ชุมชนสวนดอกเป็นชุมชนที่มีสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น เจดีย์วัดสวนดอกที่มีความโดดเด่นสวยงาม สร้างในปี พ.ศ. 1916 ศิลปะแบบลังกา สุโขทัย มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับเวียงโบราณสวนดอก นอกจากนี้ ยังมีสถาปัตยกรรมสำคัญ เช่น หมู่โกฏิเก็บอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ วิหาร และประติมากรรมพระประธานขนาดใหญ่พระเจ้าเก้าตื้อภายในวัดสวนดอก
ปี พ.ศ. 2084 เจ้าฟ้ายองห้วยแห่งเมืองนาย ได้ยกพลมาตีเวียงเชียงใหม่ โดยตั้งพลไว้ที่เวียงสวนดอก ก่อนจะเคลื่อนทัพไปตั้งที่วัดป่าตาล และพยายามเข้าตีเวียงเชียงใหม่ แต่ก็ไม่สำเร็จจึงต้องถอนทัพกลับไป จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าในขณะนั้นเวียงสวนดอกคงเป็นเมืองร้างอยู่แล้ว ข้าศึกจึงสามารถใช้เป็นที่ตั้งกองทัพได้ จากนั้นก็ไม่ปรากฏชื่อเวียงสวนดอกอีกเลย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่อยู่ในฐานะเมืองประเทศราชทางเหนือของกรุงเทพฯ จึงปรากฏชื่ออีกครั้ง ในชื่อของบ้านสวนดอก
ชุมชนสวนดอกเป็นชุมชนที่มีสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น เจดีย์วัดสวนดอกที่มีความโดดเด่นสวยงาม สร้างในปี พ.ศ. 1916 ศิลปะแบบลังกา สุโขทัย มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับเวียงโบราณสวนดอก นอกจากนี้ ยังมีสถาปัตยกรรมสำคัญ เช่น หมู่โกฏิเก็บอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ วิหาร และประติมากรรมพระประธานขนาดใหญ่พระเจ้าเก้าตื้อภายในวัดสวนดอก
เวียงสวนดอก มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ 570 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงดิน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเวียงเชียงใหม่ ห่างออกไปประมาณ 800 เมตร โดยมีวัดสวนดอกตั้งอยู่ใจกลางเวียง ซึ่งเวียงนี้มีความสำคัญเนื่องจากวัดสวนดอกเป็นวัดสำคัญในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุก่อนการสร้างวันบนดอยสุเทพเวียงสวนดอก เป็นเขตเมืองเก่าทางตะวันตกของเวียงเชียงใหม่ มีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง อดีตมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละราว 470 เมตร มีขนาดราว 1 ใน 4 ของเวียงเชียงใหม่ ในปัจจุบันยังสามารถพบเห็นแนวกำแพงได้บางส่วนตามตำนานสุวรรณคำแดง กล่าวถึงเวียงสวนดอกไว้ว่า แต่เดิมนั้นเป็นเมืองบริวารเล็กๆของเมืองเชษฐะบุรี (เวียงเจ็ดลิน) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาดอยสุเทพโดยมีพญาวีวอ และพญาสระเกศเป็นผู้ปกครองเมือง เป็นเวียงของชาวลัวะ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่แทน เมืองนวรัฐะที่ได้ล่มสลายไปเพราะเกิดอาเพศ ต่อมาได้มีการสร้างเวียงสวนดอกขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองบริวาร โดยสร้างขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชษฐะบุรีเวียงสวนดอก เจริญมั่นคงขึ้นและปรากฏชื่ออยู่ในตำนานหลายครั้ง เช่น ในสมัยพญากือนา กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย อาณาจักรล้านนา ทรงสร้างวัดบุปผารามดอกไม้ (วัดสวนดอก) ขึ้น ณ บริเวณใจกลางเวียงเพื่อถวายพระสุมนเถระแห่งเมืองสุโขทัย และเพื่อให้เป็นวัดประจำเวียง เมื่อในปี พ.ศ. 2084 เจ้าฟ้ายองห้วยแห่งเมืองนาย ได้ยกพลมาตีเวียงเชียงใหม่ โดยตั้งรี้พลไว้ที่เวียงสวนดอก ก่อนจะเคลื่อนทัพไปตั้งที่วัดป่าตาล และพยายามเข้าตีเวียงเชียงใหม่ แต่ก็ไม่สำเร็จจึงต้องถอนทัพกลับไป จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าในขณะนั้นเวียงสวนดอกคงเป็นเมืองร้างอยู่แล้ว ข้าศึกจึงสามารถใช้เป็นที่ตั้งกองทัพได้ จากนั้นก็ไม่ปรากฏชื่อเวียงสวนดอกอีกเลย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่อยู่ในฐานะเมืองประเทศราชทางเหนือของกรุงเทพฯ จึงปรากฏชื่ออีกครั้ง ในชื่อของบ้านสวนดอก
ศาสนสถานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งด้านความเชื่อ ประวัติศาสตร์ และการปกครองของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ภายในชุมชน คือ “วัดสวนดอก” หรือ “วัดบุปผาราม” เป็นหนึ่งในพระอารามหลวงของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดสวนดอกนี้สร้างขึ้นในภายในเวียงสวนดอก ซึ่งเป็นเขตพระราชอุทยานในสมัยราชวงศ์มังราย ในปี พ.ศ. 1914 พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์ เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)ในสมัยราชวงศ์มังราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นราชวงศ์มังราย บ้านเมืองตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า บ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอกได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด ซึ่งวัดสวนดอกได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกันไว้ที่นี่ และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหาร โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดเซียงใหม่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและปาละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่ปิงมีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทย คือ "ดอยอินทนนท์" มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 2565เมตร นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นๆที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2285 เมตร) ดอยหลวงเชียงดาว (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เมตร) ดอยสุเทพ (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1601 เมตร) สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ คือ พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตะวันตกของจังหวัดคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขากระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ - ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรลักษณะภูมิอากาศเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี25.4 องศาเซลเซียส โดยมีคำาอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
สถิติจำนวนประชากรทางการทะเบียนราษฎร์เมื่อเดือนมกราคม 2566 ระบุว่า พื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรเพศชาย 1,276 คน เพศหญิง 568 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 1,844 คน
ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนสวนดอกมีดังนี้
ไทยวน ชื่อเรียกตนเองคือ ยวน, คนเมือง ชื่อที่ผู้อื่นเรียกคือชาวล้านนา, คนไทยทางเหนือไทยวน, ไตยวน, โยน, ยวน, ลาว, ขะหลอม, ก้อหล่ง, เจ๊ะ, กอเลาะ, จั่นกะหลอม, ไต๋มุง โดยภาษาที่ใช้พูดคือคำเมือง และตัวอักษรที่ใช้เขียนได้แก่ตัวอักษรธรรมล้านนาและอักษรฝักขาม
ไทใหญ่ ชื่อเรียกตนเองคือ คนไต ชื่อที่ผู้อื่นเรียก คนไต, ไทใหญ่ ภาษาที่ใช้พูดและเขียนคือ ภาษาไทใหญ่ชาวไทใหญ่ในอดีตตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มใหญ่อยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 เกิดการแบ่งเขตแดนในช่วงล่าอาณานิคมโดยชาวตะวันตก ทำให้บ้านเมืองของชาวไทใหญ่ถูกแบ่งแยก ผู้คนอพยพ กระจัดกระจาย โดยภาคเหนือของประเทศไทยนั้นมีการอพยพและการเคลื่อนย้ายของกลุ่มไทใหญ่สู่จังหวัดเชียงราย เช่น ชุมชนป่าก่อ จังหวัดเชียงใหม่และในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่อาศัยกระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ไทยวน, ไทใหญ่เนื่องด้วยเมืองเชียงใหม่มีจุดยุทธศาสตร์สำคัญตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นหัวเมืองเหนือ จุดศูนย์กลางการค้าขายในภาคเหนือ การพัฒนาการศึกษา คมนาคม และการออกแบบไลฟ์สไตล์ให้อยู่ร่วมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย ทำให้คนเชียงใหม่มีความภูมิใจในวัฒนธรรมและการเป็นเจ้าของพื้นที่ นำไปสู่เมืองที่มีความเป็นสังคมเมืองมากที่สุดในภาคเหนือ และถึงแม้จะเกิดวัฒนธรรมขึ้นใหม่บ้างตามกาลเวลา แต่คนเชียงใหม่ก็ยังยึดถือและรักษาแก่นแท้ของวัฒนธรรมล้านนาไว้เสมอ โดยมีตัวแปรที่สำคัญควบคู่กันก็คือวัฒนธรรมที่ผูกติดกับศาสนาและธรรมชาติ ทำให้เมืองเชียงใหม่ มีบรรยากาศที่มีความผสมกลมกลืน ของความเป็นเมือง และความเป็นชุมชนท้องถิ่นคนต่างจังหวัดในประเทศไทย ได้มอบฉายาให้เชียงใหม่ว่าเป็นเมือง Slow Life โดยเหตุผล คือ วิถีชีวิตของคนเชียงใหม่ไม่ได้กลายเป็นลักษณะของสังคมเมืองโดยสมบูรณ์ มีบรรยากาศการแข่งขัน และความเร่งรีบน้อย
กิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน
1. ประเพณีทำบุญสลากภัต
ประเพณีทำบุญสลากภัต ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือเดือน 11เรียกตามท้องถิ่นว่าประเพณีตานก๋วยสลากหรือสลากภัตนี้เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ก๋วยสลาก ก๋วยสลาก สานจากไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก (ชะลอม) ข้างในกรุด้านข้างด้วยใบตอง สำหรับบรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง ผลหมากรากไม้ ของใช้จำเป็น ดอกไม้ธูปเทียน โดยชาวบ้านจะนำก๋วยสลากของแต่ละคนไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนาประเพณีตานก๋วยสลาก จากนั้นก็จะมีการสุ่มแจกสลากให้กับพระแต่ละรูปโดยที่ไม่มีใครทราบว่าในตานก๋วยสลากนั้นมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง พระรูปใดจับได้ตานก๋วยสลากของใครก็จะเรียกชื่อเจ้าของตานก๋วยสลากนั้นออกมารับศีลรับพร และกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ส่วนสิ่งของในตานก๋วยสลาก หากมีเหลือเฟือมากพระภิกษุก็จะนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้อีกต่อหนึ่งคำว่า ตานก๋วยสลาก เป็นภาษาของชาวล้านนา หากเป็นภาษาภาคกลางจะตรงกับคำว่า สลากภัต ประเพณีตานก๋วยสลากทางภาคเหนือนิยมจัดกันในช่วงเดือน 12 เหนือถึงเดือนยี่เหนือ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมากแล้วชาวล้านนาจะจัดงานตานก๋วยสลากในช่วงที่ทำนาเสร็จแล้ว เป็นช่วงที่ได้หยุดพักผ่อนกัน พืชพันธ์ุผลไม้ต่าง ๆ ก็ออกลูกออกผล พระสงฆ์เองก็ยังอยุ่ในช่วงเข้าพรรษา ไม่ได้ไปจำพรรษาที่ไหน ประจวบกับในช่วงเวลานั้น ชาวบ้านที่ขัดสน ข้าวที่เก็บเกี่ยวเอาไว้ในยุ้งฉางก็เริ่มจะหร่อยหรอ การจัดงานตานก๋วยสลากจึงเป็นการฝึกตนให้รู้จักการให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สังเคราะห์คนยากคนจนก่อนที่จะถึงวันงานตานก๋วยสลาก ทางภาคเหนือจะเรียกว่า วันดา หรือวันสุกดิบ ชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วนำมาจัดใส่ก๋วยสลาก (ชะลอมไม้ไผ่) ที่กรุด้วยใบตอง เมื่อใส่ของลงไปในก๋วยสลากแล้วก็จะมัดปากให้เรียบร้อย จากนั้นก็จะเหลาไม้ไผ่เป็นก้านเล็ก ๆ สำหรับเป็นยอดก๋วยสลาก เอาไว้สำหรับเสียบสตางค์ กล่องไม้ขีดไฟ หรือบุหรี มากน้อยตามฐานะและศรัทธา สมัยก่อนจะนำใบลานมาทำเป็นเส้นสลากแทนกระดาษสำหรับเขียนระบุไปว่า อุทิศตานก๋วยสลากให้กับใคร อาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
เมื่อถึงวันถวายตานก๋วยสลาก ก็จะนำตานก๋วยสลากไปรวมกันที่หน้าวิหารที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา หลังจากนั้นก็จะนำเส้นสลากจากญาติโยมมาแจกแบ่งให้กับพระภิกษุแต่ละรูป แล้วอ่านเรียกชื่อเจ้าของสลากนั้น จากนั้นพระภิกษุที่ได้สลากของญาติโยมคนใดก็จะให้ศีลให้พรกับเจ้าของสลาก และกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับก๋วยสลากที่ทำกัน แบ่งได้ 3 แบบ
ก๋วยน้อย ใช้สำหรับอุทิศให้กับบรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะเป็นญาติพี่น้อง เป็นมิตรสหาย หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เคยอยู่ด้วยกันมาก็ได้ ทั้งช้าง ม้า วัว ควาย แมว และสุนัข หรือถ้าไม่ได้ถวายทานให้กับใครเป็นพิเศษ ก็สามารถถวายเอาไว้ภายภาคหน้าก็ได้
ก๋วยใหญ่จะเป็นก๋วยที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษ สามารถจุของได้มากกว่า ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่มีฐานะดีที่ต้องการทำบุญอุทิศบุญกุศลไปให้กับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว
สลากโชค จะต่างจากก๋วยสองแบบแรกอย่างชัดเจน สลากโชคจะทำเลียนแบบต้นไม้สูงใหญ่ แล้วนำสิ่งของต่าง ๆ ไปแขวนไว้บนต้นไม้ เช่น ผ้าห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ถ้วยขาม เครื่องนุ่งห่ม อาหารแห้ง และเงินทอง
ประเพณีทำบุญสลากภัตหรือตานก๋วยสลากครั้งแรกในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตามตำนานที่เล่าสืบ ๆ กันมาของปู่ย่าตายายถึงนางยักษ์ตนหนึ่งที่เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเกิดเลื่อมใสศรัทธา กลับเนื้อกลับตัว ที่เคยใจคอโหดเหี้ยมก็กลายเป็นผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่คนทั่วไป จนผู้คนพากันชื่นชมในน้ำใจของนางยักษ์ตนนั้นจนนำสิ่งของต่าง ๆ มาแบ่งให้เป็นจำนวนมาก นางยักษ์จึงนำข้าวของที่ได้รับมานั้นมาทำสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์ สามเณรจับสลาก โดยของที่นำมาทำสลากภัตนั้นมีทั้งของมีค่าราคาแพง และราคาไม่แพง แตกต่างกันไปตามแต่สงฆ์หรือสามเณรรูปใดจะได้ไป
2. ประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือฟังเทศน์มหาชาติ
ประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือฟังเทศน์มหาชาติ หลังออกพรรษาของทุกปีประเพณีการเทศน์มหาชาติจัดเป็นการทำบุญที่สำคัญและมีความหมายมากที่สุดในสังคมไทยเนื่องจากเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ทำสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรงและหากใครตั้งใจฟังให้จบในวันเดียวจะได้เกิดร่วมและพบพระศรีอริยเมตาตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงโปรดฯ ให้ประชุมสงฆ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตแปลและแต่งมหาชาติคำหลวงขึ้นเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2025 สำหรับสวดในพระราชพิธีเข้าพรรษาและสวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟังระหว่างพรรษาเรื่องราวของมหาชาติชาดกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนิกชนเพราะถือว่าเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีครบ 10 ประการ ก่อนจะทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณด้วยทานบารมีชั้นสุดยอดที่ยากยิ่งจึงเรียกว่า มหาชาติ ความนิยมและความสำคัญของเรื่องมหาชาติชาดกปรากฏให้เห็นได้จากวรรณกรรมที่แต่งขึ้นมากมาย ทั้งต่างสำนวนและต่างยุคสมัยเฉพาะที่เป็นฉบับหลวงก็มีมากมายในลักษณะของรูปแบบคำประพันธ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีมหาชาติฉบับท้องถิ่นต่าง ๆ อีก เช่นทางภาคเหนือมีมหาชาติภาคพายัพเขียนเป็นภาษาล้านนามีหลายฉบับและหลาย สำนวนทางภาคอีสานมีมหาชาติคำเฉียงส่วนทางภาคใต้มีมหาชาติชาดกฉบับวัดมัชฌิมาวาสสงขลาเป็นต้นและยังมีมหาชาติสจำนวนต่าง ๆ อีกมากมายที่แต่งกันเองโดยอิสระกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติจึงปรากฏในสังคมไทยทุกภูมิภาคทั้งในราชสำนักและในหมู่ประชาชนทั่วไปในราชสำนักปรากฏเป็นพระราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้วในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรมด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรงธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติพระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่งแม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งที่ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรีจนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง
3. ประเพณีทำบุญสรงน้ำพระบรมธาตุ
ประเพณีทำบุญสรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหนือทุกปี การสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุ เป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ ที่นิยมกระทำเป็นประจำทุกปี เปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยทั่วไปจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือ วันงานเทศกาลประจำปี เช่น สงกรานต์ เป็นต้น และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำ ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องที่นั้น ๆ หรือแล้วแต่บุคคล สมัยโบราณมักจะบูชาพระบรมธาตุด้วยเครื่องหอม และข้าวตอกดอกไม้ ตามปกติแล้วจะสรงพระธาตุด้วยน้ำสะอาดบริสุทธิ์ หรือน้ำสะอาดเจือด้วยสิ่งบูชา แล้วแต่ความชอบ และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น น้ำหอม น้ำอบ ดอกไม้ กลีบดอกไม้ ฝักส้มป่อย หรือแก่นไม้จันทน์ฝน เนื่องจากองค์พระบรมธาตุ ส่วนใหญ่บรรจุอยู่ใต้ฐานพระเจดีย์ การสรงน้ำจึงกระทำโดยการราดน้ำไปบนองค์พระเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นของที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นบริเวณรอบองค์เจดีย์จึงนิยมทำกำแพงแก้วกั้นไว้เป็นบริเวณลาน (ข่วง) เจดีย์ บุคคลใดประสงค์จะเข้าไปที่ลานในกำแพงแก้ว เพื่อกราบไหว้บูชา หรือเข้าไปทำความสะอาด ถ้าสวมหมวกจะต้องถอดออก ถ้าสวมรองเท้าต้องถอดรองเท้า และที่ห้ามเข้าไปในบริเวณลานเจดีย์ คือ ผู้หญิง ถือว่าถ้าผู้หญิงเข้าไปจะทำให้เสียความศักดิ์สิทธิ์ เรื่องเขตหวงห้ามนี้ไม่ได้มีแค่เรื่องพระธาตุเจดีย์กับสตรี แต่ยังมีการห้ามฆราวาสผู้ครองเรือนเข้าเขตสงฆ์ ซึ่งแม้แต่บุรุษก็ไม่สามารถเข้าได้จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำ ได้มีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องสรงน้ำพระธาตุอัตโนมัติขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ในด้านจิตใจให้แก่คณะศรัทธาประชาชนทั่วไปที่ได้ไปกราบไหว้ สักการบูชาองค์พระธาตุเจดีย์ ไม่ให้ขัดต่อจารีตประเพณีในแต่ละท้องถิ่นตามข้อห้ามดังกล่าวที่เราได้พบเห็นตรงบริเวณองค์พระธาตุเจดีย์ และยังก่อให้เกิดความศรัทธามากยิ่งขึ้น
การสื่อสารในชุมชนใช้ภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมืองหรือภาษาไทยวน กลุ่มชาวไทใหญ่มีการใช้ภาษาไทใหญ่ มีรายละเอียดดังนี้
ภาษาไทยวนหรือที่เรียกว่า คำเมือง นั้นมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เฉพาะของตนเองไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยกลาง เขมรและมอญ แต่โครงสร้างประโยคของภาษาไทยวนไม่ได้แตกต่างไปจากภาษาไทยกลาง จะมีความแตกต่างเฉพาะบางคำศัพท์ที่เป็นศัพท์ท้องถิ่นและการออกเสียงวรรณยุกต์เท่านั้น เช่น พูดว่า ไปเที่ยวมาสนุกไหม ในภาษาคำเมือง จะพูดว่า “ไปแอ่วมาม่วนก่” คำพูดว่า “ทำอะไร” ภาษาคำเมืองว่า “เญียะอิหยัง” หรือ คำว่า กิ๋นเข้าบ่ลำ ที่หมายถึง กินข้าวไม่อร่อย ในตัวอักษรที่ใช้เขียน คือ ตัวอักษรธรรมล้านนาและอักษรฝักขาม
อักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมือง พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ อักษรธรรมล้านนาได้แพร่กระจายไปพร้อมกับการขยายตัวของศาสนาพุทธทั้งในเขตอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรล้านช้าง อักษรดังกล่าวจะพบมากในเอกสาร คัมภีร์ใบลานทางศาสนา ตำราโหราศาสตร์ ตำราแพทย์ บทกวีนิพนธ์ แต่การใช้อักษรธรรมล้านนาได้หยุดชะงัก เนื่องจากการแพร่ขยายของภาษาไทยกลางที่มีพร้อมกับการปกครอง การสื่อสาร และระบบการศึกษา ทำให้อักษรธรรมจึงเสื่อมลงตามลำดับ
ส่วนชาวไทใหญ่มีภาษาเป็นของตนเองทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มไท-กระไดซึ่งใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่กระจายอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงตอนใต้ของประเทศจีนภาษาพูดของไทใหญ่เรียกว่า “ความไท” หรือความไต ภาษาไทใหญ่มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง คำศัพท์ส่วนใหญ่แตกต่างไปจากภาษาไทในกลุ่มชาติพันธุ์ไทอื่น ๆ ในล้านนาค่อนข้างมาก นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากพม่ามาด้วยเนื่องจากรัฐฉานอยู่ในเขตแดนของประเทศสหภาพเมียนมาร์ คำศัพท์หลายคำจึงเป็นคำศัพท์ของพม่าปนมาด้วย
"วัดสวนดอกพระอารามหลวง" เป็นวัดสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ตามประวัติศาสตร์ ถือว่าวัดสวนดอกกับวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นวัดคู่แฝดกัน เพียงแต่วัดหนึ่งอยู่บนเขาและอีกวัดอยู่ที่ลุ่ม เพราะมีเพียง 2 วัดนี้เท่านั้น ที่ได้รับการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนอัญเชิญมาจากสุโขทัยในครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรล้านนา โดยวัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช แห่งราชวงศ์มังราย ได้พระราชทานอุทยานสวนดอกไม้พะยอมสร้างวัดขึ้นมา พร้อมกับพระราชทานนามว่า วัดบุปผาราม แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดสวนดอก
ภายในวัดสวนดอกมีสถานที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1.ซุ้มประตูวัด ซุ้มประตูวัดปัจจุบันมีอยู่ 3 ซุ้ม คือ ทิศเหนืออยู่หน้าวัด ทิศตะวันออกอยู่หน้าพระวิหาร และทิศใต้อยู่ด้านข้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซุ้มทั้งหมดนี้ สร้างขึ้นในรูปแบบของประตูโขงหรือประตูป่า เพราะก่อสร้างและประดับตกแต่งด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา รูปสัตว์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความหมายของป่าหิมพานต์ เช่น นาค มกร หงส์ กินรี มอม ตัวลวง นอกจากนี้ การประดับตกแต่งส่วนบนของซุ้มประตู ยังประกอบด้วยหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป ดุจดั่งวิมานของเทพเทวดาเป็นลำดับชั้น อันเป็นส่วนหนึ่งของเขาพระสุเมรุอยากแนะนำให้ไปถ่ายรูปซุ้มที่สวยที่สุดอยู่ด้านทิศใต้ เพราะมีต้นไม้ 2 ข้างประดับมองไปแล้วเหมือนกำลังจะเข้าประตูไปอีกมิติหนึ่งอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
2.กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชอบถ่ายรูปมากที่สุด เพราะมีกู่สีขาวตัดกับเจดีย์สีทองและต้นไม้สีเขียว ดูสวยงาม บางคนที่อ่านประวัติศาสตร์พื้นเมืองล้านนา ตำนานรักมะเมี๊ยะ ก็จะมาตามรอยเดินหากู่เจ้าน้อยศุขเกษมกันที่นี่ เพราะเป็นสถานที่บรรจุอัฐิ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย และพระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ รวมถึงผู้สืบเชื้อสายสกุลเจ้าเจ็ดตนสำหรับสาเหตุที่สร้างกู่ไว้ที่นี่ เนื่องจากระหว่างปี พ.ศ. 2451-2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า อนุสาวรีย์หรือกู่เจ้าผู้ครองนครและพระประยูรญาติ ที่ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางด้านทิศตะวันตกของตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุนั้น เป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากพอถึงในฤดูฝน น้ำจากแม่น้ำปิงมักจะเอ่อเข้าไปท่วมขังอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดความเสียหายบ่อยครั้ง จึงย้ายมาตั้งไว้ใหม่ที่บริเวณวัดสวนดอกจนถึงทุกวันนี้
3.พระบรมธาตุเจดีย์ พระเจดีย์สีทององค์นี้ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา สูง 24 วา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ตามรูปแบบพระสุบินนิมิตของพระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งราย เมื่อโปรดให้สร้างพระอารามหลวงเพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนาและสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 1 ใน 2 องค์ ที่พระมหาเถระสุมนอัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 โดยพระองค์ได้นิมนต์พระมหาสุมนะเถระเป็นประธานสงฆ์ ก่อสร้างเจดีย์หุ้มด้วยทองคำคล้ายกลุ่มดอกบัวปัจจุบันโดยรอบองค์เจดีย์มีเจดีย์บริวารอยู่โดยรอบ รวม 8 องค์ มีซุ้มประตูเข้าสู่เจดีย์สวยงาม เมื่อมองผ่านสนามหญ้าสีเขียว กู่และเจดีย์สีขาว จะเห็นองค์เจดีย์สีทองโดดเด่นสวยงามน่าศรัทธา
4.พระวิหารหลวง พระวิหารหลวงตามตำนานกล่าวว่า พญากือนาธรรมิกราช ได้มีศรัทธาให้เอาเรือนหลวงของพระองค์มาสร้าง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2474-2475 ครูบาเจ้าศรีวิชัย เจ้าแก้วนวรัฐและพระราชชายาดารารัศมี ได้สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอก ยาว 33 วา มีจำนวนเสา 56 ต้น โดยมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นวิหารโถงโล่งไม่มีฝาผนัง มีแต่ระเบียงโดยรอบ หน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม รวมทุนทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ทั้งวิหาร เจดีย์ ซุ้มและกำแพงโดยรอบ จำนวน 65,406 รูปี ใช้เวลารวม 8 เดือน จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์นอกจากนั้น ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังได้หล่อพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์ครูบา ด้วยทองเหลืองจำนวน 2 องค์ ประดิษฐานไว้บนแท่นแก้ว (ฐานชุกชี) ภายในพระวิหารอีกด้วย โดยด้านในพระวิหารมีขนาดกว้างมาก มีจุดให้คนมาวัดร่วมทำบุญหลายอย่าง และมีมุมให้นั่งสวดมนต์นั่งสมาธิ
5.พระเจ้าค่าคิง พระเจ้าค่าคิงหรือพระพุทธรูปแทนตัวเป็นชื่อเรียกพระเจ้าตนหลวง พระประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนาธรรมิกราชขณะประทับยืน มีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร จากข้อมูลจากประชุมตำนานล้านนากล่าวว่า โปรดช่างสร้างหล่อขึ้นด้วยทองสำริดตามบัญชาของพระราชมารดา เพื่อถวายไว้แทนตัวพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เมื่อครั้งทรงประชวรหนัก จึงเป็นเหตุให้เรียกพระนามของพระพุทธรูปที่สร้างแทนพระองค์ว่า “ พระเจ้าค่าคิง ” หากเป็นคนธรรมดาทั่วไป พระเจ้าค่าคิงก็เหมือนการสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นตัวแทนตัวเรา ในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบูชาสืบทอดพระพุทธศาสนา
6.พระเกล็ดนาค พระเกล็ดพญานาคในพระวิหารหลวงวัดสวนดอกมี 2 องค์ องค์ที่อยู่ด้านซ้ายมือพระประธานมีสีน้ำเงิน ส่วนองค์ด้านขวามือของพระประธานมีสีทอง คนที่ทราบเรื่องปาฏิหาริย์ของท่าน ก็จะมาสวดมนต์ขอพรเสมอ ทำให้ตำนานความเชื่อเรื่องเล่าของพระเกล็ดนาคนี้ เชื่อมโยงถึงพระเกล็ดนาคที่วัดยางกวง เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ว่า พระเกล็ดนาคนั้น มีเทวดาคอยรักษา มีความศักดิ์สิทธิ์นัก ขอพรสิ่งใดก็ได้สมดังใจปรารถนาความเชื่อนี้พ้องกับเรื่องเล่าของชาวเชียงตุงที่ว่า มีพญานาคตนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหนองตุง มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก ทุกครั้งที่มาวัดจะเอาร่างกายเลื้อยพันรอบพระพุทธรูปนี้ไว้ นานวันเข้าผิวองค์พระเป็นรอยเกล็ดนาค ต่อมาชาวบ้านได้สังเกตเห็นรอยดังกล่าว จึงชวนกันนำแก้วหลากสีมาประดับให้สวยงามเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง กลายมาเป็นพระเกล็ดนาคถึงปัจจุบันนี้
7.เจดีย์ครูบาศรีวิชัย เจดีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาสร้างเมื่อ พ.ศ.2490 มีความสูงจากพื้นถึงปลายยอดราว 6 เมตร ตัวเจดีย์เป็นสีขาว รูปแบบคล้ายกู่ มีทางเข้าทั้ง 4 ด้าน กำแพงประดับด้วยดอกบัวตูม แต่ละด้านมีรูปปั้นเสือ 4 ชนิด ด้านละ 2 ตัว รวมเป็น 8 ตัว มีรูปครูบาศรีวิชัยประดับด้านข้างตัวเจดีย์ ด้านในบรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย ใกล้ ๆ เจดีย์มีศาลาประดิษฐานรูปปั้นของท่าน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์วิหารหลวงวัดสวนดอก เมื่อ พ.ศ. 2474-2475
8.พระเจ้าเก้าตื้อ พระเจ้าเก้าตื้อสร้างเมื่อ พ.ศ.2047 ในสมัยพระเมืองแก้ว เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด มีที่ต่อ 8 แห่ง นับเป็นท่อนได้ 9 ท่อนตามจารีตการสร้างพระสมัยก่อน ศิลปะเป็นแบบเชียงแสน ฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร มีน้ำหนัก 9 ตื้อ หรือ 9,000 กิโลกรัม (1 ตื้อ = 1,000 กิโลกรัม) โดยสร้างนานถึง 5 ปี จึงสำเร็จใน พ.ศ.2052 เพื่อเป็นพระประธานในวิหารวัดพระสิงห์ แต่พอหล่อเสร็จเอาไปวัดพระสิงห์ไม่ได้ จึงได้ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอกนอกจากนั้นก็มีเรื่องเล่า ถึงเหตุของการสร้างพระเจ้าเก้าตื้อว่า เพื่อรวมคณะสงฆ์ที่แตกแยกกัน 2 นิกาย คือ นิกายสวนดอกกับนิกายป่าแดงให้หันหน้าเข้าหากัน และเพื่อสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิราชา ตามอย่างพระเจ้าติโลกราช ด้วยการตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระเจ้าสิริทรงธรรมจักรพรรดิราช”
ชิษณุพงศ์ รุจิโรจน์วรางค์กูร. (2558). กลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ: งานศิลปกรรมและบทบาททางสังคมของเมืองเชียงใหม่ ในสมัยราชวงศ์มังราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ), มหาวิทยาลัยศิลปากร
ลักษณา สัมมนานิธิ และสิริวัฒก์ สัมมานิธิ. (2565). สถานการณ์ที่ตั้งและองค์ประกอบเมืองเก่าในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(2), 39-56.
เสมียนอารีย์. (2565). นครเชียงใหม่โบราณไม่ได้มีเฉพาะแค่เวียงในคูเมืองเท่านั้น!. เข้าถึงจาก https://www.silpa-mag.com/history/
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฌอ กรีน. (2540). การขุดค้นศึกษาและบูรณะกำแพงเมืองเชียงใหม่. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.