แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ วัดผาลาด (สกทาคามี) วัดเล็ก ๆ ที่มีอายุกว่า 600 ปี ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ ตำสุเทพ อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
บ้านห้วยผาลาด มีที่มาจากลักษณะพื้นที่ที่เป็นผาและมีความลาดชัน บางข้อสันนิษฐานกล่าวว่ามีที่มาจากคำว่า ผะเลิด ในภาษาเหนือ ที่แปลว่า ไถล, พลาด, ลื่น, ลื่นไถล เนื่องจากสภาพพื้นที่มีลักษณะลาดชันไปตามทางน้ำตก ในอดีตคนที่เดินตามช้างมาตามลำธารน้ำตกมักเกิดลื่นหกล้มจากลักษณะพื้นที่ดังกล่าว
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ วัดผาลาด (สกทาคามี) วัดเล็ก ๆ ที่มีอายุกว่า 600 ปี ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ ตำสุเทพ อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
บ้านผาลาดเป็นที่ตั้งของวัดผาลาด (สกทาคามี) วัดเล็ก ๆ ที่มีอายุกว่า 600 ปี ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากือนา ครั้งพระองค์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระสุมณเถระนำมาจากสุโขทัย โดยประทับบนหลังช้าง เพื่อนำไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ทรงแวะวัดผาลาดเพื่อทรงพัก ก่อนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ เพราะเส้นทางลาดชันมาก แต่เป็นเส้นทางแสวงบุญเสมอมา เป็นการก่อสร้างเพื่อพักระหว่างเดินทางสมัยโบราณ
วัดผาลาด (สกทาคามี) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เมื่ออันเชิญพระธาตุขึ้นสู่หลังช้างมงคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระเจ้ากือนา และ พระมหาสุมนะ ก็ตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้เทวดาผู้มีสัมมาทิฐิ ช่วยนำพาช้างขึ้นไปสู่สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาติ อันจะสามารถตั้งอยู่ได้นานตลอดกาล 5,000 ปี พระวัสสา
ช้างมงคลที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ร้องขึ้น ?แส่นสะเคียน 3 ที? แล้วออกเดินทางประตูหัวเวียง (ปัจจุบันคือประตูช้างเผือก) มุ่งหน้าตรงไปทางดอยสุเทพ อ้อยช้าง ทิศตะวันตกของเมือง พระเจ้ากือนา และพระมหาสุมนะพร้อมทั้งพญาลิไทยจากเมืองสุโขทัย และเหล่าเสนาอามาตย์ ก็ให้ข้าราชบริพารประโคมฆ้อง กลอง ดนตรี ตามหลังช้างไป เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุด พระเจ้ากือนา ทรงดำริว่าช้างจะหยุดอยู่ที่นี้ จึงบอกให้ช้างนอนลง ปรากฏว่าช้างก็ไม่นอน แล้วเดินต่อไป ภายหลังสถานที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า ดอยช้างนอน และเพี้ยนมาเป็นดอนช้างนุน และเป็นดอยขนุนในที่สุด ปัจจุบันอยู่ในสวนเวฬวุน ซึ่งเป็นสถานที่ส่วนบุคคลเชิงดอยสุเทพทางเข้าวัดฝายหิน
ช้างออกเดินขึ้นไปถึงยอดดอยอีกแห่งหนึ่ง เป็นลานเรียบงดงาม พระเจ้ากือนาและพระมหาสุมนะ ต่างเห็นพร้อมกันควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั้นจึงกล่าวว่า ขอพระธาตุพระพุทธเจ้าตั้งที่นี้ (ประดิษฐานที่นี้) แล จิ่งนบ 3 ที เมื่อกราบครบ 3 ครั้ง ช้างก็เดินทางต่อไปหาได้หยุดลงอย่างที่ทุกคนหวัง สถานที่แห่งนี้คนทั้งหลายเรียกว่า 3 ยอบ (บางฉบับเรียกสนามยอดดอยงาม และ 3 ยอดดอยงามก็มี)
ช้างมงคลเดินต่อขึ้นไปตามลำธารจนถึงห้วยผาลาด เป็นหน้าผาสูงชัน ข้างลำห้วยมีที่ราบเป็นบริเวณกว้าง จึงหยุดพักอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วช้างก็เดินนำขึ้นไปตามลำดับสู่ยอดดอยสุเทพ หรือดอยอ้อยช้าง ช้างมงคลก็แส่นสะเครียน 3 ที แล้วย่อเข่าลงบนที่นั้น เมื่อพระมหาสุมนะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงจากหลังมาแล้ว ช้างก็ดับจิตจุติจากไปในวันนั้นแล สถานที่บรรจุพระบรมธาตุนั้น คือ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ในปัจจุบัน
หลังจากสร้างพระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว พระเจ้ากือนา ทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดตามรายทางอัญเชิญเพื่อเป็นอนุสรณ์ ขึ้น คือ
- วัดโสดาปันนาราม หรือ สามยอบ ปัจจุบันเป็นวัดร้างในบริเวณของวัดผาลาด
- วัดสกทาคามีวนาราม หรือ ผาลาด (เรียกลักษณะของผาน้ำตกที่ลาดชัน ผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านเล่าว่าเดิมเรียก วัดผะเลิด เพราะคนที่เดิมตามช้างมาตามธารน้ำตกลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน จึงให้ชื่อว่าวัดผะเลิด ต่อมาเรียกเป็น ผาลาด ตามชื่อ ผาน้ำตก)
- วัดอนาคามี ซึ่งได้สาบสูญไป ปัจจุบันมีการบูรณะขึ้นใหม่ เป็นพุทธอุทยานอนาคามี
- วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดอรหันต์
พื้นที่บ้านห้วยผาลาดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบ
ข้อมูลสถิติประชากรทางทะเบียนราษฎร เมื่อเดือนมกราคม 2566 ระบุว่า มีประชากรในท้องถิ่นเทศบาลตำบลสุเทพ ตำบลสุเทพ หมู่ที่ 1 เพศชาย จำนวน 347 คน เพศหญิง จำนวน 401 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 748 คน
มรดกทางวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมของชุมชนอยู่ภายในวัดผาลาด ได้แก่
“เจดีย์” เป็นเจดีย์โบราณที่ถูกปกคลุมด้วยมอสและเฟิร์นสีเขียวดูชุ่มชื้น องค์เจดีย์เป็นศิลปะสมัยครูบาศรีวิชัย แต่สร้างโดยช่างชาวพม่าจึงทำให้ลักษณะของเจดีย์จึงออกมาเป็นศิลปะแบบพม่า สันนิษฐานว่ารูปทรงน่าจะคล้ายกันกับเจดีย์ที่วัดมหาวัน ถนนท่าแพ เชียงใหม่ เจดีย์องค์ที่เห็นอยู่นี้ถูกขุดเจาะนำของสำคัญที่บรรจุอยู่ภายในเจดีย์ออกไปตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกแล้ว และทำให้ยอดเจดีย์พังลงมา ต่อมาจึงมีการบูรณะให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากขึ้นแบบในเห็นในปัจจุบัน
“วิหาร” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยครูบาศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศใต้ เพื่อไม่ให้ฐานซ้อนที่กัน โดยมีสล่า (ช่าง) เป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง และครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม
“บ่อน้ำ” บ้างบอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ จากการสังเกตทำให้ทราบว่ามีการสร้างบูรณะขึ้นหลายครั้ง จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งสร้างขึ้นร่วมสมัยการอัญเชิญพระธาตุขึ้นประดิษฐานบนดอยสุเทพของพระเจ้ากือนา เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ เป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำห้วยโดยตรง
เกรียงไกร เกิดศิริ และอิสรชัย บูรณะอรรจน์. (2555). สถาปัตยกรรมหอพระเจ้านํ้าตกผาลาดวัดผาลาดสกทาคามี เชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม วารสารวิชาการ คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 26, 301-320.
เทศบาลตำบลสุเทพ. (2554). วัดผาลาด. จาก http://www.suthep.go.th/
พระครูธีรสุตพจน์ และพัลลภ หารุคาจา. (2560). การศึกษาองค์ประกอบพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรพจน์ ทองใบ. (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่าไม้ : ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณี พระพงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม วัดผาลาด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กับการปลูกป่าสมุนไพรของ พระสมนึก นาโถ วัดปลัดไม้ปลาย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสนาเปรียบเทียบ), มหาวิทยาลัยมหิดล.