บ้านนาตะกรุด หนึ่งในชุมชนเกษตรกรรม ที่ใช้เวลาว่างรวมกลุ่มกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP จนได้รับรางวัลระดับ 4 ดาว
"นาตะกรุด" มีที่มาจาก 2 คำ คือ "นา" บริเวณพื้นที่ชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนา ขณะเดียวกันก็มีสายน้ำไหลผ่านตลอดจึงเรียกว่า “กรุด” มีความหมายว่า แอ่งน้ำหรือ แหล่งน้ำ จึงรวมกันเป็นคำว่า "นาตะกรุด" นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่าคนในชุมชนในสมัยโบราณชอบของขลังและที่นี่มีตะกรุดเยอะจึงเรียกว่า “บ้านนาตะกรุด”
บ้านนาตะกรุด หนึ่งในชุมชนเกษตรกรรม ที่ใช้เวลาว่างรวมกลุ่มกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP จนได้รับรางวัลระดับ 4 ดาว
หมู่บ้านนาตะกรุด ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3, 8 และ 15 แต่หมู่ที่ 8 และ หมู่ที่ 15 ได้มีการเปลี่ยนผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ จึงได้ขอให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 8 เป็นบ้านเกาะลำโพง และหมู่ที่ 15 หมู่บ้านนาตะกรุดพัฒนา บ้านนาตะกรุดเริ่มมีมาก่อน พ.ศ. 2447 หมู่บ้านนี้ก่อตั้งมาประมาณ 100 กว่าปีแล้ว ชาวบ้านในหมู่บ้านนาตะกรุดนี้ส่วนใหญ่มีผู้ใช้นามสกุลที่ขึ้นต้นคำว่า “ตะกรุด” เกือบทุกครัวเรือน เช่น ตะกรุดเงิน ตะกรุดทอง ตะกรุดแก้ว ตะกรุดแจ่ม ตะกรุดราช มีทั้งหมดราว ๆ 20 ชื่อ ส่วนชื่อหมู่บ้าน “นาตะกรุด” เกิดจากชาวบ้านแถวนั้นมีการทำนาเป็นส่วนมากจึงเรียกว่า “นา” และมีสายน้ำที่ไหลผ่านตลอดจึงเรียกว่า “กรุด” มีความหมายว่า แอ่งน้ำหรือ แหล่งน้ำ ประกอบด้วย ตะกรุดแฟ้บ ตะกรุดเข้ ตะกรุดยอ ตะกรุดข่าง ตะกรุดครก ตะกรุดจิก ชาวบ้านบางส่วนเป็นชาวบ้านจากหมู่บ้านศรีเทพน้อยได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยที่บ้านนาตะกรุดแห่งนี้ เพราะว่ามีสภาพพื้นที่ภูมิลำเนาอุดมสมบูรณ์กว่า บางคนย้ายมาจากต่างจังหวัดก็มี (บัวเหลี่ยว โตมนิตย์ และ สายยิน สุขศรี สัมภาษณ์ : 2563)
ประวัติความเป็นมาของชื่อหมู่บ้านอีกคำบอกเล่าหนึ่งจาก นางปรุงศรี กลิ่นเทพ (สัมภาษณ์ : 2563) ชาวบ้านนาตะกรุด เล่าสอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์ข้างต้นว่า นาตะกรุด เกิดจากชาวบ้านแถวนั้นมีการทำนาเป็นส่วนมากจึงเรียกว่า นา และมีวังน้ำที่ไหลผ่านตลอดจึงเรียกว่า กรุด ความหมายของคำว่ากรุด คือแอ่งน้ำ หรือ แหล่งน้ำและในสมัยก่อน นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าคนโบราณชอบของขลังและที่นี่มีตะกรุดเยอะจึงเรียกว่า “บ้านนาตะกรุด”
เขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านหลักเมือง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านท่าเลียง บ้านนาตะกรุด หมู่ที่ 2
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาตะกรุดพัฒนา หมู่ที่ 15
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านท่าไม้ทอง
การคมนาคม ภูมิประเทศเป็นพื้นราบสลับเนินเขา สามารถเดินทางโดยรถยนต์ ไม่มีเส้นทางรถไฟ และไม่มีการเดินทางโดยทางน้ำ
อาชีพภายในหมู่บ้านส่วนมากทำการเกษตร อาชีพค้าขาย รับราชการ และอาชีพตัดเย็บผ้าเครื่องนอนใยสังเคราะห์ต่าง ๆ เป็นอาชีพเสริมรองจากอาชีพหลัก
ประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน
จากการสัมภาษณ์ นางปรุงศรี กลิ่นเทพ (สัมภาษณ์ : 2563) ได้กล่าวถึงประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านของหมู่บ้านนาตะกรุด หมู่ที่ 1 ว่าชาวบ้านจะมีการทำพิธีเพื่อเรียกความเชื่อมั่นในการดำเนินวิถีชีวิตประจำวันจนเกิดเป็นพิธีกรรมประจำหมู่บ้าน คือ
1) สวดคาถาปลาช่อน เป็นการทำพิธีเรียกขอฝน เป็นการขุดบ่อปลาและปลาช่อนมาปล่อย นำพระมาสวดโดยยืนขาเดียวสวดจนจบบทสวด เพื่อเรียกขอฝนในช่วงฝนแล้ง
2) นางสุ่ม เป็นการนำสุ่มปลามาใช้ในการละเล่น เป็นการเชิญดวงวิญญาณเข้ามาลงในสุ่มปลาและวิ่งเล่นกัน บางทีก็เป็นการแกล้งหยอกล้อเพื่อทาให้กลัวเล่น ๆ
3) นางควาย ในสมัยโบราณชาวบ้านเลี้ยงควายไว้จำนวนมาก แต่แล้วเกิดเหตุมีโรคร้ายเข้ามาทำให้ควายในหมู่บ้านทยอยล้มตายและมีซากกะโหลกควายเยอะ ชาวบ้านจึงนำมาเล่นกันโดยใช้เสายาวและมีโซ่ล่าม แล้วอันเชิญดวงวิญญาณลงมาเพื่อถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของหมู่บ้านและทุกครั้งที่ทำนายจะตรงทุกครั้ง
1) นางนภสรณ์ เซ็นนอก ผู้ใหญ่บ้าน
ทุนวัฒนธรรม
อาหาร
1) แกงอีเหี่ยว เป็นการถนอมอาหารจากหน่อไม้ เนื่องจากหน่อไม้มีผลผลิตเพียงฤดูกาลเดียว ทางชาวบ้านจึงนำมาทำการถนอมอาหาร โดยใช้หน่อไม้ไปฉีกเป็นเส้นแล้วนำมาสับ จากนั้นจึงนำไปนึ่ง และตากแดดให้แห้งจึงเป็นที่มาของคำว่า “อีเหี่ยว” ตอนจะนำมารับประทานให้นำมาแช่น้ำเพื่อรอให้ฟู และแกงเหมือนแกงหน่อไม้ทั่วไป โดยใส่กากหมู ถั่วคั่ว และอื่น ๆ ก็ได้ตามใจชอบ
2) แกงหัวเอื้อง เป็นต้นมันชนิดหนึ่ง ลำต้นอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ มีลักษณะคล้ายหัวไพร หัวข่า แกงคล้ายแกงอีเหี่ยว แต่ไม่ต้องตากแห้ง
3) มันนก เป็นมันชนิดหนึ่ง ชาวบ้านขุดมาจากในป่า มีลักษณะคล้ายหัวมันนำมาแกงหรือทำขนมหวานได้
4) ข้าวโปงดำ โปงแดง ทำจากข้าว นาไปแช่ นึ่ง แล้วโขลก หากนำไปปิ้งบนเตาคนรุ่นใหม่รู้จักกันในนามข้าวเกรียบว่าว ในยุคคนรุ่นใหม่ได้ดัดแปลงทำใส้มันขึ้นโดยมีน้ำตาลกับงาและมะพร้าวแล้วแต่ชอบ ขนมนี้ใช้ไหว้เจ้าพ่อศรีเทพด้วย
ผลิตภัณฑ์ OTOP
ชุมชนบ้านนาตะกรุดมี สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยคุณธนรัตน์ บุญสะอาด ได้เริ่มจัดตั้ง กลุ่มแม่บ้านขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2538 รวมตัวชาวบ้านที่ว่างจากทาการเกษตรในฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ โดยการซื้อเศษผ้าจากโรงงานนำมาตัดเย็บประกอบกันเป็นผืนจากหมอน, ผ้าห่ม, ปลอกผ้านวม, ที่นอนปิ๊กนิค มีการพัฒนาฝีมือและคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ เนื้อผ้าที่ใช้ในการผลิตเป็นการใช้ใยสังเคราะห์แบบที่รีดอากาศและแบ่งโซนการจัดทำเรียบร้อย จนกระทั่งได้นำเข้าประกวดแข่งขันผลิตภัณฑ์โอทอป และได้รับรางวัลระดับ 4 ดาวเรื่อยมา
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.