Advance search

เกษตรปลอดสารพิษ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด เศรษฐกิจก้าวหน้า เน้นการศึกษา พัฒนาสังคม คมนาคมสะดวก
หมู่ที่ 13
บ้านหนองเอาะ
เกษม
ตระการพืชผล
อุบลราชธานี
ประธานกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนบทหนองเอาะ-หนองสิมโฮมสเตย์ โทร. 08-1076-9407, อบต.เกษม โทร. 0-4521-0839
สุธาสินี บุญเกิด
16 ม.ค. 2023
สุธาสินี บุญเกิด
29 มี.ค. 2023
บ้านหนองเอาะ

ตามตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของชื่อหมู่บ้านที่มีการเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ชุมชนหนองเอาะ ก่อตั้งมาประมาณสองร้อยกว่าปี มีท้าวคันธนาม และยายจอมผู้เป็นแม่ได้พากันอพยพไปขุดเอาทองคำมาจากดงขุมคำแล้วจะกลับปางจานคร และได้เดินทางมาถึงหนองน้ำแห่งหนึ่ง จึงได้ทำการอ๋อทองคำ (อ๋อทองคำคือการหลอมทองคา) ที่ได้นำมานั้น ต่อมามีสองครอบครัวได้พากันมาปลูกบ้านอยู่ตามไร่นา อยู่ใกล้กับหนองน้ำที่อ๋อทองคา จึงได้ตั้งชื่อว่า หนองอ๋อ ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "หนองเอาะ" โดยมี ท้าวอุปฮาดราชบุตร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก (พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน), 2561, น. 44)


ชุมชนชนบท

เกษตรปลอดสารพิษ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด เศรษฐกิจก้าวหน้า เน้นการศึกษา พัฒนาสังคม คมนาคมสะดวก
บ้านหนองเอาะ
หมู่ที่ 13
เกษม
ตระการพืชผล
อุบลราชธานี
34130
15.701242
105.033184
องค์การบริหารส่วนตำบลเกษม

การอพยพครั้งแรกเข้ามาในหมู่บ้านประมาณ 4-5 ครอบครัว จากเมืองเกษมสีมา เมื่อประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 400 คน 40 หลังคาเรือน ทางการเกรงว่าจะดูแลไม่ทั่วถึง จึงอนุมัติให้ตั้งหมู่บ้านใหม่ (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น.92)

ลักษณะภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ลุ่มมีลักษณะดินปนทราย แบ่งออกเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 22 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 951 ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ 43 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 1,016 ไร่ หรือประมาณ 1.62 ตารางกิโลเมตร (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น.92-93)

ขอบเขต

  • ทิศเหนือ  จรดกับบ้านหนองเต่า ตำบลกุดยาลวน
  • ทิศใต้  จรดบ้านคำสมิง ตำบลเกษม
  • ทิศตะวันออก  จรดบ้านก่อ ตำบลเกษม
  • ทิศตะวันตก  จรดบ้านกาจับ ตำบลกุดยาลวน

จากการสำรวจประชากร พ.ศ. 2565 พบว่ามีจำนวนบ้าน 99 หลังคาเรือน รวมจำนวนประชากร 393 คน โดยแบ่งเป็นชาย 199 คน และหญิง 194 คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2565)

ชาวบ้านได้มีการรวมกลุ่มกันโดยจำแนกจากพื้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นคุ้ม ได้แก่ คุ้มบูรพา คุ้มเสียงทอง คุ้มเกษตรพัฒนา คุ้มอาสาพัฒนา คุ้มตะวันสีทอง การรวมกลุ่มโดยจำแนกตามกลุ่มการเงินได้แก่กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้าน กลุ่มกองทุนยูนิเซฟ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับหมู่บ้าน (ธนาคารหมู่บ้าน) กลุ่มกองทุนผู้สูงอายุโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กลุ่มตัดเย็นเสื้อผ้า กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มทุนน้ำมัน กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น.94)

นอกจากนี้ยังปรากฏกลุ่มอาชีพในชุมชน ดังนี้ (พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน), 2561, น. 46)

  1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
  2. กลุ่มเพาะเห็ดนางรม
  3. กลุ่มเลี้ยงปลา
  4. กลุ่มกองทุนน้ำมันชุมชน
  5. กลุ่มทอผ้าสินค้าโอทอป
  6. กลุ่มผลิตน้ำยาล้างจานของชุมชน
  7. กลุ่มทำขนม
  8. กลุ่มแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร
  9. กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณี
  10. กลุ่มกองทุนเงินแผ่นดิน
  11. กลุ่มศูนย์สาธิตการตลาด

ชาวบ้านมีอาชีพทำนาที่ได้รับปลูกฝังวัฒนธรรมด้วยการยึดถืออาชีพมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เนื่องจากจิตวิญญาณของชาวนานั้นได้ผูกติดกับธรรมชาติ ที่ดิน น้ำฝน และข้าวซึ่งนำมาเป็นอาหารเลี้ยงทุกครัวเรือน วิถีผลิตเป็นไปด้วยธรรมชาติ ยังพึ่งพิงน้ำฝนจากธรรมชาติ แรงงานก็เป็นธรรมชาติคือใช้คนและสัตว์ (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น.93)

ประเพณีวัฒนธรรม ที่ผ่านมาชาวบ้านยังคงดำรงอยู่ด้วยการทำบุญ การรวมกลุ่มเข้าวัด ทำกิจกรรมร่วมกัน

อย่างการนับถือผีบรรพบุรุษ ผีปู่ตาที่ยังคงกราบไหว้ บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาคุ้มครองและสิ่งที่ปรารถนา เช่น บนให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนที่ดี ทำงานที่ดี สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความเชื่อกับสังคมประเพณีดั้งเดิมของชาวบ้าน การทำบุญให้ครอบฮีต 12 คอง 14 เมื่อถึงเวลาการทำบุญที่สำคัญ เช่น ฮีตบุญผะเเดือนสี่ มีการกำลังเตรียมประชุมกันมีบุญเห็นดีกัน ตกลงกันแล้ว มีเงินเป็นปัจจัยเป็นเครื่องบริวารเตรียมกัณฑ์ต้น เตรียมเครื่องแนวแขวน มีจอก แหน ปลาปล่อยเกี่ยวกับเรื่อง ผะเ มีความเชื่อว่า บุญผะเมีผลตกถูกต้องตามฤดูกาล ชุมชนยังได้เคารพในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ นับถือผีก็คือดอนปู่ตา เพื่อบนบานไว้ ดังเช่นถ้าช่วยลูกช่วยหลานอย่าให้ติดใบแดงจะถวายหัวหมู เป็ดไก่ พิธีกรรมการเลี้ยงผี ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อในการรวมกลุ่มเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยให้ความหมายว่าเป็นผีบรรพบุรุษที่คอยคุ้มครองคนในหมู่บ้านไม่ให้ผีที่อื่นมาคอยทำร้าย และเชื่อว่าผีจะช่วยให้การผลิต การทำนาทำสวน ทำไร่ ประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตมากตามที่ต้องการ และความเป็นอยู่ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น.95)

1) นายจอมศรี เหล็กกล้า  ผู้ใหญ่บ้าน

การทำมาหากินก่อนปี พ.ศ. 2540 พบว่า การอพยพเข้ามาในหมู่บ้านส่วนหนึ่งเป็นการอพยพตามญาติพี่น้องโดยชักชวนกันมาทำนา ทำไร่ ส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาที่ทำกินแหล่งใหม่ ซึ่งในหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะสมกับการทำนา ทำสวน รวมทั้งมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยทั้งน้ำและดิน ต่างก็มีความอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งนี้มีคลองชลประทาน ส่งน้ำทำให้เหมาะกับการทำนา ความอุดมสมบูรณ์ของดินทำให้ปลูกแตงได้ปีละ 3 ครั้ง ชาวบ้านส่วนมากชาวมีที่ดินเป็นของตัวเอง และได้มาจากการซื้อขาย จะเห็นว่าสัญลักษณ์ของหมู่บ้านคือการทำนา การผลิตนั้นยังคงใช้แรงงานในครัวเรือน ไม่เน้นเทคโนโลยี ในภาคเกษตรกรรมจึงใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก

ต่อมาภายหลังปี พ.ศ. 2540 มีการพัฒนาในเรื่องถนนหนทาง การพัฒนาแหล่งน้ำเข้ามาในชุมชน ระบบการผลิตใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสืบเนื่องจากชาวบ้านมีสมาชิกครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ที่ดินทำนามีราคาสูงขึ้น แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในหมู่บ้าน ปัจจัยในการผลิตยังเอื้อต่อการทำนาคือยังใช้ควายไถนา แรงงานจากครัวเรือน ยังคงใช้ปุ๋ยคอก บางครัวเรือนก็ใช้รถไถนาและจ้างแรงงานจากภายนอก

การช่วยกันในเรื่องแรงงาน เช่น การลงแขกข้าวโดยชาวบ้านที่เป็นเครือญาติกันรวมตัวกันเมื่อทำนาเสร็จแล้วก็จะมาช่วยปักดำให้กับญาติที่เคยมาช่วยปักดำก่อนหน้านี้ โดยไม่ได้เรียกค่าจ้างแรงงาน แต่เจ้าของนาก็จะทำอาหารเครื่องดื่มเลี้ยงกัน ซึ่งยังเห็นความสัมพันธ์กับสมาชิกในหมู่บ้าน (ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์, 2553, น.93-94)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปราโมทย์ ศิลปศาสตร์. (2553). การรับรู้และตีความเศรษฐกิจพอเพียงในมโนทัศน์ของชาวอีสาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน). (2561). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Pimpeesut O. (2555). รูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ ๑ ผู้ตรวจ ๑ หมู่บ้านในฝัน. ค้นจาก http://pimpeesut.blogspot.com/

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2565. ค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php

ประธานกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนบทหนองเอาะ-หนองสิมโฮมสเตย์ โทร. 08-1076-9407, อบต.เกษม โทร. 0-4521-0839