บ้านป่าแดดกลาง ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของ "วัดป่าแดด" ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านความเชื่อในการกราบไหว้บูชาพระพิฆเนศ และเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
บ้านป่าแดดกลาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตําบลป่าแดด ซึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า “ป่าแสด” ด้วยเหตุที่ว่าช่วงนั้นสภาพแวดล้อมเป็นป่าทึบจะมีฝูงนกแสดหรือนกแสกร้องเสียงดังไปทั่ว จากนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนเป็น “ป่าแดด” จึงเป็นชื่อของตําบลป่าแดดและชื่อหมู่บ้านในปัจจุบัน
บ้านป่าแดดกลาง ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของ "วัดป่าแดด" ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านความเชื่อในการกราบไหว้บูชาพระพิฆเนศ และเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
หมู่ที่ 13 บ้านป่าแดดกลาง มีคำขวัญของหมู่บ้าน คือ บ้าน...ป่าแดดกลางอยู่กลางป่า ป่า...แยกมาตั้งใหม่ ให้เหตุผล แดด...จะร้อนหรือเย็น เป็นที่คน กลาง...ชุมชน ผู้ใหญ่ ใจเป็นกลาง
บ้านป่าแดดกลาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตําบลป่าแดด ซึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า “ป่าแสด” ด้วยเหตุที่ว่าช่วงนั้นสภาพแวดล้อมเป็นป่าทึบจะมีฝูงนกแสดหรือนกแสกร้องเสียงดังไปทั่ว จากนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนเป็น “ป่าแดด” จึงเป็นชื่อของตําบลป่าแดดและชื่อหมู่บ้านในปัจจุบัน หมู่บ้านแยกตัวออกมาจากบ้านป่าแดดเหนือหมู่ที่ 3 ในปี พ.ศ .2541 มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับบ้านป่าแดดเหนือหมู่ที่ 3 ทิศใต้ติดกับบ้านป่าแดดใต้หมู่ที่ 7 ทิศตะวันออกเลียบติดกับลำน้ำปิง ทิศตะวันตกติดกับบ้านแม่ข่าน้อยหมู่ที่ 1 และแม่ข่าใต้หมู่ที่ 9
มีศาสนสถานวัดสำคัญที่มีชื่อเสียง คือ "วัดป่าแดด" เดิมมีชื่อว่า วัดดอนแก้ว เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นเนินสูงและมีต้นพิกุล (ต้นดอกแก้ว) ขึ้นอยู่เต็มไปหมด และจากคำบอกเล่ากล่าวว่า ในสมัยพญามังรายสถาปนาเวียงกุมกามเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนาในบริเวณที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำปิง (สายเดิม) มีการใช้บริเวณที่ตั้งของวัดดอนแก้วในอดีตเป็นอุโบสถสำหรับให้นักโทษประหารหรือเชลยศึกได้ฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะถูกประหาร โดยจะอาราธนาพระมหาเถระจากวัดในเวียงกุมกามราชธานีพายเรือข้ามฝั่งแม่น้ำปิงมาเทศน์โปรด
เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี สภาพอุโบสถหลังเดิมผุพังลงจนไม่เหลือ จนได้รับการสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ. 2345 ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดป่าแดด" เนื่องจากบริเวณวัดเป็นป่าทึบ ในยามเย็นจะมีฝูงนกแสด หรือนกแสก ร้องเสียงดังไปทั่ว จนชาวบ้านเรียกขานว่าเป็นป่านกแสด และเรียกเพี้ยนกันต่อมากลายเป็นชื่อวัดป่าแดด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2484
ที่ตั้ง
บ้านป่าแดดกลาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มตามฝั่งซ้าย (ตะวันตก) ของแม่น้ำปิง และมีส่วนที่ติดลําน้ำปิงเป็นแนวยาวตลอดประมาณ 6.5 กิโลเมตร มักเกิดน้ำท่วมบริเวณฝั่งแม่น้ำในฤดูน้ำหลาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรร และมีอาคารร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
- ทิศเหนือ ติดต่อ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตำบลท่าวังตาลและตำบลดอนแก้ว อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลสุเทพ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ และตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน
ลักษณะของดิน เป็นดินร่วน
ลักษณะของแหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำปิง และคลองแม่ข่าใช้ในการทําการเกษตรกรรม
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ และเกษตรกรรม ส่วนใหญ่มีฐานะความเป็นอยู่ในระดับปานกลาง
ข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฏร ระบุว่า ท้องถิ่นเทศบาลตำบลป่าแดด ตำบลป่าแดด หมู่ที่ 13 บ้านป่าแดดกลาง ในเดือนมกราคม 2566 มีประชากรเพศชายจำนวน 536 คน เพศหญิงจำนวน 632 คน รวมเป็น 1,168 คน
หมู่ที่ 13 บ้านป่าแดดกลาง ปัจจุบันมีนายคุณาวุฒิ อุปถัมภ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
1.พระครูปลัดนันทวัฒน์
การศึกษา
- นักธรรมชั้นเอก
- ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (ศน.บ.)
ตำแหน่งฝ่ายปกครอง
- เจ้าอาวาสวัดป่าแดด
งานเผยแผ่ศาสนา
- เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 29
สมณศักดิ์
- พ.ศ. 2548 เป็นพระครูปลัด
- พ.ศ. 2562 เป็นพระครูปลัดนันทวัฒน์ ฐานานุกรมในพระธรรมนันทโสภณ (มนต์ คุณธาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร จังหวัดน่าน
ความโดดเด่นของชุมชนบ้านป่าแดดกลาง คือ วัดป่าแดด ที่มีเอกลักษณ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร เป็นภาพวาดที่สวยวิจิตรงดงาม และค่อนข้างสมบูรณ์อย่างมาก วาดโดยช่างแต้มชาวไทใหญ่ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกต่าง ๆ อีกทั้งวิหารหลังนี้ก็สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2400 กว่าร้อยปีมาแล้ว โดยเป็นอาคารปูนทั้งหลัง สร้างขึ้นตามศิลปะแบบล้านนา มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ตกแต่งด้วยลายของปูนปั้นสีทอง ส่วนหน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลายพรรณพฤกษาสีทอง ซุ้มประตูและหน้าต่างก็จะเป็นศิลปะแบบล้านนา ประดับด้วยลายปูนปั้นสีทองเหมือนกัน องค์พระประธานนั้นเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา
นอกจากนี้ ยังมีวิหารพระพิฆเนศที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมกราบไหว้ขอพร องค์พระพิฆเนศสร้างจากโลหะสัมฤทธิ์รมดำ มีสี่พระกร ทรงวัชระ บ่วง งา และถ้วยขนม องค์พระพิฆเนศที่วัดป่าแดดถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธาในปี พ.ศ. 2550 มีชื่อว่า อุตรศรีคณปติ ความหมายของชื่อคือผู้ประทานความสำเร็จในทางที่ถูก ขนาดหน้าตักขององค์พระพิฆเนศอยู่ที่ประมาณ 39-40 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ที่หอมหาเทพบูรพาจารย์
ชาวบ้านสื่อสารกันได้ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือคำเมือง
สำนักงานเทศบาลตำบลป่าแดด. (2566). ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป. จาก http://www.padad.go.th/
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). ระบบทะเบียนวัด วัดป่าแดด. จาก http://binfo.onab.go.th/
MGR Online. (2564). สายมูต้องมา! ขอพรองค์พระพิฆเนศศักดิ์สิทธิ์ "วัดป่าแดด" เชียงใหม่. จาก https://mgronline.com/travel/
จิราวรรณ ถิ่นวนา, สัมภาษณ์, 20 กุมภาพันธ์ 2566.