฝนได้มีปลามาติดอยู่ที่บริเวณนี้เป็นจำนวนมากจนทำไม่สามารถบริโภคได้ทัน ส่งผลให้มีปลาเน่าเสียและมีแร้งลงมาจิกซากปลา ชาวบ้านจึงเรียกว่าคลองท่าแร้ง ต่อมาได้นำมาเป็นชื่อชุมชนว่า ชุมชนท่าแร้ง
เป็นชุมชนที่มีชาวมุสลิมและชาวพุทธอาศัยอยู่ร่วมกัน มีข้าวหมกไก่เป็นอาหารขึ้นชื่อของชุมชน
ตามคำบอกเล่าเก่าๆ ที่เล่าตกทอดกันมา เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีลักษณะเป็นที่ลุ่ม มีประชาชนอพยพมาจากมลายู มาสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย มีคลองธรรมชาติและน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านกลางหมู่บ้านในช่วงฤดูฝน น้ำในแม่น้ำเพชรบุรีมีปริมาณมากจนเอ่อท่วมเข้ามาในคลอง ซึ่งนำปลาชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากมาตกค้างมากมาย จนชาวบ้านจับไปบริโภคในครัวเรือน และบ้างก็นำออกจำหน่ายในท้องตลาด แต่ปลาก็ยังไม่หมด เวลาน้ำแห้งปลาเริ่มตายส่งกลิ่นเหม็นแพร่กระจาย ทำให้มีนกแร้งเป็นจำนวนมากมากินซากปลา คนในสมัยนั้นจึงเรียกว่า “คลองท่าแร้ง” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งแขวงขึ้น ใช้ชื่อว่า “แขวงท่าแร้ง” โดยมี ขุนศรียา เป็นหัวหน้าแขวง และเป็นเพราะหมู่บ้านนี้มีคลองท่าแร้งไหลผ่านตลอดหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงใช้ชื่อคลองท่าแร้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านท่าแร้ง”
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านในพัฒนา ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบ้านแหลม ระยะห่างจากอำเภอบ้านแหลมประมาณ 6 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเพชรบุรีมีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
ระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
หมู่ที่ 1 ห่างจากอำเภอ 3 กิโลเมตร หมู่ที่ 2 ห่างจากอำเภอ 4 กิโลเมตร
หมู่ที่ 3 ห่างจากอำเภอ 5 กิโลเมตร หมู่ที่ 4 ห่างจากอำเภอ 6 กิโลเมตร
หมู่ที่ 5 ห่างจากอำเภอ 7 กิโลเมตร หมู่ที่ 6 ห่างจากอำเภอ 7 กิโลเมตร
หมู่ที่ 7 ห่างจากอำเภอ 6 กิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อตำบลบ้านแหลม และตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม
- ทิศใต้ ติดต่อตำบลหนองโสน อำเภอเมือง
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลบางขุนไทร และตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม
- ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง และตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม
เนื้อที่: มีเนื้อที่ 12.21 ตารางกิโลเมตร (7,633.57 ไร่)
ลักษณะพื้นที่: เป็นที่ราบลุ่ม โดยมีความลาดเทเล็กน้อยจากด้านทิศตะวันตกประมาณ 0.3% ไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำนาข้าว ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่ขุดบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีคลองท่าแร้งเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงพื้นที่ทั้งสองตำบลและเป็นเส้นแบ่งเขตตำบลท่าแร้งกับตำบลท่าแร้งออก
ประชากรในตำบลท่าแร้งส่วนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย นับถือศาสนาอิสลาม ลักษณะความเป็นอยู่ของชาวท่าแร้ง มีการสร้างบ้านเรือนอาศัยกันอยู่เป็นกลุ่มตามหมู่บ้านต่างๆ จะมีการสร้างบ้านเรือนที่เห็นกระจัดกระจายอยู่บ้างตามความจำเป็นของการถือครองพื้นที่ ลักษณะการสร้างบ้านเรือน เป็นบ้านไทยยกพื้นสูง มีใต้ถุนบ้านสำหรับนั่งเล่น และเก็บสิ่งของสัมภาระ เครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ลักษณะความเป็นอยู่ในครอบครัว ยังเป็นครอบครัวใหญ่อยู่ส่วนมาก นั่นก็คือ มีพ่อ แม่ ลูก เขย สะใภ้ และหลาน อาศัยอยู่ร่วมกันในครอบครัว
สภาพทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพสำคัญของตำบลท่าแร้ง ดังนี้
1. อาชีพเกษตรกร ได้แก่ ทำนา เลี้ยงสัตว์
2. ประมง ได้แก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง
3. อาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างภาคเกษตร
4. อาชีพรับราชการ พนักงานบริษัท
5. อาชีพค้าขาย
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
โรงฆ่าโค 1 แห่ง เสาสัญญานโทรศัพท์ 2 แห่ง
ร้านเสริมสวย 3 แห่ง ร้านขายของอุปโภคบริโภค 44 แห่ง
ร้านซ่อมรถ 2 แห่ง ร้านอาหาร 2 แห่ง
บ้านเช่า 2 แห่ง มินิมาร์ท 1 แห่ง
โรงงาน 1 แห่ง คลินิก 1 แห่ง
ร้านรับซื้อของเก่า 7 แห่ง ร้าน ซัก อบ รีด 3 แห่ง
ร้านจำหน่ายโทรศัพท์ 1 แห่ง ร้านเกมส์ 2 แห่ง
ร้านผลิตลูกชิ้น 1 แห่ง ตู้ชุมสายโทรศัพท์ 6 แห่ง
ร้านติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์ 1 แห่ง ลานตากข้าว 2 แห่ง
โรงทำไก่สด 2 แห่ง ร้านผลิตสมุนไพร 2 แห่ง
โรงไก่ไข่ 1 แห่ง ร้านขนมหวาน 6 แห่ง
ร้านอาหารตามสั่ง 2 แห่ง ขายน้ำดื่ม 1 แห่ง
กลุ่มองค์กร
โครงการศูนย์สาธิตพืชไร่และพืชสวน ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
ตำบลท่าแร้ง มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ที่นิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเอกลักษณ์ท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ
- ประเพณีถือศีลอดในเดือนรอมฎอน. (رمضان (ในทุกๆ ปี ศาสนิกชนมุสลิมในศาสนาอิสลามจะปฏิบัติภารกิจถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นการทดสอบความศรัทธาอันแรงกล้าต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าที่ประทานพระบัญญัติแก่มวลมนุษย์ เพื่อฝึกฝนให้มวลมนุษย์รู้จักความอดกลั้นอดทน มีจิตใจหนักแน่น และไม่ท้อถอยต่อความยากลำบากที่เผชิญอยู่ ณ เบื้องหน้า
- ประเพณีวันขึ้นใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา–ออกพรรษา วันลอยกระทง
- วัฒนธรรมการเคารพผู้อาวุโส
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- นายนิล ปูอมปราณี มีภูมิปัญญาด้านเกษตรอินทรีย์
- นายไพบูลย์ แดงประดับ มีภูมิปัญญาด้านเป็นหมอดิน
- นางจำลอง นาคนคร มีความรู้ความชำนาญเรื่องสมุนไพร
- นางจำปี แก้วเกิด มีความรู้ความชำนาญด้านการทอเสื่อกก
- นายสวิง มงคล มีความรู้ความชำนาญด้านการถักหมวก, กระเป๋า จากต้นธูปฤาษี
- นางณัฐพิน นิลสลับ มีความรู้ความชำนาญด้านการทำลูกประคบสมุนไพร
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม มีมัสยิด 4 แห่ง
- มัสยิดซีรอยุดดีน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
- มัสยิดมู่ฎีอะตุ้ลอิสลามิยะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
- มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (มัสยิดกลาง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
- มัสยิดมัสยิดนัศรุ้ลบารีย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
มีวัด 2 แห่ง
1.วัดไทรทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
2.วัดกุฏิ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.ท่าแร้ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
เอกลักษณ์ของท้องถิ่น
ข้าวหมกไก่ ข้าวหมกไก่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นอาหารจานเดียวยอดนิยม ที่ทั้งอร่อยรสเด็ดและมีคุณค่าทางอาหาร ซึ่งชาวตำบลท่าแร้งมีความภาคภูมิใจ
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง มีเขตการปกครองแบ่งเป็นหมู่บ้านจำนวน 7 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการหมู่บ้านประจำหมู่บ้าน
ทำเนียบการปกครอง
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
- นายเสน่ห์ แก้วระยับ ตำแหน่ง นายก อบต.
- นายทวี เนระภู ตำแหน่งรองนายก อบต.
- น.ส.วิมลรัตน์ ลีอร่าม ตำแหน่งรองนายก อบต.
- นางมาลี เครืออารีย์ ตำแหน่งเลขานุการนายก อบต.
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
- นายสมศักดิ์ สินคงอยู่ (ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 6)
- นายสมโภชน์ เนตรสุข (รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 1)
- นายณรงค์ จันทร์โพรัง (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 1)
- นายเอกราช โครงเซ็น (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 2)
- นายนายพุทธิพงษ์ กลิ่นหอม (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 2)
- นายมานิต รอดเสม (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 3)
- นายสมบัติ ม่วงอุมิงค์ (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 3)
- นายนคร สร้อยมาลี (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 4
- นายอำภา เอมหลำ (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 4)
- นายภิรมย์ มหิมา (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 5)
- นายเมธา สุทโน (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 5)
- นางนาฎอนงค์ เพชรลูก (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 6)
- นายอานนท์ เขียวแพร (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 7)
- นายไชยพร มีอิน (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 7)
กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน
- นายวัฒนา แก้วระยับ (กำนันตำบลท่าแร้ง) หมู่ที่ 5
- นางนงนุช สิงห์เทียน หมู่ที่ 1
- นายภาณุวัฒน์ โครงเซ็น หมู่ที่ 2
- นายมาณู รอดเสม หมู่ที่ 3
- นายชาลี จารีย์ หมู่ที่ 4
- นายเอกสิทธิ์ เพิ่มชัย หมู่ที่ 6
- นายอธิวัฒน์ นาคสุข หมู่ที่ 7
การคมนาคม
การคมนาคมของตำบลท่าแร้งมีการเดินทางที่สะดวกสามารถติดต่อกับตำบลอื่นได้สะดวก มีถนนตัดผ่านทุกหมู่บ้าน ดังนี้
- ถนนลาดยาง 3 สาย
- ถนนดิน 4 สาย
- ถนนคอนกรีต 25 สาย
- ถนนลงหินคลุก 14 สาย
การไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 7 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าโดยประมาณร้อยละ 99
การประปา
- จำนวนหมู่บ้านที่ประปาเข้าถึง 7 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าโดยประมาณร้อยละ 99
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง
- คลินิก 1 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
- โรงเรียนบ้านคลองมอญ
- โรงเรียนวัดกุฏิ(นันทวิเทศประชาสรรค์)
โรงเรียนขยายโอกาส 2 แห่ง
- โรงเรียนวัดไทรทอง (สาครราฎร์สงเคราะห์)
- โรงเรียนบ้านท่าแร้ง (สหราษฎร์)
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง อยู่ประจำศาลาประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค
ตำบลท่าแร้งมีแม่น้ำเพชรบุรี ไหลผ่าน 2 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 5 และผ่านหมู่ที่ 6 ไปยังตำบลบางครก ทั้งยังมีคลองชลประทานตัดผ่านตำบลท่าแร้ง ตั้งแต่หมู่ที่ 5 ผ่านหมู่ที่ 7 ผ่านหมู่ 4 ผ่านหมู่ 2 ผ่านหมู่ที่ 1 ใช้แหล่งน้ำจากคลองทิ้งน้ำของชลประทานเชื่อมต่อมาจากแม่น้ำเพชรบุรี
วัดกุฏิ (ท่าร้าง)
ที่ตั้ง: หมู่ที่ 6 บ้านกุ่มนอก ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
เส้นทางเข้าสู่แหล่ง: จากจังหวัดเพชรบุรีไปตามทางหลวงหมายเลข 3176 ประมาณ 4 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าวัดทางขวา ข้ามสะพานคร่อมแม่น้ำเพชรบุรี วัดอยู่แม่น้ำ
สภาพภูมิศาสตร์: ที่ราบริมแม่น้ำเพชรบุรี ฝั่งตะวันออก
แหล่งน้ำ: แม่น้ำเพชรบุรี
ประวัติ:
ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากโบราณวัตถุในวัดเป็นศิลปกรรมที่เก่าแก่สมัยอยุธยา เช่น บานประตูไม้แกะสลักที่อุโบสถหลังเก่า เสมาหินทรายแดง และยังพบคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย สีขาว-ดำ
การปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัตโกสินทร์ ตามที่ปรากฏในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ความว่า
“ถึงอารามนามที่กุฎีทอง ดูเรืองรองรุ่งโรจน์โบสถ์วิหาร ริมอารามข้ามน้ำทำตะพาน นมัสการเดินมาในวารี” |
หลักฐานทางโบราณคดี
1.อุโบสถ(หลังเก่า) เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐฉาบปูน ขนาด 6 ห้อง (กว้าง 6.5 × 13 เมตร) ตั้งอยู่บนฐานสูง ฐานอ่อนโค้งเล็กน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวอาคารทรงสอบ ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกไป มีเสาก่ออิฐถือปูนรองรับ หัวเสาประดับลวดลายปูนปั้น เป็นบัวกลีบยาว มีประตูทางเข้าด้านหน้า 1 ช่อง ด้านหลัง 2 ช่อง บานประตูเป็นไม้ มีอยู่หนึ่งบานที่มีลวดลายจำหลัก ซุ้มประตูด้านหน้าเป็นซุ้มบันแถลง ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น หน้าบันซุ้มเป็นลายเทพพนม ขนาบด้วยก้านขดโค้ง ปลายลายเป็นกระหนกหางกินรี ซุ้มประตูด้านหลังมงกุฎประดับลวดลายปูนปั้น ผนังด้านข้างเจาะหน้าต่างด้านละ 4 ช่อง ซุ้มประดับลวดลายประดับลวดลายปูนปั้น ลายดอกพุดตานประกอบใบและเถา มีเสาอิงระหว่างช่องหน้าต่างด้านละ 7 ต้น บัวหัวหัวเสาเป็นบัวแวง
สำหรับบานประตูไม้จำหลักลายนั้น เป็นแบบบานเดี่ยวบนช่องประตูด้านซ้าย ที่ผนังด้านหลังมีสภาพชำรุดแตกร้าว ถูกทาสีเหลือง บานประตูนี้อาจเป็นของเก่าที่นำมาติดตั้งใหม่ เนื่องจากส่วนล่างของบานมีร่องรอยว่าเนื้อไม้อาจถูกตัดออกไปบางส่วน และบางส่วนของลายขาดหายไป กล่าวคือด้านล่างไม่มีลายมุม สำหรับลวดลายที่มุมบนซ้ายเป็นหน้ากาลคายช่อกระหนก ขอบบานประตูมีลายดอกไม้ทรงกลมสลับแถบนูนสอดไขว้เป็นลวดลาย ปลายลายเป็นเหงากระหนก ส่วนลวดลายตรงกลางบ้าน เป็นรูปหน้ากาลคายช่อกระหนกซึ่งปลายลายเป็นรูปหัวนาค บนแถบลายกลางประดับด้วยลายดอกไม้ประดิษฐ์ในทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 5 ดอก มีก้านขดแยกออกไปทั้งสองข้างจากลายดอกไม้ ปลายก้านขดเป็นลายภาพต่างๆกันเป็นคู่ ๆ ประกอบด้วยหัวหงส์ เทพรำ หัวนาค และสิงห์ ใต้ลายก้านขดแกะเป็นลายเลียนแบบธรรมชาติ ประกอบด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ แทรกด้วยภาพสัตว์เล็กๆ เช่น นก งู เป็นต้น
เครื่องบนเป็นเครื่องไม้ หลังคาลดชั้นมุงกระเบื้อง เครื่องลำยองไม้ประดับกระจกสี หน้าบันทั้งสองด้านเป็นไม้แกะสลักประดับกระจกสีลายใบเทศ กรอบหน้าบันด้านล่างและหน้าอุดปีกนก ประดับลวดลายปูนปั้น ทิศตะวันออกเป็นรูปนางอัปสร เทวดา ทิศตะวันตกเป็นรูปรามสูรและนางมณีเมขลา
รอบๆอุโบสถ มีเสมาคูหินทราย ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐมีลวดลายปูนปั้นประดับ เป็นบัวกลุ่มเป็นบัวกลีบซ้อนตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ตัวเสมาสลักจากหินทราย ทรงยอดแหลม ปลายตัด ส่วนเอวคอดและเป็นตัวเหงากระหนก ส่วนล่างจำหลักเป็นฐานปัทม์ บนหน้าใบเสมามีลายจำหลักเป็นแถบที่ขอบและแนวดิ่งกลางใบตรงแถบแนวดิ่งประดับด้วยรูปสี่เหลี่ยมคล้ายทับทรวง ส่วนบนสุดและส่วนล่างสุดขิงแถบเดียวกัน ประดับด้วยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและสามเหลี่ยมตามลำดับ
กำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถ มีประตูทางเข้าอยู่ด้านข้าง ทางทิศใต้ เป็นซุ้มทรงมณฑป
พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปอีก 4 องค์ ได้แก่ องค์ด้านหน้าพระประธาน เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดง สภาพชำรุดมาก เนื่องจากหินทรายผุกร่อน พระพุทธรูปทั้งหมดประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีปูนปั้น องค์ทางด้านซ้าย เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงเช่นเดียวกัน ทางด้านขวาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก จำนวน 2 องค์
2.เจดีย์ราย ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว ด้านหน้าอุโบสถ 3 องค์ ด้านหลัง 4 องค์ ภายนอกกำแพงแก้ว ด้านหน้าอุโบสถ 1 องค์ ด้านหลังอีก 1 องค์ (นอกนั้นเป็นเจดีย์บรรจุอัฐขนาดเล็กที่สร้างขึ้นมาไม่นานนี้) ส่วนใหญ่เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทรวดทรงเป็นแบบที่นิยมกันตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายและได้รับการบูรณะในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมประดับด้วยลวดลายปูนปั้น บางองค์มีลวดลายหน้าสัตว์ตกแต่งตรงขาสิงห์ เป็นรูปหน้ากาลบ้าง รูปราหูบ้าง รูปหน้าหมูบ้าง เจดีย์องค์ที่อยู่นอกกำแพงแก้ว ด้านหน้าอุโบสถ มีขนาดใหญ่กว่าเจดีย์องค์อื่นๆ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองฐานสิงห์แบบที่เรียกว่าเจดีย์ทรงเครื่อง
3.หอสวดมนต์ ตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ (แต่ราวเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ได้เปลี่ยนแปลงให้หันไปทางทิศตะวันออก) เป็นเรือนทรงไทย หลังคาไม้มุงกระเบื้อง มีเครื่องลำยองไม้ หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก ปิดทองประดับกระจก ด้านทิศเหนือ เป็นภาพราหูอมจันทร์ มีตัวอักษรระบุปีที่สร้าง คือ พ.ศ.2466 ทางด้านทิศใต้ เป็นรูปครุฑ และชื่อคนสร้าง
4.ศาลาการเปรียญ ขนาด 12.20 × 27 เมตร เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น มีการรื้อและสร้างใหม่หลายครั้ง
5.หมู่กุฏิสงฆ์ เป็นหมู่เรือนไทย ฝาปะกน หลังคามุงไม้กระเบื้อง เครื่องลำยองไม้ประดับกระจกสี มีอยู่หลังหนึ่งหน้าบันเป็นไม้แกะสลัก กุฏิริมน้ำหลังหนึ่งเป็นเรือนปั้นหยา 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูนด้านบนเป็นอาคารไม้
6.หอไตร เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง 2 ชั้น ชั้นล่างโปร่ง กั้นด้วยลูกกรงไม้ฉลุลายเตี้ยๆ เช่นกัน ส่วนที่เป็นอาคารที่ใช้เก็บพระไตรปิฎก ฝาด้านบนทำเป็นบานเกล็ดถี่ ๆ ช่องลมเป็นไม้ฉลุลาย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
7.ศาลาท่าน้ำ เป็นอาคารทรงไทย มีทั้งหมด 3 หลัง
หลังแรกเป็นอาคารทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เครื่องลำยองไม้ ประดับกระจกสี หน้าบันไม้แกะสลักประดับกระจกสีเช่นกัน มีหลักฐานการสร้างและผู้สร้าง โดยมีจารึกที่เพดานว่า “ศาลา พ่อเขียน แม่ไนย สร้างไว้ พ.ศ.2469” มีภาพจิตรกรรมที่บริเวณคอสองโดยรอบ มีคำอธิบายภาพจิตรกรรมเป็นตอนๆ เรื่องสวรรค์และนรกภูมิ เทพประจำทิศทั้ง 4 เป็นจิตรกรรมเขียนบนไม้สีฝุ่น มีรองพื้นบางๆ
หลังกลาง เป็นอาคารทรงไทยเช่นเดียวกับหลังแรก เครื่องลำยองไม้ประดับกระจก หน้าบันเป็นไม้แกะสลักกระจกเช่นเดียวกัน
หลังที่สาม เป็นอาคารไม้ ทรงปั้นหยาสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก หน้าบันเป็นลายฉลุไม้ ชายคาชั้นบนมีลายฉลุไม้ประดับ เป็นแบบนิยมในสมัยรัชกาลที่ 6-7 ภายในบริเวณคอสองมีภาพจิตรกรรมเช่นเดียวแต่สภาพเลือนมาก เห็นชัดเฉพาะรูปสถาปัตยกรรม ป้อมประตู ภาพเรือนไทย เป็นต้น
8.หอระฆัง ก่ออิฐฉาบปูน เป็นอาคารประยุกต์ไทยกับตะวันตก ส่วนบนเป็นยอดปราสาทจตุรมุขแบบไทย ส่วนล่างเป็นแบบตะวันตกตกแต่งด้วยช่องโค้ง
9.แนวกำแพงวัด เหลือเฉพาะทางทิศใต้เพียงเล็กน้อย
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง จังหวัดเพชรบุรี, จาก http://www.taraeng.go.th/site/ (สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566)
กรมศิลปากร. ข้อมูลโบราณสถานวัดกุฏิ(ท่าร้าง) อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี, จาก https://www.finearts.go.th/fad1/view/13897